รู้จักกันก่อนและสมุดเยี่ยม Guestbook เฟซบุ๊ค ชะเอมหวาน รวมเวปหาทุนและแหล่งทุน Scholarship เรียนโทสองประเทศในปีเดียว
หาตัวเองให้เจอ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
25 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

มรณานุสติ" ของนักโทษประหารคนไทยในสหรัฐ : ตายก่อนตาย**

เี่ี่ราเคยอ่านหนังสือ "ลิ้มรสสิ่งที่อยู่ในใจ" เมื่อนานมาแล้ว

และคิดว่าหลายคนที่เคยอ่านก็คงจะชอบไม่มากก็น้อย
หนังสือเล่มนั้นทำให้รู้จักพระอาจารย์ชยสาโร และติดตามผลงานของท่าน
พอได้รับฟอร์เวิร์ดเมลล์นี้มาก็ไม่รอช้าีที่จะส่งต่อ

อยากให้ลองสละเวลาสักเล็กน้อยอ่านดู
จะพบสิ่งที่สงบในใจของเราเช่นกันค่ะ
อนุโมทนาค่ะ


*มรณานุสติ" ของนักโทษประหารคนไทยในสหรัฐฯ *****
แหล่งที่มา oknation
แปลโดย นิภา ชุลชาติ , ขัดเกลาภาษาโดย อุบาสิกา สมใจ ชัยราษฎร์
เรียบเรียงโดย ฉัตรวรัญ องคสิงห์
หนังสือ... ลิ้มรสสิ่งที่อยู่ในใจ : เรื่องเล่าจาก พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ

  • เรื่องย่อ เล่าเรื่องที่ ท่านปสันโน ได้ไปสนธนาธรรมกับนักโทษที่รอการประหาร
 ซึ่งได้ถูกเลื่อนการประหารมาแล้วครั้งหนึ่ง ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
 นักโทษเป็นคนไทยแต่ท่านปสันโนเป็นฝรั่งที่บวชในศาสนาพุทธ
 จากการที่เลื่อนกำหนดการประหารทำให้ผู้คุมและทนายความเห็นใจ
 นักโทษที่ชื่อ เจ เพราะก่อนกำหนดการประหารมีผู้สอนศาสนาคริสเตียนเข้ามาสนทนาธรรม แต่ทางเจ
 ซึ่งเคยบวชเรียนในเมืองไทยก็ทำใจไม่ได้ และอยากจะได้ผู้นำทางศาสนาพุทธมานำทางก่อนจะถูกประหารและการสนทนาธรรมของทั้งคู่ก็สามารถให้เราเรียนรู้ศาสนาพุทธในเรื่องการ " ตายก่อนตาย"
 ด้วยเรื่องเล่าที่ลึกซึ้ง ได้ลิ้มรสธรรมะด้วยภาษาง่ายๆ


  • คำอนุโมทนา
 ในการเกิดมาและมีชีวิต เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเราหมู่มนุษย์ จะมีความหวั่นไหว
 หวาดกลัวต่อความตายหาได้ยากนักที่ใครสักคนจะเดินเข้าไปสู่ความตายด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เหตุการณ์ในชีวิตของบุรุษผู้หนึ่ง ได้เปลี่ยนหายนะให้เป็นโอกาสเข้าสู่ทางที่มั่นคง จนเห็นว่าน่าจะเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆได้ หนังสือเล่มนี้เกิดจากความสนใจของหลายๆคน ที่ได้ยินอาตมาเล่าถึงประสบการณ์เกี่ยวกับคนไทยชื่อ จาตุรันต์ ศิริพงษ์ (เจ) ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตในเรือนจำ ซาน เควนติน เมื่อ พ.ศ. 2542 ถึงแม้ว่าเขาต้องใช้เวลา16 ปีสุดท้ายของชีวิตอยู่ในเรือนจำก็จริง แต่เขาก็สามารถพลิกตัวเองให้เป็นคนที่มีที่พึ่งที่แท้จริงได้ ขออนุโมทนากับทุกๆคน ที่มีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์เล่มนี้
ขอให้ธรรมะจงนำพาแสงสว่าง ให้เกิดมีขึ้นในดวงตาแห่งปัญญาของทุกท่านทุกคน
 ปสนฺโน ภิกขุ

......................................
  • ( บทเกริ่นนำ) ลิ้มรสสิ่งที่อยู่ในใจ
 จาตุรันต์ (เจ) ศิริพงษ์ ถูกจับที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยข้อหาปล้นร้านการ์เด็น
 โกรฟ มาร์เก็ต ( Garden Grove Market) และฆ่าเจ้าของร้าน และผู้ช่วยเจย์รับสารภาพว่าร่วมในการปล้น แต่ไม่ได้ฆ่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาไม่ยอมซัดทอดผู้อื่น ศาลจึงพิพากษาและตัดสินประหารชีวิตเมื่อ 16 ปีที่แล้วได้มีการอุทธรณ์ แต่ในที่สุดก็กำหนดประหารในวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542
 ก่อนถึงวันประหาร 6 วน เคนดัล โก๊ะ ( Kendall Goh) เพื่อนซึ่งเป็นทนายความของเจย์ ได้ติดต่อขอความอนุเคราะห์ไปยังวัดป่าอภัยคีรี เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อให้เจย์มีโอกาสได้พบชาวพุทธที่สามารถจะเป็นที่พึ่งทางใจแก่เขาได้ สองวันต่อมา ท่านอาจารย์ปสนฺโน เจ้าอาวาสร่วมของวัดป่าอภัยคีรี ก็ได้เข้าเยี่ยมและอบรมกรรมฐานแก่เจย์ในเรือนจำซาน เควนติน ( San Quentin
 Prison) นับว่าเป็นสามวันสุดท้ายที่พิเศษสุดในชีวิตของเจย์ ก่อนที่จะถูกประหารด้วยการฉีดยาพิษในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เมื่อครั้งยังอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอน ช่วงหนึ่งที่ได้บวชเรียนตามประเพณีไทย เจได้ฝึกสมาธิภาวนาด้วย เมื่อถูกคุมขังรอการประหารในอเมริกา เขาได้รื้อฟื้นประสบการณ์นั้นขึ้นมา ปฏิบัติอีกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ หลายคนเล่าว่า เจเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
 ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการพัฒนาจิตระหว่างปฏิบัติอยู่ในเรือนจำ ผู้คุมและเพื่อนนักโทษได้เห็ฯว่า เจใช้ชีวิตในเรือนจำซาน เควนติน อย่างสงบ หลายคนสนับสนุนการขอลดหย่อนผ่อนโทษประหารให้เจย์
และบางคนก็แสดงออกอย่างเปิดเผย รวมทั้งแดเนียล บี.วาสเควช (Daniel B. Vasquez) อดีตผู้คุมของซาน เควนติน ด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับเจย์ต่อไปนี้ เป็นการถอดความและเรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ที่แคธรีน กูตา ( Kathryn Guta)และเดนนิส ครีน ( Dennis Crean) ได้สัมภาษณ์ท่านอาจารย์ปสนฺโน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 และจากการบรรยายธรรมในหัวข้อ "เล่าเรื่องเจ"
ที่แสดง ณ วัดป่านานาชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

