มีนาคม 2550

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
27
28
29
30
31
 
All Blog
บล็อก กับบทบาทที่น่าสนใจในอนาคต


WEBLOG(บล็อก)



นับตั้งแต่ผมได้มีโอกาสเข้ามาสู่โลกอินเตอร์เน็ต เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นมา สิ่งที่ผมให้ความสนใจและเริ่มศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังก็คือ การสร้างบล็อก (Weblog) ตั้งแต่ความหมายของคำๆนี้ ความเป็นมา และเว็บที่ให้เราสามารถสร้างบล็อกได้อย่าง Bloggang.com ภายใต้การบริหารควบคุมดูแลของ Pantip.com กระทั่งผมสามารถสร้างและเขียนบล็อกได้เอง ผมก็ยังไม่หยุดการเรียนรู้เกี่ยวกับบล็อก พยายามท่องเข้าไปในเว็บฯต่างๆที่มีบริการให้สร้างบล็อกได้จำนวนไม่น้อยกว่า 20 บล็อก (รวมทั้งของต่างประเทศ)ด้วยในจำนวนบล็อกที่ผมเข้าไปเรียนรู้นั้น มีบล็อกของคนไทยบล็อกหนึ่ง ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับบล็อกโดยตรงคือ



จากความรู้ที่ได้รับจากบล็อกนี้ ยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้ตนเองว่า บล็อกเป็นอะไรที่มีประโยชน์และมีบทบาทมากในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆให้คนอื่นรับรู้ได้ มิใช่เป็นเพียงเนื้อที่ฟรีที่เราจะมาใช้อย่างไร้สาระ เขียนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เหมือนที่ผมเคยเขียนถึงจินตนาการของตนเองเมื่อประมาณหกเจ็ดเดือนมาแล้วว่า บล็อกนี่เปรียบเสมือนวารสารออนไลน์ เพราะเป็นสื่อสาธารณะที่ให้คนอื่นเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันได้ จนมีผู้อ่านท่านหนึ่งแซวผมว่า คิดไกลไปหรือเปล่า? ผมเขียนตอบไปว่าไม่ไกลหรอก หากเราจะทำให้มันเป็นความจริง

ต่อมาผมก็ทราบข่าวว่าเครือเนชั่น ให้ความสนใจเกี่ยวกับบล็อกมาก ถึงกับจัดให้มีเสวนาเกี่ยวกับบล็อกขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ มาอ่านรายละเอียดกันครับ




หากใครที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ "Blog (บล็อก)" น่าจะเป็นอีกหนึ่งสื่อในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ "Blog" เป็นคำผสมระหว่าง WEB (Wolrd Wide Web) และ LOG (บันทึก)
หมายถึงพื้นที่ให้บริการในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนสามารถสร้างได้เอง โดยบันทึกทั้งเรื่องราว รูป เสียง จัดลูกเล่น ดึงดูดให้คนทั่วไปเข้ามาอ่านและโต้ตอบแสดงความเห็นได้ด้วย

การใช้บล็อกไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อน นับวันยิ่งมีผู้คนหลากแขนง หลายวงการเข้ามาสร้างบล็อกของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าทุกวันนี้ แค่เฉพาะเมืองไทยมีบล็อกไม่ต่ำกว่า 300,000 บล็อก ยิ่งบล็อกนั้นมีจุดเด่น ไม่ว่าจะเป็นจากความเป็นตัวตนของเจ้าของบล็อก (Bloger) เอง รวมไปถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และน่าสนใจ ก็จะยิ่งเป็นที่พูดถึงในหมู่ชาวเน็ตปากต่อปาก จนสร้างชื่อเสียงให้เจ้าของบล็อก จนได้ออกสื่อใหญ่ๆ อย่างโทรทัศน์มาแล้ว บล็อกจึงถือเป็นสื่อที่วงการสื่อมวลชน หรือแม้แต่วงการตลาดต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด

ดังเช่นประเด็นจากงานเสวนาเมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารเนชั่น ทาวเวอร์ ซึ่งรวมพลคนทำบล็อกมาบอกเล่าถึงทิศทางและศักยภาพบล็อกเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น วันฉัตร ผดุงรัตน์ เจ้าของ bloggang.com เวบบล็อกยอดนิยม ภายใต้ชายคา pantip.com ทีปกร วุฒิพิทยามงคล เจ้าของ exteen.com เวบบล็อกวัยรุ่นอันดับหนึ่งของเมืองไทย กติกา สายเสนีย์ เจ้าของ keng.com "บิดาแห่งไดอารี่ออนไลน์" ของประเทศไทย และ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ จาก oknation.net บล็อก Citizen Reporter (ทุกคนเป็นนักข่าวได้) แห่งแรกของประเทศ เจ้าของเวบวัยรุ่นอย่าง ทีปกร บอกว่า สิ่งที่แตกต่างระหว่าง "บล็อก" และ "ไดอารี่ ออนไลน์" คือ ไดอารี่จะมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก เรียกว่าเขียนอ่านเองหรือให้เพื่อนอ่านเท่านั้น แต่บล็อกจะมีความโดดเด่นตรงที่เจ้าของบล็อกจะใส่ความเห็นกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาจพูดถึงเรื่องภาพยนตร์ การ์ตูน เกม ฯลฯ ตามแต่เจ้าตัวจะมีประสบการณ์ด้านนั้นๆ

"การที่วัยรุ่นมาทำบล็อก มีจุดเด่นตรงที่บางเรื่องเขาไม่ต้องการสื่อสารกับคนหมู่มาก ไม่ได้อยากจะออกสื่อใหญ่ๆ แต่เขาอยากสื่อสารกันเองในกลุ่มคนที่สนใจเหมือนกัน อย่างเช่นการประกวดคอสเพลย์ หรือแต่งกายเลียนแบบการ์ตูน เขาก็จะถ่ายรูปภายในงาน รายงานเหตุการณ์ว่ามีอะไรบ้าง รายงานไว้ในบล็อกของเขาเอง" ทีปกร กล่าว

บล็อกยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังคำบอกเล่าของ กติกา โดยประเภทแรก คือบล็อกที่ต้องจดทะเบียนเอง และบล็อกที่เป็นระบบสำเร็จรูป ซึ่งเปิดให้บริการหลายแห่ง ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเทคโนโลยีลึกซึ้ง ก็สามารถสร้างบล็อกของตัวเองได้ ซึ่งประเภทแรกมีข้อดีกว่าตรงที่ว่าสามารถควบคุมทิศทางได้เอง

แต่ความง่ายของประเภทหลังนี่เอง ที่จะพลิกให้บล็อกเกอร์เป็นยิ่งกว่าคนเขียนไดอารี่ออนไลน์ธรรมดา เมื่อผู้บริหารเวบบล็อกน้องใหม่อย่าง อดิศักดิ์ แจงว่า ทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ (citizen reporter) เพียงมีเวบบล็อกเป็นของตัวเองเท่านั้น ซึ่งการที่คนทำบล็อกมีบุคคลหลายกลุ่ม หลายวัย มีความรู้เฉพาะด้าน จะทำให้นักข่าวตัวจริงหนาวๆ ร้อนๆ กันเลยทีเดียว

