Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

10.ข้อดี ข้อเสีย โครงสร้างPartnershipทั้ง2รูปแบบ

วันนี้เบลล์์์จะมาเขียนต่อจากบทที่แล้วถึง ข้อดี ข้อเสีย ของรูปแบบโครงสร้างPartnershipทั้ง2รูปแบบย่อยเลยนะคะ

รูปแบบย่อยแรกคือ General Partnership
____________________________________________________________________
สรุปประเด็นหลัก
ขอบเขตของภาระหนี้สิน : หนี้สินของกิจการถือเป็นหนี้สินส่วนบุคคลของเจ้าของกิจการ(หุ้นส่วน)ด้วย คือหุ้นส่วนGeneral Partnership จะรับผิดชอบหนี้สินของกิจการแบบ"ไม่จำกัด"
การรายงานภาษี : ผลกำไรขาดทุนของกิจการจะนำไปคำนวนรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ(หุ้นส่วน)
การจดทะเบียน : ง่ายและประหยัด ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ (มีข้อยกเว้นในบางกรณี)
____________________________________________________________________




รูปแบบย่อยที่สองคือ Limited Partnership
____________________________________________________________________
สรุปประเด็นหลัก
ขอบเขตของภาระหนี้สิน : ตราบใดทีี่เจ้าของกิจการที่เป็นหุ้นส่วนประเภทLimited Partnershipนี้ ไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ขอบเขตความรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการก็มีเพียง"จำกัด"เท่านั้น
การรายงานภาษี : ผลกำไรขาดทุนของกิจการจะนำไปคำนวนรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ(หุ้นส่วน)
การจดทะเบียน : แพงและซับซ้อนกว่าการจดทะเบียนในรูปแบบ General Partnership
____________________________________________________________________


ข้อดี:
o การจดทะเบียนทำได้ง่าย

o มีความยืดหยุ่นสูง เพราะกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถตกลงกันเองได้ว่า ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะมีอำนาจในการบริหาร ความรับผิดชอบต่อหนี้สิน และส่วนแบ่งกำไรขาดทุน มากน้อยเพียงใด เช่นอาจตกลงกำหนดกันเองได้ว่า ถึงแม้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งจะนำเงินมาลงทุนน้อยกว่า แต่อาจมีอำนาจในการบริหารและได้รับส่วนแบ่งกำไรขาดทุนมากกว่าสัดส่วนการลงทุนก็เป็นได้ค่ะ หรืออาจตกลงกันเองก็ได้ว่าผู้ถือหุ้นคนไหนสามารถลงนามแทนผู้ถือหุ้นคนไหนได้ เป็นต้นค่ะ

ในกรณีที่ไม่มีการตกลงกัน ในทางกฎหมายจะถือว่าสัดส่วนการถือหุ้นและความรับผิดชอบต่างๆของผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีเท่ากัน (ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีของLimited Partnership ซึ่งไม่สามารถมีอำนาจในการบริหาร และมีความรับผิดชอบต่อหนี้สินแต่เพียงจำกัด ตามที่เบลล์ได้กล่าวไว้ในบทที่แล้วนะคะ)

o ความสามารถในการระดมทุนมีสูงกว่ารูปแบบ Sole Proprietorship เพราะสามารถระดมทุนได้จากหุ้นส่วนหลายคน

o อาจดึงดูดพนักงานที่เก่งๆได้ถ้าคุณยื่นข้อเสนอการเป็นหุ้นส่วนให้พนักงาน

ข้อเสีย:
o ในทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อการกระทำของผู้ถือหุ้นคนอื่นๆด้วย

o ผู้ถือหุ้นแบบ General Partnership ต้องรับผิดชอบหนี้สินต่างๆแบบไม่จำกัด กรณีที่เงินกองกลางของกิจการหมดลง ผู้ถือหุ้นแต่ละคนต้องนำเงินส่วนตัวของตนมาชำระหนี้ของกิจการจนครบด้วย

o การตัดสินใจต่างๆ เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จึงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้

o การโอนหุ้นหรือการขายหุ้นในรูปแบบนี้ทำได้ยาก

ถ้าคุณผู้อ่านตัดสินใจเลืกรูปแบบโครงสร้างนี้ สิ่งที่สำคัญมากคือการร่างข้อตกลงค่ะ ถึงแม้การร่างข้อตกลงนี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย แต่ก็ควรทำค่ะ เพราะข้อตกลงก็เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญทีคอยกำกับความเรียบร้อยผาสุก และใช้เป็นหลักในการจัดการความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นทั้งหลายได้ค่ะ การที่กฎหมายเปิดกว้างให้ผู้ถือหุ้นสามารถจัดการข้อตกลงน้อยใหญ่กันเองได้ถือเป็นข้อดีของรูปแบบโครงสร้างนี้ เพราะทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการสูงมากดังนั้นควรใช้ข้อดีนี้ให้คุ้มนะคะ

