"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2555
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
เรียนรู้หมวดกรรมฐาน 2 แผนผังนิพพาน

(แผนผัง) ทางดำเนินไปสู่นิพพานอย่างถูกต้อง
หลวงปู่เกษมสอนว่า
 
ลำดับของศาสนาพุทธ (่พระพุทธองค์สอนไว้)
 
1.   มีไตรสรณะ คือ   มีพระพุทธ – ธรรม – สงฆ์   เป็นที่พึ่งที่คิดถึง
2.   รู้จักให้ทานอุทิศ
3.   ให้ทานอย่างบริสุทธิ์
4.   ให้ทานอย่างบริบูรณ์
5.   รู้จักรักษาศีล
6.   รักษาศีลให้บริสุทธิ์
7.   รักษาศีลให้บริบูรณ์
8.   เรียนกรรมฐาน
9.   เรียนจนเข้าใจชัด
10.  ฝึกกรรมฐาน
11.  ทำกรรมฐาน
12.  เร่งทำกรรมฐาน
 
อธิบายเนื้อความโดยละเอียดว่า
 
1. มีพุทธ – ธรรม – สงฆ์    เป็นที่พึ่งของจิตใจ   เมื่อเกิดมีอันตรายขึ้นจิตจะยึดเอาพุทธ – ธรรม – สงฆ์   คิดขึ้นมาโดยไม่ได้ทำการตั้งใจเลย (อัตโนมัติ)   เป็นขึ้นมาโดยสัญชาตญาณ ไม่ใช่ว่าเมื่อมีอันตรายแล้วจะคิดถึงเหรียญ – รูป – พุทธรูป - ตะกรุด - ปะคำ - ปลัดขิก - กุมารทอง ฯลฯ  หรือวัตถุใดๆที่เป็นดิน – น้ำ – ลม – ไฟ   แบบนี้ไม่ถูกต้องเลยสำหรับชาวพุทธ แต่ให้คิดถึงพุทธองค์โดยคุณหรือโดยธรรมหรือโดยสงฆ์  นี่แล  จึงเป็นการพึ่งพุทธ – ธรรม – สงฆ์  หรือ รัตนไตร  แปลเป็นไทยว่า แก้ววิเศษ 3 ประการ
 
2. รู้จักให้ทานและอุทิศคือขณะที่ให้ทานยังไม่เสร็จหรือเสร็จพอดีก็ตาม  ก่อนให้และกำลังให้และหลังจากให้ จงคิดอุทิศ (โอนไปไกลๆก็ได้)  ว่า บุญนี้ให้ ญาติ – เทพที่รักษา – นายเวร – เชื้อโรค  ของข้า หรือของใครอื่นก็ได้ ที่เราต้องการช่วยแก้ความทุกข์เข็ญของเขา  
หรือจะแก้ความทุกข์เข็ญของเราเอง ก็ได้ทั้งนั้น
 
3. ทานอย่างบริสุทธิ์คือ สิ่งของที่จะให้ทานนั้น ไม่ได้มาโดยการผิดศีลผิดธรรม จะต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์ และรู้จักเลือกที่ให้ทานในที่บริสุทธิ์เช่น  พระ – เณร  - สมณผู้ทรงศีลหรือทรงธรรม หรือทรงทั้งศีลทั้งธรรม  หรือให้แก่ผู้ที่ทรงธรรมทรงศีลที่เป็นโยมก็ได้เหมือนกัน 
แต่จะต้องไม่ลืมอุทิศ เพราะถ้าไม่อุทิศก็เป็นตระหนี่บุญที่เป็นนามบุญ (บุญทิพย์) ก็จะมีแต่บุญที่ทำได้เอง บุญที่เกิดจากการอุทิศจะไม่มี
 
