เฉลิมศักดิ์1
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
21 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เฉลิมศักดิ์1's blog to your web]
Links
 

 

การกล่าวตู่ปฏิจจสมุปบาทธรรม ของท่านพุทธทาส

ก่อนอื่นขออ้าง ปฏิจจสมุปบาทธรรมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้

มหานิทานสูตร

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------------------------

๒. วิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=33
--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

//www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html

----------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=95&Z=3331


[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
-------------------------------------------------------------------------

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------

ศึกษา อาการ ๒๐ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมเพิ่มเติมได้ที่

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา (อาการ ๒๐)
//abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm

-----------------------------------------------------------------
การแสดงธรรมจากท่านอาจารย์ จาก อภิธรรมมูลนิธิ

//www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=8821

------------------------------------------------------------

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุม ท่านพุทธทาสได้แสดงอัตตโนมติกล่าวตู่พระธรรมว่า

บทนำ
สำหรับการสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่ทำให้ทรงท้อพระทัย ในทีแรกถึงกับจะไม่
ทรงสอน, ที่ทรงสอนแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ดังเรื่องของภิกษุสาติเกวัฏฏบุตร ดังที่กล่าว
ถึงในหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๓๔๗ เป็นต้น, กระทั่งถึงที่พวกเราเวลานี้ สอนเรื่องนี้
กันไม่รู้เรื่อง, พูดกันไม่รู้เรื่อง, สนทนากันไม่รู้เรื่อง, รับคำสอนแล้วปฏิบัติ
อะไรไม่ได้, ยิ่งปฏิบัติยิ่งผิดไกลออกไปอีก, ดังนี้เป็นต้น.

เมื่อทรงสอนศีลธรรม ก็ต้องตรัสอย่างมีสัตว์ มีบุคคล มีตัวตน กระทั่ง
มีตถาคตเอง, กระทั่งสอนให้ทำบุญกุศล ตายแล้ว จะได้ผลรับบุญกุศลที่สร้างไว้.
ครั้นทรงสอนปรมัตถธรรม ก็ตรัสอย่างไม่มีสัตว์ บุคคล กระทั่งตถาคตเอง, มีแต่
สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นชั่วขณะ ๆ ทยอยกันไป ที่เรียกว่าปฏิจจสมุปปันนธรรมแต่ละอย่าง ๆ
ติดต่อกันเป็นสาย เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท. ไม่มีทางที่จะพูดว่าตัวใคร แม้ในขณะนี้,
จึงไม่มีใครเกิด หรือใครตาย ไปรับผลกรรมเก่า ทำนองสัสสตทิฏฐิ, และทั้งไม่ใช่
ตายแล้วก็สูญไปในทำนองอุจเฉททิฏฐิ, เพราะว่าไม่มีคนที่จะตายไปขาดสูญเสียแล้ว
ตั้งแต่บัดนี้. ความอยู่ที่ตรงกลางนี้แหละ คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือ
มัชฌิมาปฏิปทาทางปรมัตถธรรม, คู่กับอริยมรรคมีองค์แปด ซ่งเป็นมัชฌิมาปฏิปทา
ที่ใช้กระทั่งทางศีลธรรม. ตามปรกติดคนธรรมดาทั่วไป ก็ยึดถือทางศีลธรรมเพื่อ
สบายใจอยู่ด้วยความดี ตลอดเวลาที่เหตุปัจจัยของความดียังไม่เปลี่ยนแปลง. พอเหตุ
ปัจจัยนั้นเปลี่ยนแปลง หรือว่ามันแสดงความไม่เที่ยงเป็นอนัตตา และเป็นทุกข์ เพราะ
ความยึดถือขึ้นมา ความรู้เพียงแค่ศีลธรรมนั้น ก็ไม่เป็นที่พึ่งได้ จุงต้องหันไปหาเรื่อง
ปรมัตถธรรม เช่นเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ เพื่อกำจัดความรู้สึกเป็นทุกข์ ที่เลื่อนระดับ
สูงขึ้นไป, คือมีใจอยู่เหนือความมีตัวตน หรืออะไรที่เป็นของตน กระทั่งความดีชั่ว
บุญบาป สุขทุกข์, โดยไม่มีความทุกข์อะไรเหลืออยู่เลย. ดังนั้น การสอนเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทชนิดที่มีตัวตนและเนื่องกันเป็นชาติ ๆ ไปนั้น ผิดหลักปฏิจจสมุปบาท หรือ
ผิดหลักของพุทธวจนะ ซึ่งต้องการจะสอนให้คนหมดสิ้นความรู้สึกว่าตัวตน, หรืออยู่
หลักปฏิบัติ ดับทุกข์ โดยอย่าให้กระแสปฏิจจสมุปบาทเกิดได้


เหนือความรู้สึกว่ามีตัวตนโดยประการทั้งปวง. ดังนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงไม่
เกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม ที่ยังต้องอาศัยสัสสตทิฏฐิ หรือความมีตัวตนเป็นมูลฐาน
แต่ประการใด.

อย่างไรก็ตาม เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ อาจมีได้เป็น ๒ อ่ยาง คือ อย่างที่
อธิบายผิดหรือเฟ้อ จนปฏิบัติอะไรไม่ได้ และอธิบายกันมาผิด ๆ ตั้งพันปีแล้ว (ดังที่-
กล่าวในหน้า ๓๓๗ แห่งหนังสือเล่มนี้), และอีกอย่างหนึ่งก็คือปฏิจจสมุปบาท ที่ถูกต้อง
หรืออธิบายอย่างถูกต้องตรงตามพุทธประสงค์ ใช้ปฏิบัติได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ได้รับผลที่นี่
เดี๋ยวนี้, ได้แก่การระวังเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ อย่าให้เวทนาปรุงเป็นตัณหา
ขึ้นมาได้, และปฏิบัติกันอยู่ทั่ว ๆ ไปโดยไม่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทก็ยังมี และได้ผล
เป็นที่พอใจอยู่ตลอดเวลา. ผู้สนใจจะต้องระวังให้ดี เพื่อให้ถูกตัวปฏิจจสมุปบาท
ของพระพุทธเจ้า ในเมื่อมันปนเปกันอยู่เป็นสองชนิดนี้. ปฏิจจสมุปบาทที่แท้ของ
พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่อุจเฉททิฏฐิ ที่จะทำให้คนไม่ทำดี ไม่รับผิดชอบ หรือไม่รักชาติ
เหมือนที่ชอบหาความกันอยู่ทั่วไป, และทั้งไม่ใช่สัสสตทิฏฐิ ที่ทีให้คนหลงตัวเอง หรือ
หลงชาติ หลงทุกอย่างที่เป็นตัวตนของคน อย่างคนบ้าหลัง. ปฏิจจสมุปบาทไม่ใช่
เรื่องเฟ้อทางปริยัติ เหมือนที่พูดกันอยู่โดยมาก, แต่ต้องเป็นเรื่องปฏิบัติที่รัดกุม คือ
มีสติควบคุมความรู้สึก เมื่อมีการกระทบทางอายตนะ อย่างให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ
ชาติ ขึ้นมาได้ โดยที่ไม่ต้องใช้คำว่า " ปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งเป็นคำเทคนิดมากเกินไป
นี้ก็ยังได้.

สิ่งที่เราจะต้องช่วยกันระวัง ก็คือ อย่าอธิบายปฏิจจสมุปบาท อันเป็นหัวใจ
ของพุทธศาสนา ให้กลายเป็นลัทธิ อนิมิสมฺ ที่มี จิต เจตภูต วิญญาณอะไร ในทำนอง
เป็นฝีมีตัวตนไปเกิด หรือสิ่งในร่างที่เกิดแล้ว อยู่ตลอดเวลาเลย, นักศึกษาหรือฝรั่ง
แห่งยุคปรมาณู ยุคอวกาศ หรือยุคปิงปองก็ตาม เขาจะหัวเราะเยาะเอา. ขอให้
ช่วยกันกู้หน้าพุทธบริษัทไทย ในส่วนนี้อย่างเคร่งครัด. อย่างเอาการสอนศีลธรรม
ด้วยภาษาคนหรือภาษาสัสสตทิฏฐิ มาปนกันกับการสอนปรมัตถธรรม ด้วยภาษาธรรม
หรือภาษาสัมมาทิฏฐิอันสูงสุด กล่าวคือความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้เลย : การปฏิบัติ
ตามหลักปกิจจสมุปบาทนั้น จัดเป็น มัชฌิมาปฏิปทาฝ่ายปรมัตถธรรม (ปรากฎอยู่ใน
สูตรที่ ๕ อาหารวัคค์ นิทานสังยุตต์ ๑๖/๒๑/๔๓ ). และในสูตรเดียวกันนี้ ได้ทรงระบุ
สัมมาทิฏฐิอันสูงสุด หรือที่เป็นโลกุตตระ ว่าได้แก่ทิฎฐิที่ไม่เอียงไปทางสัสสตทิฏฐิ
หรืออุจเฉททิฏฐิ ด้วยอำนาจความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง. ปฏิจจสมุปบาท เป็น
เรื่องอยู่ระหว่างกลาง : ระหว่างความมีตัวตน กับความขาดสูญจากตัวตน, และเป็น
เรื่องที่มีหลักของตัวเองว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ".
และหลักอันนี้เอง ที่ทำพุทธศาสนาไม่ให้ตกไปฝ่ายสัสสตทิฏฐิ และทั้งฝ่ายอุจจเฉททิฏฐิ,
แต่อยู่ตรงกลาง. ดูให้ดี ๆอย่าให้เรื่องมันกลายเป็นว่า เรากำลังสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท
อย่างไม่ใช่พุทธ แต่กลายเป็นฮินดูหรือพราหมณ์ไปเสียแล้ว. ในหมู่ที่มีสัสสตทิฏฐิจะมี
ปฏิจจสมุปบาทไป ในรูปของสัสสตทิฏฐินั้น คือการทำลายหลักเรื่องปฏิจจสมุปบาทเสีย
นั่นเอง. นี่แหละคือข้อที่ต้องระวัง.