> > ท่านอาจารย์ได้รับนิมนต์เข้าไปเป็นที่พึ่งทางใจให้เจได้อย่างไรครับ
> >
> > ครั้งแรกที่เจจะถูกประหาร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ นั้น
> > ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ เป็นผู้นำทางศาสนาคริสต์
> > ซึ่งเป็นสุภาพสตรีที่ได้เคยช่วยเหลือนักโทษประหารอื่นๆ ในเรือนจำ ซาน เควนติน
> > มาแล้วหลายคน เจก็รู้จักกับท่านมาหลายปี และสนิทสนมกับท่าน
> > แต่เมื่อถึงคราวของตัวเอง เจพบว่า แทนที่จะช่วยให้เจสงบ
> > กลับทำให้เขารู้สึกวิตกกังวลยิ่งขึ้น
> > เจเองรู้อยู่ว่าควรจะเตรียมตายอย่างไรในเดือนพฤศจิกายนนั้น
> > แต่ก็ไม่เป็นไปตามแผน ในนาทีสุดท้าย
> > ศาลได้ตัดสินเลื่อนการประหารออกไปอีกสามเดือน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเจอย่างยิ่ง
> > เขาอยากตายอย่างสงบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
> > เจเองรู้ตัวว่าจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไร พอมาถึงครั้งที่สอง เจจึงตัดสินใจที่จะเผชิญกับความตายตามลำพัง
> > เพื่อให้เวลาตัวเองได้ทำจิตสงบในช่วงสุดท้าย คุณเคนดัล โก๊ะ
> > เป็นห่วงว่าเจจะขาดที่พึ่งทางใจ จึงรับอาสาจะหาที่ปรึกษาใหม่ที่เป็นชาวพุทธให้
> > แต่การขอเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ไม่ใช่ง่าย มีอุปสรรคมากมายหลายด้าน
> > ทั้งในและนอกเรือนจำ เจจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ
> > เพราะสิ่งที่เขาต้องการที่สุดในเวลานั้น คือการอยู่อย่างสงบ
> > อย่างไรก็ตามเมื่อเจได้ติดต่อกับอาตมาทางโทรศัพท์ อาตมาก็ถามว่า “ จิตใจเป็นยังไง
> > พร้อมหรือเปล่า ” เขาก็ตอบว่า “ พร้อมครับ ผมเตรียมตัวมาตั้งนานแล้ว
> > ยอมรับว่าจะถูกประหาร ไม่รู้สึกกลัว ไม่หวั่นไหว
> > แต่ยังมีข้อสงสัยบางอย่างที่อยากจะขอศึกษาจากท่านอาจารย์ ” เจบอกว่าไม่เสียดายหากจะถูกประหาร
> > เพราะการอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น บีบบังคับให้เขาแสวงหาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดต่อชีวิต
> > เขาไม่แน่ใจว่าถ้าหากอยู่ธรรมดาๆ จะมีความเข้าใจขนาดนี้หรือไม่
> >
> >
> >
> > เจเล่าให้ฟังว่า หลังจากถูกตัดสินประหารแล้ว ๖-๗ ปี เขาอยู่ในเรือนจำ
> > ก็เกิดความรู้สึกว่า เขาจะต้องรีบตัดสินใจว่า *จะอยู่อย่างคนที่ผูกโกรธ
> > มีความอาฆาตเศร้าหมอง มีอกุศลธรรมทั้งหลายครอบงำจิตใจ หรือเขาจะพัฒนาจิต
> > ให้เป็นจิตใจที่ดี จิตใจที่มีธรรมะ จิตใจที่สงบ * ตอนนั้นเขาไม่รู้ว่าจะอยู่ได้อีกนานเท่าไร
> > ไม่รู้ว่าจะถูกเรียกไปประหารเมื่อไร เขาเลยเกิดความตั้งใจว่า อย่างไรเสีย *จะต้องพยายามละสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง
> > และพยายามพัฒนาส่วนที่ดีในจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
> > สำหรับเวลาที่ยังเหลืออยู่ ** *แล้วเขาก็ได้พยายาม ได้หาหนังสือทั้งภาษาไทย
> > ละภาษาอังกฤษมาศึกษาพุทธศาสนา เลยเป็นโอกาสให้ได้ฝึกภาษาอังกฤษด้วย
> > เพราะในคุกไม่มีคนพูดภาษาไทย ตัวเขาเองตอนติดคุกภาษาอังกฤษก็ยังไม่ดี
> > เนื่องจากไปอมริกาได้ไม่กี่เดือนก็เกิดคดี
> > และตอนนั้นญาติพี่น้องในอเมริกาก็ไม่มีสักคน
> > เขาเลยฝึกภาษาอังกฤษจนกระทั่งเขียนอธิบายปรัชญาในศาสนาพุทธได้อย่างละเอียด
> > เขียนกลอนก็ได้ เป็นคนมีศิลปะในชีวิต แล้วก็ฝึกวาดรูปในเรือนจำจนเก่ง
> > มีความสามารถในงานศิลปะ และเป็นคนที่ตั้งใจนำสันติสุขให้เกิดขึ้น
> > ในที่ซึ่งเป็นที่รวมของผีของเปรตอย่างในคุก เพราะนักโทษส่วนใหญ่ก็แย่มากๆ
> > เจ้าหน้าที่ก็พอๆ กัน เลยต้องทำให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ
> > วันแรกที่อาตมาไปเรือนจำ ทนายความก็ไปรับ อาตมาถาว่าเจเป็นยังไง
> > ทนายก็บอกว่า เจน่ะเขาสบายแต่พวกเราซีแย่
> >
> > ท่านอาจารย์รู้สึกอย่างไรที่ได้ช่วยเป็นที่พึ่งทางใจ แก่นักโทษประหาร
> >
> > ตอนแรกอาตมาก็รู้สึกยินดี แต่พอมาคิดได้ว่า เอ...
> > นี่เรากำลังจะเข้าไปแดนนรกนะ อาตมาก็ชักรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจขึ้นมานิดหน่อย
> > ระบบรักษาความปลอดภัยของเรือนจำก็เข้มงวดกวดขันมาก
> > กว่าจะผ่านเข้าไปถึงต้องผ่านประตูเหล็กหลายต่อหลายชั้น
> > ผ่านเครื่องตรวจหาอาวุธสองครั้ง แล้วก็ยังมีผู้คุมมาตรวจอีกหลายคณะ
> > ตรวจแล้วก็ประทับตราที่มือของอาตมา แล้วก็ต้องไปผ่านประตูเหล็ก และผู้คุมอีก
> > หลายชั้นหลายขั้นตอนทีเดียว แต่มีสัญญาณบางอย่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่าง
> > อาตมาได้ยินผู้คุมทักทายเด็กบางคนอย่างสนิทสนมเหมือนรู้จักกันดี
> > เขาให้เวลาเยี่ยมตอนเช้าถึงบ่ายสองโมง หลังจากนั้นแล้วแขกต้องกลับหมด
> > เมื่ออาตมาเห็นเจ เขาไม่เหมือนคนใกล้ตายคนอื่นๆ ที่อาตมาเคยพบ เจยังหนุ่ม
> > แข็งแรง และดูมีสุขภาพจิตดี เขาเป็นคนฉลาดหลักแหลม ประณีต ไม่น่าสงสัยเลยว่า
> > เขาได้ใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างมีคุณค่า แม้จะถูกล่ามโซ่ที่เอว
> > เจก็ยังดูภาคภูมิเป็นตัวของตัวเอง มารยาทงาม และต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น
> > ทุกอย่างดูเป็นปกติ ไม่มีอะไรส่อเค้าเลยว่า
> > เที่ยงคืนของวันมะรืนผู้ชายคนนี้จะถูกประหาร เขาจะต้องตาย
> >
> > ท่านอาจารย์ได้พูดกับเจเกี่ยวกับทางเลือกที่ผิดของเขาบ้างหรือเปล่าครับ
> > เกี่ยวกับอาชญากรรมของเขา

