<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 มกราคม 2553
 

WWR 9 : โก้วเล้ง มังกรเมรัย




หนังจีนกำลังภายในเฟื่องฟูในยุคสมัยที่เรายังอายุน้อยกว่านี้
และเมื่ออายุมากขึ้น ...ห่างหน้าจอทีวี มาสู่หน้ากระดาษหนังสือมากขึ้น
ก็อยากลองอ่าน "นิยายกำลังภายใน"
น่าแปลกที่ เราดูหนังจีนที่สร้างจากนิยายของ "กิมย้ง"
แต่เรากลับได้อ่านผลงานของ "โก้วเล้ง" มากกว่าซะอีก

เมื่ออ่านงานเขียนของนักเขียนคนนึงมากเข้า ...เราก็ย่อมอยากทำความรู้จักตัวเขาให้มากยิ่งขึ้นด้วย
ดังนั้น ...จึงไม่พลาดที่จะทำความรู้จัก "โก้วเล้ง" ผ่านหนังสือเล่มนี้

โก้วเล้ง มังกรเมรัย

น.นพรัตน์ เรียบเรียง
สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ : พิมพ์ครั้งแรก 2544 จำนวน 212 หน้า ราคา 139 บาท
ซื้อ : 23 ธันวาคม 2544


โปรยปกหลัง
มีคนกล่าวกันว่า โลกยุทธจักรนิยายโก้วเล้ง
มิเพียงประกอบด้วย เงาดาบประกายกระบี่ การเข่นฆ่าประหัตประหาร
ยังมีบทเรียนแห่งชีวิต ที่แฝงไว้ด้วยรอยเลือดและคราบน้ำตา
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของศิลปะการประพันธ์
ซึ่งถ่ายทอดผ่านตัวละคร และคำสนทนาโต้ตอบในเรื่อง...

น.นพรัตน์ ผู้ถ่ายทอดนิยายกำลังภายในจากปลายพู่กันของ "โก้วเล้ง" ได้รวบรวมและเรียบเรียง
บทความและข้อเขียนที่สหายน้ำหมึกเขียนถึงโก้วเล้งภายหลังจากที่ลาโลกไปแล้ว
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ

ภาคแรก : มังกรโบราณไม่มีวันตาย
บันทึกเรื่องราวของโก้วเล้ง ซึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวที่หย่าร้าง
ต่อสู้ดิ้นรนจนสร้างโลกยุทธจักรนิยายที่แปลกใหม่
พร้อมด้วยชีวิตส่วนตัวที่ผ่านพบสตรีมากหน้าหลายตา
และร่ำสุราโก่งคอร้องเพลงอย่างสมใจ
ตามด้วยบทความรำลึกถึงโก้วเล้งจากผองเพื่อน


ในส่วนแรกนี้ ประกอบด้วย ประวัติชีวิตของโก้วเล้ง ซึ่งเรียบเรียงจากหนังสือ "โก้วเล้งตึ่งคี้"
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ตุ้งเหยินชูปั่นเสวีย เมื่อปีพ.ศ.2539
บางช่วงของชีวิตเขาแฝงอยู่นวนิยายของเขาเองหลายเรื่อง
ในช่วงต้นของชีวิตนักเขียนนั้น เขาเขียนทั้งนวนิยายและความเรียงปกิณกะ
เมื่อยังไม่มีชื่อเสียง เขายินยอมเป็น "มือปืน" ของนักเขียนที่มีชื่อเสียงอยู่ก่อน เพื่อแลกกับค่าต้นฉบับ
และผลงานในยุคแรกนั้น ยังคงใช้นามปากกาอื่น จนกระทั่งมาใช้นามปากกา "โก้วเล้ง"
ลักษณะของนวนิยายในยุคแรกของเขานั้น ถือเป็นการลอกเลียนแบบนักเขียนที่ประสบความสำเร็จแล้ว
เป้าหมายของการลอกเลียนก็คือ "กิมย้ง"
ต่อมาในปีพ.ศ.2507 เป็นต้นมา โก้วเล้งได้เริ่มทดลองเปลี่ยนแนวการเขียน
ซึ่งเป็นการหลอมรวมวรรณกรรมตะวันออกกับตะวันตก ยุคโบราณและยุคปัจจุบันเข้าด้วยกัน
กลายเป็นเส้นทางและรูปแบบเฉพาะของตนเอง
ช่วงปีพ.ศ.2510 - 2525 ถือเป็นยุคทองของโก้วเล้ง ผลงานของเขาถูกดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ทั้งจอแก้วและจอเงิน
และผู้ที่ดัดแปลงนิยายของเขาเป็นบทภาพยนตร์คนแรก ก็คือ "เหง่ยคัง"

