Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!
โชว์หุ่นบนเวที

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!
กลายเป็นประเด็นถูกล้อเลียน

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!
ถูกหาว่าเป็น "เด็กเส้น"

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!
คณะกรรมการผู้ตัดสิน

“ต่ำกว่ามาตรฐาน-เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” คุณสมบัติสาวงามแห่งยุค!?!
ถูกต่อว่า ทวิตคำหยาบ ไม่เหมาะกับตำแหน่ง

“170 ซม.ขึ้นไป” คือมาตรฐานสาวงามแห่งเวที Miss Universe Thailand ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อเจอความงามชนิด “ต่ำกว่ามาตรฐาน” แหกทุกกฎ ชนะทุกข้อยกเว้นของ “ฝ้าย-เวฬุรีย์ ดิษยบุตร” เจ้าของมงกุฎคนล่าสุดเข้าไป สังคมจึงยังคงอึ้ง! กันไม่เลิก ลองหยิบสเปกสาวงามจากเวทีเดียวกันนี้มาเปรียบเทียบแบบปีต่อปี จึงยิ่งทำให้ตาสว่างมากขึ้นว่า เหตุใดหลายคนจึงออกมาโวยวายคัดค้านว่าเธอ “เตี้ย-เผละ-ไม่มีความพร้อม” และ “ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้เอาเสียเลย”




“เตี้ย” เหมือนกัน ก็ยังด้อยกว่า!
“การส่งสาวงามไปประกวดต่างประเทศ เรื่อง “ส่วนสูง” เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ เลย เพราะการที่ผู้หญิงคนนึงไปอยู่ในกลุ่มผู้หญิงอีกกว่าร้อยคน ถ้าตัวเล็กปั๊บ เขาจะถูกกลืนหายไปกับกลุ่ม เพราะฉะนั้น ส่วนสูงถึงมีความสำคัญ ทางกองประกวดเลยจะเลือกนางงามที่มีส่วนสูงเกิน 170 ซม.ขึ้นไปเป็นส่วนมากในทุกปีที่เคยจัดประกวดมา”

หนุ่ม-ประเสริฐ เจิมจุติธรรม แฟนพันธุ์แท้นางงามและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกวดสาวงามอันดับหนึ่งของประเทศไทย อธิบายเหตุผลเอาไว้ ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่า เหตุใดผู้ชมส่วนใหญ่จึงตีความไปว่า การได้รับตำแหน่ง Miss Universe Thailand ประจำปี 2557 ของ ฝ้าย-เวฬุรีย์ คือการ “เล่นเส้น” หรือ “ล็อกสเปก” เอาไว้ก่อนแล้ว ง่ายๆ ลองเทียบกับ “แอลลี่-พิมพ์บงกช จันทร์แก้ว” ที่เป็นตัวเต็งในสายตาใครหลายๆ คนแล้ว มองอย่างไรก็มองไม่ออกว่า อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ฝ้ายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะในเรื่อง “ส่วนสูง” และ “สัดส่วน”

“แอลลี่-พิมบงกช จันทร์แก้ว” ส่วนสูง 179 ซม. น้ำหนัก 56 กก. และ สัดส่วน 32-25.5-38 นิ้ว

“ฝ้าย-เวฬุรีย์ ดิษยบุตร” ส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนัก 54.5 กก. สัดส่วน 32.5-25-35 นิ้ว

ลองให้วาดภาพอนาคตของน้องฝ้าย ในวันที่ต้องไปเป็นตัวแทนประกวด “Miss Universe” ไม่ว่าขณะนั้น เธอจะสามารถไปฟิตหุ่นให้เฟิร์มได้สำเร็จแล้วหรือไม่ แต่ด้วยรูปลักษณ์ที่มีอยู่ เธอก็ยังคงตกอยู่ใน “ที่นั่งลำบาก” อยู่ดี