> >
> > เปล่า อาตมาไม่ได้เอ่ยถึงอดีตของเจเลย เราไม่มีเวลาพอด้วย
> > อาตมามุ่งไปที่การช่วยให้เขามีสุขภาพจิตที่ดี
> > พอที่จะเผชิญกับความตายได้อย่างสงบมากกว่า เพราะอาตมาไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเจในฐานะที่เขาฆ่าคนตาย แต่ในฐานะคนที่กำลังเผชิญกับความตาย
> >
> > บรรยากาศในวันนั้นเครียดไหมครับ
> >
> > ไม่นะ ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า ค่อนข้างผ่อนคลายทีเดียว บางครั้งเราก็ถกกันเรื่องที่สุขุมลุ่มลึกเกี่ยวกับธรรมชาติของจิต
> > แต่บางทีเราก็มีเรื่องเบาๆ ให้ได้หัวเราะกันบ้าง
> > เจทำหน้าที่เจ้าของบ้านได้อย่างวิเศษ โดยเฉพาะในวันแรก
> > แม้ในสภาพอย่างนั้น เขาก็ยังได้จัดการต้อนรับพระด้วยความเคารพ และกำชับเพื่อน
> > ๆ ให้ปฏิบัติต่อพระอย่างถูกต้องตามธรรมเนียม เจเตรียมอาหารไว้ถวายด้วย
> > และบอกว่ารู้สึกเป็นสุขที่ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุ
> > เป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปี นอกจากนี้ยังคอยสนับสนุนให้เพื่อนๆ
> > ได้ซักถามข้อสงสัย ซึ่งอาตมาก็เทศน์ให้ฟังเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาพุทธ
> > การเข้าถึงธรรมะโดยการเปรียบเทียบกับบัวสี่เหล่า
> > นอกจากนี้ก็ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ ไตรสรณาคมน์ ” คือการถือเอาพระพุทธเป็นที่พึ่งในฐานะผู้รู้แจ้ง
> > พระธรรมในฐานะที่เป็นสัจธรรม และพระสงฆ์ในฐานะพระสุปฏิปันโน
> > ดูเจรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นผู้ให้โอกาสแก่เพื่อนๆ ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา
> > อย่างไรก็ตาม อาตมาได้กำชับเจให้พยายามประคับประคองจิตของตัวเอง
> > ไม่ให้หวั่นไหวไปกับความว้าวุ่นของคนรอบข้าง เพราะวันประหารใกล้เข้ามาแล้ว
> > เจเองก็คอยหลีกความฟุ้งซ่าน ที่เกิดจากความพยายามช่วยเหลือของคนรอบข้าง
> > เขาตระหนักดีว่า จะต้องรับผิดชอบต่อความตั้งมั่นของตนเอง เจจึงให้เวลากับเพื่อน
> > ๆ อย่างเต็มที่ตลอดชั่วโมงเยี่ยม แต่นอกนั้นแล้ว เขาทำสมาธิวันละหลายชั่วโมง
> > เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนประมาณสองหรือสามนาฬิกา นอกจากไตรยาพี่สาวของเจแล้ว
> > ยังมีหมู่เพื่อนที่ประทบใจในตัวเจมาเยี่ยมมากมาย โดยเฉพาะเมื่อใกล้วันประหาร
> > หลายคนเป็นทนายความ หลายคนเป็นชาวคริสต์ บางคนก็เลื่อมใสในปฏิปทาของเจ
> > และยึดถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาจิต ต่างคนต่างมีจุดมุ่งหมาย
> > และเจซึ่งมีนิสัยโอบอ้อมอารีอยู่แล้ว
> > ก็พยายามสนองตอบทุกคนอย่างเช่นทนายความที่ติดต่อกับอาตมา
> > ก็เพิ่งจะเริ่มศึกษาธรรมะและหัดนั่งสมาธิ
> > กำลังอยู่ในระหว่างแสวงหาครูบาอาจารย์ ก็ได้อาศัยเจเป็นผู้แนะนำเช่นเดียวกัน
> >
> >




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2555
9 comments
Last Update : 25 มิถุนายน 2555 15:31:36 น.
Counter : 4109 Pageviews.

 