ข้อคิดปิดท้ายวันนี้ ได้มาจากการที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เบลล์มีโอกาสไปฟังการบรรยายร่วมกับผู้บริหารระดับสูงทีกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยPepperdineในสหรัฐอเมริกา วิทยากรท่านนี้เป็นคนไทยที่เก่งที่สุดท่านหนึ่งที่เบลล์รู้จักค่ะ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในวงการธุรกิจระดับโลกเลยนะคะ ท่านกล่าวไว้ว่า All problem in the world is man made. ปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนั้นล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือจะเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในขณะนี้ก็ตาม ขนาดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs และ Lehman brother ซึ่งเคยเป็นผู้รู้มาสอนให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤตต้มยำกุ้งแท้ๆ ยังเข้าตาจนเสียเองในยามศรษฐกิจอเมริกาล่มสลายในตอนนี้

เบลล์คิดว่าการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ บริหารประเทศจำเป็นที่ต้องมีการวางแผน มีข้อตกลง และมีกลยุทธ์ที่ฉลาดค่ะ แต่การวางแผน ข้อตกลง และกลยุทธ์นั้นต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทั้งตนเองและมวลรวมด้วย บริษัท ประเทศ หรือสังคมใดที่วางแผนโดยไม่มองผลประโยชน์มวลรวมเลย ยึดแต่เพียงผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ในที่สุดก็ย่อมนำภัยมาสู่ตัวเองค่ะ เราไม่ควรกล่าวชมหรือโทษแต่นักการเมืองที่ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นหรือมีปัญหานะคะ เพราะเราทุกคนก็กำลังร่วมสร้างหรือทำลายบ้านเมืองอยู่เช่นกัน




 

Create Date : 28 กันยายน 2552
7 comments
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 13:00:43 น.
Counter : 5304 Pageviews.

 

Keep follow up your useful article.

Thanks.

 

โดย: Art Chen IP: 203.144.130.176 29 กันยายน 2552 16:14:59 น.  

 

การร่างข้อตกลงนั้นดีมากครับ แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เราจะจัดการยังไงให้ข้อตกลงนั้นสามารถใช้ได้จริงจัง ปัญหาที่เคยเจอคือข้อตกลงสร้างร่วมกัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผิดไปจากข้อตกลง แต่ละคนต่างมีข้ออ้างถึงเหตุผลของตัวเอง และความจำเป็น ข้อตกลงดังกล่าวถ้าหากเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็คงจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไป แต่พอมาเป็นเรื่องเงินแล้ว มันกระทบทั้งระบบ - - ประเด็นหนักใจ ไม่ได้อยู่ที่ คนที่เกิดปัญหา แต่มาอยู่ที่คนบริหารเงินแทน... ถ้าอย่างนี้ คุณเบลจะแก้ปัญหาอย่างไรครับ?

 

โดย: Scalopus+ IP: 124.120.28.111 1 ตุลาคม 2552 7:55:37 น.  

 

ตอบคุณArt Chen - Thanks so much for your always support! :-)

ตอบคุณScalopus+
คุณScalopus+มักมีประเด็นสร้างสรรค์มากระตุ้นรอยหยักในสมองอยู่เรื่อยเลยนะคะ ^ ^

เบลล์ว่าการเลือกหุ้นส่วนก็เหมือนเลือกแฟนเลยนะคะ จะเห็นตัวตนกันชัดๆก็ตอนมีปัญหาหนักๆนี่เแหละ โดยส่วนตัวแล้ว เบลล์เลือกที่จะจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน 3 ขั้นตอนค่ะ

1) ไม่ชัวร์ ไม่เลือก
คือก่อนจะจับมือใครมาเป็นหุ้นส่วน เราควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าพื้นฐานทางคุณธรรมมีพอๆกันมั้ย ถ้าคบคนซื่อสัตย์ ต่อให้แตกคอกันยังไง ก็ไม่มีเรื่องคดโกงเงินค่ะ ในบริษัทใหญ่ๆ ถึงแม้เฟืองหนึ่งตัวจะเสีย เฟืองตัวอื่นๆก็ยังเคลื่อนต่อได้ แต่กับPartnershipไม่เหมือนกัน เพราะเลือกเฟืองผิดแค่หนึ่งตัว กลไกทั้งหมดก็อาจหยุดชะงักหรือพังไปเลย ดังนั้นเบลล์คิดว่าถ้าไม่ชัวร์ว่าจะเข้ากันได้ ก็อย่ารีบด่วนเลือกมาเป็นหุ้นส่วนเลยค่ะ อาจทำงานร่วมกันในลักษณะอื่นไปก่อน อย่าเพิ่งลงเรือลำเดียวกันทางกฎหมายเลยค่ะ ระยะยาวแล้ว ปัญหาที่เกิดอาจไม่คุ้มกัน

