| ห้องฝากข้อความ | Youtube.com | เติมใจให้กัน | MY Photos | |www.facebook.com|

รวมเรื่องและภาพจากอดีต ( 4 ) Adolf Hitler ต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




.


.


ภาพประวัติศาสตร์ 1


1




Adolf Hitler ต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เมื่อเสด็จประพาสยุโรป ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๗








2





ภาพเหตุการณ์ หลังจากที่โปรดเกล้าสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี แล้ว
และพระบรมวงศ์กำลังรอรับเสด็จในหลวงที่เสด็จโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม .....พระราชพิธีมีขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม
2493ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีบรมราชาพิเษก(เสกขึ้นเป็นกษัตริย์)
ขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมราชบพิตร
และเสด็จเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ขึ้นเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี...ในภาพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
ประทับอยู่ทางด้านขวาของภาพ และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงประทับทางเบื้องหลัง







3




Activities surrounding Kin Prajadhipok's official
visit to PATTANI [1929] ....พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
สวัสดิวัฒน์ ในขณะเสด็จฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคา ที่ โคกโพธิ์ มณฑลปัตตานี
ที่เกิดเมื่อ 9 พฤษภาคม 2472 ทรงเครื่องแบบจอมทัพเรือ
เพราะ เสด็จโดยเรือพระที่นัี่งมหาจักรี







4




ภาพปี 1927.(2469)....พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7
และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์)
ขณะเสด็จ เสด็จมฯฑลพายัพ 6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469
(นับอย่างสากลก็ 1927 แล้ว) ในภาพเห็นในหลวง ร.7,
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
(เพราะมียศนายพลเอก) และ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในชุดทหาร
(เพราะมียศนายพลเอก) ด้วย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม
พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง
เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436
(ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม
ลำดับที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง
(สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อ
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935)
รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
(ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับ
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์)
ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา.....




5



Activities surrounding Kin Prajadhipok's official visit to
PATTANI [1929] ....ภาพชาวบ้านกำลังจัดขบวนเตรียมรับเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
(หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์)...ตอนเสด็จฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคา
ที่ โคกโพธิ์ มณฑลปัตตานี ที่เกิดเมื่อ 9 พฤษภาคม 2472






6





Activities surrounding Kin Prajadhipok's official visit to
PATTINI [1929] ...ภาพเตรียมการรับเสด็จ.
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
(หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์)...ตอนเสด็จฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคา
ที่ โคกโพธิ์ มณฑลปัตตานี ที่เกิดเมื่อ 9 พฤษภาคม 2472







7




1898 Chulalongkorn-era concubine household ....
ภาพห้องเครื่องต้น(ห้องครัว)สมัยรัชกาลที่ 5....
ภาพถ่ายชุดนี้เป็น ชุดภาพพระราชวังสวนดุสิต จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติื
โดย แสดงสภาพ ห้องเครื่องในพระตำหนักของพระองค์เจ้าสาย หรือ
พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ทรงควบคุมห้องเครื่องในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งคาวหวาน ..
แต่ในภาพนี้ เป็นภาพ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี





8




1898 Chulalongkorn-era concubine household ....
ภาพห้องเครื่องต้น(ห้องครัว)สมัยรัชกาลที่ 5....household ...
เป็นภาพห้องเครื่องในพระตำหนักของพระองค์เจ้าสาย........
พระองค์เจ้าสาย หรือ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ทรงควบคุมห้องเครื่องในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งคาวหวาน



เพลงต้นวรเชษฐ์ :: วง ไหมไทย




ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ครูบาอาจารย์ทางดนตรีไทยได้อาศัยแรงบันดาลใจ
จากเพลงไทยประเภทเพลงเรื่อง โดยมีการนำเพลงในบางวรรคบางตอน มาสร้างสรรค์
เป็นบทเพลงใหม่ๆในแต่ละยุคแต่ละสมัย สำหรับชุดนี้ วงดนตรีฟองนํ้าได้บันทึกผลงาน
เพลงต้นวรเชษฐ์ใน ๓ ลีลา ซึ่งแตกต่างกัน โดยในช่วงแรกจะบรรเลงในลักษณะของ
เพลงสองไม้ที่อยู่ในเพลงเรื่องเต่ากินผักบุ้ง ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยาและบรรเลงต่อมาด้วย
ทำนองต้นวรเชษฐ์ทางฝรั่งมาจาก ครูพริ้ง ดนตรีรส ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า หลวงชาญเชิงระนาด
เป็นผู้แต่ง และเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ ของวิวัฒนาการของความคิดของคนไทยจากอดีต
ถึงปัจจุบัน เราจะได้ยินเสียงโหม่ง ฉิ่ง และบัณเฑาะว์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของพระศิวะ
เทพเจ้าผู้กำหนดกาลเวลา เพื่อจะสร้างความรู้สึกในผู้ฟังว่าเวลากำลังผ่านไปพร้อมกับ
ความคิดของมนุษย์ที่ได้พั­ฒนาไปจากหลักการของโบราณ เพลงต้นวรเชษฐ์

ดังกล่าวนี้บรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงแขกไทรทางชวาของ ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
[ ศร ศิลปบรรเลง ] และเพลงมโนราห์บูชายัญ ของอาจารย์มนตรี ตราโมท
โดยในตอนท้ายจะออกด้วยเพลงต้นวรเชษฐ์ในอัตราชั้นเดียวและบรรเลงออกลูกหมด


ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Internet + Facebook




**************************************




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 8 สิงหาคม 2555 18:44:11 น.
Counter : 2257 Pageviews.


jamaica
Location :
1 Albania

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ฝากข้อความที่นี่ค่ะ^_^


++ Harmony of Life ++
ช่วงเวลาดีๆ และ....
ความรู้สึกดี ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ
เมื่อเรามีหัวใจจะสรรค์สร้าง
รู้สึกดีกับตัวเราเองรู้สึกดีกับสิ่งต่างๆ
กับใครๆรายรอบตัว......และ
แบ่งปันความรู้สึกที่ดีให้แก่กัน
ทุก ๆวัน ก็จะเต็มไปด้วยความสุข
และความรู้สึกดีๆ ค่ะ ^_^



"เปิดBlog 5 กรกฎาคม 2553"

ขอบคุณทุกๆกำลังใจที่มอบให้
jamaica's Blog นะคะ


BlogGang Popular Award # 6

BlogGang Popular Award # 7

BlogGang Popular Award # 7

BlogGang Popular Award # 8

BlogGang Popular Award # 8

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award #10
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
25 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jamaica's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.