“ลำบากมาก (เน้นเสียง) น้องฝ้ายจะต้องเจองานหนักสุดๆ ในชีวิตเลย เพราะเวลาไปเจอกับผู้หญิงที่สวยที่สุดจากแต่ละประเทศเกือบๆ ร้อยคน แล้วตัวเองไม่ได้โดดเด่น ตัวเองจะรู้สึกอึดอัดและรู้สึกด้อย และถ้าได้ภาษาก็ถือว่าดีไป แต่สุดท้าย ถ้าภาษาไม่ได้ด้วยเนี่ย ก็จะไปนั่งหลบมุมเงียบๆ แล้วก็จะต้องใช้ชีวิต 1 เดือนในกองประกวดอย่างลำบากและไม่มีความสุข”

หนุ่ม ผู้คร่ำหวอดในวงการนางงามวิเคราะห์ให้ฟังจากประสบการณ์ ทั้งยังบอกอีกว่า ถึงแม้จะมีบางกระแสที่พยายามมองโลกในแง่ดี มองว่าเซลลูไลท์ที่อยู่บนตัวน้อง ซึ่งหลายคนเรียกว่า “เผละ” นั้น อาจจะพอให้อภัยได้ แต่ถึงอย่างไรก็สะท้อนให้เห็นถึง “ความไม่พร้อม” ในการเข้าประกวดของเจ้าตัวอยู่ดี

“อย่างกรณีของน้องฝ้าย คิดว่าน่าจะเป็น 1 ใน 100 นะที่จะได้ตำแหน่ง เราเชื่อว่าคนที่จะมาประกวดอะไรสักอย่างหนึ่ง ควรจะมีการเตรียมตัวที่พร้อมกว่านี้ อย่างน้อยเราต้องรู้แล้วว่าหนึ่งในการประกวดเวทีนี้ ต้องมีประกวดชุดว่ายน้ำ แล้วยิ่งชุดว่ายน้ำในยุคนี้ใส่แบบทูพีซ ยิ่งไม่สามารถมีอะไรมาปกปิดได้เลย ผู้เข้าประกวดต้องรู้อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อตั้งใจมาประกวดแล้วก็ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมกว่านี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ถ้าน้องตั้งใจมากกว่านี้ก่อนมาประกวด อาจจะไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขนาดนี้”

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยมี “นางงามตัวเล็ก” เกิดขึ้นบนเวที “Miss Universe Thailand” หรือชื่อเดิมที่ใช้ว่า “Miss Thailand Universe” มาก่อน เพราะ เอมมี่-มรกต กิตติสาระ ผู้คว้ามงกุฎในปี 2547 และ ปุ๊กลุ๊ก-ฝนทิพย์ วัชรตระกูล ผู้ได้รับตำแหน่งประจำปี 2553 บนเวทีเดียวกันนี้ ก็ระบุเอาไว้ว่าสูง 170 เช่นกัน ต่างกันตรงที่ “ความพร้อม” ต่างหากที่ดูเหมือนว่า “ฝ้าย-เวฬุรีย์ ดิษยบุตร” เจ้าของมงกุฎปี 2557 จะไม่มีอยู่ในตัวเอาเสียเลย

“เอมมี่-มรกต ก็ถือว่าไม่ได้เป็นผู้หญิงไซส์ใหญ่ หรือ ปุ๊กลุก-ฝนทิพย์ ก็เป็นผู้หญิงไซส์กะทัดรัด แต่ทั้ง 2 คนนี้ก็สามารถ Present ตัวเองได้เป็นอย่างดีบนเวทีนางงามจักรวาล (Miss Universe) คือถ้าเทียบเรื่องส่วนสูงกับ น้องฝ้ายก็ถือว่าเท่าๆ กัน ก็ไปประกวดได้ไม่มีปัญหาอะไร หรืออย่าง Miss Universe ที่เป็นชาวต่างชาติเอง บางปีก็มีสาวงามไซส์เล็กได้รางวัลเหมือนกัน บางคนสูง 162-163 ซม.เอง ก็ยังเป็นนางงามจักรวาลได้ ดังนั้น ถึงแม้เรื่องส่วนสูงจะเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ก็จริง แต่ในบางโอกาสก็ถือเป็นข้อยกเว้นได้