2) ข้อตกลง
เบลล์กับเพื่อนร่วมธุรกิจมีประโยคที่มักพูดกันแบบซีเรียสกึ่งตลกว่า "ตอนเริ่มต้น อะไรๆก็จะดูหวานเย็นไปหมด" แต่เรารู้ด้วยประสบการณ์ก่อนๆว่าอาการหวานเย็นมันไม่จีรัง ตอนเราร่างข้อตกลงกัน เราจึงนำเอาปัญหาร้ายๆทั้งหมดที่เราเคยได้ยิน ได้พบ มาเป็นโจทย์ และร่างข้อตกลงกรณีที่เรื่องร้ายๆเหล่านั้นเกิดขึ้นลงเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อตกลงนี้จะเป็นตัว"บังคับ"ทางกฎหมายในตอนที่เราไม่สามารถแก้ปัญหาแบบจับเข่าคุยกันได้แล้ว เบลล์เข้าใจว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เรามักมีแนวโน้มที่จะเออออเรื่องสัญญา ในช่วงภาวะ"หวานเย็น" ดังนั้น เวลาคุยในเรื่องนี้ เบล์คิดว่าไม่ควรคุยแบบ"คอนเซ็ป"นะคะ น่าจะคุยกันแบบ"ยกตัวอย่างรายบุคคล" เลย เช่นเบลล์พูดกับเพื่อนว่า "ถ้าฉันไม่มาทำงาน และหายหน้าไปเกิน2เดือน หุ้นส่วนที่เหลือในบริษัทจะมีอำนาจจัดการกับฉันและบริษัทยังไง" พอใช้คำว่า"ฉัน"แล้ว เราจะรู้สึกอินขึ้นทันที ^ ^ ข้อตกลงนี้ ควรหยิบมาปัดฝุ่น ทบทวน แก้ไข เพิ่มเติม กันเป็นระยะแล้วแต่ตกลงกันค่ะ

2 ข้อแรก เป็นการจัดการปัญหาแบบตัดไฟแต่ต้นลม ถ้าจัดการได้ยิ่งรัดกุมเท่าไร การดำเนินธุรกิจในระยะยาวก็จะมีโอกาสสะดุดน้อยลงเท่านั้น

3) แต่ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว อย่างกรณีที่คุณScalopus+ว่า คือคนก่อปัญหา ไม่ต้องรับปัญหา คนรับปัญหากลับกลายเป็นคนที่ตั้งใจทำงาน อย่างนี้ก็ไม่ยุติธรรม และปวดหัวน่าดู เบลล์คิดว่า เรื่องนี้ไม่มีทางออกตายตัว แต่เบลล์เชื่อในการหันหน้าเข้าหากัน ความอดทนขั้นAdvance ^ ^ และการหาทางแก้ปัญหาแบบละมุนละม่อม"ซึ่งกันและกัน"ค่ะ

ถ้าปัญหาไม่ได้เกิดจากเจตนาร้าย ความไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นเรื่องของสันดานเสีย ก็น่าจะให้อภัยกันและพยายามหาทางออกในระยะสั้นและยาวร่วมกัน วัวหายล้อมคอก ก็ยังดีกว่าวัวหายแล้วไม่ทำอะไรเลย เพราะมันจะหายซำ้หายซากค่ะ ^ ^ แต่ถ้าเข้าข่ายสามข้อที่กล่าวมาในต้นย่อหน้านี้ ก็คงต้องลองคิดดูแล้วค่ะ ว่ายังอยากทำธุรกิจร่วมกันกับหุ้นส่วนคนนี้ต่อหรือไม่ ถ้ายังอยากทำร่วมกันต่อ จะจัดการปัญหา"พื้นฐาน"แบบนี้ได้ยังไง (เพราะโอกาส ปัญหาซำ้รอยจะมีสูงมากๆค่ะในกรณีหุ้นส่วนมีพื้นฐานแย่ๆแบบนี้) และถ้าไม่อยากทำร่วมกันต่อ จะจัดการปัญหาเฉพาะหน้ายังไง และจะมีExit Planอย่างไร ที่ทุกฝ่ายจะบาดเจ็บทั้งทางทรัพย์สินและจิตใจให้น้อยที่สุด จะได้อโหสิกรรมกันแบบไม่ต้องกลับมาล้างแค้นกันอีก

