space
space
space
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
14 มีนาคม 2552
space
space
space

มะเขือเปราะลดน้ำตาลในเลือด








มีเพลงพื้นบ้านที่ใช้กล่อมเด็กๆ พูดถึงมะเขือเปราะดังนี้
"จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวๆ หนุ่มๆ อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด
เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้"
Ž
มะเขือเปราะ (Yellow berried nightshade หรือ Kantakari ในประเทศอินเดีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.
วงศ์ Solanaceae
มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่กินผล มีชื่อเรียกอื่นๆ ดังนี้ มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) เขือพา เขือหิน (ใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะเขือหืน (ภาคอีสาน)
ต้นมะเขือเปราะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 2-4 ฟุต มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย

ใบ มีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับ
ดอก มีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยว
ผล มีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลเมื่อแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

ประเทศไทยเราจะกินผลสีเขียวเป็นอาหาร ทั้งกินดิบจิ้มน้ำพริก ใส่แกงป่า แกงเผ็ด และอื่นๆ แต่ที่อินเดียใช้ผลเป็นยา

ส่วนทวีปอื่นๆ เลือกกินมะเขือยาวหรือมะเขือม่วงเป็นอาหารมากกว่ามะเขือเปราะ
ขอเสนอคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาวปรุงสุก 1 ถ้วย (100 กรัม) เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกันข้อมูลโภชนาการใกล้เคียงกัน


การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม

ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ
ประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน
งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด

ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่

พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว

สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้
ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ

งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

การทดสอบเพิ่มเติมพบว่า สารสกัดดังกล่าวออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใด

บรรพบุรุษไทยในแดนสุวรรณภูมิฉลาดมากที่เลือกเอามะเขือเปราะมาใส่แกงป่าเป็นอาหาร ปราศจากคอเลสเตอรอล ลดมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และเสริมสร้างสุขภาพ เส้นทางสายกรุงเทพฯ - สุพรรณบุรีมีร้านแกงป่าสารพัดอย่างอยู่ริมถนน ลองแวะชิมผลงานภูมิปัญญาไทยเพื่อสุขภาพดูบ้างนะคะ




ขอบคุณ หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 14 มีนาคม 2552
2 comments
Last Update : 14 มีนาคม 2552 7:28:02 น.
Counter : 1999 Pageviews.

 

เวอะมาทักทายค่ะ

 

โดย: CrackyDong 14 มีนาคม 2552 21:51:59 น.  

 

ขอบคุณนะ

 

โดย: tt IP: 61.19.66.182 7 สิงหาคม 2552 10:58:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space