แสงเทียน.....สุรสีห์ อิทธิกุล...H.M. Blues....





ชื่อเพลง แสงเทียน
บทเพลงพระราชนิพนธ์
ประพันธ์คำร้องโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ขับร้องโดย สุรสีห์ อิทธิกุล

จุดเทียนบวงสรวงปวงเทพเจ้า สวดมนต์ค่ำเช้าถึงคราวระทมทน
โอ้ชีวิตหนอล้วนรอความตายทุกคน หลีกไปไม่พ้นทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
ต่างคนเกิดแล้วตายไป ชดใช้เวรกรรมจากจร
นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยงเสี่ยงบุญกรรม ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอนขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลาหนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน

(ดนตรี...........)
เปรียบเทียนสิ้นแสงยามแรงลมเป่า ชีพดับอับเฉาเหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวายหมายบนบูชาร้องเรียน โรคภัยเบียดเบียน แสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร่าร้อนแรงโรย หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ
ทำบุญทำทานกันไว้เถิด เกิดเป็นคน ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
แสงเทียนบูชาดับลับไป


เพลงพระราชนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณารับสั่งเล่าเบื้องหลังการพระราชนิพนธ์เพลงเป็นครั้งแรกแก่สมาคมดนตรีเนื่องในโอกาสที่พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ " Echo" บรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ว่า

"( เพลงแรกคือแสงเทียน)... จากนั้น ฉันก็แต่งขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนบัดนี้รวมทั้งหมด ๔๐ เพลง ในระยะเวลา ๒๐ ปี คิดเฉลี่ยปีละ ๒ เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจากนักดนตรี นักเพลงและนักร้อง รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง ต่างได้แสดงความพอใจ และความนิยมพอสมควร จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมาขอถือโอกาสขอบใจมาในที่นี้ด้วย "

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "Echo" ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ นับเป็นบทแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพร้อมคำร้องภาษาอังกฤษ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา ๔๐ พรรษา

ย้อนหลังไป ๔ ปีก่อนทรงพระราชนิพนธ์ "Echo" พระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏก้องในนานาประเทศ ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสาธารณรัฐออสเตรียอย่างเป็นทางการในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ได้ทูลเกล้า ถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติสูงส่งยิ่งนั่นคือ สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันอันเก่าแก่แห่งนี้

เนื่องจากพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์ดนตรีเป็นที่ปรากฏและนิยมชื่นชมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนชาวออสเตรีย จนกระทั่งวงดุริยางค์ นีเดอร์ เออสเตอร์ไรซ์ โทนคันสท์เลอร์ (Nieder Osterreich Tonkunstler) ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด "มโนราห์" "สายฝน""ยามเย็น" "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" และ "มาร์ชราชวัลลภ" ออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุของรัฐบาลถ่ายทอดไปทั่วดินแดนแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป

และหากจะย้อนหลังไปอีกครั้งหนึ่ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐเอมริกา พระปรีชาสามารถด้านดนตรีแจ๊สในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ปรากฏเลื่องลือไปทั่วประเทศอันเป็นศูนย์กลางดนตรีร่วมสมัยประเภทนี้ด้วย ทรงเข้าร่วมบรรเลงดนตรีโดยมิได้เตรียมพระองค์มาก่อน ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงขึ้นอย่างฉับพลัน และยังทรงบรรเลงโต้ตอบกับนักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกันอันลือนามอีกด้วย

บรรยากาศอันเป็นกันเองที่มิได้เตรียมการล่วงหน้าเช่นนี้เป็นที่นิยมยกย่องของชาวอเมิรกันเป็นอย่างยิ่ง สถานีวิทยุเสียงแห่งอเมริกา ได้เชิญบทที่พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งดนตรีที่ทรงร่วมบรรเลงออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุไปทั่วโลกด้วย นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการกระชับมิตรภาพครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างไทยกับสหรัฐในยุคนั้น

๔๐ ปีได้ผ่านไปหลังจากที่ทรงพระราชนิพนธ์ "แสงเทียน" เป็นเพลงแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ปัจจุบันมีเพลงพระราชนิพนธ์ รวมทั้งสิ้น ๔๓ เพลง อาจกล่าวได้ว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย อาทิเช่นในวงการบันเทิง บทเพลงพระราชนิพนธ์ คือ ทำนองเพลงอันไพเราะที่ทุกคนรู้จักดีและสามารถร้องเพลงได้ขึ้นใจ

ในปัจจุบัน "พรปีใหม่" ได้กลายเป็นเพลงประเพณี ในวันส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ของคนไทย ในสถาบันการศึกษาระดับสูงของประเทศ "มหาจุฬาลงกรณ์" "ธรรมศาสตร์" และ "เกษตรศาสตร์" ได้กลายเป็นเพลงอันศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่ทั้งสามแห่ง และในวงราชการทหาร "มาร์ชราชวัลลภ" และ "มาร์ชธงชัยเฉลิมพล" ได้กลายเป็นแบบฉบับของดนตรีมาร์ชที่ใช้บรรเลงประจำปีในพระราชพิธีอันสำคัญยิ่งของชาติคือ พระราชพิธีปฏิญาณตนและตรวจพลสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

จากลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของเพลงพระราชนิพนธ์นี้อาจกล่าวได้ว่าบทพระราชนิพนธ์ทั้ง ๔๓ เพลงนี้ ต่างสะท้อนถึงสะท้อนถึงพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพยานแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันว่าความสุขของปวงประชาคือ ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้