เบลล์คิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าปล่อยให้ปัญหาผ่านไปโดยไม่จัดการอะไรให้ชัดเจน เพราะถ้าเราไม่จัดการปัญหา ก็เท่ากับเราปล่อยให้ปัญหาจัดการเรา เหมือนรู้ว่านำ้มีพิษ แต่ก็ยังดื่มทุกวัน อย่างนี้กลายเป็นเรานั่นแหละที่ผิดเอง

เรื่องนี้พูดง่ายกว่าทำเยอะใช่มั้ยคะ เอาเป็นว่าเบลล์ขอเอาใจช่วยจากใจจริงนะคะ ท่าทาง คุณScalopus+ จะเป็นคนเก่ง ต้องจัดการเรื่องนี้ได้ไม่ช้าก็เร็วแน่ๆ โชคดี สู้ตายค่ะ

 

โดย: Belle Chen 1 ตุลาคม 2552 14:59:51 น.  

 

อ้อ ลืมเน้นค่ะว่า ข้อตกลงควรเป็น"ลายลักษณ์อักษร" เพราะมีความศักดิ์สิทธิทางกฎหมาย ไม่ใช่เป็นเพียงสัญญาปากเปล่า หรือเพียงแค่ลมปากเป่าอย่างที่จอห์น นูโวร้องนะคะ

 

โดย: Belle Chen 1 ตุลาคม 2552 15:04:47 น.  

 

ขอบคุณครับ...สำหรับการตอบข้อซักถามอย่างน่าสนใจ ก็จริงดังที่คุณ Belle ว่า ช่วงแรกอะไรมักจะหวานเย็นไปหมด ใจมันอยากทำซะเต็มอิ่มกันทุกคน. จริงๆ ปัญหาที่ผมเจอนั้น ก็มีกลิ่นไม่ดีให้รู้สึกตั้งแต่ช่วงก่อนก่อตั้งอยู่เหมือนกัน สุดท้ายก็เลยเลือกถอนตัวออกมา เพียงแต่ ก็มีเงินลงทุน ที่ลงทุนไปแล้วบางส่วนกับทรัพย์สิน ดังนั้น ส่วนที่ลงทุนไปแล้ว ก็เลยเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์อยู่จนกระทั้งปัจจุบัน แต่เลือกที่จะต่างคนต่างดำเนินธุรกิจของตัวเอง แน่นอนว่ามันยังมีปัญหาอยู่บ้างตอนนี้ (จากการใช้ทรัพย์สินที่มีการลงทุนไปแล้ว) แต่ก็บรรเทาลงไปได้เยอะ

จริงๆ ผมสนใจในเอกสารที่คุณ Belle ได้เขียนข้อตกลงอยู่เหมือนกัน ผมว่ามือใหม่ทางธุรกิจนั้นด้อยประสบการณ์ว่าควรจะเขียนเรื่องอะไรบ้าง หนังสือเองผมก็ไม่ค่อยได้เห็นนัก ส่วนใหญ่ก็พูดเพียงแค่ว่าควรจัดการข้อตกลงกันเพียงเท่านั้น แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นว่า จริงๆ เขาเขียนอะไรกันบ้าง เขียนกันยังไง ถ้าในโอกาสต่อๆไป คุณ Belle นำมาแชร์ประสบการณ์บ้างนะครับ ^___^

 

โดย: Scalopus+ IP: 203.146.249.194 1 ตุลาคม 2552 15:49:23 น.  

 

รับทราบค่ะ จริงๆแล้วเป็นไอเดียที่ดีมากเลยนะคะ แล้วเบลล์จะเขียนถึงหัวข้อนี้ จดไว้แล้วค่ะ

 

โดย: Belle Chen 4 ตุลาคม 2552 22:09:12 น.  

 

แวะมาทักทายครับ อาจารย์

ข้อมูลการส่งออกเบื่องต้น สำหรับผู้ที่หาข้อมูลจากที่อื่นแล้วยัง งง ๆ อยู่
แนะนำที่นี่เลยครับ //www.exportth.com Update ข้อมูลเรื่อย ๆ ครับ

 

โดย: ladybrand 28 ตุลาคม 2552 14:03:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Belle Chen
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




* SME Entrepreneur of a jewelry business in USA
* Entrepreneurial and Lifestyle Writing Hobbyist
* Cheese, Chocolate, Coffee Enthusiast
Friends' blogs
[Add Belle Chen's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.