Life goes on
ยอมความได้




ถ้าใครเคยขึ้นโรง(พัก)ขึ้นศาล ไม่ว่าในฐานะโจทก์ หรือจำเลย หรือเป็นแค่ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนยังไม่ทันส่งสำนวนให้ท่านอัยการ ผู้เสียหายก็ขอยอมความเลิกแล้วต่อกัน ก็คงจะพอรู้จักกับคำว่า "ยอมความได้"

ละครทีวี ข่าวทีวี บางครั้งก็มักจะทำให้คนเข้าใจผิดไปได้ ว่าไม่ว่าคดีใดก็ตามหากเจ้าทุกข์เขาไม่อยากเอาเรื่อง ก็เรียกว่ายอม ๆ กันไป เลิกแล้วคดีต่อกัน เรื่องไม่ถึงศาล

จริง ๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น

ยอมความ ตามภาษากฎหมายนั้น มีอยู่ 2 ลักษณะคือ หากอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาต่อไป ก็ให้ทำยอมกันเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีลักษณะคล้ายสัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายแพ่งฯ มาใช้ คือทำเป็นหนังสือสัญญาระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือนี้ควรจะต้องลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ ดังนี้ถือว่าเป็นการยอมความโดยการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งที่สุด ทั้งนี้ในชั้นพนักงานสอบสวนอาจทำยอมกันโดยลงบันทึกไว้ที่สถานีตำรวจที่รับแจ้งความนั้น ๆ

ส่วนประเภทที่สองคือ เมื่อเรื่องไปถึงศาล โดยพนักงานอัยการได้สั่งฟ้องแล้ว หากทั้งโจทก์และจำเลยตกลงที่จะยอมความกันแล้ว ในชั้นศาลนี้จะเรียกว่า การถอนฟ้อง ซึ่งโจทก์จะต้องทำคำร้องขอถอนฟ้องต่อศาล ซึ่งที่ศาลก็จะมีแบบฟอร์มให้กรอก แล้วยื่นคำร้องนั้นต่อศาล มีบางกรณีที่โจทก์ฝ่ายเดียวต้องการถอนฟ้องแต่จำเลยไม่ยินยอม ศาลก็จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ดังนี้ก็ไม่สามารถทำให้คดีระงับลงได้ จำต้องพิจารณาคดีกันต่อไป อาจสงสัยว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ยอมให้ถอนฟ้อง เพราะบางคดีจำเลยมั่นใจว่าหากสู้คดีต่อไปแล้วจะต้องชนะอย่างแน่นอน เมื่อชนะคดีแล้วจะทำให้คดีนั้นเป็นอันยุติ ไม่มีสิทธิฟ้องใหม่ได้ โดยเฉพาะ หากเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งยอมความไม่ได้ กรณีที่เจ้าทุกข์ฟ้องคดีเอง โดยไม่ผ่านพนักงานอัยการแล้วนั้น หากแม้เจ้าทุกข์ที่เป็นโจทก์นั้นถอนฟ้องไปแล้ว ก็มิอาจตัดสิทธิ์พนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นต่อไปได้อีก ดังนี้หากเป็นคดีอาญาแผ่นดิน หากจำเลยเห็นทางชนะ ก็มักจะไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้อง

วกเข้ามาเรื่องที่ว่า เหตุใดการยอมความมักไม่ง่ายเหมือนในละคร ก็เพราะว่า คดีที่สามารถยอมความได้นั้นมีเฉพาะ คดีความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งมีระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเลือกออกมาแล้วมีฐานความผิดดังต่อไปนี้