ข้อความในบาลี คือพระพุทธวจนะ ในสูตรทั้งหลายที่เป็นของเดิม ๆ
พิจารณาดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีการแยกกันได้อย่างชัดแจ้ง : เป็นเรื่องทางศีลธรรม ของ
ผู้ที่ยังต้องมีสัสสตทิฏฐิอยู่พวกหนึ่ง, และเป็นเรื่องทางปรมัตถธรรมเพื่อทำลายสัสสตทิฏฐิ
ผู้ที่ยังต้องมีสัสสตทิฏฐิอยู่พวกหนึ่ง, และเป็นเรื่องทางปรมัตถธรรมเพื่อทำลายสัสสตทิฏฐิ
เสีย และก็ไม่เลยไปถึงอุจเฉททิฏฐิด้วย นี้ก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง. ครั้นตกมาถึงยุคอรรถกถา
เกิดการน้อมเอียงขึ้นมามากมายทั่วไปหมด คืออธิบายเรื่องปรมัตถธรรม ไปในรูปของ
สัสสตทิฏฐิ แม้กระทั่งเรื่องเช่นปฏิจจสมุปบาทนี้, มีโอกาสสักนิดหนึ่งเมื่อไร ก็จะ
อธิบายไปในรูปที่มีตัวตน ตายแล้วไปเกิดโดยคนคนเดียวกัน, หรือกลายเป็นเรื่อง
วัตถุไปหมด. ตัวอย่างเช่นนรก ก็จะอธิบายแต่นรกใต้ดิน หลังจากตายแล้วทั้งนั้น,
ไม่ชี้นรกในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่น่ากลัวกว่า และอยู่ที่นี่แล้ว เสียเลย, หาก
จะมีนรกชนิดที่ตรัสไว้ในลักษณะที่เกิดทางเวทนาในปฏิจจสมุปบาท ก็พาเอาไปไว้ใต้ดิน
หลังแต่ตายแล้วเสียตามเคย. ดังนั้น ในการศึกษาเรื่องปฏจจสมุปบาทนี้ ต้องถือ
เอาบาลีเดิมเป็นหลัก อย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่งไม่ลืมหูลืมตา, หรืออย่ามอบตัว
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ให้กับหนังสือที่แต่งชั้นหลัง เช่นคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น (ซึ่งเชื่อ
กันว่าผู้แต่งเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้รวบรวมอรรถกถาทั้งหมด ) ซึ่งจะทำให้ได้ยิน
ได้ฟังแต่เพียงอ่ย่างเดียว เหมือนกับการผูกขาด. แต่จะต้องสงวนสิทธิ์ และใช้สิทธิ์
ตามที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้ โดยหลักแห่งกาลามสูตร, และมหาปเทสฝ่ายสุตตันตะ
ดังที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรเป็นต้นนั่นเอง มาเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกัน การตก
เป็นทาสของหนังสือที่แต่งหรือเป็นอธิบายกันในชั้นหลัง ซึ่งเอียงไปในทางสัสสตทิฏฐิยิ่งขึ้น
ทุกที. แต่ถ้ามีมหาปเทสเป็นต้นชนิดที่อยู่ในมือ เราจะสามารถเลือก เฟ้นเอาแต่ของ
ที่ถูกต้อง ออกมาจากกองขยะกองใหญ่ที่สุม ๆ กันไว้นั้นได้ อย่างมากมายเหมือนกัน,
มิใช่จะไม่มีประโยชน์อะไรเสียเลย, เว้นแต่ว่าจะต้องมีการเลือกคัดอย่างเคร่งครัด ตาม
เกฏเกณฑ์ที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ สำหรับการเลือกคัดจริง ๆ เท่านั้น. ท่านผู้เป็น
นักปราชญ์แห่งยุค เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านก็
ทรงแนะไว้อย่างนี้, แถมทรงแนะให้กระทำการวิจารณ์เช่นนี้ แม้แก่ปกรณ์ชั้นบาลี
สังคีติด้วยซ้ำไป, และข้าพเจ้า ก็ได้ทำตัวเป็นสานุศิษย์ที่เชื่อฟังอ่ย่างดีของท่าน
ตลอดมา. ตามหลักการขอบมหาปเทสนั้น สิ่งใดหรือปัญหาใด ลงกันไม่ได้กับหลักการ
ส่วนใหญ่ในธรรมและวินัยหรือที่เรียกว่า สุตฺเต โอสาเรตพฺพํ, วินเย สนฺท เสตพฺพํ,
แล้วให้ถือฟังมาผิด จำมาผิด อธิบายผิด หรือสอนผิดแล้วแต่กรณี. สำหรับกรณีของ
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีหลักการใหญ่เพื่อกำจัดสัสสตทิฏฐิ และไม่เลยออกไปสู่อุจเฉททิฏฐิ
ด้วยในขณะเดียวกัน, ดังนั้น การสอนปฏิจจสมุปบาท ให้เข้าใจไปในทำนองว่าเป็น
บุคคลคนเดียวกัน ๓ ชาตินั้น, เป็นสิ่งที่รับไม่ได้โดยมหาปเทส. หนังสือ "ปฏิจจ-
สมุปบาทจากพระโอษฐ์ " ที่กำลังจัดพิมพ์อยู่จะช่วยพิสูจน์อย่างมากในข้อนี้.

หลักเกณฑ์ที่เนื่องกันอยู่กับปฏิจจสมุปบาท จะมีอยู่ดังต่อไปนี้ :-

๑. จะมีภพ หรือชาติ ทุกคราวที่มีการกระทบทางอายตนะ ที่ปราศจาก
สติปัญญาในเรื่องของวิมุตติ ดังที่กล่าวไว้ในหน้า ๓๗๒ ของหนังสือนี้, เรียกอีกอย่างหนึ่ง
ก็ว่า ในขณะกระทบนั้น มีแต่อวิชชา จึงปรุงเป็นปฏิจจสมุปบาท.

๒. ในภาษาปฏิจจสมุปบาท จะไม่มีคำว่า บุคคล ตัวตน เรา เขา
ซึ่งเป็นผู้มีทุกข์ หรือดับทุกข์ หรือแล่นท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร ดังเรื่องของภิกษุ
สาติเกวัฏฏบุตร ในหน้า ๓๔๗ ของหนังสือนี้.

๓. ในภาษาปฏิจจสมุปบาท จะไม่มีคำว่า "สุข" จะมีแต่คำว่าทุกข์
และดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เพราะไม่มุ่งจะแสงสุข ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัสสตทิฏฐิ, เว้นแต่
จะกล่าวโดยภาษาคน ถือเอาภาวะไม่มีทุกข์นั้น เป็นความสุขเพื่อประโยชน์แก่การสอน
ศีลธรรมเท่านั้นเอง ดังที่กล่าว่า นิพพานเป็นยอดสุขเป็นต้น.

๔. ปฏิสนธิวิญญาณ ชนิดที่เป็นตัวตน ไม่มีในภาษาปฏิจจสมุปบาท,
ดังนั้นคำว่าวิญญาณไปปฏิจจสมุปบาท จึงทรงระบุไปยังวิญญาณหก, แต่ถ้าจะหาเลศ
เรียกวิญญาณเหล่านี้ว่า " ปฏิสนธิวิญญาณ " ก็ยังมีทางทำได้ คืออธิบายว่า วิญญาณหก
นี้เอง ก่อให้เกิดนามรูป-สฬายตนะ - ผัสสะ- - เวทนาขึ้นมา, แล้วยังสืบต่อลงไป
ถึงภพ และชาติ อันเป็นตอนปลายของปฏิจจสมุปบาท, แต่พระองค์ไม่ทรงเรียก
หรือทรงอธิบายไว้ในที่ไหนว่า ปฏิสนธิวิญญาณ, เพราะทรงประสงค์ให้เรามองกัน
ในแง่ของวิญญาณ ตามธรรมนั่นเอง. คำว่า ปฏิสนธิวิณณาณ เพิ่งมีใช้ในหนังสือ
ชั้นหลัง เป็นการดังสัสสตทิฏฐิกลับเข้ามาสู่พุทธศาสนาโดยปริยาย และเป็นกาฝากของ
พุทธศาสนา ซึ่งจะคอยกัดกินพุทธศาสนาให้หมดไป. เรามีวิญญาณหก ตามธรรมดา
และมีปฏิจจสมุปบาทได้โดยไม่ต้องอาศัยคำว่า ปฏิสนธิวิญญาณเลย.

๕. ในวงของปฏิจจสมุปบาท มีแต่ปฏิจจสมุปบาทปันนธรรม คือสิ่งที่ได้
อาศัยสิ่งอื่น แล้วเกิดขึ้น ปรากฏอยู่ชั่วขณะ เพื่อปรุงแต่งให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป. การที่
ปรุงแต่งกันนั้นเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท. มีคำที่ต้องสนใจหรือศึกษาเพียงสองคำเป็น
หลักสำคัญ, อย่าให้เกิดเป็นตัวตน หรือเป็นสัสสตทิฏฐิขึ้นมา, และก็อย่าให้เห็นเป็น
ตรงกันข้ามจากตัวตน จนไม่มีอะไรเสียเลย คือกลายไปเป็นอุจเฉททิฏฐิ, แต่ให้อยู่
ตรงกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือมีปฏิจจสมุปปันนธรรมนั่นเอง.

๖. ถ้ากล่าวไปในทางเรื่องกรรม : ปฏิจจสมุปบาทมุ่งหมายแสดง
กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว และเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำกรรมขาว, โดยจัด บุญ อบุญ
และอเนญชา เป็นเรื่องทุกข์ไปหมด, ต้องเหนือสิ่งทั้งสามนี้ จึงจะดับทุกข์สิ้นเชิง;
ดังนั้นจึงไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวตน หรือสัสสตทิฏฐิแต่ประการใดได้.

๗. หลักพุทธศาสนา ต้องประกอบอยู่ด้วยความเป็นปัจจุบันธรรมหรือ
สันทิฏฐิโก เสมอ ; การให้ปฏิจจสมุปบาทรอบเดียวกินเนื้อที่ตั้ง ๓ ชาติ ( ตามความ
หมายในภาษาคนธรรมดา ) นั้นไม่ใช่หลักสันทิฏฐิโก ; อาการของปฏิจจสมุปบาท
ทั้ง ๑๑ อาการ ต้องเป็นสันทิฏฐิโก ทั้ง ๑๑ อาการตลอดเวลา ,จึงจะเป็นปฏิจจสมุปบาท
ชนิดที่ทรงสอน.