> > ส่วนหนึ่งที่แสดงว่าเจได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจก็คือ ปกติเมื่อรับแขกในห้องอย่างนั้นจะต้องมีเจ้าหน้าที่สี่คน
> > ยืนเฝ้าอยู่ทุกมุมตลอดเวลา ตัวนักโทษเองนั่งเก้าอี้พิเศษ
> > มีโซ่ล่ามที่เอว และมีโซ่จากเอวมาที่แขนทำให้ยกแขนได้ไม่มาก
> > แล้วก็ต้องมีโซ่ล่ามติดเก้าอี้ด้วย แต่วันนั้นเป็นกรณีพิเศษ
> > ไม่มีโซ่ล่ามเก้าอี้ เจ้าหน้าที่ก็มีคนเดียวยืนฟังเทศน์ด้วย
> > บรรยากาศร่าเริงพอสมควรไม่เครียด
> >
ช่วงสุดท้ายที่ท่านอาจารย์ได้อยู่กับเจ บรรยากาศเป็นอย่างไรบ้างครับ
> >
> > ในวันแรก หลังจากบ่ายสองโมงแล้ว อาตมามีโอกาสได้พบโยมผู้หญิงคนหนึ่ง
> > เป็นชาวคริสต์ซึ่งเคยเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ประหารมาแล้ว ๖-๗ ครั้ง
> > ในฐานะผู้นำทางศาสนา ได้คุยกันอยู่นาน เขาเล่าให้ฟังว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
> > หลังจากหกโมงไปแล้วจนถึงเวลาประหาร เมื่อเรารู้ตัวล่วงหน้าจะได้ไม่ตกใจ
> > ไม่เสียสมาธิเขาบอกว่า จะมีพวกเจ้าหน้าที่หกคนควบคุมเราตลอดเวลา
> > พวกนี้เป็นทีมเพชฌฆาต ซึ่งสมัครใจมาทำหน้าที่นี้ด้วยตัวเอง คงตื่นเต้น
> > และมีความสุขในการประหาร เขาบอกว่า พวกนี้อาจจะรังแกเราด้วยวิธีการต่างๆ
> > อาจเบียดเบียนทั้งกายและวาจา พูดจาหยาบคาย เขาจะมาพาเราไปตั้งแต่หกโมง
> > และเวลาประหารเป็นหกทุ่ม ซึ่งเหลือเวลาน้อยเต็มที เราควรจะได้อยู่กับนักโทษให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
> > แต่เขาก็จะทำให้เราเสียเวลาในระหว่างพาไป โดยทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องยืดยาว
> > ระหว่างอยู่ในห้องรอประหาร เขาก็จะคุยกันเสียงดัง บางทีก็เปิดโทรทัศน์รบกวน
> > ไม่เป็นมิตรกับนักโทษเลย ในวันที่กำหนดจะประหารเจครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนนั้น
> > เจได้รับอนุญาตให้ถือลูกประคำเข้าในห้องประหารได้ แต่ก่อนที่จะส่งถึงมือเจ
> > ผู้คุมก็โยนลงบนพื้น แล้วก็เหยียบเสียทีหนึ่งเมื่ออาตมาได้ข้อมูลมาอย่างนี้
> > ก็มาคิดวางแผนว่าจะทำอย่างไรดี หากเจอเหตุการณ์อย่างที่เขาเล่า
> >
> >
> >
> > วันสุดท้ายคืนวันจันทร์ เยี่ยมได้เฉพาะทนายความ ญาติ
> > และผู้นำทางศาสนาซึ่งทำหน้าที่เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่นักโทษ
> > วันนั้นอาตมาอยู่ตลอดวัน ก่อนเวลาประหารหกชั่วโมง
> > นักโทษจะต้องลาครอบครัวและเพื่อนๆ ไปสู่ห้องขังพิเศษ ซึ่งอยู่ติดกับห้องประหาร
> > เฉพาะผู้นำทางศาสนาเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ติดตามไป
> > เมื่อเขามาคุมตัวเราจากห้องรับแขกไปยังห้องรอประหาร
> > อาตมาก็เริ่มต้นทักทายหัวหน้าผู้คุม ถามทุกข์สุข ถามเรื่องนั้นเรื่องนี้
> > คุยไปเรื่อย เขาก็ตรวจร่างกาย ตรวจเสื้อผ้า ต้องเอาผ้าออกหมดทุกชิ้น
> > ไม่ให้มีอะไรซ่อนไว้ได้เลย แต่เขาก็อำนวยความสะดวก ไม่ให้เสียเวลามาก
> > ส่วนเจก็มีผู้คุมมาพาไปอีกทางหนึ่ง แล้วเขาก็พาไปขังไว้คนละห้อง ห้องที่ขังเจยาวไปอีกทางหนึ่ง
> > ส่วนห้องที่ขังอาตมาก็ยาวไปอีกทางหนึ่ง
> > แต่ก็มีมุมหนึ่งที่เราคุยกันได้พอเราเข้าไปในห้องขังแล้ว
> > หัวหน้าผู้คุมก็มาอบรมเรา ว่าจะต้องอยู่ในระเบียบอย่างไร
> > โยมผู้หญิงที่เป็นผู้นำทางศาสนาคนนั้น ได้เตือนไว้แล้วว่า
> > ถ้าเจอหัวหน้าผู้คุมตัวสูง มีเครา ลักษณะอย่างนี้ๆ ให้ระวัง
> > เพราะนั่นน่ะตัวร้าย ดุ อย่าทำให้เขารังเกียจ อาตมาก็เจอจริง ๆ เพราะฉะนั้น
> > เวลาเขาพูดอะไร เราก็...ครับ ครับ เขาอบรมอะไร ก็...ครับ ครับ
> > อาตมาได้ตกลงกับเจไว้แล้วว่า พอถึงเวลาที่สมควร ก็ให้เจขอพระไตรสรณาคมน์
> > ขอรับศีลเป็นภาษาบาลี เป็นเบื้องต้น ก็เป็นช่องที่จะได้อบรมเขาว่า
> > สรณะที่พึ่งคืออะไร พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คืออะไร ศีลคืออะไร แล้วก็เทศน์สั้นๆ
> > กัณฑ์หนึ่ง อบรมให้ความรู้เจ ไม่ใช่เพื่อเจคนเดียว แต่เพื่อผู้คุมด้วย
> > เมื่อเจขอไตรสรณาคมน์ ขอศีลเสร็จแล้ว ก็ให้อาราธนาพระปริตร แต่เจหลง เขาขึ้น
> > ..พรหม จะ โลกา คืออาราธนาเทศน์ เราเลได้โอกาสแสดงธรรมต่อ
> > เพื่อเป็นการดึงจิตใจเจ้าหน้าที่ไปในตัว แล้วเจก็อาราธนาพระปริต สวดมงคลชยคาถา