ความผิดเกี่ยวกับการค้า
1. ม. 272 เลียนแบบตราสินค้าหีบห่อ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้า เลียนแบบป้ายหรือสิ่งอื่นให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น แจ้งความเท็จทำลายความเชื่อถือสถานประกอบการ อุตสาหกรรมธุรกิจของผู้อื่นเพื่อประโยชน์แห่งการค้าตน
ความผิดเกี่ยวกับเพศ
2. ม. 276 ข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาตน
3. ม. 278 ทำอนาจารบุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ม. 276 และ 278 ถ้ามิได้ทำต่อธารกำนัลหรือทำต่อ ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ หรือผู้อยู่ในความปกครองในความพิทักษ์หรือในความอนุบาลยอมความได้
4. ม. 283 ทวิ พรากผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารโดยผู้นั้นยินยอม
ว.3 ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีเป็นความผิดอันยอมความได้
5. ม. 284 พรากผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย รวมถึงซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไป
ความผิดต่อเสรีภาพ
6. ม. 309 ข่มขืนใจผู้อื่น
7. ม. 310 หน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง
8. ม. 311 หน่วงเหนี่ยวกักข้องโดย
ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
9. ม. 322 กระทำเพื่อล่วงรู้และเปิดเผยข้อความในจดหมายโทรเลขหรือเอกสารปิดผนึก
10. ม. 323 ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีเปิดเผยความลับของผู้อื่นที่ตนได้รู้มาเนื่องจากการประกอบอาชีพนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
11. ม. 324 เปิดเผยความลับของผู้อื่นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการค้นพบ หรือการนิมิตในวิทยาศาสตร์ โดยตนมีตำแหน่งหน้าที่ วิชาชีพ หรืออาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจนั้น
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
12. ม. 326 หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา
13. ม. 327 หมิ่นประมาทผู้ตาย
14. ม. 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
ความผิดฐานฉ้อโกง
15. ม. 341 ฉ้อโกง
16. ม. 342 ฉ้อโกงโดยแสดงตเนป็นคนอื่น โดยอาศัยความเบาปัญญาของเด็กหรือความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
17. ม. 344 ฉ้อโกงแรงงานบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
18. ม. 345 ซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มหรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินได้
19. ม. 346 เอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอ หรือเป็นเด็กเบาปัญญา
20. ม. 347 โกงประกันประกันวินาศภัย
ความฐานโกงเจ้าหนี้
21. ม. 349 เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น
22. ม. 350 ทำให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดหรือแกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง
ความผิดฐานยักยอก
23. ม. 352 ยักยอกทรัพย์ และยักยอกทรัพย์สินหาย
24. ม. 353 ยักยอกทรัพย์ของผู้ที่มอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้นั้นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้นั้นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โดยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต
ม. 352 หรือม. 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
25. ม.355 เก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
26. ม. 358 ทำให้เสียทรัพย์
27. ม. 359 ทำให้เสียทรัพย์โดยกระทำต่อ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม ปศุสัตว์ ยวดยานหรือสัตว์พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณ หรือในการประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือ พืชหรือพืชผลของกสิกร
ความผิดฐานบุกรุก
28. ม. 362 บุกรุก
29. ม. 363 ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเพื่อประโยชน์ตน
30. ม. 364 แอบหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์ หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นหรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต

ซึ่งความผิดข้างต้นนี้ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เรียกง่าย ๆ ว่าแจ้งความ ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิเช่นนั้นแล้วตำรวจไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดี

คดีเช่นว่ามานี้เมื่อคู่ความในชั้นศาล หรือผู้เสียหายและผู้ต้องหายในชั้นพนักงานสอบสวนยอมความกันแล้ว ตัดสิทธิพนักงานอัยการในการฟ้องคดี เนื่องจากเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวนั่นเอง

ดังนี้หากใครดูละคร ดูข่าวเห็นคดีชกต่อยตบตีกันแบบเบาะ ๆ แล้วไม่ติดคุก เช่นคดี นางแบบสาว 2 พี่น้อง กับลูกสาวเจ้าของร้านทองตบตีกันแล้วไม่ยักกะมีใครติดคุก เพียงแต่เสียค่าปรับกันนั้น ไม่เรียกว่ายอมความกันแล้ว เนื่องจากความผิดนี้เป็นความผิดลหุโทษตาม ม. 391 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คือความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยกฎหมายมิได้ระบุว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ซึ่งความผิดลหุโทษที่ผู้เสียหายโดนลงโทษเพียงแค่ปรับนั้น กฎหมายได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานทำการเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งเป็นการทำให้คดีอาญาเลิกกันโดยไม่ต้องขึ้นศาล






Create Date : 18 สิงหาคม 2550
Last Update : 18 สิงหาคม 2550 10:38:53 น. 12 comments
Counter : 7628 Pageviews.

 
การยอมความถ้าคดีอยู่ในชั้นพิจารณาของพนักงานอัยการแต่ยังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลก็ยอมความที่พนักงานอัยการได้ เมื่อยอมความแล้วพนักงานอัยการก็จะสั่งยุติการดำเนินคดีต่อไปครับ

คดีความผิดอันยอมความได้ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์ จะไปถอนฟ้องของอัยการไม่ได้นะครับ และกรณีนี้อัยการจะไม่ถอนฟ้องให้ด้วย หากมีกรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเข้าไป จะเป็นกรณีที่เรียกว่าถอนคำร้องทุกข์ ซึ่งจะทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แล้วพนักงานอัยการจะต้องสั่งยุติการดำเนินคดีเพราะผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ตามระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 54


โดย: Gunnersaurus วันที่: 18 สิงหาคม 2550 เวลา:15:46:31 น.  

