+ - + - ชีวิตเป็นของเรา ตราบที่เราใฝ่ฝัน + - + -

April Truth’s Day “วันที่ 1 เมษายน วันที่มีแต่คนพูดเรื่องลวง แต่เราจะมาพูดความจริงกัน”



เรื่องสั้น(มาก) : คืนที่ผมหิว

1.

เลิกงานวันนี้


หมอกควันลอยปกคลุมเป็นสีเทาจางๆ มองไม่เห็นภูเขาเหมือนอย่างเคย
ถ้ามีอุกาบาตพุ่งชนโลกเหมือนในหนัง
โลกก็คงเป็นสีเทาเหมือนวันนี้สินะ
ไม่ก็อาจจะเป็นสีดำสนิท ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน
ผมคิดในใจ
จู่ๆ ลมก็พัดแรง ผมกระหน่ำมาแบบไม่ลืมหูลืมตา
ผมรีบวิ่งหลบฝนเข้าบ้าน แล้วหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย
นาฬิกาบอกเวลา 2 ทุ่ม แล้ว
ท้องเริ่มส่งเสียงเตือนว่าถึงเวลาหาอะไรให้มันได้แล้ว
ผมงัวเงียตื่นมาในความมืด
บ้าชิบ ไฟดับ
ผมกรอกน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่เดียวในตู้เย็น ลงกระเพาะอันว่างเปล่า
แล้วควานหากุญแจรถอย่างร้อนรน
ผมขับฝ่าสายฝนปรอยๆออกไปตลาดโต้รุ่ง
ชิบ.....หาย ไม่มีใครขายซักร้าน
ทุกร้านอยู่ในความมืดและความเงียบ
กูจะกินอะไรวะเนี่ย
ผมกำเงินในมือแน่น


2.

วันต่อมา


ผมนั่งหน้าโทรทัศน์
ดูข่าวภัยพิบัติตามที่ต่างๆ
แผ่นดินไหวในเฮติ ในชิลี พายุพัดถล่มชายฝั่งที่ไหนสักแห่ง
บ้านเรือนพังทลาย ผู้คนล้มตาย เจ็บป่วย อดอยากหิวโหย
ธรรมชาติกำลังส่งสัญญานเตือนอะไรหรือเปล่า
แต่เราแสร้งทำไม่ได้ยิน
ผมเปลี่ยนไปดูข่าวในโทรทัศน์อีกช่อง
ดูผู้คนดิ้นรนเอาชีวิตรอด จี้ปล้น แย่งชิงอาหาร
ในยามเช่นนี้ พวกเขาแค่เพียงต้องการแค่ปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิต
ผมสงสัยว่า ถ้าเขามีอาหารอยู่ในมือ เขาจะยอมขายมันเพื่อแลกกับเงินไหม


3.

ปิดโทรทัศน์


ผมเดินออกไปดูแปลงผักเล็กๆหน้าบ้าน
ต้นมะเขือเทศต้นเล็กๆยังไม่ออกผล แต่พวกมันก็โตวันโตคืน
ผิดกับต้นกระเจี๊ยบที่ไม่ยักกะยอมโผล่พ้นดินมาสักที
ถั่วลันเตาบนหลักไม้ถูกเด็ดหายไปจำนวนหนึ่ง
ผมนึกถึงรสชาติของมันเมื่อวาน
มันช่วยให้ผมรอดตายไปหนึ่งคืน
ทำให้ผมระลึกถึงคำกล่าวของใครบางคน
เมื่อตอนไปทริป “น้ำต้มผักก็ว่าหวาน” ที่เชียงใหม่

“ทุกวันนี้ เงินไม่มีความมั่นคงเลย ค่าของเงินเปลี่ยนขึ้นลงตลอดเวลา สามสิบปีก่อนก๋วยเตี๋ยวถ้วยละสลึง ตอนนี้ก๋วยเตี๋ยวถ้วยละ ยี่สิบห้า สามสิบบาท นี่คืออัตราเงินเฟ้อ แต่ผู้คนก็ยังพากันคิดว่า เงินคือความมั่นคง อาหารไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไฟฟ้าดับ น้ำมันหมด เศรษฐกิจพัง เราก็ยังกินได้ตลอดเวลา อาหารไม่ว่าจะกินตอนไหน ปีไหน ก็อิ่มทุกครั้งที่กิน เราพึ่งเงินไม่ได้ เราต้องกลับมาสู่การพึ่งตนเองมากขึ้น อาหารมีความมั่นคงมากกว่าเงิน ค่าของมันไม่เคยลดลง”
คำกล่าวนี้ มาจากผู้ชายที่ชื่อ โจน จันใด




บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการApril Truth’s Day
“วันที่ 1 เมษายน วันที่มีแต่คนพูดเรื่องลวง แต่เราจะมาพูดความจริงกัน”

สืบเนื่องมาจากที่ผมได้ร่วมเดินทางโดยการนำของคุณทรงกลด บางยี่ขัน ไปยังบ้านของพี่ โจน จันใด กับชาวทริป//www.lonelytrees.net/?s=April โดยหลังกลับจากทริปทุกคนก็มีสัญญา(ใจ) กันว่าจะนำเรื่องราวดีๆมาเผยแพร่ต่อในวัน ที่ 1 เมษายน ตามแนวทางของแต่ละคน

........................................................



