มีนาคม 2549

 
 
 
1
2
3
4
8
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ประเภทของการสะสมแสตมป์


เมื่อท่านรักการสะสมท่านควรทราบด้วยว่า ตราไปรษณียากร หรือแสตมป์ คืออะไรและมีกี่ประเภท ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้กำหนดแนวทางในการสะสมได้อย่างถูกต้อง

ตราไปรษณียากร หรือ แสตมป์ คือบัตรตราใดๆที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด มหาชน) ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการชำระค่าไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลปัจจุบัน (Current Stamp หรือ Definitive Stamp) เป็นแสตมป์ที่พิมพ์จำหน่ายอยู่เป็นประจำ มีการพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อให้มีเพียงพอในกิจการไปรษณีย์

2.แสตมป์ที่ระลึก (Commemorative Stamp) เป็นแสตมป์ที่มีภาพสวยงาม จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสและวันสำคัญรวมถึงวาระพิเศษอื่นๆ เช่นวันกาชาด วันสื่อสารแห่งชาติ 50 ปีธนาคารแห่งประเทศไทย เครื่องถ้วยเบญจรงค์ สัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ดอกบัว อนุรักษ์มรดกไทย ฯลฯ เป็นต้น แสตมป์ที่ระลึกจะไม่มีการพิมพ์เพิ่มเติมอีก หมดแล้วหมดเลย จึงเป็นที่นิยมของนักสะสมแสตมป์มาก




Create Date : 07 มีนาคม 2549
Last Update : 7 มีนาคม 2549 14:31:02 น.
Counter : 1171 Pageviews.

2 comments
  
ได้ความรู้อีกแล้ว ขอบคุณค่ะ
โดย: Aisha วันที่: 5 พฤศจิกายน 2549 เวลา:22:09:26 น.
  
โดย: โบราณสถาน IP: 203.118.105.13 วันที่: 10 ธันวาคม 2549 เวลา:19:02:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง