กันยายน 2557

 
1
2
3
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
เตรียมว่านสี่ทิศเข้าตู้เย็นบังคับดอก
เตรียมว่านสี่ทิศเข้าตู้เย็นบังคับดอก


ธรรมชาติของว่านสี่ทิศจะมีการสร้างช่อดอกไว้อยู่แล้วภายในหัวเมื่อสร้างใบ ทุกๆ ใบ 3-4 (แล้วแต่พันธุ์ หากผ่าหัวออกมาดูจะพบช่อดอกที่อยู่ข้างใน) ดังนั้นถ้ามีการสร้างใบมากๆ ก็แสดงว่ามีการสร้างช่อดอกมากตามไปด้วย หัวที่โตเต็มวัยแล้ว ปกติจะสร้างใบทั้งหมด 12 ใบตลอดฤดูการเจริญเติบโต และจะสร้างช่อดอก 3 ช่อ  หรือ 4 ช่อในบางครั้ง

จากการศึกษาว่านสี่ทิศ ทำให้เราทราบว่าอุณหภูมินั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศคือ อุณหภูมิอุ่นๆ มากกว่า 28.33°C ในตอนกลางวัน และมากกว่า 22.78°C ในตอนกลางคืน อย่างเช่นในฤดูร้อน ช่วยทำให้การเจริญเติบโตของใบเพิ่มขึ้นกลับกันในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำ ซึ่งไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของว่านสี่ทิศ ว่านสี่ทิศจะหยุดการเจริญเติบโตทางใบ และอาจทิ้งใบ แต่จะพัฒนาช่อดอกที่สร้างเตรียมไว้อยู่แล้วภายในหัวแทน เมื่ออุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นในฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ช่อดอกก็จะเริ่มแทงออกมา 

ดังนั้นสำหรับในประเทศไทย เนื่องจากฤดูหนาวนั้นไม่เย็นพอ (ที่อุณหภูมิประมาณ 5-12 องศาเซลเซียส ) ที่จะทำให้ว่านสี่ทิศบางพันธุ์ส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะที่ออกดอกปลายฤดูหนาว) นั้นออกดอกเองได้ ถ้าเราอยากให้ว่านสี่ทิศพัฒนาช่อดอกและแทงช่อดอกขึ้นมา ก็เพียงแต่นำไปแช่ตู้เย็น ว่านสี่ทิศเมื่อได้รับความเย็นที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ก็จะหยุดสร้างใบ และไปพัฒนาช่อดอกที่อยู่ภายในหัวแทน เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม ก็นำหัวออกมาปลูก เมื่อหัวได้รับอุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้นก็จะแทงช่อดอกออกมา

การนำหัวว่านสี่ทิศไปแช่ตู้เย็นเพื่อบังคับให้ว่านสี่ทิศพัฒนาช่อดอกนั้นควรที่จะต้องทำ (ถ้ารอแล้วยังไม่ออกดอก) เพราะหากไม่ได้ทำแล้ว ดอกที่อยู่ในหัวก็จะฝ่อไป ว่านสี่ทิศบางพันธุ์โดยเฉพาะที่ออกดอกในฤดูร้อน หรือฤดูฝนสามารถออกดอกได้เองไม่ต้องนำไปแช่เย็น


เมื่อไหร่จึงควรนำหัวว่านสี่ทิศมาแช่ตู้เย็นเพื่อบังคับดอก
ฟาร์มในฮอลแลนด์ และเว็บไซต์ www.floralia.nl  ให้ข้อมูลไว้ว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ  9 เดือน ตั้งแต่เริ่มปลูก ว่านสี่ทิศจะให้ดอกครบทุกช่อ และสมบูรณ์แล้ว


ระยะเวลาในการแช่เย็น
  • พันธุ์ดอกเล็ก ใช้เวลาแช่เย็น 2 สัปดาห์
  • พันธุ์ดอกซ้อน ใช้เวลาแช่เย็น 5 สัปดาห์
  • พันธุ์ดอกใหญ่ ใช้เวลาแช่เย็น 6-8 สัปดาห์