เช่นเดียวกับปีของ เอมมี่กับปุ๊กลุ๊ก ถึงแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนสูงบ้าง แต่จะเห็นว่าทั้ง 2 คนมีการเตรียมตัวที่ดี เช่น ปุ๊กลุ๊ก จากเดิมรูปร่างก็ไม่ได้ดีนัก พอได้รับตำแหน่งปั๊บก็เข้ายิม ปั้นหุ่นตัวเองให้เป็นผู้หญิงที่แข็งแรง เธอก็สามารถทำได้ทันเวลา ตอนนี้ก็อยู่ที่น้องฝ้ายเองที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง มีเวลาอีก 3 หรือ 5 เดือนก็แล้วแต่ ก็ต้องดูว่าจะพิสูจน์ได้เห็นได้แค่ไหนว่าจะสามารถฟิตและเฟิร์มมากกว่านี้

ลองย้อนกลับไปดูคลิปเก่าๆ จะเห็นว่าปีที่ปุ๊กลุ๊กประกวด ถึงจะไม่ได้เฟิร์มมาก แต่เขาก็ไม่ถูกว่าเท่าน้องฝ้ายในปีนี้ เพราะปีนั้น ปุ๊กลุ๊กเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ถึงแม้จะเป็นไซส์เล็กกะทัดรัด แต่บนเวทีก็ดูดีที่สุดแล้ว ค่อนข้างจะโดดเด่น ในขณะที่น้องฝ้าย วัดจากสายตาของคนดูการประกวดนางงามทั่วไป สาธารณชนก็เห็นว่ายังมีตัวเลือกที่ดีกว่านี้ แต่มุมที่เรามองก็อาจจะต่างกับสายตาของคณะกรรมการค่ะ เพราะกรรมการเขามีเวลาดูนางงามเป็นเดือนๆ นานกว่าเราที่ดูเฉพาะบนเวที ดังนั้น กรรมการอาจจะมองเห็นอะไรที่เรามองไม่เห็น”




เหตุเกิดเพราะ “ธุรกิจนางงาม”
กวาง-ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม (Miss Thailand Universe ประจำปี 2550), แก้ม-กวินตรา โพธิจักร (ประจำปี 2551), ชาม-ไอยวริญท์ โอสถานนท์ (ประจำปี 2549), ฟ้า-ชัญษร สาครจันทร์ (ประจำปี 2554) คือมาตรฐานความงามที่กูรูด้านสาวงามบอกว่า “สัดส่วนลงตัวที่สุดแล้ว”

“เป็นยุคกลางๆ ของการประกวดค่ะ ถือว่าเป็นปีที่เราได้นางงามที่ได้มาตรฐานด้านสัดส่วน หน้าตาเป็นเอเชีย และมีการ Present ที่ดี หรืออย่างไข่มุก-ชุติมา ดุรงค์เดช (เจ้าของมงกุฎในปี 2552) ที่ไม่ได้สวยมาก แต่มีความตั้งใจที่จะมาประกวดทั้งระดับประเทศและระดับโลก คนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมากค่ะ เพราะน้องเขาไม่ได้สนใจจะทำงานในวงการบันเทิงเลย แต่ชีวิตของเธอคือการมาเข้าร่วมการประกวด Miss Thailand Universe เพื่อที่จะไปประกวด Miss Universe ถือเป็นตัวอย่างของนางงามที่มีความตั้งใจมากๆ”

แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนที่เข้ามาประกวดในเวทีนี้เพื่อ “ประกวด” จริงๆ แทบจะหาไม่ได้แล้ว เพราะด้วยมาตรฐานสัดส่วนที่สูงสง่าของนางงามทำให้กลับมาหางานในฐานะดารา-นักแสดงได้ลำบาก “อย่างยุคก่อนยังพอจะมีพื้นที่ให้กลับมาทำงานในวงการได้บ้าง เช่น ยุคของ เฮเลน-ปทุมรัตน์ วรมาลี (Miss Thailand World และรองอันดับ 3 Miss World ปี 2532) หรือ ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม (Miss Thailand World ปี 2535) เมื่อกลับมา ด้วยส่วนสูงที่เกินมาตรฐานของผู้หญิงไทย ก็เลยผันตัวไปเป็นนางแบบและทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จได้”

