<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 ตุลาคม 2550
 

FWD : โรค Attention Deficit Trait





โรค Attention Deficit Trait
โดย ผศ.ดร. พสุเดชะรินทร์
pasu@acc.chula.ac.th


ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ “Multitasking” หรือไม่ครับ? คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลายๆ อย่างไปในขณะเดียวกัน เช่นในขณะที่กำลังเช็คอีเมลทางคอมพิวเตอร์ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุมก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ข้างหน้าในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่ามีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด

แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ Multitasking นั้น กลับเป็นสาเหตุประการหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงานที่เราเรียก Attention Deficit Trait หรือ ADT

โรคนี้เป็นโรคที่เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่บังคับให้คนทำงานจะต้องทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้นทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีเวลาหรือโอกาสได้สงบพัก

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่าเป็นโรคนี้หรือไม่?ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม2548ในบทความชื่อ Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็นจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลายคุณหมอท่านนี้ทำการรักษาอาการAttention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADDนี้เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทยโดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น

ผู้เขียนบทความนี้เขาพบว่า ในช่วงหลังๆเริ่มมี ผู้ใหญ่ เข้ามารับการรักษาในอาการที่คล้ายกับโรคสมาธิสั้นกันมากขึ้นแต่เมื่อวินิจฉัยดูก็ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้นแต่เป็นโรคอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น คุณหมอท่านนี้เลยตั้งชื่อใหม่ว่าเป็น Attention Deficit Trait หรือ ADT โดยสาเหตุของ ADTจะต่างจากโรคสมาธิสั้น

เนื่องจากโรคสมาธิสั้นจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อม แต่ ADTนั้น จะมาจากสภาวะแวดล้อมเป็นหลัก

ผู้ที่เป็นโรค ADTนั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆก็จะถูกดึงดูดด้วยงานอย่างอื่น มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น) ไม่ค่อยอดทนมีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized)การจัดลำดับความสำคัญ และการบริหารเวลา

โรค ADT นี้ มักจะเริ่มก่อเกิดขึ้น เมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆการที่มีความรู้สึกว่ามีงานด่วน หรือสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ และท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วนเหล่านั้นให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรค ADTเพราะเมื่อเรามีงานที่เร่งด่วน หรือจำเป็นเข้ามาเรื่อยๆเราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น อีกทั้งไม่บ่นไม่โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้นเราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ และเวลาของเราไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา

ดังนั้น เมื่อเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วนขึ้น เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลาพยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็ว การทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆหนึ่ง (Unfocused) แต่ในขณะเดียวกัน บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวายดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรขึ้น? ง่ายๆ ก็คือ ทำให้สมองเราสูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง จะส่งผลให้งานที่ออกมาเป็นงานที่เร็วแต่ไม่ลึกจะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลงการที่สมองเราจะต้องรับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลงอีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น

โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับเกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
สมองเราจะต้องรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆมากขึ้นกว่าเดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบันก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเกิดโรคนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ(เรามักจะคิดว่าในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน
ดังนั้น ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า )

@ ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม 'ปิดประตู' เนื่องเพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง @

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเป็นโรค ADT กันบ้างไหมครับ ผมลองสังเกตตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นเหมือนกันครับทั้งสาเหตุและอาการก็เหมือนกับที่คุณหมอเขาเขียนไว้ในบทความของเขาเลยครับ เพียงแต่ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจนะครับถ้ารู้สึกว่าตนเองเป็น ADTเนื่องจากคนแต่ละคนจะมีวิธีการในการบริหารและจัดการกับโรคADTที่ต่างกัน (เนื่องจากสมองของคนแต่ละคนต่างกัน)


*****
From : Nok




Create Date : 14 ตุลาคม 2550
Last Update : 11 พฤษภาคม 2556 16:13:12 น. 0 comments
Counter : 517 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com