๘. สูตรของปฏิจจสมุปบาทนั้น ตรัสไว้หลายแบบ เช่นแบบอนุโลม
จากอวิชชาไปหาความทุกข์ , แบบปฏิโลม จากความทุกข์ไปหาอวิชชา, และมีทั้ง
ฝ่ายนิโรธวาร คือการดับ ซึ่งตรัสทั้งสองแบบด้วยเหมือนกัน, และยังมีตรัสตั้งตัน
ที่อายตนะกระทบกัน แล้วเกิดวิญญาณผัสสะเวทนาไปเลย โดยไม่ต้องกล่าวชื่อของ
อวิชชาออกมา ก็ยังมี, และตรัสเพียงเวทนาลงไปหาความทุกข์ก็มี. ที่แปลกที่สุดนั้น.
ตรัสรวมสมุทยวารกับนิโรธวารไว้ในสายเดียวกัน คือตรัสว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร-
วิณณาณ - นามรูป ไปจนถึงตัณหา แล้วเปลี่ยนเป็นตรัสความดับของตัณหา - อุปาทาน
-เรื่อยไปจนถึงดับทุกข์; ทำนองจะทรงแสดงยืนยันว่า แม้ปฏิจจสมุทบาทจะดำเนิน
ไปจนถึงตัณหาแล้ว ก็ยังอาจจะเกิดสติกั้นกระแสตัณหานั้นให้หยุด และวกกลับ
กลายเป็นการดับทุกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์. ถ้าเราจะนำเอาสูตรของปฏิจจสมุปบาท
ทุก ๆ แบบมาดูพร้อม ๆกัน จะทำให้มองเห็นได้ชัดทีเดียวว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้
ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกินเนื้อที่หรือเวลา คร่อมกันถึง ๓ ภพ ๓ ชาติ ( ตามความหมาย
ในภาษาคนธรรมดา ) เลย.


๙. ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของขณิกวาท ไม่ใช่สัสสตวาท, ดังนั้น
คำว่า เกิด คำว่า ชาติ เป็นต้น ย่อมหมายถึงการเกิด ในขระแห่งปฏิจจสมุปบาท
สายหนึ่ง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนธรรมดา, คือเผลอสติเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ
ครั้งหนึ่ง ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๑. นั่นเอง, รู้ได้ง่าย ๆ เช่นเกิดโลภ, หรือโกรธ,
หรือหลง, ครั้งหนึ่ง ๆ ก็มีการเกิดแห่งตัวกูชาติหนึ่ง ๆ เสร็จไปแล้ว. ถ้าใครยังรักที่จะ
ใช้คำว่า ชาตินี้ ชาติหน้าอยู่ ก็จงถือเอาชาติในลักษณะขณิกะ เช่นนี้ก็ยังได้, ยังจะ
ตรงตามความเป็นจริง เป็นสันทิฏฐิโก และมีประโยชน์กว่า ที่จะถืออาการเกิดตาม
ภาษาคน ( คือออกจากท้องแม่ครั้งหนึ่ง ) ซึ่งไม่ใช่ภาษาปฏิจจสมุปบาทที่เป็นภาษา
ขณิกวาท, และทำให้เข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทไม่ได้. เราควรจะชอบชาติหน้า
ที่ใกล้ ๆ ที่คว้าถึง และจัดการได้ตามต้องการ ดีกว่าชาติหน้าไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน.


๑๐. ปฏิจจสมุปบาท สำหรับพูด นั้นเป็นปรัชญา ; ไม่จำเป็น และ
ไม่มีประโยชน์อะไรนัก. ปฏิจจสมุปบาทแท้จริง คือการปฏบัติ เพื่อไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้น
มาได้ ด้วยการมีสติในทวารทั้งหก เมื่อมีการกระทบทางอายตนะนั่นเอง โดยหลักที่
เรียกว่า สำรวมอินทรีย์ในทวารทั้งหลาย โดยประการที่อาสวะจะไม่เกิดขึ้นได้, ซึ่ง
เป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารอยู่โดยสมบูรณ์, แม้จะมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น แต่เป็น
เรื่องเดียวกันแท้. ปฏิจจสมุปบาทชนิดนี้ตรัสเรียกว่า สัมมาปฏิปทา (๑๖/๕/๒๐).
ทั้งหมดนี้ เป็นหลักทดสอบเพื่อรู้จักปฏิจจสมุปบาทที่แท้จริง คือปฏิบัติได้
และมีประโยชน์แก่การดับทุกข์โดยตรง : มีความทุกข์เพราะกิเลสครั้งหนึ่ง ก็จัดเป็น
ปฏิจจสมุปบาทคราวหนึ่ง หรือรอบหนึ่ง, และคล้ายกับมีการเกิด ๒ หน คือ
เมื่ออายตนะภายนอกและภายในกระทบกัน เกิดวิญญาณขึ้น ในขณะที่ประกอบอยู่ด้วย
อวิชชา นี้คือการเกิดขึ้นของวิญญาณ - นามรูป - อายตนะ ซึ่งก่อนหน้านี้ เหมือนกับ
มิได้มี เพราะกำลังหลับอยู่. วิญญาณในขณะนื้จึงอยู่ในลักษณะที่พวกสัสสตทิฏฐิจะขนาน
นามให้ว่า " ปฏิสนธิวิญญาณ " ครั้นเกิดเวทนาด้วยอำนาจของผัสสะแล้ว ก็จักเกิดกิเลส
โดยตรง คือตัณหาอุปาทานอันจะก่อให้เกิดภพ - ชาติ ซึ่งเป็นการเกิดอีกครั้งหนึ่ง, ซึ่ง
เป็นการเกิดของอัตตวาทุปาทาน เป็นตัวกู - ของกู อันจะเสวยทุกข์ด้วยปัญหาอันเกิดมา
จากชาติ - ชรา -มรณะ -โสกะ - ปริเทวะ -ทุกขะ -โทมนัส -อุปยาส. หรือที่เรียก
รวม ๆ ว่า ปัญจุปาทานักขันธ์อันเป็นทุกข์. รวมความว่าในปฏิจจสมุปบาทรอบหนึ่ง
จะมีการเกิด ๒ หนดังนี้, แต่ไม่จำเป็นต้องตายเข้าโลง จึงจะมีตายหรือเกิด ซึ่งเป็น
เรื่องของร่างกายในภาษาคน ไม่ใช่เรื่องปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์ตรัสไว้.

เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ มีประโยชน์ที่ทรงมุ่งหมาย คือจะกำจัดเสียซึ่ง
อัตตานุทิฏฐิ หรือความสำคัญว่าตัวตน ให้ชัดเจนลงไป, ลำพังแต่จำแนกให้เห็นว่า
ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา อย่างนั้นอย่างนี้ มันยังไม่พอ จึงต้องแสดงให้เห็นชัดด้วย
ลักษณาการของปฏิจจสมุปบาท, ว่า ขันธ์ทั้งหลายนี้ เพิ่มเกิดเมื่อมีอาการ ๑๑ อาการ
ของปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นครบถ้วน โดยหลักที่ว่า " เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี, ฯลฯ ".
นี่ทำให้เห็นอนัตตาชัดลงไป ทั้งที่ตัวกิเลส, ตัวกรรม, และตัววิบากของกรรม; หรือ
อีกอย่างหนึ่งก็ว่า เป็นอนัตตาทั้งที่ตัวเหตุและตัวผล ตลอดไปไม่เว้นระยะ. ถ้าไม่
แจ่มแจ้งในอาการของปฏิจจสมุปบาท, เพียงแต่ได้ฟังว่าเบญจขันธ์เป็นอนัตตา; ก็อาจ
จะเกิด ความฉงนอย่างน่าขบขัน ดังเรื่องของภิกษุรูปหนึ่งในปุณณมสูตร ขัชชนิยวัคค์
สังยุตตนิกายว่า " ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ได้ยินว่า ขันธ์ทั้งห้า เป็นอนัตตา,
กรรมทั้งหลายที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตา ที่กระทำได้อย่างไร " ดังนี้,
(๑๗/๑๒๖/๑๙๒). ข้อนี้เป็นการเห็นอนัตตาครึ่งท่อนตามที่ได้ฟังว่า ขันธ์เป็นอนัตตา,
พอจะมองเห็นได้, แต่ครั้นถึงคราวที่การทำกรรมมีผล ก็กระโดดออกไปรับเอาผลนั้น
มาเป็นของตน สุขหรือทุกข์ก็ตาม, ทำให้เกิดอาการเล่นตลกขึ้นมา. แต่ถ้ามีความ
แจ่มแจ้งในอาการของปฏิจจสมุปบาทแล้ว ความหลงชนิดนี้ ก็เกิดขึ้นไม่ได้.
ผู้ที่เข้าใจแจ่มแจ้งในหลักของปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นขณิกวาท ไม่มี
อะไรที่เป็นตัวตนดังที่กล่าวแล้วนั้น ก็ยังสามารถที่จะมีชาตินี้ - ชาติหน้า, มีอบาย คือ
นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย, มนุษย์ สวรรค์ พรหม, กระทั่งถึงพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ได้ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง ด้วยอำนาจการปรุงแต่ง
ของอภิสังขารที่เป็นบุญ เป็นอบุญ และเป็นอเนญชา ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว. ถ้าการ
ปรุงแต่งนั้นสำเร็จรูปในตอนเกิดเวทนา, หรือในตอนเกิดชาติก็ตาม, ถ้ามีอาการ
เป็นความเดือดร้อนใจ ก็มีความหมายแห่งนรก, ดังที่พระองค์ตรัสเรียกในสูตรที่ ๓
ปปาตวัคค์ สัจจสังยุตต์ว่า นรก ชื่อมหาปริฬาหะ, และในสูตรที่ ๒ เทวทหวัคค์
ลฬายตนสัยุตต์ว่า ฉผัสสายติกนรก (๑๘/๑๕๘/๒๑๔) เป็นต้น , ซึ่งเป็นนรกจริง
หรือน่ากลัวยิ่งกว่านรกใต้ดินของพวกสัสสตทิฏฐิ. และในสูตรที่ ๓ ถัดไป ได้ตรัสถึง
สวรรค์ ชื่อ ฉผัสสายติกสวรรค์ ซึ่งเป็นสวรรค์แท้หรือสวรรค์จริง ยิ่งกว่าสวรรค์บนฟ้า
ของพวกสัสสตทิฏฐินั่นเอง. ถ้าเวทนาหรือความทุกข์นั้น เต็มไปด้วยความกลัว ก็เป็น
อสุรกาย, ถ้าเต็มไปด้วยความหิวดั่งใจจะขาด ก็คือเปรต,โง่ก็คือสัตว์เดรัจฉาน, ทุกข์พอ
ประมาณอย่างมนุษย์ก็เป็นมนุษย์, อร่อยอยู่ด้วยกามารณ์นานาชนิด นานาระดับ ก็คือ
สวรรค์ชั้นต่าง ๆ กัน, และเมื่ออิ่มอยู่ด้วยสุขเวทนาหรืออทุกขสุขเวทนาในรูปฌาณ และ
อรูปฌานนานาชนิด ก็คือความเป็นพรหมนานาชนิด อีกนั่นเอง. เป็นของจริงยิ่งกว่า
ที่กล่าวว่าจะได้จะถึงต่อเมื่อเข้าโลงแล้ว. ทั้งนี้เพราะตีความหมายของคำว่า โอปปาติกะ
ในพุทธศาสนาผิดไปนั่นเอง. ใน กระแสนิโรธวาร แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง
เราจะหาพบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริง เป็นสันทิฏฐิโก และปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหิ ยิ่งกว่าพระรัตนตรัย ที่มัวพร่ำเพ้อหากันแต่ปาก ของพวกสัสสตทิฏฐิ
อีกนั่นเอง. ชาตินี้ คือ ปฏิจจสมุปบาททวงปัจจุบัน, ชาติหน้า ก็คือปฏิจจสมุปบาท
วงถัดไป ตามลำดับ ๆ . แม้นี้ก็เป็นชาตินี้ ชาติหน้าที่แท้จริง ยิ่งไปกว่าชาติของพวก
สัสสตทิฏฐิ ที่เอาการเกิดจากท้องแม่และการเข้าโลง เป็นเครื่องกำหนดนับสิ่งที่เรียกว่า
ชาติตามภาษาคน หรือภาษาเด็กอมมือ, ไม่ใช่ภาาปฏิจจสมุปบาท ของพระพุทธองค์เลย.
แม้นี้ก็เป็นเครื่องช่วยได้ดีที่สุดในการศึกษา ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ชนิดที่
เป็นของพระพุทธเจ้า ; มิใช่ของพวกอาจารย์สัสสตทิฏฐิ ที่ว่าเอาเองในยุคหลัง ๆ แล้วก็
ว่าสืบปรัมปราต่อ ๆ กันมาจนบัดนี้.