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้คณะกรรมการตัดสินเลือกผู้เข้าประกวดด้วยการมองแบบ “ข้ามช็อต” คิดว่าเลือกคนนี้แล้วจะให้มาทำงานในวงการได้อย่างไรบ้าง และนี่คือบทวิเคราะห์ส่วนหนึ่งจาก หนุ่ม-ประเสริฐ แฟนพันธุ์แท้นางงาม

“อาจจะเป็นการมองเผื่ออนาคตว่า เลือกคนนี้ไปแล้ว เมื่อกลับมา สามารถมาเล่นละคร เป็นดารา-นักแสดงได้ ในขณะนี้ถ้าเลือกนางงามอีกคนซึ่งหลายๆ คนเชียร์อย่างน้องแอลลี่ ถึงจะเป็นอันดับหนึ่งในใจใครหลายๆ คน แต่ถ้าเลือกไปประกวดเวทีโลกแล้วกลับมา สูงขนาดนั้นเนี่ย อาจจะกลับมาทำงานในวงการลำบาก ก็เลยคิดว่ากรรมการอาจจะมองเผื่อไว้หรือเปล่า อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะ

คงจะเป็นการมองข้ามช็อตของผู้จัดค่ะ อาจจะคิดว่าพอได้บุคลากรแล้ว ได้ตำแหน่งแล้ว ก็อยากจะส่งเสริม จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปหานางเอกที่ไหน ก็หยิบเอาผู้เข้าประกวดนั่นแหละ ซึ่งเราก็เข้าใจนะ เพราะถ้าจัดงานแล้ว มีบุคลากรแล้วและส่งไปประกวด แต่หลังจากนั้นพอกลับมาก็กลับไม่มีงาน ต้องรออีก 1 ปีแล้วก็มามองตำแหน่งแล้วก็จบไป ก็เหมือนมีบุคลากรแล้วไม่ได้ใช้

       แต่ยังไงก็มองว่าไม่น่าจะเอามารวมกัน ถ้าคณะกรรมการมองเผื่อให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง เป็นคนเดียวกับที่สามารถกลับมาเป็นดารา-นักแสดงได้ส่วนตัวคิดว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดค่ะ เพราะคุณสมบัติของการเป็น “ดารา” กับ “นางงาม” มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลยนะ คือ “ดารา” จะนิยมคนตัวเล็ก เด็กๆ ดูใสๆ ในขณะที่คนเป็น “นางงาม” ต้องสูงใหญ่และดูสง่างาม ซึ่งคุณสมบัติของทั้ง 2 อาชีพนี้ ไม่ควรจะนำมาปะปนกัน

       ถ้าต้องการหาตัวแทนไปประกวดสาวงามระดับประเทศ ก็ควรจะมุ่งมั่นหาสาวงามที่ดีที่สุดสำหรับการส่งไปชิงชัยในระดับนานาชาติ ส่วนตัวคิดว่าควรจะแยกกันโดยเด็ดขาด ไม่ควรจะเอามาเกี่ยวพันกัน แต่อันนี้เราก็ไม่แน่ใจนะคะว่าทางคณะกรรมการเขาคิดแบบนี้ มองเผื่อแบบนี้จริงๆ หรือเปล่า เพราะทางคุณแดง (สุรางค์ เปรมปรีดิ์) เอง เราก็รู้ว่าท่านมีคณะทีมงานด้านละคร เลยอาจจะคิดเผื่อไปด้วย”

ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานคอนเฟิร์มว่า “ล็อกสเปก” หรือ “เล่นเส้น” กันหรือเปล่า แต่ในสายตาของ “ป้าศรีเวียง” ผู้คร่ำหวอดอยู่ในเส้นทางนางงาม ปั้นสาวให้โด่งดังมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว ไม่มีใครในแวดวงนี้ไม่รู้จักป้า ท่านยังให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราเลยว่า หากมีการวางมวยกันแล้ว เบอร์ 27 “เเอลลี่” มีความเหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าเบอร์ 17 “ฝ้าย” เห็นๆ แต่ถึงกระนั้นคุณป้าก็ยังพยายามมองอย่างเข้าใจสัจธรรม อย่างที่รู้กันดีแก่ใจอยู่แล้วว่า “นางงามส่วนใหญ่ไม่ทันจบเทอมก็ถูกปั้นเป็นดารากันแล้ว จึงเห็นว่ากองประกวดฯ คงเฟ้นหาดารามากกว่านางงาม”




โหวต! เปลี่ยนกรรมการยกชุด?
ถึงตอนนี้ หลายคนที่ติดตามการประกวดไม่สามารถเรียกผู้ตัดสินลงคะแนนได้ว่า “คณะกรรมการ” ได้อย่างเต็มปากอีกต่อไป แต่หันมาเล่นคำว่า “กรรม...” ตามด้วยคำประดิษฐ์สารพัดเพื่อต่อว่าผลการตัดสินมอบมงกุฎให้ “นางงามค้านสายตา” อย่าง ฝ้าย-เวฬุรีย์ พานให้กลับมาตั้งคำถามชวนสงสัยว่าเวทีนี้มี “เกณฑ์การให้คะแนน” อย่างไรกันแน่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานออกมาเป็นตัวเลข แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่างหนุ่มก็พอมีคำอธิบาย

“ไม่ทราบจริงๆ ว่าเกณฑ์การให้คะแนนเป็นยังไง รู้แค่ว่าการประกวด Miss Universe Thailand มีหลายรอบ คือ รอบแรกเป็น “รอบชุดไทย” เราเรียกว่า “Creative Thai” เป็นรอบที่ประกาศให้คนเข้าไปดูได้ มีกรรมการมานั่งให้คะแนน ซึ่งจะเป็นกรรมการที่ใกล้เคียงชุดที่เราเห็นรอบสุดท้ายตอนออกทีวี อาจจะมีขาดบ้างสัก 2-3 คน

รอบที่ 2 “รอบชุดว่ายน้ำ” รอบการเดินโชว์ใส่ชุดต่างๆ แบบนี้ จัดขึ้นที่โรงเรียนเรวดีทั้งสิ้น ต่อไปก็คือรอบที่ 3 “รอบ Presentation” ใส่ชุดราตรีเดินโชว์ และรอบที่สำคัญที่สุดในความคิดของเราก็คือ รอบที่ 4 “รอบ Meet the judge” คือรอบเข้าพบกรรมการซึ่งนางงามทุกคนจะต้องลบเครื่องสำอางทั้งหมด แล้วก็รวบผม ใส่ชุดว่ายน้ำ พบคณะกรรมการตัวต่อตัวเพื่อให้สัมภาษณ์ คิดว่ากรรมการน่าจะพิจารณาจากรอบต่างๆ ทั้งหมดนี้แล้วเอาคะแนนมารวมกัน เพื่อหาคนที่เหมาะสมที่สุดในสายตาของคณะกรรมการ”

แต่ดูเหมือน “คนที่เหมาะสมในสายตาของกรรมการ” จะไม่เป็นไปในทางเดียวกับในสายตาของคนทั่วไปเอาเสียเลย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่อยากให้โทษว่าเป็นความผิดของใคร แต่เป็นเรื่อง “รสนิยม” มากกว่า “ไม่ว่าจะเป็นการประกวดอะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดทั้งมวลมันจบลงที่คำว่า “รสนิยม” ของคณะกรรมการชุดนั้น และเรื่องรสนิยมก็เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ว่าถูกหรือผิด ในเมื่อรสนิยมของกรรมการออกมาเป็นแบบนี้ เราก็ต้องยอมรับผลของการตัดสิน

