Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ชนะเลิศ ... ษัฑทรรศนะ






Create Date : 25 มีนาคม 2553
Last Update : 25 มีนาคม 2553 12:21:16 น. 13 comments
Counter : 2527 Pageviews.

 
จขบ. ขยันอัพบล็อก...ชนะเลิศศส


โดย: ลูกยิ้ง IP: 203.144.144.164 วันที่: 25 มีนาคม 2553 เวลา:15:22:36 น.  

 
สวัสดีครับ ท่านลูกยิ้ง


ขอบคุณมากครับ ที่ให้ กำลังใจ


เหตุผลที่พอทำบล๊อกเป็น ก็รีบอัพอย่างสนุกสนาน เพราะ....


1. เป็นคำกลอน หนังสือ ภาพยนตร์ ที่ตัวกระผมเองชอบ


2. กระผมสะดวก ที่จะดูได้จาก มือถือ


3. กระผมชอบในความยิ่งใหญ่ ของ พระพุทธศาสนา


(ตำรามากมายมหาศาล ที่ศึกษากันยังไงก็ไม่หมด ทั้ง พระไตรปิฏก อรรถกถา (พระคณาจารย์ขยายความพระไตรปิฏก เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น) ฏีกา ปกรณ์ คัมภีร์วิเศษ ต่าง ๆ มีมากมาย)


อีกทั้ง นิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ที่พระบุรพคณาจารย์ต่าง ๆ ได้รจนาขึ้นไว้ แสดง เหตุ ผล ที่ได้รับทั้งจากการศึกษาและปฏิบัติ



กระผมว่า นี่ก็เป็น สุนทรียะ อีกอย่างใน พระพุทธศาสนา นะครับ



โดย: bigjinbook IP: 58.11.39.80 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:12:31:47 น.  

 
ตามมาอ่านค่ะ

ป.ล. ท่านจขบ.แวะไปเยี่ยมบล็อกข้าพเจ้ามาแล้ว รู้ตัวบไหมเนี่ย?? 55


โดย: ลูกยิ้ง IP: 58.9.236.192 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:13:14:38 น.  

 
นักบวชประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้


ฤษี อยู่ป่า บำเพ็ญตบะ บำเพ็ญทุกรกิริยา ทำยัญพิธี นั่งสาธยายมนต์ ตามความถนัดดำรงชีพโดยอาศัยผลไม้ เหง้ามัน บางพวกภิกขาจาร มีความเห็นและข้อปฏิบัติแตกต่างกันเป็นหลายพวก



ปริพาชก เป็นครูพเนจร สอนปรัชญา ชอบโต้เถียงเหมือนนักปรัชญากรีก ชอบสนทนาตัวอย่างคือ สัญชัยเวลัฏฐบุตร



อาชีวก (แปลว่าผู้เลี้ยงชีพชอบ) เป็นนักบุญเปลือยกาย ตัวอย่างคือ มักขลิโคสาล



นิครนถ์ (แปลว่าผู้ปราศจากเครื่องร้อยรัด) เป็นนักบวชเปลือยกาย นักโต้ตอบปรัชญา ตัวอย่างคือ นิครนถนาฏบุตร



อเจลกะ เป็นนักบวชเปลือยกาย ศิษย์ของปูรณกัสสป มักขลิโคสาล นิครนถนาฏบุตร



ชฎิล เป็นดาบสเกล้าผมเป็นมวย เป็นพวกวรรณะพราหมณ์ ตัวอย่าง เช่น อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป



โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:22:14 น.  