สิ่งที่ช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริง ที่ว่า ภาษาปฏิจจสมุปบาท หรือภาษา
สูงสุดในทางธรรม เป็นสิ่งที่ต่างจากภาษาชาวบ้านธรรมดา ที่ยังต้องเจืออยู่ด้วยสัสสตทิฏฐิ
นั้น มีอยู่มากมายหลายอย่าง. ตัวอย่างเช่นสิ่งที่เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" : สัมมาทิฏฐิ
ที่ตรัสไว้ในภาษาคนสำหรับปุถุชนทั่วไปนั้น จะระบุว่ามีโลกนี้โลกหน้า มีบิดามารดา
มีนรกสวรรค์ มีกรรมและคนผู้ทำกรรม รับผลกรรม ชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ตาม
โวหารคนธรรมดาสามัญเข้าใจและยึดถือ. ครั้นมาถึง สัมมาทิฏฐิชั้นกลาง ดังที่ปรากฏ
อยู่ในฐานะเป็นองคแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น ไม่ทรงระบุเช่นนั้น, ระบุแต่เรื่องทุกข์ กับ
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น, จะไม่ระบุ หรือยอมรับว่ามีบุคคลผู้ทุกข์ หรือผู้ทำ
การดับทุกข์เลย, และก็เรียกว่าสัมมาทิฏฐิด้วยเหมือนกัน. ครั้นมาถึง สัมมาทิฏฐิ
ชั้นสูงสุด หรือชั้นโลกุตตระจริง ๆ ดังที่ตรัสไว้ใน สูตรที่ ๕ อาหารวัคค์นิทานสังยุตต์นั้น
กลับระบุสูงขึ้นไปอีก คือทิฏฐิที่เห็นปฏิจจสมุปบาทจริงแล้ว ไม่เอียงไปทางอัตตถิตา
(ความเห็นว่าตัวตนมี) และไม่เอียงไปทางนัตถิตา (ว่าตัวตนไม่มี), เพราะเห็น
ชัดอยู่แต่ในระหว่างกลาง คือเห็นกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีอยู่ว่า " เพราะสิ่งนี้มี
สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี “ ดังนี้