โก้วเล้งนิยมใช้สำนวนยาวสั้นสลับกัน โดยบอกว่า
"สำนวนยืดยาว อ่านไปคล้ายกระแสน้ำกลางธารใหญ่
จู่ๆ ต่อด้วยคำสั้นๆ เปรียบเสมือนใช้กระบี่เล่มหนึ่งตัดสายน้ำขาดกลาง
บังเกิดผลก่อปฏิกิริยาเป็นระลอกคลื่น"


ชีวิตของโก้วเล้งประกอบด้วย ปากกา สุรา และนารี
โดยเฉพาะสุรา กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเขา
และเขายังเป็นนักสะสมสุราตัวยงอีกด้วย
โก้วเล้งดื่มสุราจัด และมักจะ "ดื่มเหล้าย้อมทุกข์"
ในที่สุดจึงละโลกไปด้วยโรคตับแข็ง เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2528


เมื่ออ่านส่วนแรกจบ ได้ทำความรู้จักโก้วเล้งไปแล้ว มานึกได้ว่า
ชีวิตของโก้วเล้ง กับ ชีวิตของยาขอบ ...คล้ายคลึงกันเอามากๆ
ทั้งสอง ..มีพื้นฐานชีวิตครอบครัวไม่อบอุ่นนัก
ทั้งสอง ..มีหญิงสาวผ่านเข้ามาในชีวิตหลายคน
ทั้งสอง ..ยึดมั่นกับ สหาย และ น้ำเมา
และทั้งสอง ..เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทิ้งไว้แต่ผลงานให้คนรุ่นหลัง

นอกจากนี้ ยังมีบทความที่เขียนถึงโก้วเล้งโดย ลิ้มเช็งเฮียง, เต็งเช้ง และเหง่ยคัง
ในช่วงครึ่งหลัง เป็นบทความของโก้วเล้งที่เขียนไว้ในที่ต่างๆ พร้อมด้วย "อักษรพู่กัน"
ภาคหลัง: อักษราคงอยู่คู่คิดฟ้ามีคนบอกว่า โก้วเล้งเขียนบทความได้ดีกว่าเขียนนวนิยายเสียอีก
ทั้งยังฝึกลายพู่กันจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง
นี่เป็นส่วนหนึ่งของลายมือโก้วเล้ง และข้อเขียนจากหนังสือชื่อ "ปุกสีจิบ"
ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ประมวลความมิใช่"
อันเป็นร้อยเรียงแห่งความขัดแย้งทางความคิด
พร้อมด้วยประวัตินิยายกำลังภายในที่โก้วเล้งเขียนได้อย่างดีเยี่ยม


บางครั้งระเริงรัก
บางคราร่ำสุรา
บางครั้งกระชับดาบ
บางคราจับพู่กัน
ระหว่างความเป็นตาย
เพียงชั่วกะพริบตา
มีชีวิตเป็นไร
ตายแล้วเป็นไร