 
คัมภีร์ไตรเวท มีอยู่ 4 คัมภีร์


ั1. คัมภีร์ฤคเวท (Rig Veda) คัมภีร์ ว่าด้วยการสวดสรรเสริญ และ อ้อนวอนเทพเจ้าต่าง ๆ


2. คัมภีร์ยชุรเวท (Yajur Veda) คู่มือพิธีกรรมของพราหมณ์ เป็นบทร้อยแก้ว อธิบายวิธีประกอบพิธีกรรมและบวงสรวง


3. คัมภีร์สามเวท (Sama Veda) คัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ นำมาจากฤคเวทเป็นส่วนมาก แต่งขึ้นใหม่มีประมาณ 78 บท ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมและขับกล่อมเทพเจ้า


4. คัมภีร์อถรรพเวท (Athava Veda) เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็นคาถาอาคม มนต์ขลังศักดิ์ศิทธิ์ สำหรับทำพิธีขับไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นสวัสดิมงคล นำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู



โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:29:35 น.  

 
คัมภีร์ทั้ง 4 นี้ องค์ประกอบ 4 หมวด


1. มันตระ เป็นหมวดที่รวบรวมมนต์ต่างๆ สำหรับเป็นบทบริกรรมและขับกล่อมอ้อนวอน สดุดีเทพเจ้า เนื่องในพิธีกรรม

บวงสรวง ทำพลีกรรมบูชา


2. พราหมณะ หมวดนี้เป็นบทร้อยแก้วหรือเรียงความ อธิบายระเบียบการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไว้อย่างละเอียด


3. อารัญญกะ เป็นบทร้อยแก้ว ใช้เป็นตำราคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์ผู้ประสงค์ดำเนินตนเป็นวานปรัสถ์ ชฏิลหรือ

ปริพาชก เพื่อหาความสุขสงบ ตัดความกังวลจากการอยู่ครองเรือน


4. อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่มีแนวคิดทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง เป็นตอนสุดท้ายแห่งพระเวท

คัมภีร์นี้เน้นเรื่องอาตมัน เทพเจ้า โลก และมนุษย์

ถือว่าเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของการศึกษา เป็นบทสนทนาโต้ตอบ

อธิบายถึงธรรมชาติและจักวาล วิญญาณของมนุษย์ การเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม และหลักปฏิบัติ ปรัชญาสังคม ซึ่งเป็นการอธิบายสาระสำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งหมด


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:33:08 น.  

 
1. ลัทธินยายะ


นยายะ แปลว่า การนำไป คือนำไปสู่การพิจารณา สอบสวน อย่างละเอียดถี่ถ้วนหรือวิธีการหาความจริง ซึ่งอาศัยหลักตรรกวิทยา


เพราะเหตุนี้ชื่อเรียกสำหรับลัทธินยายะจึงมีหลายอย่าง


เช่น ตรรกวิทยาบ้าง วิชาว่าด้วยวาทะบ้าง


โคตมะ ผู้เป็นเจ้าของลัทธินี้เกิดประมาณ 550 ปี ก่อนค.ศ. หรือก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ประมาณ 7 ปี


วิธีที่จะได้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักของลัทธินยายะนั้นมีอยู่ 16 ประการ เช่น

1. ประมาณ วิธีให้เกิดความรู้ชอบ 2.ประเมยะ เรื่องที่จะพึงรู้ 3.สังสะยะ ความสงสัย เป็นต้น


1) ประมาณ หรือวิธีให้เกิดความรู้ชอบนั้นมี 4 อย่าง คือ 1. การรู้ประจักษ์ 2. การอนุมาน หรือคาดคะเน 3. การเปรียบเทียบ 4. บรรยายถ้อยคำ


2) ประเมยะ เรื่องที่พึงรู้ชอบมี 12 อย่าง คือ 1. อาตมัน 2. สรีระ 3. อนินทรีย์ 4. อรรถ 5. พุทธิ 6. มนะ 7. พฤติกรรม 8. โทษ 9. การเกิดอีก (หลังตายไปแล้ว) 10. ผลแห่งความดีความชั่ว 11. ความทุกข์ 12. ความหลุดพ้น



โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:36:20 น.  

 
2. ลัทธิไวเศษิกะ



คำว่า ไวเศษิกะ คือ วิเศษ หมายถึง ลักษณะที่ทำให้สิ่งหนึ่งต่างไปจากอีกสิ่งหนึ่ง


ท่านกณาทะ ผู้ตั้งลัทธินี้ เกิดในศตวรรษที่ 3 ก่อนศริสต์ศักราช


ลัทธินี้สอนเพื่อความหลุดพ้นในการหลุดพ้นนั้น การรู้อาตมันได้อย่างแจ่มแจ้งเป็นวิธีการสำคัญยิ่ง



ลัทธินี้ใช้วิธีตรรกวิทยา คือสิ่งที่มีอยู่จริงชั่วนิรันดร มีอยู่ 9 อย่าง คือ 1. ดิน 2. น้ำ 3. ไฟ 4. ลม 5. อากาศ 6. กาละ 7. ทิศ 8. อาตมัน 9. ใจ ด้วยการรวมตัวของสิ่งเหล่านี้ สิ่งอื่นๆย่อมเกิดขึ้นมากมาย


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:37:34 น.  

 
3. ลัทธิสางขยะ


ลัทธิสางขยะนี้ ถือว่าเป็นปรัชญาฮินดู ที่เก่าแก่ที่สุด เพราะนับเป็นครั้งแรกทีได้มีการพยายามทำให้ปรัชญาของพระเวทกลมกลืนกับเหตุผล

ฤษีกปิละ เป็นผู้แต่งคัมภีร์แห่งลัทธินี้ท่านเกิดในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า



คำว่า สางขยะ แปลว่า การนับหรือจำนวน กล่าวถึงความจริงแท้ 25 ประการย่อลงเป็น 2 คือ บุรุษ ได้แก่ อาตมัน หรือวิญญาณสากล และประกฤติ (ปกติ) คือสิ่งที่เป็นเนื้อหาหรือต้นกำเนิดของสิ่งทั้งหลาย



ความมุ่งหมายของลัทธินี้ เพื่อสร้างปัญญาให้เกิดเพื่อทำลายเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง และปลดเปลื้องอาตมันออกจาสิ่งผูกพัน ความทุกข์ในความหมายของลัทธินี้แบ่งออกเป็น 3 ประการ ดังนี้


1.ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากเหตุภายใน เช่น ความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ


2.ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากเหตุภายนอก เช่น มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ


3.ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากเหตุนอกอำนาจ หรือเหนือธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ ดาวพระเคราะห์
การแก้ทุกข์เหล่านี้ ต้องใช้ปัญญาที่สามารถปลดเปลื้องอาตมันออกจากสิ่งผูกพัน


โดยหลักการแล้ว ลัทธินี้เป็นอเทวนิยม ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เป็นทวินิยม คือ เชื่อว่า ของจริงมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1. อาตมัน 2. เนื้อหาของสิ่งที่เข้ามาผสมกับอาตมัน


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:40:47 น.  

 
4. ลัทธิโยคะ


ลัทธิโยคะ คำว่า โยคะ เป็นศาสตร์เดิมที่มีมานานแล้ว ปตัญชลี เป็นผู้รวบรวมเรียบเรียงขึ้น ท่านจึงได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ตั้งลัทธิโยคะ


ประมาณ 3 หรือ 4 ศตวรรษก่อน ค.ศ. โยคตะ แปลว่า การประกอบหรือการลงมือทำให้เกิดผล ลัทธินี้อาศัยปรัชญาของสางขยะเป็นฐานจุดหมาย คือจะช่วยมนุษย์ให้หลุดพ้นออกจากความทุกข์ 3 ประการดังกล่าวในลัทธิสางขยะ คือ


1) ในการทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเกิดจากเหตุภายใน เช่น โรคภัยไข้เจ็บหรือ ความประพฤติผิด ต้องพยายามให้บรรลุความไม่ยึดถือโลก โดยไม่จำเป็นต้องแยกตัวออกจากโลก


2) ในการทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเกิดจากเหตุภายนอก เช่น สัตว์ร้าย หรือโจรผู้ร้าย เป็นต้น พึงสำรวมจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาด


3) ในการทำให้หลุดพ้นจากเหตุนอกอำนาจ หรือเหนือธรรมชาติ เช่น ธาตุ หรือ อำนาจอันเร้นลับละเอียดอ่อน พึงบำเพ็ญสมาธิ ซึ่งเป็นจุดประสงค์อันแท้จริงของลัทธินี้


โยคีหรือผู้บำเพ็ญโยคะ ย่อมพยายามที่จะเป็นผู้หลุดพ้นจากวงกลมแห่งชีวิตและความตายอย่างเด็ดขาด โดยพิจารณาเห็นธรรมชาติว่าเป็นพลังอันเดียว แต่ทำงานสองแง่ คือจากภายนอก พลังงานนี้พยายามที่จะแยกสิ่งทั้งหลายออกจากกัน ที่เรียกว่าความตาย จากภายในพลังงานนี้พยายามที่จะรวมสิ่งทั้งหลายเข้าด้วยกันที่เรียกว่า ชีวิต การบำเพ็ญโยคะก็เพื่อรวมพลังงาน 2 อย่างนี้เข้าด้วยกัน โยคะวางกฎสำหรับปฏิบัติและวางพิธีเพื่อควบคุม หรือสำรวมระวังจิตของแต่ละบุคคลที่เรียกว่า ชีวะ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตใจสากลที่เรียกว่า ปุรุษะ เมื่อชีวะบรรลุถึงสภาพดั้งเดิมของตนคือ ปุรุษะ ก็ชื่อว่า เป็นอิสระ หรือหลุดพ้นจากสถานการณ์ทั้งปวงแห่งพายุและความสงบ ความสุข ความทุกข์ และชื่อว่า พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง


คำว่า “โอม” เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิโยคะ ใช้สำหรับรวมความหมายที่เนื่องด้วยพระเป็นเจ้า แล้วกล่าวซ้ำๆ กันเพื่อให้เกิดความรู้ถึงสิ่งสูงสุด และเพื่อป้องกันอุปสรรคในการบำเพ็ญโยคะ


อุบายวิธีในการบำเพ็ญโยคะ มี 8 ประการ ดังนี้


1) ยมะ สำรวมความประพฤติ

2) นิยมะ การบำเพ็ญข้อวัตรทางศาสนา

3) อาสนะ ท่านั่งที่ถูกต้อง

4) ปราณายามะ การบังคับลมหายใจไปในทางที่ต้องการ

5) ปรัตยาหาระ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย

6) ธารณา การทำใจให้มั่นคง

7) ธยานะ การเพ่ง

8) สมาธิ การทำใจให้แน่วแน่ ตั้งมั่นอย่างลึกซึ้ง


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:44:48 น.  

 
5. ลัทธิมีมางสา



คำว่า มีมางสา แปลว่า พิจารณา สอบสวน หมายถึง พิจารณาสอบสวนพระเวทได้แก่ สอบสวนมันตระกับพราหมณะ ไชมินิ ผู้แต่งคัมภีร์มีมางสูตร เกิดขึ้นสมัยระหว่าง 600-200 ปี ก่อน ค.ศ.


ความมุ่งหมายของลัทธิมีมางสา คือ สอบสวนถึงธรรมชาติแห่งหารกระทำที่ถูกต้องซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรม”


ข้อเสนออันเป็นฐานของลัทธิมีอยู่ว่า หน้าที่หรือการกระทำเป็นสาระอันสำคัญยิ่งของความเป็นมนุษย์ ถ้าไม่มีการทำปัญญาก็ไม่มีผล ถ้าไม่มีการกระทำ ความสุขก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการกระทำจุดหมายปลายทางของมนุษย์ก็ไม่มีทางจะทำให้สมบูรณ์ได้เพราะฉะนั้นการกระทำที่ถูกต้อง ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า “ธรรม” จึงเป็นสิ่งจำเป็นในเบื้องต้นของชีวิต



