มีนาคม 2553

 
1
2
3
4
6
7
9
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
24
25
26
27
29
30
31
 
 
28 มีนาคม 2553
แพ้นมวัว
เด็กแพ้นมวัว

"แพ้นมวัว" หรือ "Milk Allergy" เกิดจากการแพ้โปรตีนในนมวัว
-คือ เด็กที่ไม่สามารถรับโปรตีนที่มีอยู่ในนมวัวได้
- โรคแพ้โปรตีนนมวัว พบมากจริงๆค่ะ ประมาณ 2-3 หมื่นคนต่อปี โรคนี้เป็นโรคที่ซ่อนอยู่พ่อแม่จะรู้ช้า และกว่าจะรู้ก็เสียเวลา เสียเงินไปมาก การวินิจฉัยก็ค่อนข้างยาก เลยไม่ค่อยมีใครจะให้การวินิจฉัย รักษาตามอาการไป
- อุบัติการน้อยกว่าร้อยละ 1 ในกลุ่มประชากรทั่วไป
-เด็กที่แพ้นมวัว จะมีโอกาศในการแพ้นมแพะ นมถั่วเหลือง แป้งสาลี และไข่ไก่ สูง
-รายงานทางการแพทย์หลายแห่งระบุว่า ถ้าแพ้โปรตีนนมวัว นมถั่ว หรือนมอื่นๆ ให้กินน้ำซุปไก่
โรคแพ้โปรตีนนมวัว ปัจจุบันพบได้มากจากรายงานทั่วไปพบได้ถึง ร้อยละ 1.8 -7.5 ของทารก
ถ้าคิดประมาณว่า เกิดประมาณ ร้อยละ 3 ของทารก
-ปัจจุบันเด็กทารกแพ้โปรตีนนมวัวมี 2-4% หรือประมาณ 20,000 คนต่อปี จากจำนวนเด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว 6 แสนคนและมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
-ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ในหลายๆ โรคในเด็ก ดังนั้นหากค้นหาสาเหตุไม่พบจึงเป็นไปได้ว่าเด็กเป็นโรคภูมิแพ้นมวัว
-การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้นได้
-หากเด็กแพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมแพะด้วย ในเปอร์เซ็นต์สูงกว่านมถั่วนะคะ เพราะเป็นนมที่มาจากสัตว์เหมือนกัน นมถั่วก็มีโอกาสแพ้แต่น้อยกว่านมแพะ
-เด็กสมัยนี้แพ้นมวัวเยอะขึ้นเลย ๆ คะ
เกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าตอนคุณแม่ตั้งท้องต้องการสารอาหารเยอะโดยเฉพาะแคลเซียมหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าการทานนมวัวมาก ๆ จะทำให้แม่ได้รับแคลเซียมเยอะแต่ในทางกลับกันนั้นเป็นการสร้างฉนวนเวลาให้แก่ลูกคะ
พบกว่าครอบครัวที่มีประวัติคนในครอบครัวแพ้นมวัวมาก่อน การที่ให้แม่ทานนมวัวขณะตั้งครรภกลับเป็นผลร้ายต่อลูกในท้องคะ
เพราะว่าเป็นการไปกระตุ้นให้ลูกในท้องเกิดการสร้างสารภูมิแพ้ต่อโปรตีนในนมวัวมากกว่าปกติอาการภูมิแพ้อาจจะหายไปได้เองในเด็กที่เป็นภูมิแพ้แล้วร่างกายไม่ได้รับมานานจนลืมไปแล้วว่าแพ้สารนี้โดยปกติแล้วเด็กที่เป็นภูมิแพ้จะในระยะเริ่มต้นถ้าไม่กระตุ้นอีกร่างกายจะสามารถสร้างเอนไซด์มาย่อยโปรตีนนั้นได้ภายหลังคะ คุณแม่ที่พบว่าลูกแพ้โปรตีนในน้ำนมวัว
ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากนมวัวคะสักระยะ ส่วนใหญ่จะให้เด็กที่แพ้นมวัวเริ่มกลับมาทานใหม่หลังเด็กอายุ 1 ขวบไปแล้วเพราะว่าร่างกายจะแข็งแรงพอที่จะสร้างสารยับยั้งการเกิดภูมิแพ้ได้ทางทีดีแนะนำให้ว่าช่วงปีแรกควรให้ทานนมแม่เป็นอาหารหลักก่อนคะ แล้วค่อยเสริมนมวัวหลังจากนั้น ถ้าให้ดีเสริมนมวัวตนอสัก 2 ขวบก็ดีคะ
-โดย มีงานวิจัยชัดเจนที่ทบทวนอุบัติการณ์ของโรคแพ้โปรตีนนมวัว พบว่าอยู่ระหว่าง 1.8-7.5% ของทารก และถ้าทารกมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัว การที่ทารกได้รับนมผสมจะมีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัวถึง 20% ในขวบปีแรก แต่ถ้าได้รับนมแม่อย่างเดียวมีโอกาสเกิดเพียง 0.5-1.5%
ให้ทารกกินนมผสม เสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว
- ถ้ามีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ถ้าได้รับนมผสมจะมีโอกาสเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว 20% ในขวบปีแรก แต่ถ้าได้รับนมแม่อย่างเดียวมีโอกาสเกิดเพียง 0.5-1.5%
- ที่ให้ลูกกินนมแม่ แล้วยังพบโรคนี้ เป็นเพราะ แม่กินนมวัว ทั้งในระหว่างตั้งท้อง และในระหว่างให้นมลูกมากเกินไป