ขั้นตอนการเตรียมหัวแช่ตู้เย็น
ช่วงเดือน สิงหาคม - กันยายน ฝกยังตกมาก เพื่อนๆ ที่กำลังคิดจะขุดหัวขึ้นมาแช่เย็นระวังนิดนึงนะครับ เพราะระหว่างผึ่งหัวให้แห้ง รอยตัดใบออกที่คอหัวราชอบมาก เพียงสองวันรอยตัดจะแดง และอาจมีราขาวฟูๆ ขึ้นมาทันที ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเตรียมหัวว่านคือเดือนตุลาคมเป็นต้นไป หรือเมื่อเริ่มหมดฝน


1. ขุดหัวออกมาจากกระถางล้างน้ำ ทำความสะอาดหัวเอาดิน กาบหัวแห้งๆ ออก
2. ตัดใบออกให้หมด ให้ตัดที่บริเวณคอหัว โดยตัดให้สูงหน่อย คือ "เหลือคอยาว" เล็กน้อย เพราะเมื่อเกิดราแล้ว เราสามารถตัดทิ้งได้อีก
3. ตัดรากออกให้สั้น เหลือความยาวไว้ประมาณ 2-3 นิ้ว
4. เมื่อตัดใบออกแล้ว ผึ่งไว้ให้น้ำเลี้ยงไหลออกมาสักพัก (กะเอาซัก 60 นาที) แล้วเช็ดออกให้แห้ง รอให้แห้งอีกสักพัก จึงทาปูนแดงหรือยากำจัดราเพื่อกันราที่รอยแผล "ทันที"
5. รากเป็นอีกส่วนที่ราชอบ ราจะขึ้นเป็นลำดับที่ 2 หากไม่แช่ยากันราทั้งหัวด้วย ให้นำหัวและรากแช่ยากันราแบบละลายน้ำ 30-60 นาที 
6. ผึ่งลมให้แห้งประมาณ 5-7 วัน เมื่อแห้งดีแล้ว ให้ตัดหรือดึงรากแห้ง รากฝอยออกให้หมด จากนั้นเตรียมห่อเข้าตู้เย็น
7. ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วเขียนชื่อพันธุ์, วันที่นำเข้าแช่เย็น และวันที่จะนำออกจากตู้เย็นติดไว้ 
8. นำไปแช่ตู้เย็นช่องแช่ผัก ที่อุณหภูมิประมาณ 5-12 องศาเซลเซียส ไม่ควรแช่รวมกับผลไม้ เพราะผลไม้จะปล่อยก๊าซออกมาทำลายหัวได้
9. ตรวจเช็คหัวว่านที่แช่ไว้สัปดาห์ละครั้ง ว่ามีราหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขทัน และหากพบหัวที่เริ่มแทงช่อดอกออกมาแล้วให้นำออกมาปลูกทันที ไม่ควรแช่เย็นต่อเพราะจะทำให้ช่อดอกสั้น
10. เมื่อครบกำหนดนำหัวว่านออกจากตู้เย็น ตัดรากเหี่ยวแห้งทิ้ง แล้วปลูก






Create Date : 05 กันยายน 2557
Last Update : 30 กันยายน 2557 10:41:32 น.
Counter : 7541 Pageviews.

3 comments
  
รอชมค่ะคุณบิ๊ก
โดย: oranuch_sri วันที่: 12 กันยายน 2557 เวลา:20:55:12 น.
  
หัวที่ออกดอกปีนี้จะเพาะต่อปีหน้าได้หรือไม่ค่ะ
โดย: kanyarin IP: 94.23.252.21 วันที่: 8 ธันวาคม 2557 เวลา:16:34:55 น.
  
ดีมากๆค่ะ ขอบคุณมากๆ
โดย: kanyarin IP: 94.23.252.21 วันที่: 8 ธันวาคม 2557 เวลา:16:36:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หงส์ฟู่
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]



New Comments