การกระทำทุกอย่างมีผล 2 ทาง คือ

ผลภายนอกกับผลภายใน ผลภายนอกเป็นผลหยาบ เป็นสิ่งที่แสดงตัวออกมา

ผลภายในเป็นผลละเอียดขุม เป็นสิ่งที่เรียกว่า “ศักยะ” คือยังไม่แสดงตัว แต่อาจให้ผลได้เหมือนนาฬิกาที่ไขลานไว้ ย่อมมีกำลังงานสะสมพร้อมที่จะแสดงผลออกมา



ผลภายนอกเป็นของชั่วคราว ผลภายในเป็นของชั่วนิรันดร เพราะฉะนั้น การกระทำทั้งหลาย จึงเท่ากับเป็นการปลูกพืชในอนาคต



ในข้อเสนอขั้นมูลฐานนี้ ลัทธิมีมางสาสอบสวนถึงการกระทำหรือกรรมทั้งปวงอันปรากฏในพระเวท แล้วพระเวทออกเป็น 2 ส่วน คือ มันตระ กับพราหมณะ ครั้นแล้วได้จัดประเภทไว้ 5 หัวข้อ ดังนี้


1) วิธี ระเบียบ วิธี

2) มันตระ หรือบทสวด

3) นามเธยะ ชื่อ

4) นิเสธะ ข้อหาม

5) อรรถวาทะ คำอธิบายความหมาย หรือเนื้อความ


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:47:42 น.  

 
6. ลัทธิเวทานตะ



ลัทธิเวทานะ สอบสวนถึงส่วนสุดท้ายของพระเวท จึงมีรากฐานตั้งอยู่บนปรัชญาของอุปนิษัท ซึ่งเป็นที่สุดแห่งพระเวท

และมีหลักการส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องญาณ หรือปัญญาอันสอบสวนถึงความจริงขั้นสุดท้าย เกี่ยวกับปุรุษะหรือพระพรหม



ผู้เรียบเรียงคัมภีร์เวทานะ คือ พาทรายณะ กล่าวกันว่าท่านเป็นอาจารย์ของท่านไชมินิ ผู้ตั้งลัทธิมีมางสา พาทรายณะอยู่ในสมัยระหว่าง 600-200 ปี ก่อนค.ศ.



ในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางของลัทธินี้ มีหลักการอยู่ 4 ข้อ ดังนี้


1) วิเวกะ ความสงัดหรือความไม่เกี่ยวในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ระหว่างสิ่งอันเป็นนิรันดรกับมิใช่นิรันดร ระหว่างสิ่งแท้กับสิ่งไม่แท้

2) ปราศจากราคะ คือไม่มีความกำหนัดยินดี หรือความติดใจ ความต้องการ เช่น ความปรารถนาที่จะอภิรมย์ในผลแห่งการกระทำ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3) สลัมปัต ความประพฤติชอบ ซึ่งแจกออกอีกหลายอย่าง เช่น สมะ ความสงบ ทมะ การฝึกตน อุปรติ มีใจกว้างขวาง ไม่ติด ลัทธินิกาย ติติกษา ความอดทน ศรัทธา ความเชื่อ สมาธานะ ความตั้งมั่นสมดุลแห่งจิตใจ

4) มุมุกษุตวะ ความปรารถนาที่ชอบ เพื่อจะรู้ความจริงขั้นสุดท้าย และเพื่อความหลุดพ้น


โดย: bigjinbook IP: 58.11.38.193 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:10:49:32 น.  

 
อารายเยอะแยะเนี่ย

ตั้งสติก่อนสตาร์ท (เรื่มอ่าน)


โดย: ลูกยิ้ง IP: 58.9.101.251 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:15:11:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bigjinbook
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add bigjinbook's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.