Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
17 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

7.โครงสร้างธุรกิจแบบ Sole Proprietorship

สรุปประเด็นหลัก

ขอบเขตของภาระหนี้สิน : หนี้สินของกิจการถือเป็นหนี้สินส่วนบุคคลของเจ้าของกิจการด้วย
การรายงานภาษี : ผลกำไรขาดทุนของกิจการจะนำไปคำนวนรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ
การจดทะเบียน : ง่ายและประหยัดที่สุด ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ (มีข้อยกเว้นในบางกรณี)
_____________________________________________________________________________________


โครงสร้างธุรกิจรูปแบบแรกที่เบลล์จะกล่าวถึงนี้ เรียกว่า Sole Proprietorship โครงสร้างนี้นับเป็นโครงสร้างที่แทบไม่มีความซับซ้อนเลย ง่ายในการจัดตั้ง ง่ายในการดำเนินการจัดการ และง่ายแม้กระทั่งการเลิกกิจการ เพราะไม่มีกฎข้อบังคับที่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความมาก ตรงไปตรงมา การรายงานก็น้อย เอกสารที่ต้องส่งรัฐก็น้อย เบลล์บอกกับน้องๆนิสิตที่เพิ่งได้พบปะกันว่า ให้จำง่ายๆว่ารูปแบบนี้ "เปิดง่าย ดำเนินงานง่าย ปิดง่าย" เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กทั้งหลายในอเมริกาจึงนิยมก่อร่างสร้างกิจการด้วยโครงสร้างนี้

ชื่อรูปแบบโครงสร้างSole Proprietorshipนั้น แปลความตรงตัวได้ว่า "เจ้าของคนเดียว" ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าของมักจะเป็นผู้ดำเนินการจัดการงานน้อยใหญ่ด้วยตัวเอง สำหรับรูปแบบโครงสร้างนี้ ในทางกฎหมายแล้ว คุณและกิจการเป็นบุคคลคนเดียวกันค่ะ หมายความว่ารายได้จากกิจการถือเป็นรายได้ส่วนบุคคลของคุณ ผลกำไรขาดทุน รวมทั้งสินทรัพย์ หนี้สินต่างๆของกิจการ ก็เป็นของคุณด้วย การเสียภาษีก็จะเสียในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกได้ว่าผลกำไรขาดทุนและสินทรัพย์หนี้สินต่างๆของกิจการ จะติดตามตัวคุณเป็นเงาตามตัวแบบถึงอยากตัดก็ตัดไม่ขาดเลยค่ะ รูปแบบกิจการนี้ น่าจะพอเทียบเคียงได้กับรูปแบบ"คณะบุคคล"ตามกฎหมายไทยค่ะ

ข้อดี:

๐ ง่ายและประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับรูปแบบโครงสร้างธุรกิจอื่น ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ ในกรณีที่คุณใช้ชื่อของคุณเป็นชื่อเดียวกับชื่อกิจการ คุณสามารถเริ่มกิจการได้เลย แต่ถ้าอยากมีชื่อของกิจการ ขั้นตอนก็มีเพียงแค่จดทะเบียนเพื่อประกาศว่าคุณคือเจ้าของชื่อทางการค้าเท่านั้น ข้อยกเว้นมีเพียงธุรกิจบางประเภทที่อาจต้องมีการติดต่อขอใบอนุญาต เช่นร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอล์ฮอล

๐ นอกจากขั้นตอนในการเริ่มกิจการจะง่ายแล้ว ขั้นตอนในการจัดการงานเอกสารเพื่อนำส่งรัฐก็มีน้อยมาก แม้กระทั่งเมื่อคุณจะเลิกกิจการก็ทำได้ง่ายๆค่ะ

๐ การตัดสินใจคล่องตัว เพราะเจ้าของกิจการเป็นผู้กุมบังเหียนของเรือตัวเองค่ะ

๐ เจ้าของกิจการมีอิสระในการนำรายได้ของกิจการไปลงทุนเพิ่มในกิจการ หรือจะเก็บเข้ากระเป๋าตัวเองก็ได้

ข้อเสีย
๐ เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบหนี้สินต่างๆแบบไม่จำกัด ดังนั้นถ้าคุณมีหนี้สินจำนวนมาก สินทรัพย์ทั้งของกิจการ ทั้งของส่วนตัวของคุณจึงมีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปจ่ายหนี้ และในกรณีที่กิจการขาดทุน เจ้าของกิจการก็ต้องควักกระเป๋าตนเอง หรือที่เรียกกันว่า"ควักเนื้อตัวเอง"นั่นเองค่ะ