สาเหตุ
-ในเด็กแรกเกิดระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในลำไส้ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่สมบูรณ์
-หรือในครอบครัวอาจมีคนที่เคยมีประวัติการแพ้นมวัวมาก่อน เด็กจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะภูมิแพ้
-ใช้น้ำนมวัวเป็นอาหารสำหรับทารกและเกิดปฏิกิริยาทางระบบอิมมูนทำให้เกิดอาการแพ้นมวัวได้
-วัยทารกแรกเกิด ลักษณะของเยื่อบุลำไส้ในเด็กทารกนั้นยังไม่แข็งแรงดี
-เนื่องจากแม่ เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองน้อยลง จึงต้องเลี้ยงลูกด้วยนมวัว
-มีบิดามารดา พี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้
-การกินนมวัวขณะตั้งครรภ์
-ในระยะ 4-6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำย่อยสารต่าง ๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง
-ดังนั้นการได้รับนมผสม หรืออาหารอื่น ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้อาหารและการกระตุ้นให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง
- เนื่องจากนมผสมและอาหารอื่น จัดเป็นสิ่งแปลกปลอม
-เนื่องจากในระยะที่ทารกยังมีระบบทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง โปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้จึงไม่ถูกย่อย หรือทำลาย ก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
-อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากคุณแม่เดิมช่วงยังไม่ตั้งครรภ์กินนมวัวน้อยมากพอตั้งครรภ์ดื่มนมวัวในปริมาณมากจึงมีการกระตุ้นให้เด็กเป็นภูมิแพ้มากขึ้น
-การเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กเริ่มจากการที่เด็กสร้างภูมิคุ้มกันออกมาทำปฏิกิริยากับสารที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
โรคภูมิแพ้จึงเป็นโรคในกลุ่มภูมิไวเกิน การแพ้สารต่างๆ สามารถเริ่มขึ้นในขวบปีแรกของชีวิต โดยส่วนใหญ่จะแพ้นมวัวหรือไข่ขาว
หลังจากนั้นเด็กจะเริ่มแพ้สารอื่น เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบในระยะเวลาต่อมา แล้วจึงแสดงอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้น
-ถ้ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวด้วยแล้ว โอกาสเกิดโรคภูมิแพ้จะเพิ่มมากขึ้น
เช่น ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ลูกมีโอกาสเป็น 20-30 % ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้โอกาสเกิดโรคนั้นสูงถึง 60%-70%
แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้แต่การที่ทารกได้รับอาหารที่มีโปรตีนแปลกปลอม
ได้แก่ นมวัว หรืออาหารโปรตีนอื่นๆ เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ไข่ขาว ในระยะที่ทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง คือระยะอายุ 6 เดือนแรก ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น
-ทารกระยะ 6 เดือนแรก ยังมีข้อจำกัดในการย่อยและสลายโปรตีนแปลกปลอม
• เยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรงมีช่องว่างระหว่างเซลล์กว้างกว่าปกติ
• น้ำย่อยอาหารยังมีไม่เพียงพอ
• สารภูมิคุ้มกันที่จะคอยดักจับของแปลกปลอม ยังมีไม่พอ
ดังนั้นถ้าได้รับโปรตีนแปลกปลอม เช่น นมวัวหรืออาหารอื่นๆ โปรตีนเหล่านั้นจึงมีโอกาสยังอยู่ในสภาพโมเลกุลขนาดใหญ่
เพราะย่อยไม่ได้เต็มที่ และการที่ไม่มีภูมิคุ้มกันคอยดักจับร่วมกับเยื่อบุทางเดินอาหารที่อยู่กันอย่างหลวมๆทำให้โปรตีนโมเลกุลขนาดใหญ่เหล่านี้หลุดลอดไปกระตุ้นให้เกิดการแพ้ได้การแพ้นมวัวและอาหารเสริมในช่วงขวบปีแรกถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการแพ้สารอื่นๆ ในอนาคต

วิธีแก้
-เด็ก 50 %จะหายแพ้เมื่ออายุ 1 ปี-75 % เมื่อ 2 ปี
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 4 -6 เดือน ถ้าได้ถึง 1 ปีเลยยิ่งดีแม่ควรงดนมวัว ไข่ ถั่ว ระหว่างให้นมลูก และกินแคลเซียม,วิตามินเสริมด้วยค่ะถ้าเด็กแพ้นมวัว หรือ อยากป้องกันภูมิแพ้ในทารกที่ครอบครัวเป็นภูมิแพ้ ควรเลือกนมที่ผ่านการย่อยโปรตีนแบบเต็มที่จะให้ผลดีกว่าแบบย่อยบางส่วนค่ะ
* ทารกที่ครอบครัวเป็นภูมิแพ้ ควรชลอการให้อาหารเสริมไว้ก่อนดังนี้
- ชลอการให้นมวัว และอาหารที่มีนมวัวเป็นองค์ประกอบไปจนอายุครบ 1 ปี
- ชลอการให้ไข่ และอาหารที่มีไข่เป็นองค์ประกอบไปจนอายุครบ 2 ปี
- ชลอการให้ถั่วและปลา ไปจนอายุครบ 3 ปี
-โรคนี้เผอิญพออายุ 1 ขวบ หายเองได้ ร้อยละ 50
-อายุ 2 ขวบ หายเองได้ ร้อยละ 70
-รักษาลูกไปเรื่อยๆ อาการก็หายไปเอง ก็เลยไม่รู้ว่าแพ้โปรตีนนมวัว
จนลูกอาการหายไปแล้ว ก็อาจไม่รู้ว่าเป็นเพราะโรคแพ้โปรตีนโรคนี้ มีโอกาสหายได้เมื่อลูกโตขึ้น ดังนั้นลูกอาจป่วยเป็นโรคนี้โดยเราไม่รู้ ..ป่วยโดยไม่จำเป็น
ร้อยละ 50 จะเลิกแพ้นมวัวที่อายุ 1 ปี
ร้อยละ 70 จะเลิกแพ้นมวัวที่อายุ 2 ปี
ร้อยละ 85 จะเลิกแพ้นมวัว ที่อายุ 3 ปี

