เศรษฐกิจพอเพียงเกิดได้ถ้าใจปราถนา
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 

แบบบ้านกับหลักการปรับโครงสร้างบ้านเพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหว

แบบบ้านป้องกันแผ่นดินไหว

จากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นผลทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายทั้งอาคารบ้านเรือน สถาบันการศึกษา วัดวาอารามต่างๆ ซึ๋งภัยธรรมชาติดังกล่าวเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏ และมีหลักฐานในประเทศไทยก็ว่าได้

จากเหตุการณ์ทำให้เกิดการตื่นตัวในแวดวงวิชาการในการป้องกันเหตุแผ่นดินไหวที่จะทำลายอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยนักวิชาการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว ได้ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารที่จะช่วงป้องกันการเสียหายของแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางเราจึงขอนำเสนอบทความดังกล่าวซึ่งคัดลอกมาจาก เว็บผู้จัดการออนไลน์ //www.manager.co.th ซึ่งจะช่วยให้ท่านที่กำลังจะสร้างบ้านในเขตพื้นที่เสียงภัยได้นำหลักการไปประยุกต์สร้างบ้านของตัวเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้นะครับ

รศ.ดร.อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ได้เสนอตัวอย่างการเสริมเหล็กในโครงสร้างบ้านปูนเพื่อต้านแผ่นดินไหว โดยมีรายละเอียดของ คาน เสา ข้อต่อระหว่างคานและเสา และการทำของอที่ปลายเหล็กปลอก ดังนี้

1.แบบเสริมเหล็กคาน
บริเวณที่ต้องเสริมเหล็กให้แข็งแรงคือบริเวณปลายคานทั้งสองด้าน ดังนั้นการเสริมเหล็กปลอกในคานจะแบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ 1. บริเวณปลายคานวัดออกมาจากเสาสองเท่าของความลึกคาน ให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน หนึ่งในสี่ของความลึกคาน และ 2. บริเวณกลางคานให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของความลึกคาน เช่น คานลึก 40 ซม. ต้องเสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. มีระยะเรียงไม่เกิน 10 ซม. (หรือหนึ่งในสี่ของความลึกคาน) ในระยะ 80 ซม. จากปลายคานทั้งสองด้าน ส่วนบริเวณตรงกลางใช้เหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. วางเรียงกันไม่เกิน 20 ซม. (หรือครึ่งหนึ่งของความลึกคาน)

2.แบบเสริมเหล็กเสา
บริเวณที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ ปลายเสาทั้งด้านบนและด้านล่าง การเสริมเหล็กปลอกในเสาจึงแบ่งเป็น 2 บริเวณเช่นกัน คือ 1. บริเวณปลายเสาวัดออกมาเป็นระยะ 50 ซม. ให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของขนาดเสา และ 2. บริเวณกลางความสูงเสาให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ขนาดเสา เช่น เสาหน้าตัด 20x20 ซม. ต้องเสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. ในระยะ 50 ซม. ที่ปลายบนและล่าง ให้มีระยะเรียงไม่เกิน 10 ซม. (หรือครึ่งหนึ่งของขนาดเสา) แต่แนะนำให้ใช้เพียง 7.5 ซม. ส่วนบริเวณตรงกลางความสูงเสาให้เสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. วางเรียงกันไม่เกิน 20 ซม. (ขนาดเสา) แต่แนะนำให้ใช้เพียง 15 ซม. ซึ่งดีกว่ามาตรฐาน ในขณะที่เสาตอม่อหรือเสาใต้ถุนบ้านให้เสริมเหล็กปลอกมีระยะเรียงไม่เกิน ครึ่งหนึ่งของขนาดเสา ตลอดความสูงของเสา

3. แบบเสริมเหล็กข้อต่อคาน-เสา
ข้อต่อคือบริเวณที่คานและเสามาต่อกัน มีหน้าที่สำคัญในการยึดชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน หากข้อต่อเสียหายรุนแรง อาจจะทำคานและเสาหลุดแยกออกจากกันแล้วทำให้โครงสร้างถล่มได้ ดังนั้นต้องเสริมเหล็กปลอกในข้อต่อคานเสาเพื่อป้องกันการวิบัติด้วย โดยต้องเสริมเหล็กปลอกขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. และมีระยะระหว่างเหล็กปลอกไม่เกินด้านแคบของเสา เช่น เสาขนาด 20 x 20 ซม. ระยะเรียงของเหล็กปลอกในข้อต่อต้องไม่เกิน 20 ซม. (หรือหากใช้เพียงครึ่งหนึ่งหรือ 10 ซม. ก็จะดีมาก)

ยังมีบทความน่าสนใจท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ แบบบ้านป้องกันแผ่นดินไหว




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 2 มิถุนายน 2557 14:01:27 น.
Counter : 2292 Pageviews.


บ้านป่าตาล
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




เศรษฐกิจพอเพียงเกิดได้ถ้าใจปราถนา
Friends' blogs
[Add บ้านป่าตาล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.