๐ การเพิ่มทุนทำได้ลำบากกว่า ทุนส่วนใหญ่อาจต้องมาจากเงินส่วนตัวของเจ้าของเอง

๐ การจ้างพนักงานที่มีความสามารถอาจลำบาก โดยเฉพาะพนักงานเก่งๆที่อาจอยากมีโอกาสเข้าถือหุ้นของกิจการ ถ้าจะขยายกิจการให้ใหญ่มากๆ รูปแบบโครงสร้างนี้ก็อาจไม่เหมาะค่ะ

๐ สวัสดิการบางอย่าง เช่นเบี้ยประกันสุขภาพไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงทั้งหมดได้


ตัวเบลล์กับเพื่อนเอง ตอนแรกก็อยากเลือกรูปแบบโครงสร้างนี้ค่ะ เพราะง่ายและประหยัดมากๆ แทบไม่มีค่าใช้จ่ายเลย แต่พอคิตทบทวนถึงสิ่งทิ่ป้าลูแนะนำอย่างละเอียดทั้ง 8 ข้อตามบทที่แล้ว ก็ทำให้สมองสั่งการส่วนที่เป็นอารมณ์ชอบของถูกเบาบางลง และสมองส่วนที่เป็นตรรกะทำงานเต็มที่มากขึ้น ในโพสต์หน้าเบลล์จะมาเล่าให้ฟังนะคะว่าทำไมเบลล์กับเพื่อนจึงไม่เลือกโครงสร้างง่ายๆ ประหยัดๆนี้ (ฟังดูแล้วเหมือนโฆษณาซิมการ์ดสมัยนี้เลยนะคะ) จะลองแอบนึกเดาใจพวกเราดูก่อนก็ได้นะคะ เบลล์จะยกตัวอย่างธุรกิจตัวเองเป็นกรณีศึกษา ลองดูว่าทุกท่านจะเห็นด้วยหรือไม่

วันนี้เบลล์พูดคำว่า"ง่าย"เยอะมาก เลยอยากขอปิดท้ายด้วยเรื่องง่ายๆ ซี่งเป็นเรื่องที่ใครๆก็สามารถทำได้และมีผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มาก แม่ชีเทเรซ่ากล่าวไว้ว่า “Kind words are short and easy to speak, but their echoes are truly endless” คุณผู้อ่านเคยไหมคะที่มีคนมากล่าวชื่นชมหรือให้กำลังใจด้วยประโยคสั้นๆ ง่ายๆ แต่ทำให้ชื่นใจ ยิ้มไปได้ทั้งวัน ถ้าเราพูดคำพูดดีๆที่จริงใจแก่ผู้อื่น คำพูดของเราจะตรึงใจผู้อื่นไปได้เป็นวันๆ หรืออาจชั่วชีวิตของเขาเลยก็ได้ วันนี้คุณทำเรื่องดีๆด้วยคำพูดง่ายๆหรือยังคะ




 

Create Date : 17 กันยายน 2552
7 comments
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 12:59:39 น.
Counter : 10082 Pageviews.

 

Can't wait for the next chapter! very informative.
Good job! : )

 

โดย: Jayjiko IP: 68.47.17.115 17 กันยายน 2552 20:27:28 น.  

 

This is highly insightful and informative. I've always wanted to open my own business but never really understood the technical side of setting up my own company. I think that you are doing a great job articulating the ins and outs. Your writing style is interesting and compelling and makes reading your blog a joy. Your choice of topics is spot on and truly inspires me to pursue my dreams.
I hope that you continue to offer your knowledge to the community. Excellent work!!!!!

 

โดย: A distant admirer IP: 71.137.239.210 18 กันยายน 2552 10:16:11 น.  

