space
space
space
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
16 กรกฏาคม 2552
space
space
space

สะอึก....เรื่องเล็กที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่









สะอึก…เป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้ใครหลายคน หากสะอึกแค่เดี๋ยวเดียว อาจไม่เป็นปัญหากวนใจนัก
แต่หากใครสะอึกติดต่อกันเป็นวัน หรือ หลายๆ วัน แม้หาสารพัดวิธีช่วยให้หายสะอึก ทั้งกลั้นหายใจ ดื่มน้ำ กลืนน้ำตาล ทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล นั่นอาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะอาการเช่นนี้อาจเป็นเพราะโรคได้! นพ.นรินทร์ อจละนันท์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีช่วยไขข้อข้องใจให้หายสงสัยเกี่ยวกับการสะอึกว่า อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากมีสิ่งมากระตุ้นเส้น ประสาท 2 ตัว คือ Vagus nerve และ Phrenic nerve ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยเสียงสะอึกที่เกิดขึ้นมาจากการหายใจออกขณะที่กะบังลมเกิดการกระตุกทันทีทันใด ทำให้เกิดเสียงดังของการสะอึกขึ้น



สำหรับลักษณะอาการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.อาการสะอึกช่วงสั้นๆ อาจเพียง 2-3 นาที
2.การสะอึกหลายๆ วันติดกัน
3.สะอึกติดๆ กันหลายสัปดาห์ และ
4.การสะอึกตลอดเวลา โดยที่การสะอึกกลุ่มแรกเป็นการสะอึกช่วงสั้นๆ ที่ไม่มีอันตรายใดๆ



แต่การสะอึกติดต่อกันหลายๆ วัน เป็นอาการที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่นความผิดปกติทางสมองการเป็นอัมพาตการเป็นโรคทางเดินอาหาร

การอักเสบในช่องท้องบริเวณกะบังลม โรคหลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพิษสุราเรื้อรัง รวมถึงอาการทางภาวะจิตใจ และผลกระทบจากการใช้ยาบางชนิด"ส่วนมากผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยการสะอึกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เนื่องมาจากมีอาการผิดปกติทางสอง หรือเป็นอัมพาต ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้ แต่ก็อาจมีการสะอึกเกิดขึ้นมาอีก เพราะอาการสะอึกเป็นเพราะต่อเนื่องที่เกิดจากการเจ็บป่วย"

นพ.นรินทร์อธิบายส่วนวิธีการรักษาบรรเทาอาการสะอึกนั้น

นพ.นรินทร์บอกว่า หากเป็นการสะอึกธรรมดาๆ สามารถใชวิธีการกลั้นหายใจ การกลืนน้ำตาล กระตุ้นบริเวณหลังคอ แต่หากสะอึกติดต่อกันควรที่จะพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการสะอึกว่าเกิดมาจากอาการของโรคใด โดยอาการสะอึกไม่ถือว่าเป็นโรคแต่เป็นผลมาจากการเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดังนั้นหากสามารถทราบสาเหตุของโรคให้ยาตามอาการก็สามารถที่ช่วยให้อาการสะอึกดีขึ้น



10 เทคนิคหยุดสะอึก

1.กระตุ้นผิวด้านหลังของลำคอ แถวๆ บริเวณที่เปิดปิดหลอดลม โดยการดึงลิ้นแรงๆ
2.ใช้ด้ามช้อนเขี่ยที่ปิดเปิดหลอดลม
3.กลั้วน้ำในลำคอ
4.จิบน้ำเย็นจัด
5. กลืนน้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ หรือ กลืนก้อนข้าว ก้อนขนมปัง ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ
6.ดื่มน้ำจากขอบแก้วที่อยู่ด้านนอกหรือด้านไกลจากริมฝีปาก
7.จิบน้ำส้มสายชูที่เปรี้ยวจัด หรือดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
8.การฝังเข็ม
9. การสวดมนต์ทำสมาธิ
10. กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1 – 10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที

ขอบคุณ ที่นี่ดอทคอม






 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2552
6 comments
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 7:26:13 น.
Counter : 3428 Pageviews.

 

แวะมาทักทายแ
มาอ่านสาระดีๆๆค่ะ

 

โดย: Mooky Miracle Mom 16 กรกฎาคม 2552 8:03:42 น.  

 

พี่ชายสะอึกมาหลายวันไม่หายเลย

 

โดย: มินท์ IP: 122.155.42.25 15 ธันวาคม 2555 5:49:45 น.  

 

คนเป็นโรคหัวใจหากสะอึกนานๆจะอันตรายมั้ยคะ

 

โดย: จอย IP: 115.67.69.175 2 เมษายน 2556 23:21:34 น.  

 

ทำหลายวิธีแล้วแต่ยังไม่หาย

 

โดย: ทิพย์ IP: 171.100.134.145 3 มีนาคม 2557 15:48:57 น.  

 

ดีครับเทคนิกการหยุดสะอึก

 

โดย: ภูแฝก IP: 1.10.218.148 31 กรกฎาคม 2557 21:45:53 น.  

 

ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับจากอากาสะอึกเป็นประโยชน์มากครับ

 

โดย: dangnorth IP: 101.108.90.134 13 กุมภาพันธ์ 2558 15:51:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space