......................................................

แต่เดี๋ยวก่อน

เพื่อไม่ให้เรื่องราวมันไร้สาระเกินไป และดูหากินง่ายไปกับเรื่องราวบ้าบอข้างต้น ผมอยากจะพิ่มเติมประเด็นที่ผมสนใจ เป็นเรื่องที่ผมมักเล่าให้คนรู้จักฟังบ่อยๆ ว่ามีอะไรน่าสนใจจากทริปนี้บ้าง


ผมชอบเรื่อง เมล็ดพันธุ์

หลายคนคงทราบว่าผักส่วนใหญ่ที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูก แล้วเมล็ดพันธุ์มาจากไหน อันนี้ไม่ต้องไปถามกบนอกกะลา ก็พอจะแบบกำปั้นทุบดินว่า ก็ไปซื้อที่ร้านมาสิ ผมจะถามต่อไปว่า ถ้าเกิดเขาไม่ขายให้ล่ะ หรือถ้าเขาจะขายในราคาที่แพงมากๆ เราจะทำยังไงกัน ตอนนี้ปัญหาที่เกิดกับเมล็ดพันธุ์ มีหลักๆอยู่ ได้แก่ การสูญหายไปของเมล็ดพันธุ์แท้หรือถูกพัฒนาให้อ่อนแอลง และการตัดต่อพันธุกรรม


พันธุ์แท้ หรือไม่แท้สำคัญอย่างไร


“พันธุ์แท้ๆ ที่เหลือก็คือผักไทยแท้ อย่างเช่น ผักเชียงดา ผักกระถิน ผักแพว ผักกระโดน ผักเสม็ด ใบบัวบก สะเดา สิ่งที่ไม่มีคนกิน มันจะยังเป็นพื้นบ้านต่อไป แต่สิ่งไหนที่คนกินมากๆ พันธุ์พื้นบ้านจะหายไปเร็วมาก เหลือแต่พันธุ์ผสมจากบริษัท กะเพราะก็มีแต่กะเพราผสม ใบใหญ่ รสชาติจืด กลิ่นไม่แรง บริษัทเขาจะผลิตพันธุ์ผสมออกมาเรื่อยๆ เพื่อทำให้พันธุ์พื้นบ้านหายไปเร็วที่สุด”




“เมล็ดพันธุ์ที่เราเอามาปลูกเพื่อใช้กินอยู่ทุกวันนี้ 80-90 เปอร์เซ็นต์มาจากพันธุ์ผสม หมายถึงพันธุ์ที่เอาไปปลูกต่อจะไม่ได้ผลผลิตเหมือนเดิม มันจะกลายพันธุ์ แล้วเมล็ดพันธุ์ที่มีในตลาดตอนนี้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นพันธุ์ที่จำกัดการงอก คือ มีการพัฒนาพันธุ์แบบใหม่ด้วยการฉายรังสีเข้าไป หรือเอายีนบางตัวออกเพื่อให้ไม่มีเมล็ดเลย ทำให้คนปลูกต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้งที่ปลูก นี่คือการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อการตลาด เพื่อการผูกขาดเป็นหลัก ไม่ได้พัฒนามาเพื่อให้คนกิน ในขณะที่ราคาเมล็ดพันธุ์แพงขึ้นๆ ตอนนี้เมล็ดพันธุ์ผักมากมายราคากิโลละเกินหนึ่งหมื่นบาท อย่างแตงโมนี่หมื่นสอง มะละกอหมื่นสามหมื่นสี่ พวกผักสลัดนี่บางพันธุ์กิโลละหกหมื่นบาท ชาวไร่ชาวนาที่มีรายได้เฉลี่ยปีละ 2-3 หมื่น ถ้าเขาต้องมาปลูกผักในราคาเท่านี้ เขาจะอยู่กันยังไง ถ้าเราซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาเท่านี้ แล้วรุ่นลูกเราต้องซื้อกิโลละเท่าไหร่ เมล็ดพันธุ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์กับคนรุ่นต่อไป”

