ค่ายญี่ปุ่นยืดเวลาเปลี่ยนรุ่นรถยนต์

ค่ายญี่ปุ่นปรับยุทธศาสตร์รับทิศทางการผลิตรถยนต์ เลื่อนโมเดลเชนจ์จากเดิม 4
ปี ขยับเพิ่มเป็น 6 ปี หันมาซอยไมเนอร์เชนจ์แต่งหน้าทาปากให้มากขึ้น
ชี้เครื่องยนต์ ตัวถัง และเทคโนโลยีการผลิตดีขึ้นผิดหูผิดตา
ส่วนค่ายยุโรปตรงข้ามบีบการคลอดรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เร็วขึ้น





ผลพวงจากเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ
เริ่มปรับทิศทางการผลิตรถยนต์ในสังกัดของตัวเองให้สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทางหนึ่งเพื่อลดต้นทุนการผลิต อีกทางหนึ่งเพื่อสร้างผลกำไรให้มากขึ้น

รายงาน
ข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ"
ว่า
นโยบายของบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นกำลังจะขยายอายุการคลอดรถยนต์แต่ละรุ่นออกไป
อีกอย่าง 1-2 ปี จากเดิมที่รถยนต์หนึ่งรุ่นจะมีไลฟ์ไทม์ประมาณ 4 ปี
หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า
"โมเดลเชนจ์" มาเป็น 6 ปี
กำลังได้รับความสนใจทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตและวัตถุดิบในการผลิต
ดีขึ้นมาก อาทิ เหล็ก ไฟเบอร์ พลาสติก ฯลฯ ช่วยยืดอายุการใช้งาน

นาย
ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางที่บริษัท แม่กำลังดำเนินอยู่
เนื่องจากกระบวนการผลิตรถยนต์ปัจจุบันก้าวล้ำนำหน้าไปมาก
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้คือ พัฒนาการด้านเครื่องยนต์
จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ ผ่านมา ส่วนใหญ่จะปรับปรุงดีไซน์เป็นหลัก
ส่วนเครื่องยนต์ยังยึดของเดิม

นายศุภรัตน์กล่าวว่า
การปรับทิศทางการผลิตด้วยการยืดระยะเวลาการเปลี่ยนรุ่นรถยนต์
หรือโมเดลเชนจ์ ให้กว้างออกไป จะช่วยให้บริษัทผู้ผลิตสามารถ
ซฟต้นทุนการผลิตลงได้เยอะ เอาเม็ดเงินส่วนนี้ไปแข่งขันด้านการตลาด
เพิ่มความถี่การปรับปรุงรูปโฉมที่เรียกว่าไมเนอร์เชนจ์ทำให้ได้ประโยชน์จาก
ส่วนนี้มากขึ้น

เช่นเดียวกับผู้บริหารค่ายฮอนด้าที่มองว่า
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้น่าจะเป็นโกลบอลเทรนด์ที่ทุกค่ายกำลังทำ
การเลื่อนระยะเวลาคลอดรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกไปอีก 1-2 ปี
ยิ่งจะทำให้แต่ละค่าย มีจำนวนรุ่นรถยนต์หลากหลายมากขึ้น
การปรับปรุงโฉมด้วยการแต่งหน้าทาปาก เปลี่ยนไฟใหญ่, หน้ากระจัง, ไฟท้าย
เหล่านี้ช่วยตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทั้งแพลตฟอร์ม หลายครั้งที่ลูกค้าต่อว่า
ถึงความพยายามโมเดลเชนจ์รถยนต์แต่ ละรุ่นเร็วเกินจนตามไม่ทัน
นอกจากกระทบกระเทือนด้านจิตใจยังกระทบเงินในกระเป๋าด้วย

ในขณะที่
ค่ายญี่ปุ่นพยายามยืดระยะเวลาการเปลี่ยนรถยนต์รุ่นใหม่ออกไปอีก 2 ปี
แต่ในทางตรงกันข้าม ค่ายยุโรปซึ่งเดิมใช้เวลาโมเดลเชนจ์รถยนต์แต่ละรุ่น 7-8
ปี กลับพยายามที่จะย่นระยะเวลาให้สั้นลง
โดยให้เหตุผลทางด้านการตลาดว่าเป็นการปรับเพื่อให้แข่งขันกับค่ายรถญี่ปุ่น
ได้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์, วอลโว่,
บีเอ็มดับเบิลยู ต่างคลอดรถยนต์รุ่นใหม่เร็วขึ้น

ดร.ปราจิน
เอี่ยมลำเนา ประธานบริษัท กรังด์ปรีซ์ กรุ๊ป
ผู้คร่ำหวอดในวงการรถยนต์มากกว่า 40 ปี
มองว่าคนใช้รถบ้านเราเปลี่ยนรถกันเร็วเกินไป
เพราะต้องวิ่งตามค่ายรถยนต์ให้ทัน ส่วนใหญ่ใช้รถกันแค่แสน ก.ม.
ก็ขายทิ้งเปลี่ยนใหม่กันแล้ว
ต่างจากยูสคาร์ในต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่ไมล์จะทะลุ 2 แสน ก.ม.เกือบทั้งนั้น
ซึ่งในความเป็นจริงการใช้รถแค่แสน ก.ม.นั้นน้อยไป รถยังไม่ช้ำ
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีการผลิตดีกว่าเก่าเยอะ เหล็กก็ดีขึ้น
ปัจจุบันแทบไม่เห็นรถยนต์คันไหนผุหรือเป็นสนิม

ยิ่งเครื่องยนต์วิ่ง
ถึง 2 แสน ก.ม. สบายๆ ถ้าเป็นดีเซลได้ถึง 4 แสน ก.ม. บางคนใช้งานถูกต้อง
บำรุงรักษาดีๆ วิ่งได้ 7-8 แสน ก.ม.
ดังนั้นการยืดเวลาโมเดลเชนจ์ของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นออกไป
น่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
ลูกค้าก็ได้ประโยชน์จากการซื้อรถยนต์ที่ถูกลงด้วย


ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก



//men.mthai.com/car/content/2048










Free TextEditor



Create Date : 22 สิงหาคม 2554
Last Update : 22 สิงหาคม 2554 8:54:44 น.
Counter : 895 Pageviews.

3 comments
  
...
โดย: prayakong วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:9:27:04 น.
  
ยืดนานๆก็ดีนะครับ..จะได้ไม่ตกรุ่นเร็วเหมือนโทรศัพท์..
โดย: Ujiba วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:10:22:21 น.
  
จริงเหรอจะซี้อรถได้ถูก แค่ไมเนอเชนก็ปรับราคาขึ้นตลอด
โดย: ได้ตลอด IP: 58.8.109.128 วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:16:41:59 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bobobull
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Fight.. Fight !!
สิงหาคม 2554

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
20
28
29
 
 
All Blog