ฉันเป็นดั่งนกไร้ขา บินไปบินมาไร้จุดหมาย โอกาสลงดินนั้นไซร้ ต่อเมื่อความตายมาเยือน
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

+-+-+-+-+-+แนะนำให้อ่าน: คำ ผกา+-+-+-+-+-+

+-+-+-+-+-+แนะนำให้อ่าน: คำ ผกา+-+-+-+-+-+


บทความโดย บดินทร์

เผยแพร่ครั้งแรก ที่ //www.poppaganda.net/lifestyle/411/


ณ ชั่วโมงนี้ คงไม่มีนักเขียนท่านไหนโด่งดังและเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากไปกว่า"คำ ผกา" หรือในอีกนามปากกาว่า "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" (เธอเคยอธิบายว่าร่างทรงเวลาเป็นฮิมิโตะนั้น ตัวหนังสือที่ออกมาจะน่ารักกุ๊กกิ๊กสดใสกว่าตอนเป็นคำผกา) ด้วยงานเขียนบทความเชิงการเมืองของเธอในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์นั้นทำให้เธอ ถูกกล่าวขวัญถึงในวงกว้าง ทั้งในเชิงชอบสุดขั้วและไม่ชอบสุดขีดจนมีหลายคนพูดในเชิงขบขันว่า ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์นั้นเธอได้จองสัมปทานอยู่ 2คอลัมน์ นั่นคือ คอลัมน์ของเธอเองกับคอลัมน์ตอบจดหมายซึ่งมักจะมีผู้อ่านเขียนมาชมเชยหรือ ติเตียนอยู่เป็นประจำไม่ขาดสาย


แม้จะไม่เห็นด้วยกับเธอ แต่ถึงกระนั้นมีสิ่งที่ผู้อ่านหลายคนอดที่จะชื่นชมเธอไม่ได้นั่นคือ ความตรงไปตรงมา ความกล้าและความชัดเจนในงานของเธอเธอไม่เคยแทงกั๊กหรือพูดลอยๆ โดยไม่สนใจบริบททางสังคมการเมือง (ซึ่งเป็นหนทางที่น่าจะได้รับคำตำหนิน้อยกว่า)แต่จะแสดงความเห็นของเธอออกมา อย่างชัดเจน ถึงแม้จะดูแรงและเกรี้ยวกราดแต่ความเกรี้ยวกราดในบทความของเธอล้วนแต่ถูก เขียนด้วยเชิงความคิดที่เป็นระบบและตรรกะที่แม่นยำทำให้ความแรงและความ เกรี้ยวกราดนั้นไม่ใช่ความแรงที่ผ่านหูซ้ายทะลุหูขวาแต่เหมือนเป็นเครื่อง มือที่ทำสารที่เธอต้องการสื่อนั้นเข้าไปกระแทกหัวคนอ่านเพื่อเป็นการกระตุ้น ให้คิดต่อไปอีกที


คิดเล่นๆ ว่า หากเปรียบบทความของเธอเหมือน facebook แล้วบทความของเธอไม่ได้เขียนเพื่อให้คนมากดlike เยอะๆ แต่เป็นการเขียนเพื่อโยนประเด็นเพื่อให้ผู้อ่านเข้ามาถกเถียงกันใน ช่องcomment มากกว่า