จารึกไว้แก่ตัวเอง
โก้วเล้ง กำกับ


ท้ายสุดมีภาคผนวก เป็นการจัดอันดับผลงานโก้วเล้ง แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ "วิจารณ์วรรณศิลป์โก้วเล้ง"
เขียนโดย เฉาเิจิ้นเหวิน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หวินหลง ได้เรียงลำดับไว้ 15 อันดับ (ชื่อในวงเล็บคือชือจากสำนวนแปล ว. ณ เมืองลุง) ดังนี้

  • อันดับที่ 15 : ผู้ยิ่งใหญ่
  • อันดับที่ 14 : วีรบุรุษไร้น้ำตา (ไม่มีน้ำตาวีรบุรุษ)
  • อันดับที่ 13 : ธวัชล้ำฟ้า
  • อันดับที่ 12 : อินทรผงาดฟ้า
  • อันดับที่ 11 : ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่
  • อันดับที่ 10 : ราชายุทธจักร
  • อันดับที่ 9 : พยัคฆ์ร้ายบู๊ลิ้ม
  • อันดับที่ 8 : เหยี่ยวทมิฬ (เหยี่ยวเดือนเก้า)
  • อันดับที่ 7 : วีรบุรุษสำราญ
  • อันดับที่ 6 : เรื่องชุดอาวุธของโก้วเล้ง 6 เรื่อง คือ กระบี่อมตะ, เดชขนนกยูง, ดาบมรกต, แค้นสั่งฟ้า, ทวนทมิฬ และตะขอจำพราก
  • อันดับที่ 5 : ศึกเสือหยกขาว
  • อันดับที่ 4 : เรื่องชุดเล็กเซี่ยวหงส์ 7 ตอน คือ หงส์ผงาดฟ้า, จอมโจรปักดอกไม้, สองนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่, บ่อนพนันเบ็ดเงิน, หมู่ตึกภูติพราย, เกาะมหาภัย และกระบี่พิโรธ
  • อันดับที่ 3 : เรื่องชุดชอลิ้วเฮียง 8 ตอน คือ กลิ่นหอมกลางธารเลือด (จอมโจรจอมใจ), พายุทะเลทราย, ศึกวังน้ำทิพย์, ยืมศพคืนวิญญาณ (ใต้เงามัจจุราช), ศึกวังค้างคาว (ใต้เงามัจจุราช), ดวงชะตาดอกท้อ, ตำนานกระบี่หยก (ชอลิ้วเฮียง) และกล้วยไม้เที่ยงคืน
  • อันดับที่ 2 : ลูกปลาน้อยเซียวฮื้อยี้ (เซียวฮื้อยี้)
  • อันดับที่ 1 : เซี่ยวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า (ฤทธิ์มึดสั้น)


ใช้ตอบโจทย์ 15-2.[Clear Ice + January Friend + นัทธ์] หนังสืออัตชีวประวัติ (autobiography คือ หนังสือที่บุคคลนั้นเขียนเล่าประวัติของตัวเอง)
หรือเป็นหนังสือชีวประวัติ (biography) ที่ผู้อื่นเขียน



ความเห็นที่รีวิวไว้ที่กระทู้ >> //www.pantip.com/cafe/library/topic/K8607514/K8607514.html ความเห็นที่ 153
โก้วเล้ง เป็นนามปากกาของนักเขียนเรื่องกำลังภายใน "ฮิ้มเอี้ยวฮัว"
เกิดที่ฮ่องกงในปีพ.ศ. 2481 และเสียชีวิตด้วยโรคตับเมื่อปี 2528
สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้แวดวงวรรณกรรม ก็คือนิยายขนาดสั้นและยาว รวม 65 เรื่อง (ตามที่ปรากฎในภาคผนวกท้ายหนังสือ)
และยังมีข้อเขียน บทความต่างๆ อีกมากมาย ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันนัก

หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 2 ภาค โดย ภาคแรกเป็นเรื่องที่ผู้อื่นเขียนถึงโก้วเล้ง
เล่าถึงประวัติชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก จนวาระสุดท้าย
ส่วนในภาคหลัง จะเป็นผลงาน "ภาพอักษร" และบทความบางเรื่องที่โก้วเล้งเขียนไว้
ทั้งที่เกียวกับการเขียนนิยายกำลังภายในและเรื่องอื่นๆ
มีภาคผนวกท้ายเล่ม เป็นการจัดอันดับผลงานโก้วเล้ง โดย เฉาเิ้จิ้นเหวิน