การป้องกัน
-แนะนำให้รับประทานนมแม่อย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรก
โดยแม่ไม่จำเป็นต้องงดรับประทานนมวัว
และพยายามหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่แดงในช่วง 6 เดือนแรก หรืออาหารทะเลควรเสริมหลังอายุ 1 ปีไปแล้วและไม่แนะนำการงดอาหารใดๆ ที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตรแต่ก็ไม่ควรเน้นให้แม่รับประทานนมวัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
และในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็อาจจะเลือกนมสูตรพิเศษที่ย่อยสลายโปรตีนนมวัวแล้ว (HA) เป็นการลดอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ได้
-เด็กทารกจึงควรดื่มนมแม่เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้โปรตีนชนิด
-กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้ต่อเนื่องกับอาหารอื่นตามวัย
--ซึ่งนมแม่มีกลไกในการป้องกันโรคแพ้อาหาร เนื่องจากการกิน
-นมแม่ช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายจะได้รับ เช่น โปรตีนนมวัว และ
-ในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของลูก
-ที่สำคัญการกินนมแม่ยังช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียในวัยทารก ”
-คุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ควรกินนมวัว ปริมาณเท่าเดิม
--กินนมถั่วเหลืองบ้างกินแคลเซี่ยมเม็ดเสริมเพื่อไม่ให้โปรตีนจากนมวัวที่มากเกินไป จนอาจเกิดการกระตุ้นภาวะภูมิแพ้ในลูก
-และเมื่อคลอดลูกแล้วช่วงให้นมลูกก็ปฏิบัติเหมือนช่วงตั้งครรภ์เมื่อคลอดลูกแล้วแนะนำให้กินนมแม่ให้มากที่สุด
-ถ้าจำเป็นต้องเสริมนมถ้าไม่มีประวัติการเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัวสามารถให้นมกระป๋องธรรมดาได้
-แต่ถ้ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวหมายถึง คุณพ่อ คุณแม่และพี่น้อง ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อพิจารณานมที่เหมาะสมสำหรับลูก
- ต้องตั้งใจและพยายามให้ลูกได้รับนมแม่นะคะ โดยเฉพาะระยะ 6 เดือนแรก ควรให้ได้นมแม่อย่างเดียว
-สำหรับคุณแม่ที่ไม่อยากให้ลูกเป็นภูมิแพ้ ควรปฎิบัติดังนี้
1.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
2.ถ้าลูกมีอาการแพ้ในช่วงที่ให้นมลูก เช่น มีผื่นแพ้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่แพ้ง่าย เช่น ไข่ นมวัว ถั่วลิสง
เนื่องจากมีรายงานว่าโปรตีนของอาหารเหล่านี้สามารถปนออกมากับนมแม่ได้
3.เริ่มให้อาหารเสริมแก่ลูก หลังอายุ 6เดือน โดยเริ่มจากอาหารที่มีโอกาสก่อโรคภูมิแพ้น้อยก่อน
เช่น ข้าวบด กล้วยครูด ฟักทอง เนื้อไก่ ไข่แดง
4.ถ้าครอบครัวมีกรรมพันธุ์เป็นโรคภูมิแพ้ควรชะลออาหารแพ้ง่ายเช่น ไข่ขาว นมวัวโดยพิจารณให้อย่างน้อยหลังลูกอายุ 1 ปี ส่วนถั่วลิสงและกุ้งควรให้หลังอายุ 2-3 ปี
5.ป้องกันลูกจากสิ่งแวดล้อมที่แพ้ง่าย เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข
6.งดการสูบบุหรี่ในบ้านและสถานที่เลี้ยงดูเด็ก
ให้ลูกกินนมแม่ ช่วยป้องกัน โรคแพ้โปรตีนนมวัวเพราะ
- ลูกไม่แพ้ โปรตีนในนมแม่
- ในนมแม่มี ภูมิคุ้มกัน ช่วยจับกับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารเหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
- การกินนมแม่ช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้ พบว่าถ้าลูกมีการติดเชื้อ หรือลำไส้อักเสบ จะทำให้รับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้นแม่ไม่ควร ดื่มนมวัว มาก ทั้งในระยะตั้งครรภ์ และระยะให้นมลูกปัจจุบัน มีการโฆษณา ให้แม่ดื่มนมวัวมากๆ โดยมีวิธีโฆษณาที่สื่อว่า ลูกในท้องจะแข็งแรง สมองดี แม่จะได้รับแคลเซียมเพียงพอ พบว่า ถ้าให้แม่ 100 คนดื่มนมวัว แม่ 53-63 คน จะตรวจพบโปรตีนนมวัวในน้ำนมแม่ได้หลังดื่มนม 1-6 ชั่วโมง การดื่มนมวัวมากไป จะเพิ่มโอกาสให้ โปรตีนนมวัวผ่านแม่ไปกระตุ้นให้ลูกเกิดปัญหาการแพ้ได้
** แนะนำ ถ้าแม่ สามารถกินอาหารธรรมชาติ ให้ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ ก็ทำให้ลูกในท้องแข็งแรง สมองดีได้ และถ้าต้องการแคลเซียมสามารถหาจากแหล่งอื่น เช่นปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้ งาดำ เป็นต้น
ถ้าชอบดื่มนมวัว ควรดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้ว ไม่ใช่ดื่มเป็นลิตรๆ
1 ห้ามกินขนม ทุกชนิดที่ทำจากนมวัว เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต ขนมปัง เค้ก ลูกอมที่นม เป็นต้น
2 ห้ามกิน ไข่ นมทุกชนิด แม้กระทั่ง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้

วิธีป้องกันและแก้ไข (ต่อ)

1 ป้องกันตั้งแต่อยู่ในท้อง
คุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ควรกินนมวัว ปริมาณเท่าเดิม ไม่กินนมวัวมากจนเกินไปกินนมถั่วเหลืองกินแคลเซี่ยมเม็ดเสริมบ้างเพื่อไม่ให้โปรตีนจากนมวัวมากเกิน
จนอาจเกิดการกระตุ้นภาวะภูมิแพ้ในลูก

2 เมื่อคลอดลูกแล้วแนะนำให้กินนมแม่ให้มากที่สุด แล้วช่วงให้นมลูกก็ปฏิบัติเหมือนช่วงตั้งครรภ์ไม่แนะนำการงดอาหารใดๆ โดยแม่ไม่จำเป็นต้องงดรับประทานนมวัวแต่ก็ไม่ควรเน้นให้แม่รับประทานนมวัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวและแม่ไม่ควร ดื่มนมวัว มากเกินไป ทั้งในระยะตั้งครรภ์ และระยะให้นมลูก
ถ้าชอบดื่มนมวัว ควรดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้ว ไม่ใช่ดื่มเป็นลิตรๆ
การดื่มนมวัวมากไป จะเพิ่มโอกาสให้ โปรตีนนมวัวผ่านแม่ไปกระตุ้นให้ลูกเกิดปัญหาการแพ้ได้ถ้าลูกยังมีอาการแพ้ในช่วงที่ให้นมลูก เช่น มีผื่นแพ้
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้
ทั้งในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตรเช่น ไข่ นมวัว ถั่วลิสง เพื่อป้องกันสารกระตุ้นการแพ้เล็ดรอดไปกับนมแม่เนื่องจากมีรายงานว่าโปรตีนของอาหารเหล่านี้สามารถปนออกมากับนมแม่ได้
มีการทดลองพบว่า ถ้าให้แม่ 100 คนดื่มนมวัว แม่ 53-63 คน
จะตรวจพบโปรตีนนมวัวในน้ำนมแม่ได้หลังดื่มนม 1-6 ชั่วโมง
* แม่ควรงดนมวัว ไข่ ถั่ว ระหว่างให้นมลูก และกินแคลเซียม,วิตามินเสริมด้วยค่ะถ้าต้องการแคลเซียมสามารถหาจากแหล่งอื่น เช่นปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้ งาดำ เป็นต้น

3 ต้องตั้งใจและพยายามให้ลูกได้รับนมแม่ โดยเฉพาะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
"อย่างเดียว"
เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ถ้าได้ถึง 1 ปีเลยยิ่งดี
เพราะนมแม่มีกลไกในการป้องกันโรคแพ้อาหาร เนื่องจาก
-ลูกไม่แพ้ โปรตีนในนมแม่
-นมทดแทนชนิดอื่นๆ ดีหรือแพงแค่ไหนก็ไม่เหมือนนมแม่ อาจมีสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งนั้น
-กินนมแม่ช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายจะได้รับ เช่น โปรตีนนมวัว และอาหารเสริมอื่นๆ
-ในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของลูก
-นมแม่ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ให้ทารก พบว่าถ้าลูกมีการติดเชื้อ หรือลำไส้อักเสบ จะทำให้รับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น

4 ชะลอการให้อาหารเสริมที่อาจแพ้ได้ เน้นให้นมแม่และให้ต่อเนื่องกับอาหารอื่นตามวัย
พยายามหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่แดงในช่วง 6 เดือนแรก
เริ่มให้อาหารเสริมแก่ลูก หลังอายุ 6เดือน โดยเริ่มจากอาหารที่มีโอกาสก่อโรคภูมิแพ้น้อยก่อน
เช่น ข้าวบด กล้วยครูด ฟักทอง เนื้อไก่ ไข่แดง
ส่วนอาหารทะเลควรเสริมหลังอายุ 1 ปีไปแล้ว
* ทารกที่ในครอบครัวมีกรรมพันธุ์เป็นโรคภูมิแพ้ ควรชะลอการให้อาหารเสริมไว้ก่อนดังนี้
- ชลอการให้นมวัว เนยและอาหารที่มีนมวัวเป็นองค์ประกอบไปจนอายุครบ 1 ปี
- ชลอการให้ไข่ และอาหารที่มีไข่เป็นองค์ประกอบไปจนอายุครบ 2 ปี
- ชลอการให้ถั่ว กุ้งและปลา ไปจนอายุครบ 3 ปี