4. ให้ทานอย่างบริบูรณ์ สิ่งของที่จะให้ทานก็เป็นของที่บริสุทธิ์ และเหลือเอาไว้กับตนแต่พอใช้เท่านั้น นอกนั้นจะมีน้อยหรือมากก็ตาม ให้ออกไป ทานออกไป อุทิศ (โอนไปทั้งไกลด้วยใกล้ด้วย) หมายถึงให้ทานด้วยสิ่งของในโลกมนุษย์  แล้วจะต้องให้ของที่มีอยู่ในโลกทิพย์ออกไปอีก ด้วยวิธีเบิกบุญแล้วโอนออกไป โดยการพึ่งพุทธ – ธรรม – สงฆ์ คือ  "ขออำนาจพุทธ – ธรรม – สงฆ์ จงบันดาลบุญข้าให้ญาติ – ให้เทพที่รักษา – ให้นายเวร – ให้เชื้อโรค " (จนถึงพวกสัตว์ที่เป็นจุล คือเล็กสุดของตัวสัตว์  จนถึงจุลใจหรือจุลจิต ดวงใจที่รับบุญได้มีอยู่)  และถ้าผู้ใดทำความรู้ – รับรู้ได้ไกล คือคิดพรึบเดียวไปหลายๆจักรวาล หาที่สุดไม่ได้ ผู้นั้นจะอุทิศแบบรวบรวมเลยก็ได้   คือ "ขออำนาจพุทธ – ธรรม – สงฆ์ จงบันดาลบุญข้าให้สัตว์ทั้งหลาย"  แต่ต้องดูพลังความคิดของตนให้ดี คิดพรึบเดียวไปไกลรอบปานนั้นได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ให้คิดโอนไปแบบนั้น   ถ้าทำแบบนั้นไม่ได้   ควรคิดโอนบุญออกไปตามกำลังความคิดของตนเอง คือให้เป็นที่เป็นที่ไปเช่น   โอนให้ญาติ (จะเป็น เปรต – ผี – ปีศาจ – เทวดา – ยักษ์ – คนธรรพ์ – กุมภัณฑ์ – นาค – ครุฑ – อสูร – มาร – พรหม    สัตว์ที่เป็นจุล (ฝุ่นของฝุ่น) ที่เป็นสัตว์รับเอาบุญได้มีอยู่) เมื่อโอนให้ญาติแล้วต่อไปก็ให้เทพที่รักษา (จะเป็นเปรต – ผี – ปีศาจ ฯ  ที่เปลี่ยนภูมิดีขึ้นแล้วมารักษาเราก็มีอยู่ หรือเทพผู้ที่มีหน้าที่รักษาคน – สัตว์ที่จัดกันมาเฝ้ารักษาคนก็มีอยู่)  เขาเหล่านั้นรับบุญได้มีอยู่ ให้เทพที่รักษาแล้วต่อมาก็ให้นายเวร (นายเวรก็มีทุกภพทุกภูมิเหมือนกันกับญาตินั้นแหละ)  เมื่อให้นายเวรแล้วก็ควรให้เชื้อโรคด้วย   ถึงแม้จะตัวเล็กแต่ก็มีจิต – มีความคิดอาฆาต – มีความคิดผูกมิตรกันได้ ผู้ที่จะผูกมิตรควรผูกมิตรด้วยบุญ (ด้วยความสุข) เมื่อให้ของในมนุษย์เช่นนี้คือความบริบูรณ์ของมนุษย์และเบิกบุญในโลกทิพย์โอนออกให้...อย่างที่ว่ามา เป็นการให้ทานของในโลกทิพย์
 
