ไรพืช-แมลงศัตรูยาง
ไรพืช (Mites) ไรพืชทำลายต้นยางโดยดุดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ และร่วงหล่นไป ตัวไรมีขนาดเล็กมาก จึงมองเห็นได้ยากด้วยตาเปล่า แต่สามารถสังเกตได้จากลักษณะของใบยางที่ผิดรูปร่างจากการทำลาย ระบาดมากในแปลงขยายพันธุ์
ลักษณะและวงจรชีวิตของไรพืช

ไรพืชเป็นสัตว์แปดขาเช่นเดียวกับพวกแมงมุม มีขนาดเล็กมาก ตัวผู้มีความยาว 0.15 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 0.2 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ เมื่อตรวจดูใบยางที่ถูกไรเข้าทำลายด้วยแว่นขยาย จะเห็นตัวไรมีสีเหลืองใส พบไข่และคราบตัวอ่อนอยู่ทั่วไป ไรในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีขาเพียง 3 คู่ พอถึงระยะตัวแก่จะมีขา 4 คู่ วงจรชีวิตจากตัวอ่อนไปเป็นตัวแก่จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ตัวแก่จะมีชีวิตประมาณหนึ่งสัปดาห์ แล้วเริ่มวางไข่บนใบยางต่อไป
การทำลายของไรพืช

ไรพืชชอบทำลายยอดและตาอ่อนของพืช ใบยางที่ถูกไรดูดน้ำเลี้ยงจะมีสีซีด ใบแคระแกร็นและบิดเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น แล้วร่วงเฉพาะใบย่อย หากมีไรเข้าทำลายมากใบที่ผลิใหม่จะมีรูปร่างผิดปกติ และตัวใบจะไม่คลี่ บริเวณผิวใบที่พบไรจะมีรอยแผลเล็กๆ ที่เกิดจากการเจาะดูดน้ำเลี้ยงของไร
การระบาดของไรพืช

ต้นยางเล็ก ช่วงอากาศแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระยะที่ยางผลิใบใหม่
การป้องกันกำจัดไรพืช

ตามปกติไรชอบอาศัยอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้งมากกว่าที่ชื้น ดังนั้นไรจึงหมดไปตามธรรมชาติเมื่อเข้าฤดูฝน
เมื่อพบไรระบาดรุนแรง ใช้สารเคมีพ่นที่พุ่มใบ
กำมะถัน (wettable sulfur) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ไอโอวิท 80% WP และอิโคซัลฟ์ 80% WP โดยใช้ในอัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และพ่นซ้ำเมื่อพบการระบาด
อามีทราช (amitraz) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ไมแทค 20% EC โดยใช้ในอัตรา 40-60 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และพ่นซ้ำเมื่อพบการระบาด

==========



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 1:11:16 น.
Counter : 450 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2554

 
 
7
9
10
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
 
 
6 พฤศจิกายน 2554
All Blog