หน้า ๔๙
ความหมายของคำในปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็มาถึงคือ ความหมายของคำในปฏิจจสมุปบาทเหล่านี้
ความหมายของคำแต่ละคำเหล่านี้ เป็นความหมายในทางภาษาธรรม ของ ผู้รู้ธรรม ; ไม่ใช่ความหมายของชาวบ้านผู้ไม่รู้ธรรม เราได้แยกออกไว้เป็น ๒ ภาษา คือ ภาษาคน หมายถึงภาษาคนธรรมดาที่ไม่รู้ธรรม ; แล้วก็ภาษาธรรมคือภาษาของผู้รู้ธรรม ; ภาษาปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นภาษาธรรม เดี๋ยวจะแสดงให้เห็นเป็นลำดับไป.
ถ้าเราถือเอาความหมายของปฏิจจสมุปบาทในภาษาคนแล้ว ก็จะเกิดความยุ่งยาก และจะเข้าใจไม่ได้ ; จะยกตัวอย่างให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์นั้น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือการทำลาย อวิชชาเสียได้ : พระพุทธเจ้าทำลายอวิชชาเสียได้ก็คืออวิชชาดับ ; อวิชชาดับสังขารก็ดับ ; สังขารดับ วิญญาณก็ดับ ; วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ; แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่ตาย ? คิดดูทีหรือว่าดับอวิชชาเสียได้ ที่การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์นั้น เพราะอวิชชาดับสังขารก็ดับ คืออำนาจปรุงแต่งทางวิญญาณ และนามรูปก็ดับ , แล้วทำไมพระพุทธเจ้าไม่สิ้นพระชนม์คาที่ที่โคนต้นโพธิ์ นั้นในวินาทีนั้น ? นี้ก็เพราะว่าคำพูดในปฏิจจสมุปบาทนี้มันเป็นภาษาธรรม : คำว่าดับนี้ก็เป็นภาษาธรรม ; คำว่าเกิดนี้ก็เป็นภาษาธรรม ; ไม่ใช่เกิดทางเนื้อหนัง ไม่ใช่ดับทางเนื้อหนัง.
เมื่อเข้าใจไม่ถูกแล้วปฏิจจสมุปบาทสายหนึ่งก็จะเข้าใจเป็นว่าเกิด ๒ หน ; เกิดตรงนามรูปนี้ทีหนึ่ง แล้วไปเกิดตรงชาติโน้นอีกทีหนึ่ง ก็เลยเข้าใจว่าเกิด ๒ หน. เมื่อเข้าใจว่าเกิด ๒ หน ก็เลยมีสายปฏิจจสมุปบาททำให้เป็น ๓ ชาติ คือ ชาติในอดีต ชาติปัจจุบัน ชาติอนาคต มันเลยเตลิดเปิดเปิงยุ่งกันไปใหญ่ไม่ตรงตามเรื่อง ; และที่น่าขันที่สุดก็คือเมื่อเกิดพูดว่า เกิด ๒ หนได้, แต่พอถึงทีดับ หรือตายก็หากล้าพูดว่า ตาย ๒ หนไม่ เพราะไม่รู้ว่ามันจะตาย ๒ หนได้อย่างไร.
คำว่าภพ คำว่าชาติ ที่แปลว่า ความมีความเป็นหรือความเกิดขึ้นในกรณีของปฏิจจสมุปบาทนี้ มิได้หมายถึงความเกิดทางมารดา ไม่ใช่เกิดจากครรภ์มารดา ; มันเกิดทางนามธรรม ที่เกิดด้วยอุปาทาน ที่ปรุงขึ้นมาเป็นความรู้สึกว่า “ ตัวกู “ นั่นแหละคือเกิด . ข้อนี้ก็มีพระบาลีที่ตรัสไว้ชัดที่จะอ้างเป็นหลักได้ก็คือ มหาตัณหาสงขยสูตร อีกเหมือนกัน :-
พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ในสูตรนั้นว่า “ นันทิใดในเวทนาทั้งหลาย นั่นคือ อุปาทาน “ หมายความว่าเมื่อเรามีการกระทบทางอายตนะ เกิดเวทนา เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาอะไรก็ตาม, ก็มีนันทิในเวทนานั้น. * นั่นแหละคืออุปาทาน ; นันทิคืออุปาทาน เพราะว่านันทินี้มันเป็นที่ตั้งของความยึดถือ : ถ้ามีนันทิแล้วก็หมายความว่าต้องมีความยึดถือ.
นันทิแปลว่าความเพลิดเพลินหรือความพอใจ. นันทินั้นเองคืออุปาทานชนิดที่พระองค์ตรัส. เราพอใจสิ่งใดหมายความว่าเรายึดถือสิ่งนั้นเข้าแล้ว เพราะฉะนั้นนันทิเองคืออุปาทาน แล้วนันทินั้นเองเป็นสิ่งที่ต้องมีในเวทนา ; เพราะฉะนั้นเป็นอันว่าเมื่อใดเรามีเวทนา แล้วเมื่อนั้นมีนันทิ แล้วเมื่อนั้นมีอุปาทาน : “ เพราะมีอุปาทานนี้ก็มีภพ, เพราะมีภพนี้ก็มีชาติ , เพราะมีชาตินี้ก็มีชรามรณะเกิดขึ้นพร้อมเป็นความทุกข์ “
นี้แสดงว่าภพกับชาตินี้ มันมีติดต่อกันไปจากเวทนา จากตัณหา จากอุปาทาน ไม่ต้องรอต่อตายแล้วไปเกิดใหม่ ; ไม่ต้องรอให้ตายแล้วไปเกิดใหม่ จึงจะมีภพมีชาติ . สิ่งที่เรียกว่าภพว่าชาตินั้นจะมีอยู่ที่นี่ ในวันหนึ่ง ๆ ไม่รู้กี่ครั้งกี่คราว : และจะมีทุกคราวที่มีเวทนา ; แล้วประกอบอยู่ด้วยอวิชชาซึ่งเพลิดเพลินเป็นนันทิ ; และนันทินั้นคืออุปาทาน; อุปาทานก็สร้างภพสร้างชาติ ; ฉะนั้นคำว่าภพว่าชาตินั้นมีอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ ในวันหนึ่ง ๆ ไม่รู้กี่ครั้งกี่ครา ไม่ต้องรอค่อตายแล้วไปเกิดใหม่
คำว่าภพว่าชาติในลักษณะอย่างนี้ มันเป็นภาษาธรรม ; ภาษาธรรมของผู้รู้ธรรม ไม่ใช่ภาษาชาวบ้าน . ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน ต้องรอต่อตายแล้วไปเกิดใหม่จึงจะมีภพมีชาติ แล้วก็มีทีเดียวเท่านั้น เพราะคนเรามันเกิดมาทีเดียวแล้วก็ตายเข้าโลงไปแล้วจึงจะมีภพมีชาติใหม่อีก. เดี๋ยวนี้ภพหรือชาติในภาษาธรรมมีวันหนึ่งหลายหน คือเกิดตัวกู --- ของกูหนหนึ่ง ก็เรียกว่ามีภพมีชาติหนหนึ่ง. แล้วเดือนหนึ่งก็มีได้หลายร้อยหน, ปีหนึ่งก็หลายพันหน, หลายพันภพชาติ , ฉะนั้นเราจะต้องรู้จัก สิ่งที่เรียกว่าภพว่าชาติ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งหลาย ๆ หนนี้.
ทีนี้จะเห็นได้ทันทีว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นเรื่องที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ; ไม่ใช่รอต่อตายแล้ว หรือต้องกินเวลาตั้ง ๓ ชาติจึงจะมีปฏิจจสมุปบาทสักรอบหนึ่ง. ที่แท้ในวันหนึ่ง ๆ มีตั้งหลาย ๆ หน ; เมื่อใดมีเวทนา มีตัณหาอุปาทาน เมื่อนั้นมีรอบของปฏิจจสมุปบาท แล้วมีภพมีชาติ ; ทำให้เห็นได้ว่ามันมีในชีวิตประจำวันของคนทุกคน .
------------------------------------------------------------------------
หน้า ๕๙
อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร.
เอาละทีนี้จะพูดต่อไปถึงความรู้ที่มันจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นว่า ทำไมจึงอธิบายผิด ? และ อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
เดี๋ยวนี้ในเมืองไทยก็ดี ในประเทศพม่าก็ดี ในประเทศลังกาก็ดี สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันแทบทั้งนั้น คือสอนตามข้อความที่มีอธิบายอยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรื่องมี ๓ ชาติ คร่อม ๓ ชาตินี้ พวกฝรั่งชั้นเก่งที่สุดก็ถือเอาตามนี้. อธิบายเอาตามนี้เป็นคุ้งเป็นแควไปเลย. แปลว่าทุก ๆ ประเทศที่เป็นพุทธบริษัทเขากำลังสอนปฏิจจสมุปบาทชนิดที่คร่อม ๓ ชาติ, สายเดียวคร่อม ๓ ชาติ. กันอยู่ทั้งนั้น. นี่เมื่อพูดอะไรแปลกออกไปมันก็จะต้องถูกด่าจากคนทั้งโลกก็ว่าได้. ผมกำลังพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะคร่อม ๓ ชาติ. ดังนั้นต้องติดตามว่ามันอธิบายผิดได้อย่างไร ? อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
อธิบายกันผิดมาตั้งแต่เมื่อไรอันนี้รู้ได้ยาก. แต่ข้อที่ว่าอธิบายผิดรู้ได้ง่าย เพราะมันผิดจากพระบาลีเดิม และเพราะผิดความมุ่งหมายของปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงสอนเพื่อให้ทำลายอัตตา ฉะนั้นจึงถือว่าอธิบายผิด. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวร. ท่านทรงมีความเห็นว่าเรื่องนี้อธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ท่านก็ไม่ทรงศรัทธาในการที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาติ. แล้วท่านก็อธิบายไปในทำนองว่ามันคร่อมอยู่เพียงชาติเดียว. แต่แล้วก็ไม่แน่พระทัยที่จะอธิบายรายละเอียดก็เลยทิ้งไว้ลุ่น ๆ . แต่ข้อที่ท่านทรงยืนยันความเข้าใจของท่านก็คือ มันคงอธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ข้อนี้ผมก็เห็นด้วยพระองค์ท่าน. แต่ผมก็อาจจะเลยไปถึงเกินกว่าพันปี อธิบายกันผิดมา เกินกว่าพันปี เพราะหนังสือวิสุทธิมรรคนี้มีอายุตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว.
ในหนังสือวิสุทธิมรรคนั้นอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็น ๓ ชาติทั้งนั้น คร่อม ๓ ชาติทั้งนั้น แล้วในการแต่งวิสุทธิมรรคนั้น. พระพุทธโฆษาจารย์ก็ยังเขียนไว้ว่า อธิบายตามที่เขามีกันอยู่ก่อนแล้วด้วย ประเดี๋ยวจะเอามาอ่านให้ฟังสำหรับคำพูดของพระพุทธโฆษาจารย์ เรื่องมันมีหลักฐานว่าท่านอธิบายตามที่มีอธิบายกันอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นสมัยของท่านมันก็ตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว และถ้าต่อไปจากนั้นอีกมันก็เกือบ ๒,๐๐๐ ปี ผมมีความเห็นว่าอาจจะอธิบายผิดกันมาตั้งแต่หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ คือ พ.ศ. ประมาณ ๓๐๐ ก็ได้. ดังนั้นก็แปลว่าผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปี มันจะต้องอธิบายผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ ๑,๐๐๐ ปีอย่างสมเด็จพระสังฆราชเจ้าท่านว่า ประเดี๋ยวจะชี้ให้ดู.
ถ้าจะพูดว่าเมื่อไรให้แน่นอนนั้น ต้องค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี. มันลำบากมากไปอีก. แต่เมื่อเราพูดกันอย่างนี้ที่ไม่มีทางจะผิดได้ มันก็ต้องพิจารณาถึงข้อที่ว่า ทำไมมันจึงเกิดการอธิบายแหวกแนวของพระพุทธเจ้าไปได้ ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นหลัก ๆ อย่างนี้ ไม่มีทางจะคร่อม ๓ ชาติ. ทำไมมันจึงไปคร่อม ๓ ชาติ และให้มีอัตตาขึ้นมาได้.
ข้อนี้ผมตั้งข้อสันนิษฐานว่ามันมีได้โดยที่ไม่รู้. เกิดไม่รู้. เกิดเข้าใจไม่ได้ แล้วก็เดาหรือสันนิษฐานกันโดยไม่เจตนานี้อย่างหนึ่ง เพราะว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัส และใคร ๆ ก็ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด. ทีนี้พอมาถึงสักประมาณ ๓ – ๔๐๐ ปี เกิดเข้าใจไม่ได้ ก็เริ่มเกิดความคิดแตกแยก. ทีนี้ต่อมาอีกมันก็แตกแยกหนักเข้า ๆ จนกระทั่งกลายเป็นตรงกันข้ามไป. อย่างนี้เรียกว่าไม่มีใครเจตนาอธิบายให้ผิด มันเป็นเพราะความไม่รู้.
ทีนี้มาเดากันดูอีกทางหนึ่งดีกว่าว่า จะมีทางเป็นไปได้ไหมว่าอาจเกิดมีหนอนบ่อนไส้ขึ้นในพระพุทธศาสนา. มีคนขบถทรยศเป็นหนอนบ่อนไส้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แกล้งอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาให้ผิดเสีย คือให้เป็นสัสสตทิฏฐิในฮินดู หรือกลายเป็นศาสนาพราหมณ์. ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมีอัตตา, ชีโว, อาตมันหรืออะไรทำนองนั้น. ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นของพุทธ. แล้วถ้ามีใครมาอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้มันเกิดคร่อม ๓ ชาติอย่างนี้มันก็เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา เขาก็กลืนพุทธศาสนาสำเร็จ. ถ้ามีเจตนาเลวร้ายกันถึงขนาดนี้ ก็แปลว่าต้องมีคนแกล้งอธิบายขึ้นมาให้มีช่องให้เกิดอัตตาขึ้นมาในพุทธศาสนา แล้วศาสนาพราหมณ์ก็กลืนศาสนาพุทธวูบเดียวหมดโดยกระทันหัน. นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานในแง่เลวร้ายอย่างนี้ก็มีได้


