Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
สกัดเชื้อราออกจากต้น Lagerstroemia loudonii

ตอนนี้ โปรเจคผมก็ผ่านไปครึ่งทางแร้วววว
ดีใจมากมาย
เหลือแต่เลี้ยงเชื้อราในอาหารเหลว แล้วเอายับยั้งแบคทีเรีย
ถ้ายับยั้งได้นี่ มีเฮ
การสกัดเชื้อรา Endophyte จากต้นพืชนั้น
ถามว่ายากไหม
ผมว่าไม่ยากหรอก แต่ลุ้นเหนื่อย
เพราะถ้าทำไม่ดีนี่ เชื้อไม่ขึ้นเลย - -*
ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างการทำงานตลอดเลย
แต่ก็ยังดี เราก็สามารถสกัดได้ตามที่ต้องการ
ก่อนที่จะมาพูดถึงวิธีการสกัดนั้น คงต้องจำกัดความคำว่า Endophyte กันก่อนนะคับ
Endophyte มาจากคำว่า Endo(ข้างใน)+phyte(สิ่งมีชีวิตพวกพืช)
ดังนั้น ความหมายของมันก็คือ
สิ่งมีชีวิตใดๆก็ตามที่อาศัยอยู่ข้างในสิ่งมีชีวิตจำพวกใบพืชนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา อะไรก็ได้
ซึ่งไอ้เจ้าพวกเนี่ย มันจะอาศัยอยู่ระหว่างเซลล์ของต้นพืชนั่นเอง ซึ่งเท่าที่ศึกษามา ก็น่าจะอยู่ใน Intermediate ระหว่าง cell น่ะ ทีนี้ที่ผมนำมาศึกษาและสนใจเนี่ย คือเชื้อรา ที่อยู่ในต้น เสลา ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร หรือชื่อเรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า Lagerstroemia loudonii

ตอนแรกก็ไม่คิดหรอกว่าจะเอาต้นนี่ แต่ที่เลือกต้นนี้เพราะคิดว่า เป็นต้นไม้ประจำมอ ถ้าสามารถทำประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการ ก็น่าจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงมหาลัยด้วย
เอาล่ะ กลับมาเรื่องของเจ้า Endophyte ต่อ

เจ้าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวนี้(ต่อจากนี้ผมจะเรียกมัน Endophytic fungi นะ) มันจะอยู่ในระยะแฝง(latent period)ในเซลล์ของต้นพืช แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม ต้นพืชอ่อนแอ หรือเกิดสภาวะใดสภาวะหนึ่งที่เหมาะสมต่อการทำให้ Endophytic fungi เจริญขึ้นมา ก็จะพบเห็นเจ้าพวกนี้ เจริญเติบโตออกมาจากต้นพืชและทำให้ก่อโรคต่อต้นพืชได้ (แต่ก็พบเห็นได้ยาก เพราะเชื้อราค่อนข้างเจริญเติบโตยาก+ช้า)
โดยปกติแล้ว ทั้ง Endophytic fungi และ พืชนั้น อาศัยอยู่ร่วมกัน แบบ Mutualism คือพึ่งพากันทั้ง 2 ฝ่าย เหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า แล้วได้ประโยชน์ร่วมกัน
คุณสมบัติของมัน
1. Endophytic fungi นั่น สามารถพบได้ในต้นพืชทุกชนิด!!!!!!! นั่นแสดงให้เห็นเลยว่า ถ้าเชื้อราไม่ขึ้น แสดงว่า กระบวนการสกัด เกิดปัญหาแน่นอน (ซึ่งนั่นก็หมายถึงความผิดพลาดจากทีมงานของพวกผมนั่นเอง - -*)
2. Endophytic fungi จะอยู่ในต้นพืชที่โตพอสมควรแล้ว กล่าวคือ ไม่พบในต้นพืชอ่อนๆนั่นเอง ซึ่งนั่นผมก็พิสูจน์มาแล้วจากการสุ่มตัวอย่างต้นเสลาออกมา
3. Endophytic fungi มีการสืบพันธุ์ทั้งในแนวดิ่ง(Vertical)ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ไอ้เจ้า Endophytic fungi จะใช้ Hyphae(ส่วนประกอบของราที่เป็นปล้องๆ มีทั้งแบบมีผนังกั้นและไม่มีผนังกั้น)ซึมเข้าไปในตัวเม็ดพืช และทั้งในแบบแนวนอน(Horizontal)ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ตรงนี้ผมยังไม่เข้าใจอยู่ดี อิอิ) โดยใช้ Spore เป็นตัวสืบพันธุ์ ซึ่งไอ้ตัวเนี่ยแหละ สามารถก่อโรคได้ เป็น Pathogenic fungi
4. Endophytic fungi มีกลไกการป้องกันจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆ เช่น สร้าง Barrier มาป้องกันเซลล์ตัวเองไม่ให้ได้รับอันตราย หรือที่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Barrier Effect และวิธีการดึงสารประกอบมาใช้ป้องกันตนเอง ซึ่งตัวผมเองและอาจารย์ที่ปรึกษา ก็สนใจเหมือนว่า ไอ้เจ้าสารตัวนี้ มันคือสารใด มีคุณสมบัติทางเคมีอย่างไร ซึ่งแลปตอนนี้ยังไปไม่ถึง อิอิ

ตัวอย่างที่มีชื่อเสียง เกี่ยวกับงานวิจัยทางด้าน Endophytic fungi อาทิเช่นสาร Taxol ที่สกัดมาจากเชื้อราในต้นยิว สามารถนำมาใช้ยับยั้ง เซลล์มะเร็งได้


ยังไม่เส็ดนะ อิอิ


Create Date : 07 เมษายน 2551
Last Update : 7 เมษายน 2551 19:51:37 น. 0 comments
Counter : 3459 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

บอร์นคุง
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บอร์นคุง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.