ความสนพระราชหฤทัยด้านดนตรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงอ่านหนังสือเกี่ยวกับการดนตรีตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับการฝึกฝนตามแบบฉบับการศึกษาวิชาดนตรีอย่างแท้จริงคือการเขียนโน้ตและบรรเลงแบบคลาสสิก มีพระอาจารย์ถวายคำแนะนำอย่างเข้มงวดนานกว่า ๒ ปี

หลังจากทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีไปในแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงที่บรรเลงโดยนักดนตรีเหล่านั้น แล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราโน แซกโซโฟน ของซิดนี่ เบเซ่ (Sydney Bechet) ออโต แซกโซโฟน ของจอห์นนี่ ฮอดเจส (Johny Hodges) เปียโนและวงดนตรีของดยุค เอลลิงตัน (Duke Ellington) เป็นต้น


ยามที่ทรงว่างจากการศึกษาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานักเรียนไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปร่วมสโมสรสังสรรค์ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และร่วมทรงดนตรีด้วยอย่างสำราญพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จฯ ประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ก็ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณร่วมทรงดนตรีกับนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส การที่ทรงใช้ดนตรีวงสมัครเล่นเป็นสื่อสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่สนุกสนานและเป็นกันเองเช่นนี้ ได้กลายเป็นผลประโยชน์อเนกอนันต์ในเวลาต่อมา คือการประสานความร่วมมือระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับบุคคลในวงการต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานสาธารณประโยชน์นานาประการแก่ประเทศชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวงทั้งไทยและต่างประเทศ ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด สำหรับวงดนตรีแจ๊สนั้น ยังทรงดนตรีได้ทั้งชนิดมีโน๊ตและไม่ต้องมีโน้ต

เมื่อถึงตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม ศัพท์ทางดนตรีเรียกว่า การเดี่ยวแบบ "Soloadlip" ซึ่งถือว่ายาก เพราะนักดนตรีจะต้องแต่งเนื้อหาขึ้นโดยฉับพลัน แต่ให้อยู่ในกรอบของจังหวะและแนวเพลงนั้น พระราชอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้นถึงขั้นที่ทรงคลาริเน็ตและแซกโซโฟนบรรเลงได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) นักตีระนาดเหล็กสากล ไลออเนล แฮมพ์ตัน (Lionel Hampton) นักเป่าทรัมโบน และ สแตน เก็ตส์ (Stan getz) นักเป่าเทนเนอร์ แซกโซโฟน

เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครนิวยอร์คประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริภาพสูงส่ง

ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น ๕ เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น "เราสู้" เป็นต้น


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ...

......................................................................................................

ขอขอบคุณ...

*//www.photoontour.com/specialphotos_html/60thcelebration/king_data4.htm

*Gmm Grammy จำกัด มหาชน …H.M. Blues….







Create Date : 05 ธันวาคม 2554
Last Update : 5 ธันวาคม 2554 0:01:06 น.
Counter : 2217 Pageviews.

10 comments
  
Photobucket

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน -/\\-
โดย: buabusaba วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:0:20:24 น.
  
ปายรักในหลวงค่ะ

ขอพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรด้วยเทอญ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
โดย: คนที่ใช่ ในวันที่ผิด วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:0:43:34 น.
  
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:5:04:44 น.
  
ขอบคุณสำหรับน้ำปลาหวานสะเดาค่า
เช้านี้ไม่ได้ชงกาแฟ..มีแต่ดอกไม้สวยๆแทนนะคะ



...ธ สถิตย์ในดวงใจราษฏ์นิรันดร์ ทรงพระเจริญ...


ชอบเพลงนี้มากๆๆค่ะ
โดย: mambymam วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:9:37:19 น.
  


ทักทายยามสายค่ะคุณเป้

คุณหมอแอบยิ้ม + คาดโทษไว้ด้วย ข้อหานอนดึก อิอิ

มีความสุขในวันพ่อนะคะ

เมนูวันนี้น่าอร่อยมาก ๆ เห็นแล้วเปรี้ยวปากอ่ะ ^^
โดย: คนที่ใช่ ในวันที่ผิด วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:10:39:38 น.
  
เพลงนี้เพิ่งเคยได้ยินครับ
แฮ่ๆ อยากกินปลาดุกย่าง
โดย: ชีริว วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:10:46:13 น.
  
Photobucket

กลับมาจากพระบรมมหาราชวังแล้วค่ะ
ขอบคุณสำหรับปลาดุกย่างนะคะ น่าทานมากจ้า
โดย: buabusaba วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:18:43:34 น.
  
ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกด้านจริงๆ
วันนี้วันพ่อ พี่อยากกลับบ้านไปหาเตี่ย กับแม่มากเลย คิดถึงมากกกก
โดย: dokjantana วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:0:17:20 น.
  
อรุณสวัสดิ์ค่ะ เชิญจิบค่า



ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ
โดย: mambymam วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:7:22:14 น.
  
ชอบเพลงนี้มากๆ
ในหลวงของเราช่างเป็นศิลปินเอกโดยแท้เลย
โดย: ณ ขณะหนึ่ง วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:20:20:45 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุ้นๆว่าเราเคยพบกัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีเพลงเพราะๆ มาเสิร์ฟครับ
New Comments
ธันวาคม 2554

 
 
 
 
13
15
17
19
22
23
30
 
All Blog
Friends Blog
[Add คุ้นๆว่าเราเคยพบกัน's blog to your weblog]