"อย่างตอนที่เกิดเหตุระเบิดสถานีรถไฟในกรุงลอนดอน สำนักข่าวยักษ์ใหญ่ไม่มีภาพเหล่านั้น แต่กลับเป็นทางชาวบ้านที่ส่งภาพให้สำนักข่าวต่างๆ หรือกรณีหมอกควันปกคลุมในเชียงใหม่ นักข่าวต่างจังหวัดไม่รายงานภาพหมอกควันว่าเป็นอย่างไร แต่มีบล็อกเกอร์บางคนที่บ้านอยู่ในจุดเกิดเหตุ สามารถถ่ายภาพ รายงานเหตุการณ์ลงในบล็อก ทำให้สื่อหนังสือพิมพ์เห็นภาพและเอามาต่อยอด" "แม้แต่ชาวนา ซึ่งมีความรู้จริงเรื่องการปลูกข้าว ถ้าเขามีโอกาสมารายงานข้อมูลในบล็อก ย่อมมีความแน่นกว่านักข่าวสายเกษตร ผมว่าด้วยอินเทอร์เน็ตนี่ล่ะจะทำให้ความเป็นฐานันดรที่ 4 ของสื่อมวลชนหายไปในไม่ช้า" อดิศักดิ์ กล่าว ก่อนที่ กิตกา จะเสริมว่า บางครั้งเขาเลือกอ่านข่าวจากบล็อกแทนที่จะดูทีวี ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ อย่างเช่นช่วงรัฐประหารที่สื่ออื่นๆ ยังไม่อัพเดทข้อมูล บล็อกเป็นที่เดียวที่สามารถตามความเคลื่อนไหวได้ตลอด อีกทั้งการจะปิดสื่ออินเทอร์เน็ตเหมือนการแบนสื่ออื่นๆ ไม่ใช่เรื่องที่ทำง่ายๆ

อย่างไรก็ดี "ความน่าเชื่อถือ" เป็นสิ่งที่ถูกทวงถามจากโลกไซเบอร์ เวบบล็อกเองในฐานะเป็นแหล่งข้อมูลจากทัศนคติของบุคคลๆ หนึ่ง ก็ยิ่งต้องมีการกลั่นกรอง กรณีนี้ วันฉัตร มองว่า ข้อมูลมากมายในโลกอินเทอร์เน็ตมีน้ำหนักความเชื่อถือไม่มากเท่า "พลัง" ของมัน สำหรับเขา ข้อมูลที่ใช้เขียนวิจัย วิทยานิพนธ์สามารถเชื่อได้เต็มที่ ส่วนความน่าเชื่อถือลำดับรองลงมาคือข้อมูลจากสื่อมวลชน ส่วนข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือลำดับสุดท้าย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อถือได้เต็มที่ แต่ความดิบในอินเทอร์เน็ตจะเติมเต็มให้โลกข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น แต่ปัญหาคือจะให้ความรู้ในมุมนี้กับผู้รับสารอย่างไร

สำหรับ "คนทำสื่อ" แล้ว "บล็อก" จึงเป็นได้ทั้งคู่แข่ง หรือเครื่องมือ ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเลือกใช้อย่างไร เช่นเดียวกับโลกอินเทอร์เน็ตที่มีทั้ง "ด้านมืด" และ "ด้านสว่าง" ให้เลือกค้นหานั่นเอง









































ข้อมูลบางส่วนและภาพจาก นสพ.คม ชัด ลึก



Create Date : 23 มีนาคม 2550
Last Update : 24 มิถุนายน 2560 11:07:19 น.
Counter : 1312 Pageviews.

7 comments
  
ดีใจที่มีโอกาสได้ทำบล็อคเหมือนกับคนอื่น ๆ อย่างที่คุณหนุ่มร้อยปีว่า บล็อคเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนตอนนี้บล็อคมีหลายเรื่องราวไม่เฉพาะไดอารี่ส่วนตัวแต่เป็นในเรื่องของสังคมที่หลาย ๆ คนนำมาแชร์ให้ซึ่งกันและกันได้รับรู้ และที่สำคัญบล็อคยังเป็นที่สร้างมิตรภาพได้อีกด้วยคะ ไม่ว่าจะอยู่ระดับไหน ประเทศไหน หรือ ทำงานอะไร ถ้ามาอยู่ในบล็อคเดียวกัน ก็จะมีมิตรภาพที่ดีให้กันเสมอ อย่างขวัญก็ได้รับมิตรภาพนี้จากเพื่อน ๆ ในบล็อคเช่นเดียวกันคะ แล้วอีกอย่างวันที่ 22 มีนา ที่ผ่านมาป้ามดยังเป็นตัวแทนชาวบล็อคไปเล่าประสบการณ์และความรู้ให้กับคนอื่น ๆ ด้วย คะ


โดย: แดนนี่ บอย วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:10:34:06 น.
  
