กันยายน 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ปั้มยังไงให้พอลูกกิน
สต็อคเท่าไหร่ถึงจะพอ

ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ โดยไม่ต้องใช้นมผสมนั้น ในช่วงที่ลาสามเดือนนั้น ต่อให้เร่งทำสต็อคได้เป็นพันออนซ์ก็จะไม่พอสำหรับลูก ถ้าคุณแม่ไปทำงานแล้วปั๊มได้แค่วันละครั้งหรือสองครั้ง

ในทางกลับกัน ถึงแม้จะมีสต็อคแค่สิบยี่สิบออนซ์ก่อนไปทำงาน แต่คุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มหรือบีบนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์และมื้อที่ลูกกินตอนที่แม่ไปทำงาน (ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 oz. แม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ กลับมาส่งลูก 12 oz. ถ้าลูกกิน 4 มื้อ รวม 16 oz. แม่ก็ปั๊ม 4 มื้อ รวม 16 oz มาให้ลูก) ถ้าทำได้แบบนี้ จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานแค่ไหนก็ได้ค่ะ

ปัญหาหลักที่หลายคนทำผิดพลาดเมื่อกลับไปทำงานก็คือ

ไม่ได้ปั๊มเท่ากับจำนวนมื้อที่ลูกกิน วันแรกที่กลับไปทำงานใหม่ๆ แม้ว่าบางคนจะปั๊มแค่ครั้งเดียวตอนเที่ยง ก็อาจจะได้น้ำนมมากเป็นสิบออนซ์ เพราะนมสะสมมากจากที่เคยให้ลูกดูดตอนอยู่บ้าน3-4 ครั้ง แต่พอไม่กี่วัน ก็จะปั๊มนมได้น้อยลงจนตกใจ และถ้ายังคงปั๊มวันละครั้งไปเรื่อยๆ ไม่นานก็จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่พอในที่สุด เพราะร่างกายจะตอบสนองกับความต้องการที่ลดลงนี้โดยอัตโนมัติ

บีบไม่เป็น หรือใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่ดีพอ ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้เท่ากับที่ลูกเคยดูดในแต่ละมื้อ เมื่อเราเริ่มให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊ม ก็จะรู้เองว่าปริมาณน้ำนมที่ลูกต้องการแต่ละมื้อนั้นเท่าไหร่ (แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ไม่ต้องเมล์มาถามนะคะว่าลูกตัวเองต้องการนมเท่าไหร่ สังเกตเอาเองค่ะ) ถ้าลูกกิน 3 ครั้ง รวม 12 oz แล้วเราก็ปั๊มได้ 3 ครั้ง รวมแล้ว 12 oz หรือมากกว่า ก็ถือว่าเครื่องปั๊มนมนั้นใช้ได้ โดยปกติ ถ้าในช่วงลา 3 เดือน แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ โดยไม่ใช้นมผสม เมื่อกลับไปทำงาน ถ้าบีบด้วยมือได้คล่องและชำนาญ หรือใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี บีบหรือปั๊มเท่าจำนวนครั้งที่ลูกกินที่บ้าน ส่วนใหญ่จะปั๊มได้มากกว่าที่ลูกต้องการนิดหน่อยอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณแม่ที่โชคร้าย ที่ทำงานไม่สะดวกให้ปั๊มนมได้วันละ 3-4 ครั้ง ขอบอกว่าถ้าวันละครั้งเดียวนี่ยากมาก แต่ถ้าได้อย่างน้อย 2 ครั้ง พอมีลุ้นค่ะ สมมติว่าลูกอยู่บ้านกินนมวันละ 4 มื้อ แม่ปั๊มได้แค่ 2 ครั้ง เที่ยงกับบ่ายสาม ก็ขอให้มาปั๊มชดเชยตอนตีห้า กับ ห้าทุ่มเที่ยงคืนเพิ่มค่ะ ในมื้อที่จะปั๊มชดเชยนี้ พยายามให้ลูกกินข้างเดียว แล้วปั๊มเก็บอีกข้าง ทำแบบนี้สักอาทิตย์ ร่างกายก็จะรับรู้ว่ามีความต้องการในเวลานั้นๆ มากกว่าเวลากลางวัน มันก็จะปรับการผลิตให้เองค่ะ แบบนี้แม้ว่าจะปั๊มได้แค่วันละสองครั้งที่ทำงาน ก็พอได้ค่ะ

จำนวนสต็อคน้ำนมที่น่าจะพอดีๆ ก่อนไปทำงาน โดยส่วนตัวคิดว่าสัก 30-50 ถุง (ถุงละ 2-4 oz) ก็น่าจะกำลังดี เพราะอาจจะมีบางวันเครียดๆ ปั๊มได้น้อยกว่าปกติ ก็ยังมีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันไหนอารมณ์ดี เจ้านายชม ปั๊มได้เกินกว่าที่ลูกกินก็มาชดเชยวันที่ได้น้อยไป