หน้า ๖๗
เหตุที่ทำให้อธิบายผิด
ทีนี้เหตุที่ทำให้อธิบายผิด อย่างที่เรียกว่าไม่ใช่ในทางร้าย ไม่ใช่มีใครแกล้งเป็นหนอนบ่อนไส้ แต่เป็นไปในทางที่มันผิดเองเพราะโง่ไม่รู้ มันก็มีอย่างที่ว่ามาแล้วว่าเพราะไม่เข้าใจในภาษาธรรม ; เข้าใจแต่ภาษาคน ; ภาวะที่เคยเข้าใจในภาษาธรรมมันก็เลือนหายไปหมด จนเหลือแต่ภาษาคน. ทีนี้ก็อธิบายกันไปตามภาษาคน มันก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้นมา. เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำความเข้าใจในภาษาคนและภาษาธรรมกันในส่วนที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง คือคำว่า “ คน” กับคำว่า “ นามรูป” .
ถ้าเราเรียกกันตามภาษาชาวบ้านหรือภาษาคนก็เรียกตัวเรานี่ว่า “คน” ; ถ้าเรียกในภาษาธรรมเราไม่เรียกว่า “ คน “ แต่เราเรียกว่า “ นามรูป “ คือกายกับใจ. ทีนี้จะเรียกว่าคนหรือจะเรียกว่านามรูปก็ตามใจเถิด มันยังมีปัญหาอยู่ที่ว่ามันมีการเกิดดับเท่าไหร ? อย่างไร ? คนหรือนามรูปนี่แหละมันมีการเกิดดับอยู่อย่างไร ?
ถ้าถามอย่างนี้คำตอบมีถึง ๓ ชั้น ลึกซึ้งกันอยู่ถึง ๓ ชั้น คือ : --
(๑). นามรูปเกิดดับ เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิตนี้ จัดเป็นชั้นที่ไม่มีใครรู้ หรือไม่มีใครอยากรู้ และไม่จำเป็นจะต้องรู้ ว่านามรูปกายใจของเราเกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต . นี้เป็นภาษาอภิธรรมเกินความต้องการ ; เพราะจิตนั้นมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามระยะของสิ่งที่เรียกว่า ภวังคจิต : แล้วก็ยังเร็วยิ่งกว่ากระพริบตาเสียอีก ; ฉะนั้น ตามความหมายนี้เขาถือว่า “ นาม -- รูป “ หรือว่าคน ๆ หนึ่งนี้เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต นับไม่ทัน : เราไม่มีปากที่จะนับมันทันเพราะว่าขณะจิตมันเร็วกว่าปากจะนับทัน.
นามรูปหรือคนนี้เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต นี้ความหมายหนึ่ง. มันเทียบกับ frequency ของ ไดนาโม ไฟฟ้านั้น ; รอบหนึ่งก็คือไฟฟ้าออกมาทีหนึ่ง รอบหนึ่งไฟฟ้าก็ออกมาทีหนึ่ง ทีนี้มันนาทีหนึ่งละพันกว่ารอบมันก็เลยดูไม่ทัน แต่มันก็อาจติดกันเป็นดวงแดงโร่ที่หลอดไฟไม่มีกระพริบที่หลอดอย่างนี้ . ทีนี้จิตก็เหมือนกัน : มันถี่ยิบขนาดนั้นจนเราไม่รู้สึกว่าเราเกิดดับ ๆ ๆ เราต้องอาศัยการศึกษาเรื่องทางจิตชนิดนั้น จึงจะรู้ว่านามรูปหรือคนนี้มันเกิดดับ ๆ อย่างถี่ยิบอยู่ทุกขณะจิต หรือเร็วยิ่งกว่า frequency ของกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุก ๆ วันนี้เสียอีก. นี้มันเป็น เรื่องเกิดดับ ๆ อีกชนิดหนึ่งไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้หมายถึงการเกิดดับชนิดนี้.
การเกิดดับทุกขณะจิตนี้มันเป็นกลไกทางจิตล้วน ๆ เป็นความรู้ส่วนเกิน ประเภทอภิธรรมเฟ้อโดยไม่ต้องเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. และคำว่า “เกิด” ในกรณีอย่างนี้ เขาไม่ใช้คำว่า “ชาติ” แต่เขาไปใช้คำอื่นว่า อุปาทะ มี “อุปาทะ” : อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ, อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ , อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไป. อุปาทะ = เกิด, ฐิติ = ตั้งอยู่ , ภังคะ = ดับไป. ใช้คำว่า อุปาทะ, มิได้ใช้คำว่าชาติ ; แต่ก็แปลว่า “เกิด” เหมือนกัน. เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ -- ดับไป ๆ ถี่ยิบนับไม่ทัน นั่นแหละนามรูปหรือคนเราเกิดดับอยู่อย่างนั้นชนิดหนึ่ง
(๒) อีกชนิดหนึ่ง. นามรูปเกิดดับเหมือนคนธรรมดาสามัญรู้ คือว่า พอเกิดจากท้องแม่ก็เรียกว่าเกิดออกมา; พอตายเข้าโลงก็เรียกว่าดับ. ตั้งอยู่ ๘๐ ปีบ้าง ถึง ๑๐๐ ปี ก็มี. ตามธรรมดานี้ชั่ว ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี นี้มีเกิดหนเดียวมีดับหนเดียว . นี้เกิดดับแค่คำพูด ๒ คำนี้เท่านั้นเอง. พูดว่า “เกิด” ขึ้นมาคำหนึ่งแล้วทิ้งระยะไว้นานถึง ๘๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี จึงพูดว่า “ ดับ “ นามรูปหรือคนเกิดหรือดับทำนองนี้ กินเวลาตั้ง ๘๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี นี้อย่างหนึ่ง เป็นคำพูดในภาษาคน. ส่วนภาษาอภิธรรมเฟ้อนั้นเกินถี่ยิบจนนับไม่ทัน . คนเกิดดับ ๆ ถี่ยิบจนนับไม่ทัน. ทีนี้เกิด -- ดับอย่างภาษาโลกนี้มันเกินเวลาตั้ง ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี ทนนับไม่ค่อยไหว . นับว่า “เกิด” ครั้งหนึ่ง แล้วรอไปอีก ๑๐๐ ปี จึงจะนับว่า “ดับ” . ภาษาอภิธรรมเฟ้อฝ่ายโน้นมันก็เกินไป ภาษาคนฝ่ายนี้มันก็เกินไป.
(๓) ทีนี้มันยังมีตรงกลาง คือที่เป็นภาษาปฏิจจสมุปบาทที่กำลังกล่าวถึงนี้. ความเกิดดับของภาษาปฏิจจสมุปบาทก็คือเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็เกิดตัณหา แล้วก็อุปาทาน แล้วก็มี
ภพ แล้วก็ชาติ . ในหัวใจของคนเราเกิดความรู้สึกเป็น “ตัวกู” ครั้งหนึ่งก็เรียกว่าชาติหนึ่ง ภพหนึ่ง . และมันก็อาจนับได้. ถ้าขยันสังเกตก็จดไว้ วันหนึ่ง ๆ เราอาจจะพบและจดได้เลย ว่าวันนี้เราเกิด “ตัวกู” กี่ครั้ง พรุ่งนี้เกิดกี่ครั้ง มะรืนเกิดกี่ครั้ง ก็คอยจดไว้ได้. นี้ไม่ได้ถี่ยิบจนนับไม่ทันแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าเกิดจากท้องแม่ แล้วก็ดับคืนเข้าโลง. มันเป็นการเกิดดับ, เกิดดับของคนเราหรือนามรูปในลักษณะที่เป็น “ ตัวกู -- ของกู ” ที่ถูกปรุงแต่งด้วยอวิชชาครั้งหนึ่ง ๆ .




หน้า ๘๓

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด
ทีนี้ของประหลาดๆในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยังมีอีกบางเรื่องดังที่ผมพูดเมื่อตะกี้นี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาตินี้ก็เรื่องหนึ่งแล้ว เราพูดกันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เรื่องที่ท่านอธิบายอะไรๆในพระพุทธศาสนากลับกลายไปเป็นพราหมณ์อย่างนี้มันมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องโลก ,หรือโลกวิทู
เมื่อท่านอธิบายโลกวิทู ซึ่งเป็นพระพุทธคุณบทนี้ ท่านอธิบายโลกแบบโลกอย่างพราหมณ์ไปหมด ตามที่เขาพูดกันอยู่ ท่านไม่อธิบายโลกอย่างที่พระพุทธเจ้าอธิบายโลกอย่างพระพุทธเจ้าอธิบายนั้น ท่านอธิบายโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ตถาคตได้บัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังเป็น ๆ ที่มีสัญญาและใจ
ข้อนี้หมายความว่าในร่างกายที่ยาววาหนึ่งเท่านั้น มีทั้งโลก มีทั้งเหตุให้เกิดโลก มีทั้งความดับสนิทแห่งโลกและทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลก คือพรหมจรรย์ทั้งหมดมีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง และเป็นร่างกายที่ยังเป็น ๆ อยู่ ตายแล้วไม่มี ในร่างกายที่มีชีวิตมีความรู้สึกปกตินี้ในนั้นมันมีครบ พระพุทธเจ้าท่านเป็น “โลกวิทู” เพราะท่านรู้โลกอันนี้ เพราะว่าโลกอันนี้คืออริยสัจจ์ทั้งสี่ โลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทของโลก, ทางให้ถึงความดับสนิทของโลก มันคือเรื่องอริยสัจจ์
ถึงทีจะอธิบายโลกวิทูให้พระพุทธเจ้าหรือถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธโฆษาจารย์ท่านไม่อธิบายโลกอย่างนี้ ที่ท่านอธิบายนั้นผมว่ามันไม่เป็นพุทธ คือท่านไปอธิบายโลกอย่างที่เป็นโอกาสโลกเหมือนที่เราได้ยินเรื่องปรัมปราในไตรภูมิพระร่วงอะไรทำนองนั้น มันมาจากความเชื่อปรัมปราของพวกพราหมณ์ว่าโลกกลมเท่าไร กว้างเท่าไร ลมหนาเท่าไร แผ่นดินหนาเท่าไร น้ำหนาเท่าไร ลมหนาเท่าไร เขาพระสุเมรุสูงเท่าไร เขาบริวารสูงเท่าไร หิมวันต์ใหญ่เท่าไร ต้นหว้าใหญ่เท่าไร ไม้ประจำโลก ๗ ต้นเป็นอย่างไร ดวงอาทิตย์ขนาดเท่าไร ดวงจันทร์ขนาดเท่าไร ทวีปอีก ๓ ทวีปใหญ่เท่าไร ฯลฯ นี่มันไม่ใช่เรื่องของพุทธเลย อธิบายโอกาสโลกอย่างนี้ เพื่ออธิบายคำว่าโลกวิทู ว่าพระพุทธเจ้ารู้เรื่องนี้อย่างนี้ นี่ผมไม่เชื่อเลย นี่ขอให้คิดดู อธิบายโอกาสโลก อย่างนี้มันเป็นพราหมณ์ เรื่องของฮินดูเก่าก่อนพุทธกาล
ทีนี้พออธิบายขึ้นมาถึงสัตว์โลก ท่านก็ไปอธิบายเรื่องว่าคือสัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์ต่างกัน มีธุลีในนัยน์ตาน้อยบ้างมากบ้าง, อินทรีย์กล้าอ่อนบ้าง, รู้ง่ายบ้าง, รู้ยากบ้าง, เป็นภัพพะบ้าง เป็นอภัพพะบ้าง ไม่มีโลกอริยสัจจ์ ๔ เลย
พออธิบายถึงสังขารโลก ท่านอธิบายแต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนามรูป, เรื่องเวทนา เรื่องอาหาร, เรื่องอุปาทาน, เรื่องอายตนะ, เรื่องวิญญาณฐีติ, เรื่องโลกธรรม ๘, เรื่องสัตตาวาส ๙, เรื่องอายตนะ ๑๐, และอายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ อย่างนี้ มันมีแต่เรื่องอย่างนี้ ไม่มีเรื่องอริยสัจจ์ซึ่งอธิบายโลกครบทั้ง ๔ ความหมาย
เพราะเหตุดังกล่าวมาจึงถือว่า พระพุทธโฆษาจารย์ อธิบายคำว่าโลกวิทู นี้เป็นพราหมณ์โต้ง ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่,
-----------------------------
หน้า ๑๐๐
" หรือว่ามารดาบิดาอยู่ร่วมกันมีระดูแล้ว แต่ถ้าคันธัพพะไม่เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะมันก็ไม่เกิดเหมือนกัน แล้วก็คันธัพพะ ซึ่งไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไรในภาษาไทย ก็เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ถ้าพูดอย่างวิชาการสมัยนี้ก็ว่าคันธัพพะนี้ก็หมายถึงเชื้อของฝ่ายบิดาแล้วมันเข้าไปตั้งอยู่ในเฉพาะในไข่ของมารดา"
หน้า ๑๐๓
" นี่เรื่องของเด็กเล็กๆ ตั้งอยู่ในครรภ์ในท้องแม่คลอดออกมายังไม่รู้เรื่อง ยังไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท จนกว่าจะได้เกี่ยวข้องกับกามคุณ ๕ แล้วรู้จักยินดียินร้าย และในใจไม่มีปัญญาไม่มีวิชชาไม่มีความรู้เรื่องวิมุติ คือความหลุดพ้นจากความทุกข์ และสติก็ตั้งไว้ไม่เป็น เพราะไม่รู้เรื่อง "