เพ่ิ่งรู้จักบลอกได้ไม่นานเหมือนกันคับ ก้อได้รับรู้ข่าวสารอะไรดีดีจากบลอกเยอะนะคับ
โดย: frank3119 วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:11:01:00 น.
  
เพิ่งหัดพิมพ์เเละเริ่มสร้างปร็อกเมื่อ๒-๓เดือนนี้เองค่ะ
ถึงจะไม่มีเวลาไปปรับปรุงปร็อกของตัวเอง เเต่ถ้ามีโอกาสก็ไปศึกษาหาความรู้จากปร็อกของเเต่ละท่าน่ที่ได้เขียนไว้ ในสิ่งที่เราไม่ทราบอย่างมากมาย

ทำให้ไม่เหงาเเละมีประโยชน์มากค่ะ
โดย: ELiiCA วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:14:51:02 น.
  
ยินดีที่ตัวเองได้เป็นบล็อกเกอร์กะเขาด้วย
เชื่อไหมคะ วันที่ป้ามดต้องไปคุยเรื่องบล็อกเกอร์ต่างวัยให้กับทางเนชั่น ป้ามดยังคิดจะชวนคุณหนุ่มอยู่เลย แต่ติดที่ไม่สามารถติดต่อส่วนตัวได้
โดย: ป้ามด วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:15:40:38 น.
  
ทำบ๊อกเดือนกันยายน 49 แรกที่ดนใจไม่รู้ว่าบ๊อกคือไร แม้จะได้ยินก็ไม่สนใจเพราะคิดว่าอั้ยนี่มันไกลตัวไปเราไม่เป็นไม่เก่งคอมป์
เข้าไปใช้เวบบร์อดพันทิ๊บบ่อยๆ ระยะนั้นได้เห็น กระทู้หลายอันนอกจากอมยิ้มแล้ว บางรายมีต่อด้วยต้วหนงสือประกิต MY BLOG อะไรหว่าคลิกดูสิ อืออ สวยยังกะเวบไชด์ อยากได้ อยากได้ สมัครไว้ก่อน แล้วค่อยๆศึกษา จากหน้าโฮม แล้วต่อมาก็ บ๊อกครูใหญ่ ป้ามด
เรื่องผมก็ดำนเนินมาจนวันนั้ พอใจบ๊อกของตัวเองครับ
โดย: Yoawarat วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:18:49:04 น.
  
สวัสดีครับ ชาวบล็อกเกอร์ทั้งห้าท่าน
ตอนนี้เราก็ทราบแล้วใช่ใหมครับว่า การที่เรามานั่งหลังขดหลังแข็ง (เฉพาะคนแก่อย่างผม) เขียนบล็อกนั้น ความจริงเป็นกิจกรรมมี่เป็นอินเตอร์ไปแล้ว
และควรที่จะดีใจว่าเราสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆกับคนทั่วไปได้ ขอให้พวกเรามีความสุขสมหวังกับการเขียนบล็อกกันต่อไปนะครับ
โดย: หนุ่มร้อยปี IP: 125.24.44.8 วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:9:51:42 น.
  
หวังว่าจะทำ บลอก กะเขาเหมือนกัน แต่ตอนนี้ ยังทำไม่เปน ขอให้ชาวบลอกประสพความสุข ความสำเร็จทุกประการโดยถ้วนหน้า แล้วกันนนนน
wishing u all the best,

โดย: Old sea dog IP: 203.146.169.60 วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:15:13:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง