Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
9 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 

“นกกระติ๊ดเขียว”กับ “ดอกไผ่บาน”

นกกระติ๊ดเขียว หรือนกไผ่ Erythrura prasina (Pin-tailed Parrotfinch) เป็นนกตัวเล็กสีสวยที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องชอบใจในรูปร่างเล็กน่ารักและสีสันสดใส ที่สำคัญ ไม่ใช่นกที่หาพบได้ง่ายๆ

คำว่ากระติ๊ดเขียวบอกเราว่านกชนิดนี้เป็นญาติกับนกกระติ๊ดอื่นๆที่เรารู้จัก และเป็นนกที่มีสีสันบนตัวส่วนใหญ่เป็นสีเขียว ขณะที่ชื่อ นกไผ่ บอกว่า เรามักพบนกชนิดนี้ที่ต้นไผ่ โดยเฉพาะในวันที่ “ดอกไผ่บาน”







ต้นไผ่เป็นต้นหญ้าที่อายุยืนที่สุด มีขนาดใหญ่โตที่สุด มีการขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อทุกๆปี และการแตกหน่อแตกกอนี่เองที่ทำให้ต้นไผ่มีสภาพกลายเป็นกอไผ่ ต้นไผ่ยืนต้นทั่วโลกมีประมาณ 77 สกุล 1030 ชนิด พบในประเทศไทยราว 15 สกุล 82 ชนิด นอกจากการแตกหน่อแล้ว ไผ่ทุกชนิดยังคงมีการขยายพันธุ์แบบเดียวกับหญ้าอื่นๆคือ ออกดอก ผลิตเมล็ด และต้นแม่ก็ตายไป เมื่อเมล็ดไผ่ร่วงลงดินก็จะเติบโตเป็นต้นไผ่ต่อไป ซึ่งอายุขัยของไผ่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด บางชนิดใช้เวลา30-50ปีจึงจะออกดอก ขณะที่บางชนิดก็ใช้เวลาเป็นร้อยปี

(ข้อมูลจาก //www.dnp.go.th)



นกกระติ๊ดเขียว เป็นนกกระติ๊ดที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียงราว 13 เซนติเมตร นกตัวผู้ขนคลุมลำตัวด้านบนเป็นสีเขียว หน้าและคอสีน้ำเงิน ท้องสีน้ำตาลอมเหลือง ท้อง ตะโพก หาง สีแดงสด ขนหางคู่กลางยาวยื่นออกมาราว2.5-3เซ็นติเมตร นกตัวเมียสีอ่อนกว่าตัวผู้ ขนหางคู่กลางไม่ยาวยื่นออกมา







แม้อาหารที่โปรดปรานจะเป็นเมล็ดไผ่ ขุยไผ่ แต่นกชนิดนี้ก็กินเมล็ดพืชแก่อื่นๆเช่นข้าว เมล็ดธัญพืช แมลง และตัวหนอนด้วย โดยอาจพบหากินบนต้นหรือลงหากินบนพื้นดิน นกจะหากินและรวมกลุ่มเป็นฝูงอาจถึงร้อยตัว ในเวลานอน นกก็จะไปหาที่นอนรวมกันในพุ่มไม้เตี้ยที่มองดูรกทึบจากภายนอก ไกลจากแหล่งอาหารพอสมควร และมักไม่นอนซ้ำที่เดิม

นกไผ่ทำรังวางไข่ในช่วงราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงกันยายน ทำรังตามกอไผ่ หรือต้นไม้ขนาดเล็กเป็นทรงกลมมีรูทางออกด้านข้าง วัสดุอาจเป็นใบไผ่ ใบหญ้ามาสานกัน วางไข่ครั้งละ4-6ฟอง





เราสามารถพบนกชนิดนี้ได้ทั่วประเทศตามชายป่า ป่าชั้นรอง ป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง1500เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ไม่ได้พบบ่อยมากนัก และเมื่อพบที่ไหนแล้วก็มักไม่ได้เจอในที่เดิมอีกนาน ทั้งนี้เป็นเพราะนกจะย้ายที่หากินไปเรื่อยๆตามแหล่งอาหาร ที่สำคัญนักดูนกมักพบนกชนิดนี้เมื่อมากินดอกไผ่-เมล็ดไผ่ และเมื่อไผ่ออกเมล็ดและตายไปแล้วก็ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยหลายสิบปีกว่าจะโตจนแก่และผลิตเมล็ดได้อีก

นอกจากประเทศไทยแล้ว นกกระติ๊ดเขียวยังเป็นนกประจำถิ่นของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศอื่นๆอีกด้วย





เจ้าของบล็อกเคยพบนกไผ่มากินเมล็ดไผ่ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเมล็ดไผ่ที่นั่นมีลักษณะเป็นฝักเล็กๆปลายแหลม มองดูคล้ายเมล็ดพันธุ์ดอกดาวกระจาย เมื่อลองหักออกจะมีลักษณะเป็นน้ำนม หรือเป็นแป้งๆ ขณะที่ในภาพที่เห็นนี้ นกกระติ๊ดเขียวมากินเมล็ดของต้นไผ่บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกๆขุยๆ ตั้งแต่ราวปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนตอนนี้(5 กุมภาพันธ์2550) ก็ยังคงกินอยู่อย่างต่อเนื่อง สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเห็นนกตัวเล็กสีสวยที่หาดูไม่ได้ง่ายๆนี้อย่างมากทีเดียว








ข้อมูลจาก ://www.bird-home.com




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2550
7 comments
Last Update : 21 มีนาคม 2550 19:19:09 น.
Counter : 5968 Pageviews.

 

น่ารักมากๆเลยค่ะ นกเล็กๆนี่น่ารักดีนะคะ สีสวยด้วย

 

โดย: แม่ลูกแฝด 9 กุมภาพันธ์ 2550 22:44:04 น.  

 

ดูนกแล้วมีความสุขมากๆค่ะ

 

โดย: d__d (มัชชาร ) 9 กุมภาพันธ์ 2550 23:45:51 น.  

 

เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตาจริงๆค่ะ ^_^

 

โดย: Hana* 10 กุมภาพันธ์ 2550 7:11:39 น.  

 

จุ๋มจิ๋มและจัดจ้าน

 

โดย: pichsud (Pichsud ) 12 กุมภาพันธ์ 2550 19:54:27 น.  

 

เป็นนกที่สีสันเหลือกินมากครับ มีทุกเฉดสีเลย สวมมากครับ

 

โดย: bigwores 14 กุมภาพันธ์ 2550 14:48:55 น.  

 

นกน่ารักมากครับ

รูปก็สวยมาก


แต่...
ทำไมนกไม่นอนซ้ำที่เดิม


กำลังฟังเพลง ดอกไผ่บานอยู่ครับ
//www.carabao.net/MusicStation/musicPlay.asp?id=256
เห็นว่า ดอกไผ่ ไม่ค่อยบาน หรือ นานๆ จะบาน ที
จะหารูปดอกไผ่
เจอในกูเกิ้ล เลยครับมาสวัสดีครับ

 

โดย: tetsuryou 1 เมษายน 2552 21:54:25 น.  

 

ภาพสวยมากๆ เลยค่ะ

 

โดย: yopathum 21 ธันวาคม 2552 11:17:03 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.