5 – 6 – 7  เมื่อได้ให้ทานแล้วอุทิศ (โอน)  อย่างข้อ 1 – 4 การคิดที่จะรักษาศีล ก็คิดหาวิธีทางทำได้ง่าย เมื่อจะรักษาศีลควรเรียนรู้เรื่องของศีลให้ดีให้เข้าใจเสียก่อน ดูในพระไตรปิฎก คำที่พุทธองค์สอนไว้มีอยู่ เมื่อดูเข้าใจดีแล้วจึงเริ่มรักษาศีล ถ้าเรารักษาศีลในปัจจุบันได้ดีขึ้น อานุภาพศีลเดิมแต่เก่าก่อนของเราที่เคยได้รักษาไว้ก็จะเข้าสัญญาณกันได้  เมื่ออานุภาพของศีลเก่ากับศีลปัจจุบันเข้ากันได้ การรักษาศีลก็จะไม่ยากเลย เมื่อรักษาไม่ยาก ศีลก็จะบริสุทธิ์ได้ง่าย เมื่อศีลบริสุทธิ์อยู่นานจนพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ  ก็จะเป็นศีลบริบูรณ์ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องศีลก็ศึกษาเพิ่มขึ้น จนเป็นศีลที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ จิตใจก็จะไม่ว้าวุ่น – ไม่กังวลหมกมุ่น เมื่อมีความกังวลขึ้นมาก็จะมีแค่ว็อบๆ  แว็มๆ ไม่ถึงกับหมกมุ่นอยู่กับความกังวลนั้นๆ
 
8 – 9 – 10. เรียนกรรมฐานเช่น  คิดดูอาการ  32  ในร่างกายตน คือผมเป็นเส้นๆบนศรีษะคิดทั้งวันหรือจะคิดแบบดูไปเรื่อยๆ คิดดูเรื่องผมพอให้มีมโนภาพ (ภาพในความคิด)  มีพอแว็บๆว่าเป็นผม ก็ย้ายไปดูขน ต่อไปก็ดูเล็บ – ฟัน – หนัง – เนื้อ – เอ็น – กระดูก  ฯลฯ ไปจนถึงน้ำเยี่ยว  หลักกรรมฐานแบบนี้และหลักกรรมฐานแบบอื่นๆ  มีอยู่มากมายหลายอย่าง ถ้ายังไม่เข้าใจดีก็อย่าเพิ่งไปทำกรรมฐาน ให้เรียนรู้ดูตำรากรรมฐานจนเข้าใจเสียก่อนจึงควรไปทำกรรมฐาน เมื่อทำกรรมฐานก็ฝึกทำไปเรื่อยๆ จนจับหลักกรรมฐานของตัวเองได้
 
11 – 12. เมื่อรู้ว่าตนเองจับหลักกรรมฐานได้ด้วยประการใด – ตรงใหน  ให้เร่งทำกรรมฐานนั้นอย่างไม่หยุดยั้ง   เร่งคำนวณ – เร่งคิด - เร่งพิจารณา  ในกรรมฐานที่ตัวเองจับจ้องอยู่ อย่างไม่ลดละ – ไม่ท้อถอย แบบนี้มีวันที่จะชนะแน่   ที่ว่าไม่ลดละคือไม่ลดละกรรมฐาน
อยู่ – กิน – ไป – มา – พักผ่อน – ทุกอย่างเป็นปรกติหมด แต่งานที่จับจ้องกรรมฐานได้นั้นไม่ควรวาง – ไม่ควรลืมระลึก ให้นึกคิดอยู่กับกรรมฐานนั้น แบบนี้ถูกต้อง   
 
ถ้านึกคิดหนีไปจากกรรมฐานที่จับจ้องได้แล้ว – ที่เห็นนั้น ไม่แน่นะกว่าที่จะจับจ้องกรรมฐานได้ใหม่ยากอยู่นะ บางคนต้องบอกว่าบางคน ถึงแม้จะไม่ยากในการจับหลักกรรมฐานใหม่ แต่ว่าการย้ายกรรมฐานก็ทำให้เสียเวลา

(แผนผัง) ทางดำเนินไปสู่นิพพานอย่างถูกต้อง
 
ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องภาวนากรรมฐานได้ที่นี่
 
ศึกษาเรื่องนิพพานที่ถูกต้องตามคำสอนพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก
 
 เวบวัดสามแยก



Create Date : 05 พฤษภาคม 2555
Last Update : 6 พฤษภาคม 2555 16:56:45 น. 0 comments
Counter : 1254 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.