หน้า ๑๑๓
วิญญาณตามความหมายในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าสังขารให้เกิดวิญญาณ ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ, แล้วก็ถูกตู่เอาไปเป็นปฏิสนธิวิญญาณหมด โดยพวกที่รู้แต่ภาษาคน พูดแต่ภาษาคน มีตัวตน คร่อมภพคร่อมชาติเสียเรื่อย แต่ถ้าจะพูดกันอีกทีหนึ่งก็พูดได้เหมือนกันว่า วิญญาณอะไรก็ตามที่ทำหน้าที่ให้เกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทได้ตามนัยที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น, ก็อาจเรียกวิญญาณนั้นว่า “ ปฏิสนธิวิญญาณ “ ได้เหมือนกัน เพราะมันสืบต่อการเกิด “ ตัวกู “ ให้เกิด ๆ กันไป




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2553
8 comments
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2553 13:22:14 น.
Counter : 19354 Pageviews.

 

พระพุทธพจน์ จาก วิภังคสูตร

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๓ - ๘๗. หน้าที่ ๒ - ๔.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4

----------------------------------

จากอัตตโนมติของท่านพุทธทาสที่แสดงว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่เกี่ยวกับ การเกิด แก่ เจ็บตาย ทางร่างกาย เกี่ยวกับการการเกิดดับทางความรู้สึกตัวกู-ของกู เท่านั้น

หรือ ถึงมีก็เป็นภาษาคน ไม่ใช่ภาษาธรรม เป็นการตรัสสอนคนโง่ ๆ ที่ไม่เข้าใจภาษาธรรม

จึงเป็นการกล่าวตู่ พระพุทธ พระธรรม

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 11:16:55 น.  

 

ทิฏฐิของท่านพุทธทาส

หน้า ๖๗
เหตุที่ทำให้อธิบายผิด
ทีนี้เหตุที่ทำให้อธิบายผิด อย่างที่เรียกว่าไม่ใช่ในทางร้าย ไม่ใช่มีใครแกล้งเป็นหนอนบ่อนไส้ แต่เป็นไปในทางที่มันผิดเองเพราะโง่ไม่รู้ มันก็มีอย่างที่ว่ามาแล้วว่าเพราะไม่เข้าใจในภาษาธรรม ; เข้าใจแต่ภาษาคน ; ภาวะที่เคยเข้าใจในภาษาธรรมมันก็เลือนหายไปหมด จนเหลือแต่ภาษาคน. ทีนี้ก็อธิบายกันไปตามภาษาคน มันก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้นมา.

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด
-----------------------------

นี่คือการกล่าวตู่ พระสงฆ์ของท่านพุทธทาส เพียงเพราะ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ไปในแนวทางของพระสูตร (วิภังคสูตร , มหานิทานสูตร)

รวมถึง พระสารีบุตร ( มหาวรรค ญาณกถา ) พระอนุรุทธาจารย์ ( อภิธัมมัตถสังคหะ)

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 11:23:33 น.  

 

ปฏิจจสมุปบาท หน้า ๑๐๐ ว่า " หรือว่ามารดาบิดาอยู่ร่วมกันมีระดูแล้ว แต่ถ้าคันธัพพะไม่เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะมันก็ไม่เกิดเหมือนกัน แล้วก็คันธัพพะ ซึ่งไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไรในภาษาไทย ก็เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ถ้าพูดอย่างวิชาการสมัยนี้ก็ว่าคันธัพพะนี้ก็หมายถึงเชื้อของฝ่ายบิดาแล้วมันเข้าไปตั้งอยู่ในเฉพาะในไข่ของมารดา"
----------------------------------------

นี่ก็เป็นอีกทิฏฐิหนึ่งของท่านพุทธทาส ที่แสดงว่า การเกิดของสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ ไม่มี วิญญาณ เกิดร่วมด้วย เพราะคันธัพพะ ตามหลักเถรวาทแล้วหมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ , วิญญาณหยั่งลงครรภ์มารดา (มหานิทานสูตร)

หาก พระสงฆ์ใด ไปอธิบายการเกิดของสัตว์ว่ามีวิญญาณร่วมด้วย ท่านพุทธทาสจะถือว่าเป็น สัสสตทิฏฐิ ทันนที

นี่จึงเป็นการกล่าวตู่ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร ( มหาวรรค ญาณกถา ) พระอนุรทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ) พระพุทธโฆษาจารย์ (วิสุทธิมรรค)

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 13:07:03 น.  

 

ด้วยหลักการของท่านพุทธทาสดังกล่าวจึงมี ลูกศิษย์ของท่านคือหลวงตาเฟื่องจึงได้เรียบเรียงปฏิจจสมุปบาท(ในเวประฆังทอง) ขึ้นมาและแทรกความเห็นของท่านพุทธทาสดังนี้
---------------------------------------
*การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ (อาการเกิดตัณหา และเกิดทุกข์)*
ภิกษุ ท. ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง.

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วม แต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ(สัตว์ที่จะเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์นั้น(สเปอร์ม, อสุจิ) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย, การปฏิสนธิในครรภ์ ก็ยังไม่มีก่อน.

ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกัน และมารดาก็ผ่านการมีระดู แต่คันธัพพะยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ, การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ก็ยังมีขึ้นไม่ อยู่นั่นเอง.

ภิกษุ ท. ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วย คันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย, การปฏิสนธิในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้.
*(คันธัพพะ, น่าจะหมายถึง อสุจิ หรือ สเปอร์ม(ผู้จัดทำ).

ภิกษุ ท. ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนักตลอดเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง.
เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดาย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก, ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง
ภิกษุ ท. ! ในวินัยของพระอริยเจ้า คำว่า "โลหิต" นี้คือ หมายถึงน้ำนมของมารดา.

ภิกษุ ท. ! ทารกนั้นเจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่นเล่นไถน้อยๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ(ของเล่นชนิดหนึ่ง ตอนบนหมุนได้) เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของของด้วยเครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ.

ภิกษุ ท. ! ทารกนั้นครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรออยู่ ; ทางตา ด้วยรูป, ทางหู ด้วยเสียง, ทางจมูก ด้วยกลิ่น, ทางลิ้น ด้วยรส, และทางผิวกาย ด้วยการสัมผัสผิวกาย(โผฏฐัพพะ), ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใน และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก.

ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยจักษุ(ตา) เป็นต้น ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก, ย่อมขัดใจในรูปเป็นต้น ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ; ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย.
*(พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ และกระแสปฏิจจสมุปบาท เริ่มเกิดมีขึ้น ณ จุดนี้).
------------------------------
การเกิดขึ้นมาขณะปฏิสนธิของคนเราเกิดแต่ฝ่ายรูปธรรมอย่างเดียว ไม่มีฝ่ายนามธรรม คือ ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นอุจเฉททิฏฐิ หรือ นัตถิกทิฏฐิ ดังคำสอนของ อาจารย์อชิตะ เกสกัมพล

//www.84000.org/true/337.html
337 คำสอนของอชิตะ เกสกัมพล

ปัญหา ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล มีแนวคำสอนว่าอย่างไร ? และแนวคำสอนเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “อชิตะ เกสกัมพล มีความเห็นว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้น (โอปปาติกะ) ไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งชัดโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเราเป็นแต่เพียงที่ประชุมของมหาภูตรูป ๔ เมื่อใดทำกาลกิริยา(ตาย) เมื่อนั้นธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งที่วางศพ หามเอาคนตายไป เสียบทสวดสรรเสริญเขามีไปจนถึงป่าช้า กระดูกทั้งหลายกลายเป็นสีเทาดุจสีนกพิราบ เครื่องเซ่นสังเวยทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยเถ้า ท่านนี้เคนเขลาบัญญัติไว้ คนเหล่าใดประกาศลัทธิอัตติกวาท คำของคนเหล่านั้นเป็นคำเหล่าประโยชน์ เป็นคำเท็จ เป็นคำบ่นเพ้อเมื่อร่างกายแตกสลายทั้งพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากความตายไม่มีอะไรเลย...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑ (๔๒๕)
ตบ. ๑๗ : ๒๕๔ ตท. ๑๗ : ๒๓๔-๒๓๕
ตอ. K.S. ๓ : ๑๑๖-๑๑๗

--------------------------------------------

อัตตโนมติของท่านพุทธทาส จึงไม่ต่างจากคำสอนของเดียร์ถีย์ สมัยก่อนเลย

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 13:25:46 น.  

