ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
โรคระบบทางเดินอาหารบกพร่อง ในกระต่าย

หลายท่านที่เลี้ยงอาจเคยพบปัญหาว่ากระต่ายอยู่ดีๆ ก็หยุดกินอาหารกะทันหัน จากนั้นการตายอย่างไม่ทราบสาเหตุในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบถึงลักษณะอาการอย่างละเอียดพบว่า นอกจากกระต่ายจะหยุดกินอาหารแล้ว มักพบว่าอุจจาระน้อยมากหรือบางตัวไม่อุจจาระเลย บางตัวมีลักษณะถ่ายค่อนข้างเหลวเป็นมูกสีเหลืองหรือขาวปนออกมา กระต่ายจะปวดท้องมีอาการเกร็งตัว ถ้าปวดมากจะกัดฟันจนเราสามารถสังเกตเห็นได้

อุจจาระของกระต่ายมีสองแบบ คือ แบบเม็ดกลมๆ แข็งๆ และแบบก้อนนิ่มลักษณะคล้ายพวงองุ่น (cecotropes) ซึ่งอุจจาระแบบพวงองุ่นนี้ถ้าลักษณะเหลวเกินไป มักเกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (normal flora)ในลำไส้ใหญ่

ของกระต่าย ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การได้รับยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม เช่น penicillin หรือ lincosamine ซึ่งเป็นอันตรายมากสำหรับกระต่าย การได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล เช่น คาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป หรือ อาหารเยื่อใย (fiber)ในปริมาณที่น้อยเกินไปเหล่านี้ ทำให้เกิดกระบวนการบีบตัวของลำไส้อย่างผิดปกติและทำให้เกิดภาวะทางเดินอาหาร บกพร่องตามมาได้

สาเหตุของโรคทางเดินอาหารบกพร่อง ได้แก่

- ความเครียด
- ภาวะร่างกายขาดน้ำ (dehydration)
- ความเจ็บปวดจากอาการป่วยทางร่างกาย
- ระบบทางเดินอาหารอุดตัน
- สารอาหารไม่เหมาะสม โดยเฉพาะได้รับอาหารประเภทเยื่อใยในปริมาณต่ำเกินไป

จากสาเหตุดังกล่าว ถ้าพบว่ากระต่ายหยุดกินอาหาร และไม่เห็นอุจจาระนานเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบพากระต่ายไปรับการตรวจรักษากับสัตวแพทย์ทันที เนื่องจากภาวะทางเดินอาหารบกพร่องมักเริ่มจากการบีบตัวที่เบาและช้าลง จนใน ที่สุดก็จะเข้าภาวะหยุดนิ่งไม่มีการบีบตัวของลำไส้เลย ทำให้อาหารที่ค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินอาหารตามมา

และในลำไส้ส่วนที่ว่างเปล่าจะเกิดการหมักของแก็สซึ่งเกิดจากปริมาณของ แบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น แบคทีเรียตัวนี้คือ Clostridium spp. ทำให้เกิดภาวะท้องอืดอย่างรุนแรงเป็นอันตรายในกระต่าย นอกจากนี้แบคทีเรียชนิดนี้จะผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดภาวะตับวาย ตามมาได้ และกระต่ายมักเสียชีวิตในเวลาต่อมา


การป้องกันการเกิดภาวะทางเดินอาหารบกพร่อง (ท้องอืด) จึงเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถ กระทำได้ดังนี้

- เตรียมอาหารที่มีปริมาณเยื่อใยสูง เช่น หญ้าแห้ง หรือหญ้าสด โดยเฉลี่ยควรให้ปริมาณประมาณ 4 ถ้วย/กระต่ายน้ำหนักประมาณ 2 kg/วัน กรณีอาหารสำเร็จรูปต้องเลือกที่มีปริมาณเยื่อใย (crude fiber) มากกว่า 22% ขึ้นไป

- เตรียมน้ำดื่มสะอาดให้พอเพียงในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำและช่วยกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น

- ควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับให้กระต่ายได้ออกกำลังกายและเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโครงร่าง อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ

- ควรพากระต่ายไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อเช็คสุขภาพทั่วไปรวมทั้งสุขภาพภายในช่องปากและฟันด้วย เพราะความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงในเวลาต่อมาได้

- สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเฝ้าสังเกตการกินอาหารและการขับถ่ายรวมทั้งลักษณะของอุจจาระของกระต่าย อยู่เสมอเป็นประจำทุกวัน ถ้าพบความผิดปกติต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

เรื่องโดย สพ.ญ. ลลนา เอกธรรมสุทธิ์





Create Date : 27 มกราคม 2558
Last Update : 27 มกราคม 2558 8:20:56 น. 0 comments
Counter : 1896 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.