5 ป้องกันลูกจากสิ่งแวดล้อมที่แพ้ง่าย เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข หนูแฮมสเตอร์ นก ชั้นหนังสือ ตุ๊กตาผ้าขน พรม หมอนใยฝ้าย,นุ่น,ขนเป็ด ฯลฯ
และงดการสูบบุหรี่ในบ้านและสถานที่เลี้ยงดูเด็ก หลีกเลี่ยงการล้างเครื่องปรับอากาศด้วยสารเคมี


นมทดแทน
-นมถั่วเหลืองที่พัฒนาสูตรแล้ว
--เด็กที่ได้รับนมถั่วเหลืองที่พัฒนาสูตรแล้วมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางด้านสมอง หรือไอคิว
รวมไปถึงกระดูกมีความหนาแน่น สามารถสร้างภูมิคุ้มกันใกล้เคียงกับเด็กที่ได้รับนมแม่
-โปรโซบี หรือไอโซมิล
-นมแพะคุณสมบัติสารอาหารมีคุณค่าใกล้เคียงกับนมแม่มากกว่านมวัว ของ Dg1
-กินนมถั่ว หรือสูตรนมชนิดพิเศษที่มีการย่อยโปรตีนนมวัวอีกชั้นหนึ่ง เช่น นมที่เป็นกรดอะมิโน
-นม สลายโปรตีน สำหรับเด็กแพ้นมวัวและนมถั่วเหลือง ซึ่งไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป แถมราคายังสูงถึง 2-5 เท่า เมื่อเทียบกับราคานมทั่วไป
-นม ยี่ห้อ นูตรามีเจน เป็นนมพิเศษ สำหรับเด็กแพ้นมวัว
-ทานพรีเจสตีมิล ลูกทานได้ แต่ทานได้น้อยมากเลยค่ะ รสชาติมันจะขม
- ปัจจุบันนมถั่วเหลืองที่ขายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้มีเพียง 4 ยี่ห้อด้วยกันคือ นิวตริโซยา ไอโซมิล โปรโซบี และอัลซอย

เมื่อ รู้ว่าลูกแพ้ สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือ ยังคงให้เด็กกินนมอยู่แต่ต้องเปลี่ยนเป็นนมประเภทอื่นแทนนมวัว เช่น นมถั่ว นม วัวที่นำโปรตีนมาย่อยบางส่วนไม่ละเอียดนัก หรือจะเป็นนมวัวที่นำโปรตีนมาย่อยอย่างละเอียดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเด็กที่แพ้นม ทุกชนิดอยู่จำนวนหนึ่ง ทางการแพทย์ยังมีนมพิเศษอีกตัวหนึ่งที่ มารองรับเด็กกลุ่มนี้ คือ นมกรด อะมิโน เป็นนมที่ไม่ใช่โปรตีน เป็นตัวที่มีส่วนเล็กที่สุดในโปรตีน ใส่ตัวเดียวเดี่ยว ๆ เข้าไปในนม เพราะอาการแพ้นมวัวนั้น จะต้องมีกรดอะมิโนเรียงกัน 10 กว่าตัวขึ้นไป แต่การที่มีกรดอะมิโนเป็นตัว เดี่ยว ๆ ไม่มีการเรียงตัวกันจึงถือว่าไม่ใช่โปรตีน เด็กจึงไม่มีการแพ้ แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่า นมกรดอะ มิโนเป็นของต่างประเทศ มีราคาสูง 1 ปอนด์ หรือ 400 กรัม ราคาประมาณ 1,000 บาท ส่วนนมถั่วอยู่ที่ประมาณ 200 บาท นมย่อยโปรตีนบางส่วนประมาณ 200 กว่าบาท และนมย่อยโปรตีนละเอียดอยู่ที่ประมาณ 300-400 บาท



Create Date : 28 มีนาคม 2553
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 13:30:53 น.
Counter : 2277 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

cesarchinathip
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



...ยินดีต้อนรับสู่บ้านซีซาร์คับ...
ไหมค่ะเป็นคุณแม่มือใหม่อยากให้เพื่อนๆเข้ามาแวะทักทายและแบ่งปันประสบการณ์ด้วยนะคะ...ติดตามพัฒนาการของซีซาร์ด้วยนะคับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม blog ค่ะ