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


อกุศลจิต ดวงที่ ๑
ปัจจยจตุกกะ
[๒๙๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นอารมณ์ หรือ
มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิด
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนา
เป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๒๙๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา
[๒๙๓] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิด
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
[๒๙๔] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะ
สังขารเป็นปัจจัย
[๒๙๕] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย
[๒๙๖] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกันอันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะ
นามเป็นปัจจัย
[๒๙๗] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องอันใด นี้เรียกว่า
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
[๒๙๘] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
[๒๙๙] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่ง
จิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
[๓๐๐] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การ
ถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
[๓๐๑] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน
นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
[๓๐๒] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความ
ปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้นอันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
[๓๐๓] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชรามรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น
อันใด นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง
ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๔๑๑๑ - ๕๐๑๕. หน้าที่ ๑๗๗ - ๒๑๕.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=4111&Z=5015&pagebreak=0

------------------------------
เพิ่มเติม จากการบรรยายของพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ใน ขณะจิตเดียว (อภิธรรมภาชนีย์ )

ผมจะขอยกปฏิจจสมุปบาทโดยอภิธรรมภาชนิยนัย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทในจิตดวงหนึ่ง ๆ(ขณะจิต) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เอกจิตตักขณิกปฏิจจสมุปบาท
แสดงโดยอภิธรรมภาชนียนัยนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ๑. อกุศลบท ๒. กุศลบท ๓. อพยากทบท
ผมจะขอยกตัวอย่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้มองเห็นความลึกซึ้ง ความเป็นสัพพัญญูของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑. อกุศลบท จะขอแสดงเพียงนิดเดียว คือ ความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทเฉพาะในเรื่องทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ประเภทเท่านั้น
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาโร สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามํ นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ ฉฏฺฐายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยาตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ฯ
เพราะอวิชชาเป็นเหตุ อปุญญาภิสังขาร คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาที่เป็นไปพร้อมกับอวิชชา จึงได้เกิดขึ้น
เพราะอปุญญาภิสังขาร คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตอกุศลเจตนาเป็นเหตุ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เจตสิกขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิตนั้น ๆ จึงได้เกิดขึ้น
เพราะเจตสิกขันธ์ ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะมนายตนะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสสะที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ เวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะเวทนาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ตัณหาที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตจึงได้เกิดขึ้น
เพราะอุปาทาน ๓ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตเป็นเหตุ ภวะ คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) จึงได้เกิดขึ้น
เพราะภวะ คือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท (เว้นทิฏฐิ) เป็นเหตุ นามชาติ คือ อาการที่เกิดขึ้นคือทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทนั้นจึงได้เกิดขึ้น
เพราะนามชาติ คืออาการที่เกิดขึ้นของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทเป็นเหตุ นามชรา นามมรณะ คือขณะตั้งอยู่ ขณะดับไปของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาทจึงได้เกิดขึ้น
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แท้ ๆ ทั้งปวงนี้ เพราะได้อาศัยปัจจัยต่าง ๆ มีอวิชชา เป็นต้น
ที่แสดงว่า “วิญฺญาณปจฺจยา นามํ “ เหตุใดจึงไม่ใช่ “วิญฺญาณปจฺจยา สฬายตนํ “ ก็เพราะว่าพระองค์ต้องการแสดงธรรมที่ประกอบด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ และจะต้องเป็นไปในจิตที่เกิดได้ทั่วไป ฉะนั้นจึงไม่ใช้คำว่า “ นามรูป “ เพราะบางภูมิม่มีรูปเกิดร่วมด้วย
หรือที่แสดงว่า “นามปจฺจยา ฉฏฺฐายตนํ “ ไม่ได้แสดงตามที่คนส่วนมากอ่านอยู่เสมอว่า ๆ ว่า “นามปจฺจยา สฬายตนํ “ ก็เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุนั้นเป็นนาม และเป็นนามเจตสิกอย่างเดียวไม่มีรูปรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ธรรมที่เป็นผล จึงจำเป็นต้องเป็นนามด้วยกัน คือ อายตนะ ภายในที่ ๖ อันได้แก่จิตอย่างเดียว

ในอภิธรรมภาชนิยนัยนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดง โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลของชาติ ทรงแสดงแต่ “ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ “ เท่านั้น ก็เพราะในจิตตักขณะดวงหนึ่ง ๆ คือแต่ละขณะของจิตนั้น โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากนั้น โสกะ ปริเทวะ นี้ ก็มิได้เกิดขึ้นแก่สัตว์ในทุกภพภูมิ ดังนั้น พระองค์จึงมิได้แสดง โสกะ ปริเทวะ ให้เป็นผลของชาติ

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 18:53:22 น.  

 

แต่สำหรับท่านพุทธทาส ผู้คัดค้านพระพุทธพจน์ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ในขณะจิต (อภิธรรมภาชนีย์) ว่า

หน้า ๖๗
เหตุที่ทำให้อธิบายผิด
ทีนี้เหตุที่ทำให้อธิบายผิด อย่างที่เรียกว่าไม่ใช่ในทางร้าย ไม่ใช่มีใครแกล้งเป็นหนอนบ่อนไส้ แต่เป็นไปในทางที่มันผิดเองเพราะโง่ไม่รู้ มันก็มีอย่างที่ว่ามาแล้วว่าเพราะไม่เข้าใจในภาษาธรรม ; เข้าใจแต่ภาษาคน ; ภาวะที่เคยเข้าใจในภาษาธรรมมันก็เลือนหายไปหมด จนเหลือแต่ภาษาคน. ทีนี้ก็อธิบายกันไปตามภาษาคน มันก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้นมา. เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำความเข้าใจในภาษาคนและภาษาธรรมกันในส่วนที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง คือคำว่า “ คน” กับคำว่า “ นามรูป” .
ถ้าเราเรียกกันตามภาษาชาวบ้านหรือภาษาคนก็เรียกตัวเรานี่ว่า “คน” ; ถ้าเรียกในภาษาธรรมเราไม่เรียกว่า “ คน “ แต่เราเรียกว่า “ นามรูป “ คือกายกับใจ. ทีนี้จะเรียกว่าคนหรือจะเรียกว่านามรูปก็ตามใจเถิด มันยังมีปัญหาอยู่ที่ว่ามันมีการเกิดดับเท่าไหร ? อย่างไร ? คนหรือนามรูปนี่แหละมันมีการเกิดดับอยู่อย่างไร ?
ถ้าถามอย่างนี้คำตอบมีถึง ๓ ชั้น ลึกซึ้งกันอยู่ถึง ๓ ชั้น คือ : --
(๑). นามรูปเกิดดับ เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิตนี้ จัดเป็นชั้นที่ไม่มีใครรู้ หรือไม่มีใครอยากรู้ และไม่จำเป็นจะต้องรู้ ว่านามรูปกายใจของเราเกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต . นี้เป็นภาษาอภิธรรมเกินความต้องการ ; เพราะจิตนั้นมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามระยะของสิ่งที่เรียกว่า ภวังคจิต : แล้วก็ยังเร็วยิ่งกว่ากระพริบตาเสียอีก ; ฉะนั้น ตามความหมายนี้เขาถือว่า “ นาม -- รูป “ หรือว่าคน ๆ หนึ่งนี้เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต นับไม่ทัน : เราไม่มีปากที่จะนับมันทันเพราะว่าขณะจิตมันเร็วกว่าปากจะนับทัน.
นามรูปหรือคนนี้เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต นี้ความหมายหนึ่ง. มันเทียบกับ frequency ของ ไดนาโม ไฟฟ้านั้น ; รอบหนึ่งก็คือไฟฟ้าออกมาทีหนึ่ง รอบหนึ่งไฟฟ้าก็ออกมาทีหนึ่ง ทีนี้มันนาทีหนึ่งละพันกว่ารอบมันก็เลยดูไม่ทัน แต่มันก็อาจติดกันเป็นดวงแดงโร่ที่หลอดไฟไม่มีกระพริบที่หลอดอย่างนี้ . ทีนี้จิตก็เหมือนกัน : มันถี่ยิบขนาดนั้นจนเราไม่รู้สึกว่าเราเกิดดับ ๆ ๆ เราต้องอาศัยการศึกษาเรื่องทางจิตชนิดนั้น จึงจะรู้ว่านามรูปหรือคนนี้มันเกิดดับ ๆ อย่างถี่ยิบอยู่ทุกขณะจิต หรือเร็วยิ่งกว่า frequency ของกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุก ๆ วันนี้เสียอีก. นี้มันเป็น เรื่องเกิดดับ ๆ อีกชนิดหนึ่งไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้หมายถึงการเกิดดับชนิดนี้.
---------------------------------------------

เห็นไหมครับ ท่านพุทธทาสเอาทิฏฐิของตนเองเป็นใหญ่จริง ๆ ตนเองไม่เห็นการเกิดดับของจิต ไม่รู้เหตุปัจจัย ก็กล่าวตู่พระพุทธพจน์ทันที

ตกลงท่านเป็นทาส หรือเป็นนายกันแน่

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 21 พฤศจิกายน 2553 18:58:08 น.  

 

พระสูตรเว่ยหลาง โดยพุทธทาสภิกขุ อินทปัญโญ
//watconcord.org/index.php?option=com_content&view=article&id=84:2011-04-13-17-33-00&catid=6:2010-12-24-05-19-10&Itemid=25

มีเรื่องเล่าว่า ท่านเว่ยหลางพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซ็น ฉีกพระไตรปิฎกทิ้ง ไม่แน่ชัดว่าท่านจะฉีกพระไตรปิฎกจริงๆหรือเพียงเป็นการเปรียบเปรย แต่เข้าใจว่าท่านต้องการจะสอนปราชญ์ทางพุทธศาสนาผู้ที่ยึดถือตำรามากเกินไปว่า พระธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ อยู่ที่ในใจเรา เพียงเลิกยึดมั่นถือมั่นพระไตรปิฎกกระดาษ ก็จะเห็นพระไตรปิฎกภายในใจของเราเอง

------------------------------------------------------

ทัศนคติของท่านพุทธทาส ที่มีต่อ พระไตรปิฏก อรรถกถา นิกายเถรวาท เป็นไปในทางลบ

แต่กับนิกายอื่น เช่น นิกายเซ็น ดูท่านจะเชื่อถือยิ่งกว่า

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 31 พฤษภาคม 2554 13:17:46 น.  

 

นี้คืออีกมิจฉาทิฏฐิ ของท่านพุทธทาส ที่ยืนยันว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่เกี่ยวกับการเกิดในภพภูมิต่าง ๆ , การเกิดในครรภ์มารดา และ เด็กทารก ที่ยังเล้กอยู่

--------------------------------

ส่วนเด็กทารกที่เพิ่งโตเล่นของเล่น ดินทรายอย่างเด็กเล่น
ยังเฉยอยู่ จนกระทั่งโตเป็นขนาดกุมารได้รับการบำเรอทางรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส แล้วเกิดความยินดียินร้าย นี่แหละปฏิจจสมุปบาทจึงจะตั้งต้น

 

โดย: เฉลิมศักดิ์1 (เฉลิมศักดิ์1 ) 26 ธันวาคม 2555 6:34:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.