เราเคยเห็นกรรมการที่มาจากเวทีประกวดสาวงามอื่นๆ จะเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับแวดวงของการประกวด หรือเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่กรรมการของ Miss Universe Thailand เราไม่ได้โทษอะไรใครนะคะ แต่เราเชื่อว่าท่านมีคุณวุฒิ มีวัยวุฒิ แต่เราไม่ทราบว่ามุมมองของท่านที่มีต่อเวทีการประกวดนี้เป็นยังไง เราไม่เคยเห็นบทบาทของท่านต่างๆ เหล่านี้บนเวทีการประกวดนางงามระดับนานาชาติมาก่อนเลย ดังนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทางกองประกวดที่น่าจะนำมาพิจารณาด้วย ว่าจะต้องหากรรมการมาเสริมเฉพาะด้านอื่นๆ หรือเปล่า

ถ้าจะคงกรรมการชุดนี้เอาไว้ด้วยเหตุผลของความสัมพันธ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ควรจะหากรรมการเฉพาะด้านเข้ามาเพิ่ม กรรมการที่มีมุมมองด้านแฟชั่นหรือการประกวด มาเสริมให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น เช่น ผู้เชี่ยวชาญวงการแฟชั่นค่ะ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ การแต่งกายในทุกๆ แบบมีความสำคัญทั้งนั้น เสื้อผ้าหน้าผม ควรจะมีกรรมการที่เป็น Make up Artist มือหนึ่งของประเทศ เป็นคนออกแบบทรงผมเบอร์หนึ่งของประเทศ หรือเป็นนักศิลปะที่มองศิลปะได้อย่างมีมุมมอง มีรสนิยม เพราะเรื่องรูปร่างหน้าตาก็ถือเป็นสรีระศาสตร์อย่างนึง เป็นศิลปะอย่างนึงเหมือนกัน”

ภัทรา ศิลาอ่อน, เพ็ชราภรณ์ วัชรพล, รอง ศจ.เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา, วิลักษณ์ โหลทอง, ม.ล.ภูมิใจ ชุมพล, พญ.ปริศนา สุขีพจน์, จิตรลดา ติษยนันท์, บอย-ถกลเกียติ วีรวรรณ,และ เกรซ-วรินทร ปัญหกาญจน์...

ทั้งหมดนี้คือรายชื่อของคณะกรรมการผู้ตัดสินในเซ็ตล่าสุดที่หลายคนตราหน้าว่า “ถูกซื้อ” หรือ “รสนิยมผิดพลาด” ถามว่าจะลบคำครหาเรื่องผลการตัดสินได้อย่างไรบนเวที Miss Universe Thailand ในปีต่อๆ ไป อาจจะไม่ต้องถึงขนาดโชว์คะแนนที่ให้ผู้ประกวดแต่ละคน แต่แค่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาให้ได้เท่านั้นเอง

สำหรับเวที Miss Universe Thailand ไม่เคยมีคะแนนขึ้นมาให้เราเห็นนะคะ แต่บางเวทีมี เช่น เวที “นางสาวไทย” บางปีเคยขึ้นคะแนนให้เห็น แล้วก็ Miss Universe ในปีก่อนๆ ก็เคยมีการขึ้นคะแนนให้เห็นเหมือนกัน แต่ปีหลังๆ ก็ไม่มีแล้ว ส่วนตัวคิดว่าการให้คะแนนเป็นความลับ คือถ้ามีคะแนนขึ้น สำหรับคนที่ชนะคงไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่ไม่ได้เข้ารอบ ถ้าผลคะแนนออกมาว่าได้อันดับสุดท้าย มันก็คงเป็นตราบาปไปตลอดชีวิตว่า เราเป็นที่โหล่ในเวที เพื่อหลักสิทธิมนุษยชนก็ไม่ควรขึ้นคะแนนโชว์ค่ะ

แต่ถ้าอยากจะแก้คำครหา เราก็ควรจะหากรรมการที่เป็นกลาง เป็นกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ก็อาจจะทำให้ผู้ชมเชื่อมั่นต่อกรรมการชุดนั้นๆ ได้ในอนาคต”

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live



Create Date : 20 พฤษภาคม 2557
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 0:32:27 น. 0 comments
Counter : 2664 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลูกโป่งลอยฟ้า_ชิงช้าสวรรค์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ลูกโป่งลอยฟ้า_ชิงช้าสวรรค์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.