 
แจ๋วจริงๆครับ ตามเนี้อหาของ กฎหมาย แต่ตามความเป็นจริงในสังคม ผมว่ายอมความได้มากกว่านี้นะครับ


โดย: nitipol2000 วันที่: 18 สิงหาคม 2550 เวลา:16:06:42 น.  

 
ขอบคุณมากครับ กำลังจะโดนฟ้องเรื่อง ค้ำประกันงาน


โดย: บัวงามดี วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:15:56:07 น.  

 
haha สุดยอด


โดย: karnlaka วันที่: 18 ตุลาคม 2550 เวลา:19:15:04 น.  

 
ขอบคุณครับ..สำหรับความรู้ดีๆเรื่องกฏหมาย
ความใฝ่ฝันตอนเด็กอยากเรียนเนติมาก..แต่ชอบด้านวิศวกรรมมากกว่า ฮิๆๆ
ตอนเรียนปริญญาที่ กทม. ก็แอบไปลงเรียนที่ ม.รามฯ แต่เรียนได้สองเทอมก็ต้องบอกลา..เพราะมันยากจริงๆ

เมื่อ 6ปีที่แล้ว ก็ต้องเสียโง่(เงิน) ให้กับพวกตำรวจเลวๆเกี่ยวกับเรื่องการยอมความนี้แหละ แค้นมาก...

ปล.หวังว่าคงได้อ่านบทความดีด้านกฏหมายอีกนะครับ


โดย: seksacha IP: 133.44.1.220 วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:9:21:34 น.  

 
ขอบคุณนะคะ กำลังตัดสินใจจะยอมความกรณีถูกกล่าวหาว่ายักยอกทรัพย์จากบริษัทที่เคยทำงานด้วย ดีหรือไม่ เพราะตัวเองไม่มีหลักฐานแก้ต่างใดๆ ในการสู้คดีในชั้นศาลเลย แต่ก็รู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรมหากต้องมาจ่ายเงินค่าเสียหาย(ที่เราไม่ได้ทำ) ต้องมาถูกดำเนินคดีอาญา(เรื่องถึงขั้นตอนที่อัยการสั่งฟ้องแล้ว) และเราต้องเสียชื่อเสียงที่ที่งานใหม่อีกล่ะ

ตัดสินใจยากมากจริงๆ กลัวจะได้ไม่คุ้มเสีย ติดคุกฟรีๆ เพราะโง่ และประมาทเอง


โดย: phan IP: 58.137.155.245 วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:23:45:45 น.  

 
ถ้ายังยุวในขั้นสืบสวน แต่คืนทรัพย์ให้แล้ว สามารถถอนแจ้งความได้ใช่ไหมคะ ?


โดย: มินิ IP: 58.9.118.189 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:56:56 น.  

 
ถ้ายังยุวในขั้นสืบสวน แต่คืนทรัพย์ให้แล้ว สามารถถอนแจ้งความได้ใช่ไหมคะ ?


โดย: มินิ IP: 58.9.118.189 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:11:18:53 น.  

 
ถ้าตำรวจเขียนสำนวนว่าเจ้าทุกไม่ติดใจเอาความเพราะได้ค่าชดใช้เป็นที่พอใจแล้ว อัยการจะยกฟ้องมั้ย


โดย: รัศมี IP: 122.155.45.32 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:16:59 น.  

 
พรากผู้เยาว์เค้าแจ้งความไปแล้วแต่ชดใช้ให้เค้าพอใจตำรวจก็เขียนสำนวนว่าผู้เสียหายได้รับการชดใช้เป็นที่พอใจแล้วไม่ติดใจเอาความอัยการจะยกฟ้องมั้ยค่ะ


โดย: รัศมี IP: 122.155.45.32 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:24:50 น.  

 
อัยการยกฟ้องต้องขึ้นศาลมั้ยคะ


โดย: รัศมี IP: 122.155.45.32 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:28:40 น.  

 
อัยการยกฟ้องต้องขึ้นศาลมั้ยคะ


โดย: รัศมี IP: 122.155.45.32 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:31:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bench
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]









ทักทาย
ชอบดูหนังจีนเป็นชีวิตจิตใจ สนใจเรื่องกฎหมายเป็นพิเศษ มีกิเลสและความบ้าในหนังจีนและเพลงจีนครอบงำ ทำให้ต้องมาระบายกลายเป็น blog เช่นนี้แล.... @^_^@




Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add bench's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.