สต็อคที่มากเกินไปสร้างความไม่สะดวก คือ ไม่มีที่เก็บ และยังทำให้นมที่ต้องนำมาใช้ต้องย้อนหลังไปเป็นเดือน ซึ่งไม่ตรงกับวัยของลูกอีกต่างหาก

ถ้าใครโชคดีไม่ต้องทำงานประจำ ให้ลูกดูดจากได้เต้าทุกมื้อ ทุกวันนี่ถือว่า สุดยอดแล้วค่ะ แบบนี้มีสต็อคไม่ถึง 10 ถุงก็พอ เผื่อเวลาแอบหนีลูกไปชอปปิ้งสัก 3-4 ชม. อย่างเก่งก็แค่มื้อเดียว กลับมาบ้านลูกกินนมไปแล้ว ก็มาปั๊มเก็บไว้แทนที่ใช้ไป 1 มื้อ

เป็นเรื่องธรรมดานะคะ ถ้าบางวันจะปั๊มได้มากบ้าง น้อยบ้าง สลับกันไป ปกติลูกกินวันละ 12 อาจจะมีบางวันได้ 10 บางวันได้ 14 การผลิตน้ำนมก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเราล่ะค่ะ วันไหนอารมณดี กินอิ่ม นอนเยอะ ก็ปั๊มได้เยอะ วันไหนเครียด กินน้อย นอนไม่พอ ก็ปั๊มได้น้อยไปบ้าง ไม่ต้องตกอกตกใจ ยิ่งเครียด ยิ่งน้อยค่ะ ขอให้ยึดหลักความสม่ำเสมอ ทำให้ได้ทุกวัน ดูแลร่างกายให้ดี เดี๋ยวก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ
สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน โดยเฉพาะคุณแม่ประเภทมือใหม่หัดขับนั้น ถ้าใครตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด แต่กลับมีอุปสรรคในเรื่องของการทำงานและเวลาที่ต้องให้นมลูกนั้น หลายคนอาจมองหาผู้ช่วยอย่างที่ปั๊มนม ซึ่งอำนวยความสะดวกในการให้นมลูกได้อย่างมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม ช่วยรักษาปริมาณน้ำนมให้คงอยู่ในกรณีที่ลูกดูดไม่ได้ ช่วยทำสต๊อกน้ำนม ถ้าต้องกลับไปทำงาน

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่า จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือเปล่า (ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าคุณได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มากพอ ทั้งจากการอ่านหนังสือ อินเตอร์เน็ต หรือปรึกษาผู้มีประสบการณ์) คุณก็อาจจะยังไม่ควรซื้อ ที่ปั๊มนม เพราะที่ปั๊มนมดีๆ ราคาค่อนข้างแพง มีแม่จำนวนมากที่ซื้อไปแล้วไม่ได้ใช้ ซึ่งเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุ

ทั้งนี้ เบรสฟีดดิ้งไทย ดอท คอม ได้แนะวิธีก่อนจะตัดสินใจซื้อที่ปั๊มนมมีสิ่งที่ควรพิจารณาดังนี้

1.คุณจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่

ถ้าคุณเป็นแม่ที่ไม่ได้ทำงานประจำ เลี้ยงลูกอยู่กับบ้านตลอดเวลา ลูกเป็นเด็กแข็งแรง ดูดนมบ่อยสม่ำเสมอทุก 1-3 ช.ม. กรณีนี้คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ ถ้าจะมีบางครั้งที่ต้องอยู่ห่างลูกบ้าง ก็สามารถบีบน้ำนมด้วยมือเก็บไว้ให้ลูกได้


2.ถ้าจำเป็นต้องใช้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงประการต่อมาก็คือ ต้องใช้บ่อยแค่ไหน

เพราะ เครื่องปั๊มนม แต่ละรุ่น ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานแตกต่างกัน ถ้าคุณไม่ได้ทำงานประจำ แต่มีช่วงเวลาที่ต้องห่างจากลูกบ้างสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละไม่กี่ช.ม. เครื่องปั๊มนมที่คุณจะเลือกใช้ได้ก็อาจจะเป็นแบบใช้มือ (manual) หรือแบบไฟฟ้ารุ่นเล็ก (mini electric)