> > บางบทที่มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เราก็สวดเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจว่าเราสวดอะไร
> > พอสวดเสร็จ หัวหน้าผู้คุมที่ว่าดุนั่น ก็เข้ามามาพูดอย่างเอ็นดูว่า “ ช่วงที่ท่านสวดมนต์อยู่
> > ทนายของเจโทรศัพท์มาสองครั้ง ผมไม่ได้บอก เพราะอยากให้ท่านสวดให้เสร็จ ตอนนี้จะผมโทร.กลับให้ไหมครับ
> > ” อาตมาก็เลยให้เบอร์โทรศัพท์เขาไป เพราะทนายก็อยู่อีกอาคารหนึ่งในเรือนจำ
> > สักประเดี๋ยวก็มาถามอีก “ ท่านสวดมนต์นาน คงจะคอแห้ง ต้องการน้ำไหมครับ
> > หรือจะเอาน้ำส้ม ” อาตมาบอกว่า “ ไม่เอาดีกว่า เพราะมีคนอธิบายให้ฟังว่า
> > ถ้าจะเข้าห้องน้ำต้องมีคนพาไป แล้วห้องน้ำก็อยู่ไกลด้วย
> > ขากลับก็ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตรวจ เปลือยกายอีก ยุ่งยาก ไม่เอาดีกว่า ” เขาก็บอกว่า
> > “ ที่จริงห้องน้ำใกล้ ๆ ก็มี จะให้ใช้ก็ได้ ” อาตมาก็เลยเอาน้ำส้ม
> >
> >
> >
> > ตลอดคืนเขาก็อยู่ แต่ไม่ได้รังแก หรือรบกวนอะไรเลย ถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งทำเสียงดัง
> > ก็มีเจ้าหน้าที่ตักเตือนกันเอง เวลาสั่งงาน เขาก็เขียนใส่กระดาษ ส่งกันต่อ ๆ
> > เพื่อจะได้ไม่มี่เสียงรบกวนเรา คืนนั้นอาตมากับเจ ก็เลยมีโอกาสได้อยู่ด้วยกันเต็มที่
> > เราก็นั่งสมาธิ สนทนาธรรม และสวดมนต์โดยเฉพาะการแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล
> >
> > ตลอดเวลานับตั้งแต่อาตมาได้พบเจ จนกระทั่งถึงวันประหารเป็นเวลาสามวันนี้
> > อาตมาก็ได้ตอบข้อสงสัย ข้อข้องใจของเจ โดนเฉพาะเรื่องอนัตตา
> > เรื่องขันธ์ ๕ และการปล่อยวาง ว่าจะทำอย่างไร การสังเกตในตัวเองว่า
> > ละได้จริง ๆ อย่างไร เรื่องทำสมาธิเขาเก่ง สมาธิดี เพราะเขาฝึกอยู่ในเรือนจำนาน
> > เวลากลางคืนที่คนอื่นนอน เขาก็นั่งสมาธิ กลางวันตื่นสาย
> > เพราะตอนกลางวันในเรือนจำมีเสียงรบกวนมากสำหรับในคืนสุดท้าย อาตมาก็ได้ไขข้อข้องใจต่าง
> > ๆ บางอย่าง และฝึกเขาในการทำจิตให้มั่นคง
> > พร้อมที่จะรับความตายโดยไม่หวั่นไหว ฝึกให้เขาเปลี่ยนกรรมฐาน คือปกติเขาทำสมาธิโดยวิธีอาณาปานสติ
> > กำหนดลมหายใจ แต่เมื่อยาที่ใช้ในการประหารออกฤทธิ์ ทำให้หัวใจหยุด
> > ลมหายใจก็หยุด ถ้าเอาลมหายใจเป็นอารมณ์
> > และลมหายใจหยุดชะงักขณะเขากำลังกำหนดอยู่ การตั้งสติก็จะไม่มั่นคงเท่าที่ควร
> > แล้วเจเคยฝึกสมาธิมา ตอนก่อนบวชที่เมืองไทย เมื่อมานั่งสมาธิที่วัด
> > เขาได้เห็นนิมิตแสงสว่างครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเขาพยายามนั่งจะให้เห็นอีกก็ไม่สำเร็จ
> > แต่เมื่อเจบอกว่า สามสัปดาห์ก่อนเขาได้เห็นแสงสว่างอีก ก็ทำให้อาตมาใจชื้นขึ้นเป็นอันมาก
> > และเนื่องจากเจเป็นจิตรกร อาตมาก็เลยได้ความคิดว่า
> > เขาน่าจะกำหนดภาพแสงสว่างเป็นอารมณ์กรรมฐาน อาตมาเลยให้เขาใช้นิมิตแสงสว่างแทน
> > ซึ่งเขาก็ทำได้ ตอนแรกอาตมาก็แนะนำท่านั่ง คืนนั้นก็แนะนำน้อยลง
> > ให้เขาทำเองมากขึ้น ช่วงสุดท้ายเขาบอกว่า จิตเป็นสมาธิได้เร็ว อาตมาพยายามอธิบายการตั้งจิต
> > เมื่อลมหายใจหมด จิตกำลังจะดับ ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนที่เจ้าหน้าที่ต้องนั่งฟังอยู่ด้วย
> > เพราะหนีไปไหนไม่ได้ เขาเลยพลอยได้ความรู้มากเหมือนกัน
> >
> > ตลอดคืนเราก็ได้ยินเสียงเตรียมการในห้องประหารซึ่งอยู่ติดๆ กัน
> > ผู้ว่าการเรือนจำ และจิตแพทย์ก็ต้องเข้ามาตรวจ เพราะถ้าเจบ้า เสียสติ
> > เขาก็ประหารไม่ได้ และเขาก็ต้องตรวจอาตมา ถ้ามียาพิษให้เจกินตายไปก่อน
> > เขาจะเสียดาย
> >
> > ในคืนนั้นท่านอาจารย์เทศน์เรื่องอะไรครับ
> >
> > อาตมาเล่าประวัติพระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ
> > ไม่ทรงปรารถนาจะโปรดสัตว์ เพราะทรงเห็นว่า ธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นของลึกซึ้ง
> > ยากที่คนจะเข้าใจปฏิบัติตามได้ จากนั้นก็พูดถึงโมหะกิเลส
> > ซึ่งเป็นธรรมดาของสัตว์โลก และธรรมะเพื่อการหลุดพ้น แล้วก็พูดถึงอริยสัจ ๔
> > และอธิบายความหมายของการปล่อยวาง ซึ่งไม่ใช่การปล่อยทิ้ง คือ *เจจะต้องตั้งสติจดจ่ออยู่กับการกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบัน
> > ไม่ว่าอารมณ์อะไรจะเกิดขึ้น ก็เพียงแต่กำหนดรู้ แล้วก็ปล่อยวาง
> > อย่าปล่อยจิตให้เลื่อนไหลไปกับอารมณ์ เพราะนั่นหมายถึงการเกิด
