เราพบกันในนามความรู้สึก
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเต็มใบหรือยัง???

วันนี้ในอดีตหลายปีก่อนโน้น คำว่า "ประชาธิปไตย" ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยคุ้นเคย และไม่ค่อยจะเข้าใจด้วยซ้ำไปว่า การที่ผู้คนออกมาเรียกร้อประชาธิปไตยกันนั้นมันคืออะไรกันแน่ เมื่อหยุดยืนอยู่กับที่ ณ ปัจจุบันแล้วมองภาพประชาธิปไตยในวันนี้ ให้น่าแปลกใจว่าผู้คนในวันนี้ก็ยังมีพฤติกรรมมิได้ต่างไปจากเดิมแม้กาลเวลาจะล่วงพ้นมานาน




คำว่า "ประชาธิปไตย "ในความหมายของท่านปรีดี พนมยงค์ ให้นิยามคำว่า " ประชา "หมายถึง"หมู่คนคือปวงชน" กับคำว่า "อธิปไตย" หมายถึง"ความเป็นใหญ่"




คำว่า" ประชาธิปไตย" จึงหมายถึง " ความเป็นใหญ่ของปวงชน" และถ้าค้นหาความหมายนี้ในราชบัณฑิตยสถานจะพบคำว่า" ประชาธิปไตย"หมายถึง " แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ " เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของมนุษยชนนั่นเอง
จากวันวานเมื่อเมืองไทยเราก้าวพ้นยุคสมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิราช ก้าวสู่รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยบุคคลคณะหนึ่ง ได้อ้างถึงอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยและเรียกร้องขอพระราชทาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ท่านทรงเตรียมการที่จะมอบอำนาจของพระองค์ให้อาณาประชาราษฎร์ ก่อนที่จะมีการเรียกร้องเสียอีก ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานสิทธิประชาธิปไตยคืนแก่ปวงชนชาวไทย นับจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่าเจ็ดสิบปี ก็ยังมีข้อให้ถกเถียงกันอยู่เสมอว่า" ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่เต็มใบหรือยัง???"



เท่าที่ย้อนรอยอดีตพบว่าระบบการเมืองไทยมีสถิติการทำการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลบ่อยมากถ้าหากใครพอจำได้สมัยวัยเยาว์เรามักจะได้ยินเสียงจากวิทยุ หรือไม่ก็จากโทรทัศน์ ด้วยเสียงเข้ม ๆ ว่า



" ประกาศ ประกาศแถลงการณ์คณะปฎิวัติฉบับที่..." แล้วภาพรถถังขับเคลื่อนไปตามท้องถนน เหล่าทหารพากันเดินสวนสนามขวักไขว่ มีการประกาศเคอร์ฟิว ดูเป็นที่เกรงขามแก่ประชาชนยิ่งนัก และคงพอ ๆ กับการฉุดกระชากลากเศรษฐกิจของประเทศให้ทรุดลงอย่างฮวบฮาบ เพราะนักลงทุนต่างชาติมิอาจหาญกล้าเข้ามาลงทุนในประเทศของเราแต่อย่างใด





ภาพลักษณ์ของการปกครองในระบอบเผด็จการ สร้างความกดดันให้แก่ประชาชน นิสิตนักศึกษาที่มิอาจทนกับรูปแบบการปกครองในลักษณะอย่างนี้ได้ ท้ายสุดจึงได้มีการเคลื่อนไหวขับเคลื่อนเพื่อต่อสู้ เรียกร้องหาประชาธิปไตยกลับคืนมา จากการวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มเล็ก ๆ เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ จนออกไปสู่การเดินขบวนบนท้องถนน โดยเฉพาะถนนราชดำเนินอันเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ดังนั้นจึงเป็นถนนให้ประชาชนผู้ใฝ่หาประชาธิปไตยมุ่งสู่ถนนสายนี้กันอย่างเนืองแน่น และอย่างที่เราได้ทราบ ๆ กันจากแฟ้มบันทึกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองไทย ถึงเหตุการณ์วันวิปโยค ที่เกิดการปะทะกันระหว่างหทารกับประชาชน นิสิตนักศึกษา!!!!


แม้เหตุการณ์นั้นจะผ่านมาเนิ่นนานแล้ว แต่ก็เชื่อว่าจะยังมิอาจลบเลือนแต่กลับจะฝังรากลึกอยู่ในใจความคิด ความทรงจำของผู้คนอีกหลาย ๆ คนที่ครั้งหนึ่งได้ร่วมรับรู้อยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น


จะว่าไปประเทศของเราก็บอบช้ำมามากมายแล้วเหลือเกิน ต้องเสียทั้งเลือดและน้ำตามากมายขนาดไหน กว่าที่เราจะได้กลับคืนสู่การปกครองโดยมีรัฐบาลที่ได้มาอย่างถูกต้อง และที่สำคัญมาจากการเลือกตั้ง ทุกวันนี้เรามิได้มีผู้นำรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ไม่ได้มีรัฐบาลทหารที่มีหทารเป็นนายกรัฐมนตรี หรือมีนายกรัฐมนตรีที่หทารแต่งตั้ง แต่มีผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้ง

มีรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงของประชาชนจริง ๆ นับได้ว่ารูปแบบการเมืองของเราเดินมาถูกทางแล้ว รัฐบาลชูนโยบายและบริหารประเทศตามนโยบายที่ได้วางไว้ รัฐบาลใดอ่อนแอ มีผลงานไม่เข้าตาประชาชน ท้ายที่สุดเมื่อครบรอบวาระที่อยู่ในตำแหน่ง ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน ด้วยการไม่เลือกให้เข้าไปบริหารประเทศอีก


พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ในพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า " พลเมือง" อันหมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน "วิถี" หมายถึง สาย แนวทาง ถนน " ประชาธิปไตย" หมายถึง แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ดังนั้นจึงมีผู้สรุปไว้


พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย น่าจะหมายถึงพลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่น ในหลักศีลธรรม และคุณธรรมของศาสนา มีกลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตปฎิบัติตามกฎหมาย ดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคม และประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง





หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญคือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐและหลักความเสมอภาคคือทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐมีสิทธิเสรีภาพ มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชั้น


ประชาธิปไตย ใช้หลักการเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างสันติวิธี และอยู่บนหลักการประนีประนอม เพื่อลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือเพื่อยุติปัญหาร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและที่สำคัญคือการใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของสังคม


การหยิบยกอ้างหรือเรียกร้องประชาธิปไตยที่เกินขอบเขต หรือละเลยหลักกฎหมายที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของสังคมเริ่มปรากฎให้เห็นเด่นชัดในยุค พ.ศ.2548 เป็นต้นมา เมื่อกลุ่มคนหรือประชาชนบางส่วนมองเห็นว่าข้าราชการหรือผู้มีอำนาจทางการเมืองมีอำนาจหรืออิทธิพลครอบงำการเมืองของประเทศมากเกินไป การขาดสภาผู้แทนราษฎรที่เข้มแข็งยากที่ใครจะเข้าทำ

การตรวจสอบสุดท้ายจึงนำไปสู่ทัศนคติการมองว่าผู้นำหรือรัฐบาลยุคนี้ขาดความ
ชอบธรรมทางการปกครอง และได้อ้างสิทธิของการเป็นตัวแทนของประชาชน การพยายามกดดันในลักษณะของการเรียกร้อง การพยายามเข้าไปมีอำนาจ หรืออิทธิพลต่อการตัดสินใจ ตกลงใจและการกำหนดนโยบายของผู้นำหรือรัฐบาลเกินขอบเขต

ความพยายามยัดเยียดระบบความเชื่อของตนให้สังคม โดยการอ้างนักวิชาการ ผู้มีชื่อเสียงในวงสังคมเพื่อโน้มน้าวคนในสังคมที่ยังคิดแตกต่าง โดยสร้างกระแสผูกขาดความรักชาติไว้แต่ฝ่ายเดียวสถาปนากลุ่มและสัญลักษณ์ของกลุ่ม ในรูปแบบเผด็จการบนหลักการของประชาธิปไตย โดยอ้างแนวความคิดว่ามีความชอบธรรม มีเสรีภาพและมีความเสมอภาคในการแสดงออก


การอ้างถึงเจตนารมณ์ของประชาชนทั้งที่มิใช่เสียงส่วนใหญ่ของประเทศ การไม่เคารพเสียงข้างมากที่ได้ใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง ด้วยการพยายามทุกวิถีทางเพื่อยึดอำนาจจากผู้นำ และรัฐบาลคืนทั้ง ๆ ที่รัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารประเทศอยู่ในเวลานี้นั้น มาจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ความพยายามโค่นล้มผู้นำและรัฐบาล ก็มิได้แตกต่างไปจากความพยายามทำการปฎิวัติ
ในยุคย้อนอดีตแต่อย่างใดเลย ภาพของผู้นิยมระบอบเผด็จการกลับสะท้อนให้เห็นเด่นชัด ใครที่ให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะสวมหมวกแบบใดย่อมยากหลีกเลี่ยงภาพที่ถูกดูดกลืนเข้าไปสู่ระบบการใช้อิทธิพลครอบงำ การคัดค้าน การโต้แย้ง อย่างเกินกลไกการปกครอง ทำให้เกิดคำถามในวันนี้ขึ้นมากับคำว่า

" ประชาธิปไตย " ว่า....

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
...........ที่เต็มใบหรือยัง.........???"




จากคุณ : ยี่หร่า@ - [ 1 ส.ค. 49 07:02:36











 

Create Date : 05 ตุลาคม 2549
1 comments
Last Update : 6 ตุลาคม 2549 0:13:46 น.
Counter : 879 Pageviews.

 



ไม่น่าเชื่อเลยว่าหลังจากที่ขีดๆ เขียน ๆ เรื่องเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยไปแล้วกลับต้องมาอึ้งกับสิ่งที่เราเขียนไป
จนได้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีเหตุสลดทหารเข้า
ยึดกุมอำนาจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรที่กำลังอยู่ต่าง
ประเทศ เป็นเรื่องน่าเศร้ามากเมื่อประชาธิปไตยถูกฉีก
ขาดอย่างไร้ยางอาย


"จะว่าไปประเทศของเราก็บอบช้ำมามากมายแล้วเหลือเกิน ต้องเสียทั้งเลือดและน้ำตามากมายขนาดไหน กว่าที่เราจะได้กลับคืนสู่การปกครองโดยมีรัฐบาลที่ได้มาอย่างถูกต้อง และที่สำคัญมาจากการเลือกตั้ง ทุกวันนี้เรามิได้มีผู้นำรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ไม่ได้มีรัฐบาลทหารที่มีหทารเป็นนายกรัฐมนตรี หรือมีนายกรัฐมนตรีที่หทารแต่งตั้ง แต่มีผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้ง"



เศร้าและหดหู่ค่ะ ไม่อยากเชื่อว่าสิ่งที่เราเพิ่งคิดเพิ่งเขียน
ไปกลับตาลปัตรซะอย่างนี้

กลายเป็นว่านายกคนที่ 24 มาจากทหารปฎิรูปการปกครอง
ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุข เป็นผู้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เฮ้อ หมดกัน!!!!


ประเทศชาตินามว่า " ประเทศไทย " ก็คราวนี้ละงามหน้า
จริง ๆ ค่ะ

 

โดย: ยี่หร่า@ 18 ตุลาคม 2549 19:09:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ยี่หร่า@
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยี่หร่า@'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.