ทั้งหมดนี้ "น.นพรัตน์ำ" เป็นผู้แปลและเรียบเรียง
ทำให้เราได้รู้จัก "โก้วเล้ง" มากยิ่งขึ้น
...นิยายบางเรื่อง ก็หยิบชีวิตบางช่วงของตัวเองมาสอดแทรก
...นิยายบางเรื่อง เจ้าตัวยอมรับว่า "ได้รับแรงบันดาลใจ" จากวรรณกรรมตะวันตก
...นิยายของโก้วเล้ง มักจะจบลงอย่างมีความสุข หรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านจินตนาการต่อเอง
นั่นเพราะ ชีวิตจริงของเขาไม่ค่อยมีความสุข ...
มีแต่สหายและสุรา เพื่อนหญิงหนีหาย แม้ลูกชายก็มิได้ใช่แซ่ของเขาเลย

ชีวิตของโก้วเล้ง กับชิวิตของยาขอบ คล้ายคลึงกันมาก
เอาไว้จะไปเล่าต่อใน blog ละกันนะ



Create Date : 01 มกราคม 2553
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 23:29:59 น. 6 comments
Counter : 4471 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ไม่ค่อยถนัดอ่านนิยายจีนเลยค่ะ เพราะขี้เกียจจำชื่อคนน่ะค่ะ แต่ถ้าเป็นหนังจีนก็พอดูได้ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีในทีวีนะคะ ตอนนี้เป็นยุคเกาหลีฟีเวอร์

ถามหน่อยค่ะ คุณนัทธ์ พอดีว่าเมื่อวานไปเดินแถว Little India ค่ะ แล้วก็ได้เข้าวัดซิกข์ วันนี้เลย searh google เพื่อหาข้อมูล ยังไม่ค่อยรู้จักเรื่องซิกข์น่ะค่ะ ไป ๆ มา ๆ เจอคำว่า "ชมรมสยามทัศน์" แล้วก็เจอบล็อกคุณนัทธ์หัวข้อนั้น แต่พอจะคลิกเข้าแล้วไม่ได้

จะถามว่าคุณนัทธ์เคยไปเที่ยวกับชมรมนี้หรือเปล่าคะ
 
 

โดย: รัชชี่ (รัชชี่ ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:19:22:32 น.  

 
 
 
คุณรัชชี่ >> หนังจีนห่างหายไปจากจอทีวีหลายปีแล้วล่ะ...ต้องใช้วิธีหาแผ่นมาดูแทน
เรื่องซิกซ์ เราก็ไม่ค่อยรู้จักค่ะ ส่วนเรื่องชมรมเคยไปเดินเที่ยวกับชมรมนี้ 1 ครั้ง...แล้วเค้าคงลืมไปแล้วว่าเราเป็นสมาชิกอยู่
ไม่ยักมีเมล์แจ้งกิจกรรมมาอีกเลย
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:21:04:32 น.  

 
 
 

 
 

โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:16:52:56 น.  

 
 
 
ให้ตายเถอะ

ท่านอ่านงานโกวเล้งบนนกเหาะทยานฟ้าเหรอเนี่ย

ถ้าฝรั่งข้้างๆท่าน ตื่นมา

คงต้องหวาดระแวงวิชาภายในของท่านแน่เลย
 
 

โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:17:56:47 น.  

 
 
 
คุณชาญ >> อ่านติดพันค่ะ ก็เลยเอาติดกระเป๋าไปเที่ยวมะละกาด้วย
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:22:41:59 น.  

 
 
 
หนังสือของโก้วเล้งที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครบทุกเรื่อง
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 6051589 วันที่: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา:17:50:58 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com