จุดเด่นในงานของคำ ผกาที่เห็นได้ชัดมีอยู่สองอย่างนั่นคือ ข้อแรกตรรกะและระบบความคิดในงานเขียนของเธอที่เป็นระบบและแม่นยำ อาจเป็นเพราะ แนวคิดในงานเขียนของเธอทุกชิ้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมดนั่นคือ 1.การยึดมั่นในแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ทำให้เธอมีแนวคิดต่อต้านรัฐประหารและการใช้อำนาจนอกระบบทุกชนิดในการแทรกแซง ประชาธิปไตย2.ต่อต้านแนวคิดแบบปิตาธิปไตย (Patriarchy - หรือแนวคิดแบบผู้ชายเป็นใหญ่) แน่นอนว่าย่อมมีเธอมองว่าเธอเป็นเฟมินิสต์ แต่แน่นอนว่าเธอไม่ใช่เฟมินิสต์ที่ถูกทำให้ simplifiedไปอย่างพฤติกรรมเกลียดมนุษย์เพศชาย แต่เป็นเฟมินิสต์ที่มีความรักความหลงและรู้เท่าทันในอำนาจของบุรุษและอิสตรี 3.แนวคิดต่อต้านอำนาจนิยม โดยเธอเชื่อว่าอำนาจทุกอย่างต้องสามารถตรวจสอบได้จึงไม่แปลกที่บทความของเธอ นอกจากจะด่านักการเมืองแล้ว ยังด่าถึงกลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนโดยไม่คำนึงถึงว่า คนที่เธอเขียนตำหนินั้นจะมีภาพพจน์ดีแค่ไหนในสังคม เช่นนักวิชาการ ราษฎรอาวุโสหรือพระนักเขียนเซเลบชื่อดัง เป็นต้น ด้วยความที่เธอยึดมั่นในแนวคิดหลักดังกล่าวอย่างมั่นคงนั่นทำให้ไม่ว่าเธอจะ เขียนเรื่องการเมือง เรื่องวัฒนธรรม เรื่องหนัง เรื่องเพศเรื่องพระ เรื่องอาหาร เรื่องเซ็กซ์ แนวคิดที่ซ่อนอยู่จึงไม่หลุดตรรกะและใครที่คิดจะโต้แย้งเธอก็ต้องแย้งที่แนว คิดของเธอซึ่งถือเป็นเสาหลักของบทความทั้งหมดให้ได้


จุด เด่นอย่างที่สองในงานเขียนของเธอ ได้แก่ การใช้คำในบทความของเธอ แม้ว่าในบทความของเธอจะเต็มไปด้วยทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์มากมาย แต่เธอกลับเขียนเรียบเรียงออกมาได้อย่างเป็นระบบจัดจ้าน จิกกัด อ่านง่าย ไม่เหมือนอ่านบทความวิชาการแต่เหมือนฟังคนปากจัดแถวบ้านอธิบายให้ฟัง ดังที่อ.นพพร ประชากุลผู้ล่วงลับเคยให้นิยามบทความของเธอว่า"เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียดปลอดศัพท์วิชาการ สร้างความรู้สึกลวงว่าคำวิจารณ์ต่างๆนั้นออกมาจากปากผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่ง ซึ่งแม้จะมิใช่กุลสตรีแต่อย่างน้อยก็ไม่ใช่ผู้คงแก่เรียน" ซึ่งนั่นทำให้บทความของเธอสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลและง่ายต่อการเข้าถึง มากกว่าบทความวิชาการที่อ่านแล้วชวนให้ปวดหัวทั่วๆไป


กล่าว โดยสรุปคือ ความดีเด่นของผลงานเธอไม่ได้อยู่ที่การคิดทฤษฎีหรือค้นพบหลักการใหม่ๆแต่ อยู่ที่การนำหลักความคิด ทฤษฎี หลักการที่ยุ่งยากมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย นั่นเอง!


มี หลายท่านที่ติดใจบทความของคำ ผกา ในมติชนสุดสัปดาห์ (หนังสือรวมบทความในมติชนสุดสัปดาห์ของเธอมีชื่อว่า"ก็ไพร่นี่คะ" พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อ่าน มีกำหนดออกวางแผงเร็วๆนี้ ) แล้วอยากลองอ่านหนังสือของเธอดู แต่ไม่รู้จะเลือกอ่านเล่มไหนดีเพราะมีให้เลือกเยอะแยะละลานตาไปหมด ผมในฐานะที่เคยอ่านผลงานของเธอมาเยอะพอสมควร (หรือจะให้พูดตรงๆก็คือทุกเล่ม) จึงอยากเขียนบทแนะนำ "หนังสือของคำ ผกาที่นักอ่านไม่ควรพลาด" โดยเลือกมา5+2 เล่ม (อันที่จริงก็ 7 เล่มนี่แหละ ไม่รู้จะเขียนให้เว่อร์ทำไม)โดยได้มีบอกเล่าถึงเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม ว่าเป็นอย่างไร เผื่อใครที่ชอบแนวไหนจะได้ไปหาซื้อมาอ่านได้ตามชอบใจ นี่เป็นกาแนะนำโดยอ้างอิงจากรสนิยมส่วนตัวของผมเพียงคนเดียวซึ่งแน่นอนว่า อาจจะไม่ต้องกับรสนิยมของผู้อ่านท่านอื่นก็ได้ อีกทั้งหนังสือทั้งหมดที่แนะนำมาทั้งหมดผู้เขียนไม่ได้รับค่าโฆษณาจากสำนัก พิมพ์ไหนทั้งสิ้น (แต่สำนักพิมพ์ไหนจะส่งเงินมาเป็นค่าโฆษณามาให้ก็ได้ผู้เขียนไม่รังเกียจ แหะๆๆ)



เรามาดูกันเลยดีกว่าครับว่า หนังสือของคำ ผกาหรือในอีกนามปากกาว่าฮิมิโตะ ณ เกียวโต ที่อยากแนะนำให้อ่าน มีเล่มไหนกันบ้าง





1.กระทู้ดอกทอง –คำ ผกา (สำนักพิมพ์อมรินทร์,2546)


หาก จะให้เลือกหนังสือเล่มที่เธอได้ปล่อยของออกมามากที่สุดและแสดงให้เห็นถึง ความสามารถทางด้านวิชาการของเธอออกมามากที่สุดผมขอเลือกหนังสือเล่มนี้เป็น ตัวเลือกแรก


กระทู้ดอกทอง เป็นหนังสือในเชิงวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมแต่ไม่ใช่เป็นการวิจารณ์แบบตรงๆ ว่าเล่มนี้ต้องการจะสื่ออะไร บรรทัดนี้หน้านั้นแปลว่าอะไรดีไม่ดี สนุกหรือไม่สนุก แต่เป็นการวิจารณ์ในรูปแบบที่เราเรียกว่า "การอ่านระหว่างบรรทัด"โดยเธอจะทำการค้นหาถึงแนวคิดมายาคติและอุดมการณ์ที่ ซ่อนอยู่ในนิยายเล่มนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนสื่อออกมาโดยไม่รู้ตัวนั่น คือไม่ได้อ่านว่าเขาตั้งใจเขียนอะไรแต่อ่านว่ามีอะไรบ้างที่นักเขียนเขียน ออกมาโดยไม่ตั้งใจแต่มันสะท้อนถึงมายาคตินั้นๆ(ยกตัวอย่างเช่น สี่แผ่นดินแผงไปด้วยแนวคิดราชาชาตินิยมหรือฉุยฉายที่สื่อถึงชาติไทยประชาชน ไทยที่ถูกล่อลวงแย่งชิงไปมาระหว่างผู้มีอำนาจเป็นต้น) โดยใช้หลักทฤษฎีต่างๆ มาจับ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สตรีนิยมและวรรณกรรม


อ่านที่ผมเขียนบรรยายแล้ว อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะเข้าใจยากชวนให้ปวดหัว หรืออ่านไปกินยาไมเกรนไป แต่ความเป็นจริงแล้วกลับตรงข้าม เพราะสำนวนของคำผกาในเล่มนี้ล้วนออกมาร้อนแรงและเผ็ดร้อนจนทำให้ผู้อ่านวาง แทบไม่ลง เรียกได้ว่า หนังสือบางเล่มอ่านบทวิจารณ์ของเธอแล้วมันกว่าอ่านตัวหนังสือจริงเสียอีก!


เนื้อหา ส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ รวบรวมเอามาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอซึ่งว่าด้วยบทบาทของวรรณกรรมไทย กับแง่มุมสตรีนิยมบทความทุกชิ้นในนี้ล้วนแต่มีเนื้อหาที่แน่นปึ้ก เป็นการพูดถึงนิยายทั้งเล่มโดยรวมไม่ได้เอามาแค่บทสองบท มีการอ้างอิงเลขหน้าของนิยายทุกครั้งสามารถเอาไปใช้อ้างอิงในงานวิชาการเล่ม อื่นได้ และคุณจะทึ่งกับบทความของเธอในเล่มนี้มากขึ้นเมื่อคิดว่ามันคือบทความที่เธอ เขียนเธอเขียนส่งให้นิตยสารสยามรัฐรายสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์ต่อหนึ่งเล่ม! ลำพังแค่อ่านหนังสือให้ได้สัปดาห์ละเล่มก็ถือว่าเป็นภารกิจที่ยากลำบากแล้ว การวิเคราะห์หนังสืออย่างทะลุปรุโปร่งให้ได้สัปดาห์ละเล่มถือว่าถ้าไม่อึด จริงทำไม่ได้แน่นอน


การที่หนังสือเล่มนี้ของเธอกล่าวขวัญ ถึงอย่างมากสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เธอเป็นคนกล้า "เล่นของสูง" ไม่ว่าจะเป็นนิยายคลาสสิคซึ่งเป็นที่รักของนักอ่านมากมายอย่างข้างหลังภาพ หรือสี่แผ่นดินนั้นล้วนแต่เคยถูกเธอชำแหละจนถูกแฟนคลับของนิยายเหล่านั้นรุม ประณามมาแล้ว

ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้หายากและขาดตลาดจนไม่สามารถหา ซื้อได้ในร้านหนังสือทั่วไปอีกใครที่อยากได้จำเป็นต้องใช้คำพยายามสักหน่อย แต่ก็ถือว่า เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทั้งคนที่ชอบอ่านบทวิจารณ์และคนที่ชอบงานเขียนคำผกาไม่ ควรพลาดอย่างสิ้นเชิง!





2.จดหมายจาก เกียวโต – ฮิมิโตะ ณ เกียวโต (สำนักพิมพ์อมรินทร์,2545/ฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์, 2553)+จดหมายจากสันคะยอม- ฮิมิโตะ ณ เกียวโต (สำนักพิมพ์สารคดี, 2546)


ผล งานชิ้นต่อมา เป็นซีรีย์บทความจดหมายของเธอ นั่นคือจดหมายจากเกียวโต และจดหมายจากสันคะยอม ซึ่งแม้ชื่อหนังสือจะเป็นจดหมายแต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะเขียนมันออกมาใน รูปแบบจดหมายจริงๆ ตรงข้ามเธอเขียนมันออกมาในรูปแบบบทความธรรมดาๆ โดยจดหมายจากเกียวโตนั้นเป็นผลงานเล่มแรกในชีวิตการเป็นนักเขียนของเธอ(แม้ จะเป็นเล่มแรกแต่ฝีมือไม้ลายมือในการเขียนของเธอในเล่มนี้ก็ไม่ธรรมดาเลย) ว่าเรื่องราวต่างๆในเกียวโตซึ่งเธอเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตอนเรียนต่อปริญญา โท-เอกโดยเธอได้พูดถึงแง่มุมที่น่าสนใจต่างๆเช่น คนญี่ปุ่น แฟชั่น อาหาร บ้านมหาวิทยาลัย ความสัมพันธ์ และวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวญี่ปุ่นที่แตกต่างจากบ้านเราส่วนเล่มที่สองเป็นผลงานต่อเนื่องมาจาก ชิ้นแรก โดยเธอเปลี่ยนมาเขียนถึงสันคะยอมหมู่บ้านเล็กๆ ที่เธอเติบโตมาและกลับอาศัยอยู่ที่นี่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่เธอนำมาเขียนนั้นมีทั้งเรื่องใหญ่โตระดับประเทศไปจนถึงเรื่องยิบ ย่อยที่ต้องเป็นคนชอบสังเกตถึงจะสังเกตเห็นถึงสิ่งเหล่านั้น


หนังสือ ชุดนี้อ่านง่ายและมีความ feel good ที่สุดในบรรดาหนังสือของเธอทั้งหมดผู้อ่านท่านไหนที่ไม่ชอบอ่านเรื่องราว เครียดๆ หรือชวนปวดหัว ผมอยากแนะนำให้ท่านเริ่มที่2 เล่มนี้ก่อนครับ


จดหมาย จากโตเกียวเพิ่งมีการจัดพิมพ์ใหม่และเพิ่งออกวางแผงเมื่อไม่นานมากนี้สามารถ หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปส่วนส่วนจดหมายจากสันคะยอมหายากกว่าเล่มแรก นิดหน่อย ท่านสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือที่ใหญ่มากๆหรือไม่ก็สั่งซื้อที่สำนัก พิมพ์สารคดีได้เลย





3.ยุให้รำตำให้รั่ว - ฮิมิโตะ ณเกียวโต (สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2548)


หาก ใครที่ติดใจบทความในมติชนสุดสัปดาห์แล้วอยากอ่านบทความที่มีสไตล์ใกล้เคียง กันหนังสือที่ผมคิดว่าได้อารมณ์ใกล้เคียงกับสไตล์นั้นที่สุดได้แก่ ยุให้รำตำให้รั่ว เล่มนี้ครับ


เพียงแต่หนังสือเล่มนี้ไม่ ได้วิจารณ์ถึงการเมืองในระบบใหญ่ แต่พูดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเราซึ่งเราอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติหรือเรื่อง เล็กน้อยทั้งเรื่องครู อาหาร นางงาม นม วงการบันเทิง ปกนิตยสาร ทาทา ยัง ชีวิตกลางคืนตลอดไปจนถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่ทันสมัยต่างๆ (แน่นอนว่าตอน นี้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะไม่ทันสมัยแล้วแต่แนวคิดในบทความยังน่าสนใจเสมอ) แน่นอนว่าถ้าอ่านเผินๆ แล้วเราอาจจะมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาแต่คำผกาได้ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรามองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ หรือเรื่องปกติเหล่านั้นล้วนแต่มีนัยยะทางการเมืองมายาคติและรหัสทาง วัฒนธรรมแฝงอยู่มากมาย

แน่นอนว่า บทความในหนังสือเล่มนี้เข้าใจไม่ยาก อ่านสนุกและถ้าจะให้ครบเครื่องมากขึ้น แนะนำให้ท่านอ่านคู่กับหนังสือมายาคติของโรลองบาร์ตส์และเชิงอรรถวัฒนธรรม ของชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์แล้วท่านจะเข้าใจว่ามีการเมืองและวัฒนธรรมแฝงอยู่ในสิ่งเล็กๆ รอบตัวเสมอ


หนังสือเล่มนี้ขาดตลาดไปนานแล้ว และไม่มีการพิมพ์ใหม่ ทำให้หาอ่านยากเล็กแนะนำว่าให้ลองหาตามห้องสมุด หาซื้อตามร้านหนังสือมือสองหรือไม่ก็หาเช่าตามร้านหนังสือเช่าดู





4.รักไม่เคยชิน – คำ ผกา (สำนักพิมพ์เลมอนทรี,2547/ฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์, 2552)


ดูจากชื่อหนังสือ น่าจะพอทราบกันแล้วว่าหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของความรักล้วนๆ (ผสมความใคร่นิดหน่อย)


จุด เด่นในงานเขียนของคำ ผกาอีกอย่างคือ เธอเขียนเรื่องความรักออกมาได้อย่างมีรสชาติได้อารมณ์ โดยรักไม่เคยชินเล่มนี้จะแตกต่างจากหนังสือว่าด้วยความรักของเธอเล่มอื่นตรง ที่เล่มอื่นเธอจะเขียนเรื่องราวความรักแบบ emotional แต่เล่มนี้เธอวางตัวเองไว้เป็นคนนอกและมองความรักในแง่มุมทางสังคมต่างๆทั้ง เรื่องการมีกิ๊ก ชู้ เซ็กซ์ การเสียตัว เรื่องของผัวเดียวเมียเดียว ความสวยความโรแมนติค วัฒนธรรม และอีกหลายแง่มุมแห่งความรัก ซึ่งคุณคำ ผกาได้จับแง่มุมความรักต่างๆทั้งที่เราคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติหรือเป็นสิ่ง ที่เราคิดว่ามันเป็นสัจธรรมขึ้นมาส่องสำรวจใหม่อย่างละเอียดแม้รูปเล่มภาย นอกจะดูเหมือนหนังสือแฉชีวิตรักทั่วไป แต่จริงๆ แล้วหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทำให้ผู้อ่าน"ตาสว่าง"เรื่องแง่มุมความรัก และทำให้ใครหลายคนย้อนกลับไปสำรวจนิยายความรักของตัวเองอีกครั้ง


หาก คุณเชื่อว่าความรักเป็นสิ่งบริสุทธิ์ ขึ้นกับหัวใจเพียงอย่างเดียวยึดมั่นใน platonic love คุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เธอเขียน แต่แน่นอนว่าสิ่งที่เธอเขียนจะติดอยู่ในหัวคุณไปอีกนานเลยทีเดียว


หนังสือเล่มนี้เพิ่งมีการตีพิมพ์ขึ้นมาใหม่อีกรอบ ปัจจุบันมีขายตามร้านหนังสือทั่วไป








5.เมนู ปรารถนา – ฮิมิโตะ ณเกียวโต (สำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด, 2546/ฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์, 2552) + ยำใหญ่ใส่ความรัก – ฮิมิโตะ ณ เกียวโต (สำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด, 2546)


นอก จากแนววิพากษ์สังคมแล้ว งานเขียนอีกแนวหนึ่งที่คำ ผกาได้สร้างชื่อเอาไว้นั่นคือ บทความเชิง Emotional ซึ่งเธอเคยเขียนบทความแนวนี้เอาไว้อยู่ในพ็อคเก็ตบุ๊คหลายเล่มยกตัวอย่าง เช่น จักรวาลในสวนดอกไม้ ที่เพิ่งออกวางแผงซึ่งเธอเขียนถึงต้นไม้เชื่อมโยงกับอารมณ์ความรักแต่ หนังสือแนวนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องอาหารอย่างเมนูปรารถนาและยำใหญ่ใส่ความรัก


การ จะเขียนบทความแนว Emotional ให้ดีนั้นผู้เขียนจำเป็นจะต้องเปิดเผยถึงอารมณ์ความรู้สึกทุกซอกมุมให้ผู้ อ่านได้รู้ โดยทั้ง2 เล่มนี้ คำ ผกาได้เขียนถึงการทำอาหารของเธอสลับกับประสบการณ์รัก มุมมองชีวิตความเหงา เซ็กซ์ และอีกหลายแง่มุมในชีวิตเธอ ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแง่มุมโรแมนติคและอ่อนไหวซ่อนอยู่ในตัวหญิงสาวที่ หลายคนมองว่าเป็นผู้หญิงแกร่งคนนี้


มีหลายท่านบอกว่าอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วทำให้คิดถึงหนังเรื่อง Eat, Drink, Man Woman ของอัง ลีเลยทีเดียว


เพราะนอกจากจะชวนให้น้ำลายสอเพราะความน่าอร่อยของอาหาร แต่ละประเภทแล้วยังชวนให้เคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์สุข เศร้า เหงา รัก และรสชาติของความเป็นมนุษย์อีกด้วย


หนังสือทั้งสองเล่ม มีวางขายทั่วไปตามแผงหนังสือ


*************************************




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2553
16 comments
Last Update : 13 สิงหาคม 2553 8:19:42 น.
Counter : 8648 Pageviews.

 

เคยอ่านแต่จากปลาร้าถึงวาซาบิค่ะ โดยส่วนตัวชอบวิธีการเล่าของคุณฮิมิโตะนะค่ะ และที่สำคัญคือชอบในความตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมของนักเขียนค่ะ มันเป็นเสน่ห์ดีออกแต่ยังไม่เคยอ่านในนามปากกาคำผกา เข้าใจว่าน่าจะแรงได้อยู่

 

โดย: lavender_jam 13 สิงหาคม 2553 13:13:27 น.  

 

ชอบเล่มเมนูปรารถนาที่สุด

อร่อย ล้ำลำ

 

โดย: แพนด้าฯ IP: 125.25.69.45 13 สิงหาคม 2553 13:37:06 น.  

 

เล่มด้านบน..ไม่เคยอ่านเลยค่ะ
เคยอ่านหนังสือของเธอเล่มเดียวเท่านั้นเอง
คือ "ฉัน-บ้า-กาม"...ยอมรับว่า อ่านสนุก ...สำนวนเพลิน

เราว่าคำ ผกา ..เป็นนักเขียนที่มีพรสวรรค์..
คือเล่าเรื่องได้สนุก สำนวนดี ตีแสกหน้า..บางครั้งตรงใจ

แต่ส่วนตัว...อ่านแล้วไม่ค่อยปลื้มเท่าไหร่
ไม่ใช่ส่วนที่โผงผางหรือตรงไปตรงมานะคะ...สิ่งที่ไม่ชอบ
น่าจะเป็นแนวคิดบางแนวคิด ที่เธอนำเสนอมากกว่า..แต่บางคนเขาก็ชอบ

 

โดย: nikanda 13 สิงหาคม 2553 18:08:16 น.  

 

ยังไ่ม่เคยอ่านซักเล่มเลยครับ คงต้องโน๊ตไว้ไปหามาอ่านบ้าง (แต่จะหาได้ไหมคงอีกเรื่องนึงครับ คงหาเล่มที่มีตามแผงก่อน)

ขอบคุณสำหรับการแนะนำครับท่านพี่

 

โดย: Seam - C IP: 58.9.194.26 13 สิงหาคม 2553 21:19:38 น.  

 

ไม่ใหวครับ
ที่เขียนในมติชน ด่าไปหมดแดกดัน เสียดสีงานเขียนยังกะสมัยซ้ายจ๋ากำลังแรง

 

โดย: djorgeff IP: 192.168.200.132, 110.164.246.195 14 สิงหาคม 2553 3:39:22 น.  

 

ชอบฮิมิโตะ ณ เกียวโต มากกกกกกกกกก ซื้อหนังสือของเธอทุกเล่มเลย แต่ก็มีบางเล่มที่ยังหาซื้อไม่ได้ อย่างกระทู้ดอกทอง, จดหมายจากเกียวโต ชอบสำนวน แนวความคิด

ถ้าชอบอีกตอนนี้ก็มีเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสาร "ดิฉัน" ออกรายปักษ์

ชอบเวลาเธอเขียนถึงต้นไม้ใบหญ้าและอาหารเป็นพิเศษ แบบ...เขียนซะเห็นภาพเลย ๕๕

ล่าสุดต้นปีได้หนังสือ เซี่ยงไฮ้เบบี้ จากบู๊ธนายอินทร์มาเล่มละ ๕๐ บาท !!! แทบเป็นลมด้วยความดีใจ ^^

 

โดย: pimpa_11 16 สิงหาคม 2553 18:34:33 น.  

 

ชอบบล้กของคุณค่ะ แล้วก็ชอบคุณ คำ ผกา ด้วยชีแรงได้ใจดีค่ะ....

 

โดย: คนผ่านทาง IP: 118.172.34.165 19 กันยายน 2553 19:16:42 น.  

 

เป็นคนหนึ่งค่ะ ที่ยอมรับว่างานเขียนของนักเขียนคนนี้แรง และดิฉันมักออกอาการขอค้านในใจเงียบๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่สามารถโต้แย้งประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับเธอได้เลย เพราะตรรกะ และประเด็นที่เธอหยิบยกขึ้นมาเขียน มันถูกต้องเสียนี่กระไร

เธอเป็นนักเขียนคนหนึ่งที่ดิฉันยอมรับว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลแต่กินน้ำแกงเลยทีเดียว

ถึงจะรู้สึกว่าเธอเป็นคนลักษณะประเภทที่ดิฉันไม่ขอคบด้วยโดยเด็ดขาด แต่สำหรับงานเขียนของเธอนั้น วางไม่ลงจริงๆ และบอกตรงๆ ว่าดิฉันมีหนังสือหลายเล่มของเธอในครอบครองไม่น้อยเสียด้วย

 

โดย: Moonie Lin (CooKiiE ) 27 ตุลาคม 2553 21:57:26 น.  

 

ผมรู้สึกแปลกแยกจากคนกลุ่มใหญ่ในสังคมมาโดยตลอด พอได้อ่านงานเขียนของคุณคำผกา ผมก็รู้ได้ทันทีว่าผมได้เจอเพื่อนทางความคิดแล้ว ดีใจมากที่ประเทศที่ห้ามไปซะทุกเรื่องนี้ยังมีนักเขียนที่ดีเหลืออยู่

 

โดย: beckhead27 IP: 182.53.88.182 28 ธันวาคม 2553 22:12:40 น.  

 

จะติดตามผลงานต่อไป แรงได้จัย!

 

โดย: ppnnop2010 IP: 1.47.65.144 4 มกราคม 2554 19:37:36 น.  

 

หนังสือของเธอชื่อ จดหมายจากโตเกียว หรือ เกียวโตเหรอ ค่ะ

 

โดย: เพียว IP: 27.55.4.19 16 กันยายน 2555 1:12:23 น.  

 

สนุำกมากค่ะ

 

โดย: เกื้อกูล มณีศรี IP: 192.99.14.34 4 ตุลาคม 2557 3:26:18 น.  

 

อยากได้หนังสือของคำผกา ต้องทำอย่างไรคะ อยากได้ทุกเล่มค่ะ

 

โดย: เกื้อกูล มณีศรี IP: 192.99.14.34 4 ตุลาคม 2557 3:28:44 น.  

 

อยากได้หนังสือของคำผกา ต้องทำอย่างไรคะ อยากได้ทุกเล่มค่ะ

 

โดย: เกื้อกูล มณีศรี IP: 192.99.14.34 4 ตุลาคม 2557 3:28:44 น.  

 

เพิ่งเริ่มติดตามผลงานของคุณคำ ผกา ครับ ชอบอ่านคอลัมน์ในมติชนด้วย ไอดอลของเราเลยนะคนนี้ อิอิ

 

โดย: โจ้ซัง IP: 27.55.174.253 27 พฤศจิกายน 2558 18:24:18 น.  

 

อ่านมาแล้วหลายเล่ม ชอบแทบทุกเล่ม เป็นงานเขียนที่มีเสน่ห์ กระเทาะเปลือกของความเป็นมนุษย์ได้อย่างถึงแก่น กล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอีกด้านของเธอ มีอารมณ์ขันสอดแทรกเสียดสีสังคมได้อย่างน่าเอ็นดู ใครที่อยากลองชิมรสชาติที่แปลกไม่ซ้ำใครแนะนำ รักตกขอบ, ฉันบ้ากาม,เมนูปรารถนา,คลุกข้าวซาวเกลือ เอาเป็นว่าแค่ชื่อหนังสือก้ออร่อยแล้ว

 

โดย: นงค์นุช ทิพวัน IP: 202.28.75.170 9 มีนาคม 2563 16:20:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ฟ้าดิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




ความจำสั้น ความฝันยาว.....
Friends' blogs
[Add ฟ้าดิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.