 

คือพอดีว่าไปเจอกรณีที่บริษัทใหญ่ในไทยมีบริษัทย่อยที่สิงคโปร์ และบริษัทใหญ่ก็จัดทำ consolidated FS ค่ะ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าบริษัทย่อยในสิงคโปร์ได้นำ sole proprietorship firm มารวมด้วย เลยไม่ทราบว่าบริษัทใหญ่ในไทยต้องเปิดเผยเกี่ยวกับ sole proprietorship firm หรือเปล่าคะ และถ้ามันแปลตรงตัวว่า เจ้าของคนเดียว แล้วสำหรับเมืองไทยเราจะอธิบายคำจำกัดความ Sole proprietorship firm อย่างไรคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

 

โดย: Pook IP: 61.47.16.194 18 กันยายน 2552 15:27:17 น.  

 

ตอบคุณPookนะคะ

Sole Proprietorship น่าจะเทียบเคียงได้กับ"บุคคลธรรมดา"ที่มีรายได้จากหน้าที่การงานหรือกิจการของประเทศไทยค่ะ หลักการคือเจ้าของธุรกิจจะเสียภาษีจากผลกำไรในอัตราเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) อย่างนักธุรกิจขายตรงในเครือข่ายMLMก็เข้าข่ายนี้ค่ะ

ส่วนบริษัทใหญ่ในไทยต้องเปิดเผยเกี่ยวกับ sole proprietorship firm ในบริษัทย่อยในสิงคโปร์หรือไม่ น่าจะขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินธุรกิจของกิจการนะคะ อันนี้เบลล์ว่าลองปรึกษากรมสรรพากรเพื่อความมั่นใจดีกว่าค่ะ

เบลล์ขออนุญาตออกตัวอีกครั้งว่าเบลล์ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายนะคะ เพียงแต่นำประสบการณ์ตรงมาเล่าสู่กันฟังเพื่อจุดประกายแนวทางและอธิบายภาพกว้างๆให้กับSMEsไทยที่สนใจไปค้าขายที่อเมริกาค่ะ

 

โดย: Belle Chen 19 กันยายน 2552 11:24:45 น.  

 

อยากให้คุณเบลล์เขียนเกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจว่าควรเป็นแบบใด โดยพิจารณาถึงประมาณการยอดขายและผลกำไรขาดทุน
และ จำนวนเงินภาษีที่ยินดีจะเสียด้วยนะคะ (2 ประเด็นจากคำถาม 8 ข้อบทก่อนน่ะค่ะ) อาจเขียนตอนท้ายก็ได้ค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่แบ่งปันข้อมูลดีๆที่หาได้ยากอย่างนี้

 

โดย: นานา IP: 58.9.15.148 20 กันยายน 2552 22:06:27 น.  

 

I like your writing format (having main points on the top, having PRO & CON). It's easy to read and understand. Keep on the good work na ja : )

 

โดย: mom of twins IP: 67.189.26.166 21 กันยายน 2552 10:05:10 น.  

 

ก่อนอื่นเบลล์ต้องขอขอบคุณจากใจเลยที่คุณผู้อ่านทุกท่านกรุณาติดตามอ่าน ถาม แสดงความเห็น และให้กำลังใจด้วยคำพูดดีๆแทบทุกโพสต์ ทำให้เบลล์รู้สึกมีกำลังใจเขียนขึ้นอีกเป็นกองเลย เบลล์คิดว่ารางวัลที่ดีที่สุดชองผู้เขียนคือการมีผู้อ่านค่ะ จะตั้งใจเขียนต่อไปแน่นอนค่ะ

ตอบคุณนานา
เช้านี้ตื่นมาและแวะมาดูบล็อก เห็นข้อความต่างๆจากคุณนานาแล้วทำให้ใจพองด้วยความดีใจที่มีผู้อ่านน่ารัก สละเวลามาเขียนแสดงความเห็นมากมาย วันนี้เลยมีรอยยิ้มแต่เช้าเลย ขอบคุณสำหรับรอยยิ้มยามเช้านะคะ ส่วนคำถามของคุณนานา2 ประเด็นข้างต้นนั้น เบลล์เขียนตอบในโพสต์"ทำไมพวกเราจึงไม่เลือกSole Proprietorship" แล้วค่ะ แล้วแวะมาให้กำลังใจกันอีกนะคะ :-)

ตอบคุณ mom of twins
Thanks for your support & friendship. I'm really appreciated! :-)

 

โดย: Belle Chen 21 กันยายน 2552 23:09:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Belle Chen
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




* SME Entrepreneur of a jewelry business in USA
* Entrepreneurial and Lifestyle Writing Hobbyist
* Cheese, Chocolate, Coffee Enthusiast
Friends' blogs
[Add Belle Chen's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.