แต่ถ้าคุณต้องทำงานประจำเต็มเวลา คุณจะต้องปั๊มนมวันละ 3 ครั้ง (เป็นอย่างน้อย) สัปดาห์ละ 5-6 วัน กรณีนี้ เครื่องปั๊มนมไฟฟ้ารุ่นใหญ่ หรือแบบเช่าใช้จะเหมาะกว่า เพราะสามารถเลือกใช้แบบปั๊มคู่ (double pump) ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มแต่ละครั้ง นอกจากนี้ เครื่องรุ่นใหญ่จะมีประสิทธิภาพดีกว่ามาก จังหวะการปั๊มจะใกล้เคียงทารกดูด ช่วยกระตุ้นกระสร้างน้ำนม และรักษาปริมาณน้ำนมให้คงอยู่สม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตามข้อเสียของเครื่องปั๊มนมรุ่นใหญ่ก็คือ ไม่สะดวกต่อการพกพา นอกจากนี้บางรุ่นก็ไม่สามารถใช้ถ่านได้ ต้องใช้ไฟอย่างเดียว คุณต้องพิจารณาด้วยว่า ในที่ทำงาน มีสถานที่ให้คุณทำการปั๊มนมได้อย่างสะดวกหรือไม่ ถ้าต้องปั๊มในห้องน้ำ อาจจำเป็นต้องใช้แบบมือ หรือมอเตอร์รุ่นเล็กแทน

3. เครื่องปั๊มนม แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น มีคุณภาพไม่เหมือนกัน

ที่ปั๊มนมดีๆ ช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ง่ายขึ้น ที่ปั๊มนม แย่ๆ ทำให้คุณเจ็บและเสียเงินเปล่า อย่าซื้อโดยไม่หาข้อมูลสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ แล้วพิจารณาให้ดีว่าแบบไหนเหมาะกับตัวเองมากที่สุด

ถ้าคิดว่าเครื่องปั๊มนมมีราคาแพง ให้เปรียบเทียบกับเงินที่คุณจะประหยัดได้จากการไม่ต้องซื้อนมผสม ขวดนมจำนวนมาก ที่นึ่งขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่าย ในการรักษาลูกที่ป่วยบ่อยจากการไม่ได้กินนมแม่

อย่างรไก็ตาม อย่าเลือกซื้อ เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อที่ผลิตและจำหน่ายโดยผู้ผลิตสินค้าประเภทอื่นๆ เป็นหลัก โดยเฉพาะ ขวดนมสารพัดรุ่น จุกนมหลายแบบ ของเล่น ฯลฯ เพราะนอกจากผู้ผลิตเหล่านั้น จะไม่มีความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องปั๊มนมคุณภาพดีแล้ว บางบริษัทยังเจตนาผลิตที่ปั๊มนมไม่มีคุณภาพมาจำหน่าย เพื่อที่คุณแม่ที่ซื้อไปแล้ว จะได้ปั๊มนมไม่ออก และเข้าใจว่าตนเอง ไม่มีน้ำนม และหันไปเลี้ยงลูกด้วยนมขวดแทน เพราะบริษัทเหล่านั้นสามารถทำกำไรได้มากกว่าจากการขายขวดนม จุกนม และอุปกรณ์ต่างๆ

4. คุณสมบัติของเครื่องปั๊มนมที่ควรพิจารณา

เครื่องปั๊มนมที่ดีจะต้องมีแรงดูด (Suction Strength) อย่างน้อย 200 มม.ปรอท จังหวะในการดูดอย่างน้อย 40-60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารก

ในช่วง 6-12 สัปดาห์แรก ถ้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยดี ร่างกายมักจะผลิตน้ำนมได้เกินกว่าความต้องการของทารก การปั๊มนมในช่วงนี้จะค่อนข้างง่าย และได้ปริมาณมาก แม้ว่าจะใช้เครื่องปั๊มนมที่มีจังหวะในการดูดต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาทีก็ใช้ได้ แต่เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวแล้ว เครื่องปั๊มนมที่มีจังหวะการดูดต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาที จะทำให้ปั๊มนมไม่ออก ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องปั๊มนมนานกว่า 4 เดือนขึ้นไป ควรเลือกซื้อเครื่องปั๊มนม ที่มีจังหวะในการดูดมากกว่า 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

ขอขอบคุณ : เบรสฟีดดิ้งไทย ดอท คอม




Create Date : 11 กันยายน 2553
Last Update : 11 กันยายน 2553 10:44:35 น.
Counter : 3188 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Watrin&Uro
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



ครอบครัวของเรา เคยมีแค่เจ้าปอมอ้วน ชื่อ..ยูโร

วันนี้ เรามีสมาชิกใหม่เป็นสาวน้อย...ชื่อ ยูริ (ตั้งชื่อคล้องกะพี่ยูโร)

LOvE U *-* (มาจาก...รักจ๊ะ ทั้งยูริและยูโร)