> > แล้วก็ทุกข์เราได้พูดถึงการปล่อยวาง * ในความหมายที่เชื่อมโยงถึงการ “ การให้อภัย
> > ” และ “ อนัตตา ” ถ้าเราไม่ให้อภัย คือเรายังยึดทุกข์ไว้
> > เราก็จะสร้างตัวตนขึ้นบนความทุกข์เรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเกิดมีตัวตนขึ้นเมื่อไร
> > ทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น มันเกี่ยวพันกันอยู่อย่างนี้ แล้วอาตมาได้ถามเจว่า
> > “ ยังมีใครอีกบ้างไหมที่เจยังไม่ได้ให้อภัย ” เจนิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง ในที่สุดก็ตอบค่อยๆ
> > ว่า “ ผมยังไม่สามารถให้อภัยตัวเองได้หมดใจครับ ” คำตอบของเจกินใจอาตมาจนทำให้เกิดความรู้สึกตื้นตัน
> > เจยังฝังใจจำที่ตัวเองได้พลาดพลั้งไปในอดีต
> > อาตมาจึงได้ชี้แจงให้เห็นธรรมชาติของการเกิดดับ เจจะต้องทำความเข้าใจ
> > ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มันได้ดับไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน
> > ก็เป็นคนละคนกับคนในอดีต เจจะต้องปล่อยวางเหตุการณ์ในอดีต
> > รวมทั้งคนที่เคยประกอบกรรมในอดีตนั้นเสียด้วย น่าสังเกตว่า
> > บรรดาผู้คุมก็สนใจฟังเทศน์ของอาตมาเหมือนกัน
> > และตลอดคืนนั้นพวกเขาก็ดูให้ความเคารพ และเกรงใจเราทั้งคู่มากขึ้น
> >
เจมีอาการอย่างไรบ้างครับ เมื่อวันใกล้การประหาร
> >
> > ตอนหนึ่งเขาถามอาตมาว่า “ ถ้าผมไม่ใช่รูป ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่จิต
> > แล้วอะไรล่ะครับที่จะหลุดพ้น ” อาตมาตอบว่า “ นี่ก็ไม่ใช่อะไรอื่น
> > เป็นเพียงคำถามที่เกิดจากความสงสัยเท่านั้นเอง
> > เมื่อได้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียกว่าอะไร ” และอีกครั้งหนึ่ง
> > เจบอกอาตมาว่า “ ตอนนี้ผมมีคนสองคนอยู่ในใจผม คือท่านอาจารย์กับตัวผมเอง ”
> > อาตมาตอบว่า “ เจต้องปล่อยวางอาตมาเสีย เพราะอาตมาจะไม่เข้าไปข้างในกับเจ
> > และก็ต้องปล่อยวางตัวเองด้วย ” แล้วเราก็หัวเราะกันจริงๆ แล้ว
> > อาตมาได้พยายามช่วยเจในการเตรียมตัวเผชิญกับสิ่งต่างๆ
> > ซึ่งอาจรบกวนความสงบของเขามากกว่า “ พวกเขาจะมัดเจติดกับเตียง ” อาตมาเตือน
> > “ และคงทำอะไรวุ่นวายหลายอย่างรอบตัวเจ
> > เพราะฉะนั้นเจต้องกำหนดจิตจดจ่ออยู่ภายในเท่านั้น อย่าส่งจิตออกข้างนอก ”
> >
> > ตลอดคืนนั้นเราก็นั่งสมาธิบ้าง สวดมนต์บ้าง และสนทนาธรรมบ้าง เพราะฉะนั้น
> > เจจึงสงบมาก และสามารถกำหนดจิตแน่วแน่กับอารมณ์กรรมฐาน
> > ท้ายที่สุดเราได้จัดเวลาประกอบพิธีสวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และแผ่เมตตาแก่ทุกๆ
> > คน รวมทั้งผู้คุม หลังจากรู้แน่ชัดว่าการอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายคงไม่ได้ผล เจก็ขอร้องอาตมาให้แผ่เมตตาแก่คณะทนายความที่ร่วมในการทำคดีของเขาด้วย
> > แม้ในวาระสุดท้ายของชีวิต เจก็ยังอุตส่าห์มีน้ำใจเผื่อแผ่ถึงผู้อื่น
> >
> > เกือบหกทุ่ม เขาก็มาบอกว่า จะพาเจไปแล้ว พอเขาเรียก เจก็ลุกเดินออกไป ...เฉย
> > ไม่หวั่นไหว ไม่ตกใจกลัว ตอนเดินผ่านห้องของอาตมา ก็ยกมือไหว้บอกว่า “ ผมลาครับ
> > ” แล้วก็เข้าไปในห้องประหาร ตอนนั้นอาตมาก็ยังถูกขังอยู่
> > ก็ได้ยินเสียงการเตรียม รัดเจไว้กับเก้าอี้ ซึ่งอาตมาก็ได้เคยอธิบายให้เจฟัง
> > และได้กำชับแล้ว ว่าอย่าได้ใส่ใจกับสิ่งอื่น ให้สนใจในการทำจิตให้สงบที่สุด
> > หนักแน่นที่สุด สบายที่สุด พิจารณาการปล่อยวาง
> >
> >
> >
> > หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็มาพาอาตมาออกไปนอกเรือนจำ ซึ่งต้องออกทางด้านหลัง
> > เพราะด้านหน้ามีการประท้วง คนมาร่วมด้วย ๓๐๐ – ๔๐๐ คน ฝนตกหนักที่สุด
> > ลมก็แรง เหมือนกับเทวดาไม่พอใจเลย หลายคนก็ไม่พอใจการประหาร
> > เพราะได้ข่าวว่านักโทษเจสามารถปรับตัวได้ เป็นคนสงบ
> > มีหลักการในการดำเนินชีวิตน่านับถือ คนเลยออกมาประท้วง ซึ่งที่จริง
> > ทุกครั้งที่จะมีการประหาร ก็มีคนออกมาต่อต้าน ไม่เห็นด้วย
> > เพราะรู้สึกว่าป่าเถื่อน ไม่สมควรกับประเทศที่เจริญ
> > แต่ครั้งนี้มีคนออกมาประท้วงมากกว่าครั้งก่อนๆ และอากาศก็แย่กว่าทุกครั้ง
> > ตอนเช้าดูหนังสือพิมพ์ เขารายงานข่าวว่า เจนอนนิ่งหลับตา
> > รอรับการประารอย่างสงบ อาตมาก็รู้สึกภูมิใจ เพราะเชื่อว่าเจกำลังกำหนดจิต


มีพิธีศพไหมคะ
มีพิธีเผาศพอย่างเงียบๆ ในวันรุ่งขึ้น อาตมาได้ไปพบไตรยา พี่สาวของเจ ที่นั่นด้วย เขาเอาศพใส่ในกล่องกระดาษ ก่อนหน้านั้นไตรยาขอดูศพ แต่ไม่ได้รับอนุญาต อาตมาไม่ทราบเรื่องนี้ เลยไปขอให้ผู้อำนวยการเผาศพ
เปิดฝากล่อง เธอลังเลอยู่นิดหน่อย แต่แล้วก็ยอมทำตาม
ปรากฏว่าศพอยู่ในถุงพลาสติก “ น่าจะมีซิปเปิดนะ ” อาตมาบอก เธอมองหา และบอกว่าซิปอยู่ทางปลายเท้า แต่ก็ลังเลก่อนที่จะบอกว่า เจอาจไม่ได้ใส่เสื้อผ้า อาตมาบอกว่าน่าจะใช้กรรไกรตัดได้ เพราะเป็นเพียงถุงพลาสติก เธอก็เลยเปิดถุงตรงช่วงไหล่และศีรษะ ........
ศพของเจ เปรียบได้กับครูกรรมฐาน ซึ่งให้พลังบันดาลใจอย่างมาก ใบหน้าของเขาดูสงบผ่องใส และคล้ายมีรอยยิ้มจางๆ น่าเชื่อว่าเจได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ
หลังจากประมวลเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดูแล้ว อาตมามั่นใจว่า เจไปดี
> >
ท่านอาจารย์รู้สึกอย่างไรบ้างครับ หลังการประหาร
อาตมารู้สึกเป็นบุญที่ได้อยู่กับเจ
มันเป็นประสบการณ์ที่ช่วยลดอัตตาของเราลงได้มากทีเดียว อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าเป็นพวกเรา เจอสภาพอย่างเดียวกันนี้บ้าง เราจะเป็นอย่างไรกับการที่จะได้สัมผัสความตายที่เป็นรูปธรรมจริงๆ โดยที่รู้เวลาแน่นอนด้วย
ไม่ใช่แค่ว่าจะตายในวันใดวันหนึ่งในอนาคต แต่รู่แน่ว่า ๒๔.๐๑ นาฬิกาของวันนั้น เราจะต้องตาย ( ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒) ก่อนหน้านี้เจไม่ได้กังวล หรือหวังผลจากขบวนการยุติธรรม เขาไม่ได้ตั้งความหวังว่า การอุทธรณ์จะได้ผลและเมื่อผลปรากฏออกมาว่าไม่สำเร็จจริงๆ เขาก็ไม่ได้ถือเป็นเรื่องสลักสำคัญอะไร เจบอกอาตมาว่า “ ผมยอมรับความจริงว่าผมจะต้องถูกประหาร ”
หลังจากวันประหาร อาตมาก็ต้องพบทนายอีกสองคน
และโยมผู้หญิงซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาคนนั้น เขาอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์
> > เพราะกฎหมายระบุว่า เฉพาะผู้นำทางศาสนาเท่านั้นที่จะเข้าไปกับนักโทษได้
> > แต่ตลอดเวลา ๖ – ๗ ปี ที่ผ่านมา เรื่องมันยังอยู่ระหว่างการต่อรองทางกฎหมายที่จะให้นักโทษเลือกที่พึ่งทางใจได้เอง
> > แต่ถึงตอนนั้นก็ยังไม่เป็นสิทธ์ตามกฎหมายที่แท้จริง เมื่ออาตมาเล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้เขาฟัง
> > เขาก็แปลกใจ ว่าราบรื่นจริง ๆ นึกไม่ถึงว่าจะดีอย่างนั้น เขาก็อนุโมทนา
> > หลังจากการประหารผ่านมามาสองสามเดือน อาตมาก็ได้ข่าวจากคนที่มาวัด
> > ซึ่งมีเพื่อนเป็นนักจิตวิทยาผู้ทำหน้าที่ช่วยเจ้าหน้าที่อยู่ในเรือนจำ
> > ว่าหลังจากประหารเจแล้ว เจ้าหน้าที่หลายคนรู้สึกสะเทือนใจ ลำบาก
> > และอึดอัดใจในการกลับไปปฏิบัติหน้าที่อีก ก็ดีที่ทำให้เขาสำนึกได้
> >
> > ตอนอาตมาเข้าไปก็ไม่ได้ถามเจเกี่ยวกับคดี ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร
> > เพราะมุ่งแต่ให้เขาทำหน้าที่ของเขา คือทำจิตใจให้มั่นคง
> > หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว อาตมากลับมาศึกษาคดี ศึกษากรณีต่างๆ แล้ว ก็รู้สึกว่า
> > เจไม่ได้เป็นคนผิด แต่ตลอดเวลาที่อยู่ในคุก เขาไม่บอกว่าที่จริงคนฆ่าคือใคร
> > นอกจากยอมรับเคราะห์แทน เมื่อเจขึ้นศาลตอนแรกนั้น
> > เงินทุนที่จะต่อสู้คดีก็ไม่มี ภาษาอังกฤษก็ยังไม่ดี ทนายที่ศาลแต่งตั้งให้เจ
> > ก็กำลังหาเสียงเลือกตั้ง เลยไม่สนใจคดี ไม่หาพยานให้เจด้วย
> > ศาลก็ตัดสินอย่างรวดเร็ว ในฐานะที่เป็นคนไทย เมื่อถูกจับเข้าคุก
> > ตามกฎหมายระหว่างประเทศ สถานทูตไทยควรมีส่วนช่วยเหลือ แต่เขาก็ไม่ได้แจ้งเรื่องให้สถานทูตทราบเลย
> > จนกระทั่งหลังตัดสินประหารไปแล้ว ถึงแม้มีการอุทธรณ์ แต่ตามกฎหมาย
> > ศาลก็จะพิจารณาเฉพาะข้อมูลที่มีในตอนตัดสินครั้งแรกเท่านั้น
> > จะเอาข้อมูลใหม่เข้าไปไม่ได้ เจก็เลยเสร็จ ไม่มีประตูสู้
> > ฟังแล้วบางทีก็หดหู่นะ สลดใจ แต่เจเองเขาก็พูดอยู่เสมอว่า ไม่สมควรหดหู่
> > ไม่สมควรเศร้าใจ เราต้องเชื่อในหลักกรรม ถ้าไม่เป็นกรรมในชาตินี้
> > ก็ต้องเป็นกรรมในชาติก่อนตามมา ทางที่ดีคือยอมรับด้วยจิตใจผ่องใส
> > ถ้าเราไปมีทุกข์ ทำใจไม่ดี เราก็ต้องเกิดมาพัวพันกับกรรมเก่านี้อีก
> > ตอนนี้มีโอกาสที่จะทำให้มันหมดสิ้นไป เขาพูดได้อย่างนี้นะ ...
> >
เจเป็นศิลปินมีฝีมืออย่างที่เขาว่าหรือเปล่าคะ
> >
> > จริง อาตมาได้เห็นผลงานศิลปะที่เจรวบรวมไว้ เขาเป็นคนมีพรสวรรค์จริงๆ
> > และเชี่ยวชาญในศิลปะหลายแขนง ผลงานส่วนใหญ่ ๖๐๐ ชิ้น เจได้แจกจ่ายแก่เพื่อนๆ
> > และคนคุ้นเคยไปแล้ว เจอาศัยศิลปะเป็นสื่อในการแสดงออก
> > เขามักใช้ภาพผีเสื้อเป็นสัญลักษณ์แทนพัฒนาการของตนเอง เจเล่าว่า
> > มีอยู่ขณะหนึ่งเขาปลงตก คิดว่า อย่างไรเสีย
> > ตัวเองก็คงจะต้องตายในคุกเป็นแน่แท้ *เวลาก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว
> > จะผูกโกรธอาฆาตตัวเอง และผู้อื่นอยู่อีกทำไม * แปดปีสุดท้ายของชีวิต
> > เป็นช่วงที่การปฏิบัติของเจ
> > เริ่มปรากฏผลเป็นความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของเขาอย่างชัดเจน
> > เจได้รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ และได้เรียนรู้ว่า
> > หากรู้จักปฏิบัติอย่างถูกวิธี การติดคุกก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสียทีเดียว
> > เจยอมรับว่า ถ้าไม่ได้เผชิญความยากลำบากและความทุกข์แสนสาหัสอย่างที่ได้รับ
> > ระหว่างต้องโทษในเรือนจำ เขาคงไม่อาจพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ถึงระดับนี้
> > เจรู้จักใช้ปัญญาในการใคร่ครวญพิจารณา ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งความสว่างสงบของจิต
> > ยิ่งใกล้วันประหาร เขาก็ยิ่งตระหนักชัด และให้ความเอาใจใส่
> > ระมัดระวังสิ่งที่จะขัดขวางความสงบ และความก้าวหน้าของจิต
> > ระยะหลังเขาจึงมุ่งไปเอาจริงอาจังกับการฝึกจิต
> > โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญความเป็นจริงยิ่งขึ้น

 

โดย: ชะเอมหวาน 25 มิถุนายน 2555 15:36:31 น.  

 

ประวัติและปฏิปทา
> > พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ
> >
> > วัดป่าอภัยคีรี
> > มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
> >
> > ๏ นามเดิม
> > รีด แพรี่ ( Reed perry)
> >
> > ๏ เกิด
> > เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศแคนาดา
> >
> > ๏ การศึกษา
> > ปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์
> >
> > ๏ การอุปสมบท
> > พระอาจารย์มีความสนใจในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา
> > เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปหาประสบการณ์ชีวิตในหลายประเทศ
> > จนกระทั่งปี ๒๕๑๖ ท่านได้เดินทางมายังประเทศไทย
> > และเกิดความสนใจในการทำสมาธิภาวนา จึงได้ไปฝึกปฏิบัติที่วัดเมิงมาง
> > จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเพลงวิปัสสนา
> > แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗
> > ๏ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท
> >
> > ในพรรษาแรกนั่นเอง ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระโพธิญาณเถร
> > (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ
> > จ.อุบลราชธานี โดยการแนะนำของพระอุปัชฌาย์ของท่าน
> > โดยได้พำนักที่วัดหนองป่าพงและวัดสาขาอื่นๆ ตามโอกาสอันสมควร
> >
> > ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย
> > อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และได้ปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลา ๑๕ ปี
> > จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙
> >
> >
> > ๏ การสร้างวัดป่าอภัยคีรี
> > ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ
> > เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับพระอาจารย์อมโร ภิกขุ
> >
> >
> > วัดป่าอภัยคีรี เป็นวัดปฏิบัติในสายพระโพธิญาณเถร ( หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
> > แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
> > ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก มีเจ้าอาวาสร่วมกัน ๒ รูป
> > คือ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี และ
> > พระอาจารย์อมโร ภิกขุ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด
> > ประเทศอังกฤษ
> >
> > “ อภัยคีรี ” เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า “ ขุนเขาแห่งความปลอดภัย ” ซึ่งเป็นชื่อวัดโบราณในประเทศศรีลังกา
> > ที่ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ต่างนิกายมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน
> > ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ด้วยความเชื่อว่า “ ทุกชีวิตมีสิทธิ์ในการทำทุกข์ให้สิ้นได้เท่าๆ
> > กัน ”
> >
> > ปัจจุบัน “ วัดป่าอภัยคีรี ” ในประเทศสหรัฐอเมริกา
> > ก็ไม่แตกต่างกันนักคือ ได้เปิดโอกาสให้สาธุชนผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ
> > รักในสติ รักในปัญญา ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ
> > เป็นธรรมชาติตามแนววัดป่าฝ่ายเถรวาท ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใด นิกายไหน
> > มีสีผิวอย่างไร ไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ และอายุ
> >
> > เพิ่มเติม *
> > *//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22218 ****

 

โดย: ชะเอมหวาน 25 มิถุนายน 2555 15:36:45 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ สวัสดียามเย็นนะคะ

 

โดย: cyberlifenlearn 25 มิถุนายน 2555 16:36:35 น.  

 

ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวมาแบ่งปัน เชื่อว่าคุณเจคงไปดี
บางทีคนที่มีชีวิตอยู่ ยังไม่สามารถฝึกจิตได้สงบเท่านั้นเลย
ถึงเขาจะทำกรรมมา ก็มีบุญที่ได้ตายอย่างสงบ

 

โดย: ปลาย (enterstep ) 25 มิถุนายน 2555 18:38:49 น.  

 

ชอบที่่ว่า "ให้ปล่อยวางลง...อย่าสนใจสิ่งภายนอก"

สวัสดี วันนี้...วันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘‏

“ก็เพียงแค่หลับตา...เราก็ตื่น...”

 

โดย: คนป่าหาธรรม 26 มิถุนายน 2555 17:12:24 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับน้องเอม

พี่ก๋ามีหนังสือเล่มนี้ด้วยครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 30 มิถุนายน 2555 6:14:55 น.  

 

สวัสดีค่ะ

 

โดย: praewa cute 24 สิงหาคม 2555 7:03:07 น.  

 

สวัสดีค่ะ ขอบคุณบทความดีๆยามเช้านี้

 

โดย: krutoiting IP: 223.204.94.225 27 สิงหาคม 2555 7:37:23 น.  

 

ขอบคุณที่เตือนสติ

 

โดย: คนไกลบ้าน IP: 75.81.124.135 21 พฤศจิกายน 2555 13:14:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ชะเอมหวาน
Location :
Dalian(China),Guildford(UK),กทม.,สกลนคร United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Edutainment
International Business
Bossa Nova& Easy Listening

ถ้าถามอะไรในนี้ไม่ได้ตอบ
กรุณาส่งไปทางเฟซบุ๊คเลยนะคะ
ไม่ค่อยได้เช็คบล็อกค่ะ
ขอบคุณค่ะ


 ยินดีต้อนรับ
ณ บ้านชะเอมหวานค่ะ
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนกันเสมอนะคะ
จขบ.เป็นอาจารย์เล็กๆค่ะ
ฟรีแลนซ์ พิธีกรงานแต่งงาน
สะสมโปสการ์ดค่ะ
ฟังเพลงสบายๆ
ชอบแต่งหน้าแต่งตัว
แต่งกลอน ขีดๆเขียนๆ
ท่องเที่ยว
ก็เป็นกำลังใจให้กันด้วยค่ะ จุ๊บๆ 





บ้านนี้จขบ.ต้องการสร้างสรรค์ให้เบา สบายๆค่ะ
เอนทรี่เก่าๆเกี่ยวกับอาหารและการท่องเที่ยวจะย้ายบ้านไปที่

Amiley lala(ท่องเที่ยวและอาหาร)



POSTCARD & International Business


ถ้าจะโหวตขอหมวดการศึกษา

และหมวดดนตรีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
credit::::
photo by พี่เป็ดสวรรค์)
Head blog กับของตกแต่งจาก

pk12th
และ

คุณกุ้ง Kungguenter


Follow amiley on Twitter



New Comments
Friends' blogs
[Add ชะเอมหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.