“พันธุ์ผสมมันอยู่ในมือของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งคุมตลาดด้วย เขาก็บังคับให้ชาวบ้านปลูกพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ผสมทั้งหมด ปลูกไป 2-3 ปี พันธุ์พื้นบ้านก็หมดไป จะกลับมาหาก็ไม่มีเมล็ดพันธุ์แล้ว ก็ไม่มีทางเลือก บริษัทบอกให้ปลูกอะไรก็ต้องปลูก อย่างแถวนี้เขาปลูกข้าวโพดกัน บริษัทก็เอาเมล็ดพันธุ์ เอาปุ๋ย เอายาฆ่าแมลงมาให้ ชาวนาแค่ใช้แรงแล้วก็ที่ดินของตัวเอง ปลูกเสร็จก็ขายคืนเขา เหมือจะได้เงินเยอะ แต่พอหักกลบลบหนี้แล้วก็ไม่เหลืออะไร บริษัทได้ผลประโยชน์ไป เอาไปแต่ผักดีๆ ผักที่ไม่ดีชาวบ้านก็ต้องรับผิดชอบ นอกจากต้องขายในราคาถูกแล้วชาวบ้านต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง มันเป็นระบบใหม่ที่ทำให้ชาวไร่ชาวนาต้องกลายมาเป็นทาสบนผืนนาของตัวเอง ยิ่งทำงานมากก็ยิ่งจน ยิ่งขยันยิ่งหนี้มาก ถ้าไปเอาพันธุ์อื่นมาปลูกเขาก็ไม่รับซื้อ นี่คือตัวบีบที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถปลูกพันธุ์พื้นบ้านได้ นอกจากจะปลูกแล้วเอาไปหาทางขายเอง ซึ่งเกษตรกรไม่ค่อยชอบ เพราะเขาชอบปลูกมากกว่าชอบขาย ทำให้ไม่มีใครคิดจะเก็บหรือเพาะเมล็ดพันธุ์เอง ใครๆ ก็รู้สึกว่าซื้อเอาง่ายกว่า ยื่นเงินให้ก็ได้มา แต่ไม่มีใครคิดว่า ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะได้เงินมา”

(คำบอกเล่าจากพี่โจน ที่มา//www.lonelytrees.net/?p=1082 )

พูดกันให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ถ้าเราไปซื้อเมล็ดพันธุ์ตามร้านซึ่งเป็นพันธุ์ผสมมาปลูกเราจะปลูกได้แค่ครั้งเดียว เพราะมันอาจถูกทำให้เป็นหมัน ไม่มีเมล็ดให้เราเอาไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ หรืออาจมีเมล็ดแต่พอเอาไปปลูกก็จะได้ต้นแคระแกร็น ไม่ยอมโต หรือออกมาไม่เหมือนเดิม รสชาติหน้าตาเปลี่ยนไป เราจึงต้องจำเป็นต้องกลับไปซื้อเมล็ดพันธุ์ของเขามาเรื่อยๆ และพวกพืชเหล่านี้มักจะต้องการปุ๋ย ต้องพึ่งพาสารเคมีอีก นี่ระบบผูกขาดกันชัดๆ
ทางรอดของเราก็คือ เราต้องหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และการเก็บเมล็ดพันธุ์ไม่ใช่เก็บไว้ขำๆ หรือเก็บไว้ในโดมที่ขั้วโลกเหนือเผื่อวันสิ้นโลกเหมือนบิลล์ เกตส์ //www.vcharkarn.com/vcafe/147529 แต่เราต้องเอาเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้มาปลูก มาทำอาหาร มาคัดเลือกพันธุ์ แล้วเก็บเมล็ดมาปลูกใหม่หรือแจกจ่ายไป เพื่อความยั่งยืนและมั่นคง




ขอบคุณพี่โจน ที่สละเวลาให้พวกเรา
ขอบคุณพี่ก้อง ที่ให้โอกาส หายป่วยเร็วๆนะครับ
ขอบคุณพี่น้องเพื่อนร่วมทริปที่ช่วยสร้างความทรงจำดีๆ
ขอบคุณเธอที่เข้าใจ ไม่สงสัยว่าไปทำอะไรในวันวาเลนไทน์

พันพรรณ : //www.punpunthailand.org
เครือข่ายต้นไม้ขี้เหงา : //www.lonelytrees.net





 

Create Date : 01 เมษายน 2553
2 comments
Last Update : 1 เมษายน 2553 16:58:10 น.
Counter : 1332 Pageviews.

 

มีความสุขมากๆนะครับ เช่นกัน

 

โดย: ตะวันออก IP: 10.10.0.30, 125.26.214.97 5 เมษายน 2553 11:59:19 น.  

 

 

โดย: กะว่าก๋า 1 มกราคม 2554 7:34:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


calcium_kid
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
ทำงานสร้างสรรค์
ปราศจากความทะเยอทะยาน
รักใครสักคน
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
1 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add calcium_kid's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.