Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2559
 
All Blogs
 
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว สำหรับที่อยู่อาศัย มาตรฐานกำหนดให้ติดตั้งป้องกันไฟรั่วไว้อย่างไร



กฟภ.มีการประกาศบังคับใช้ให้ผู้ใช้ไฟรายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ที่จะขอใช้ไฟฟ้า(ติดตั้งมิเตอร์) ทำการติดตั้งระบบไฟฟ้านอกจากสายดินแล้ว ให้มีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว ในวงจรที่มีความเสี่ยงและตามที่มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2557 เป็นต้นไป

เครื่องตัดไฟรั่ว มีประโยชน์อย่างไร

1. ใช้ป้องกันอันตรายจากไฟดูด โดยจะตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วซึ่งอาจไหลผ่านร่างกายผู้ที่สัมผัส ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งกรณีสัมผัสตัวนำไฟฟ้าโดยตรง (เช่น เด็กเอานิ้วจิ้มเต้ารับไฟฟ้า) และกรณีสัมผัสโดยอ้อม (เช่น สัมผัสโครงโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว)

2.  ใช้ป้องกันอัคคีภัย โดยจะตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นกับวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ในกรณีที่เครื่องป้องกันกระแสเกิน (ฟิวส์หรือเบรกเกอร์) ไม่ทำงานหรือทำงานช้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วมีค่าต่ำ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนเกิดอัคคีภัยได้

3.  ทำให้ทราบถึงวงจรและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเพื่อแก้ไขปรับปรุงหรือซ่อมแซมบำรุงรักษาต่อไป

เครื่องตัดไฟรั่วควรมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไร

เครื่องตัดไฟรั่วต้องมีคุณสมบัติและการใช้งานดังนี้

  • ต้องผลิตและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน มอก.909-2548 หรือ มอก.  2425-2552
  • ต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วที่กำหนดไม่เกิน 30 mA (มิลลิแอมป์) และระยะเวลาในการตัดกระแสไฟฟ้ารั่วภายใน 0.04 วินาที ที่ 5 เท่า ของพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่ว (150 mA)
  • เครื่องตัดไฟรั่วควรติดตั้งควบคู่กับระบบสายดิน เนื่องจากหากติดตั้งเฉพาะเครื่องตัดไฟรั่ว ไม่มีสายดิน เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าและมีคนไปสัมผัสถูกก็จะรู้สึกถึงการถูกไฟดูด ก่อนที่เครื่องตัดไฟรั่วจะทำงานตัดวงจร (ดังนั้นอันตรายอาจเกิดขึ้นได้หากเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน) ซึ่งการมีระบบสายดิน คนปลอดภัยจากการแตะสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วและจะไม่รู้สึกถึงการถูกไฟดูด

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว สำหรับที่อยู่อาศัย มาตรฐานกำหนดให้ติดตั้งป้องกันไฟรั่วไว้อย่างไร

เครื่องตัดไฟรั่ว ควรติดตั้งเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วสำหรับวงจรเฉพาะหรือวงจรที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้
เกิดอันตรายได้ เพื่อว่าหากภายในบ้านเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วขึ้นที่วงจรที่มีเครื่องตัดไฟรั่วอยู่ วงจรนั้นจะถูกตัดไฟออก (ไฟดับเฉพาะวงจร) และวงจรไฟฟ้าอื่นในบ้านยังมีไฟใช้ตามปกติ สำหรับมาตรฐานการติดตั้งกำหนดให้นอกจากติดตั้งสายดินแล้ว ต้องมีการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในวงจรดังต่อไปนี้

  • วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ โรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
  • วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ ที่มีการติดตั้งเต้ารับภายในระยะ 1.5 เมตร ห่างจากขอบด้านนอกของอ่าง)
  • วงจรไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายภายนอกอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตำแหน่งที่บุคคลสัมผัสได้ทุกวงจร
  • วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) ห้องใต้ดินรวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีสถิติน้ำเคยท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ยกเว้น       อาคารหรือบ้านที่อยู่ในพื้นที่ ภูเขา ที่ราบสูง มีระดับความสูงกว่าระดับน้ำทะเลท่วมถึง หรือในพื้นที่ไม่เคยมีสถิติน้ำท่วมถึง
  • วงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน อ่างอาบน้ำวน

กฟภ. มีข้อแนะนำการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วไว้อย่างไร

การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วนั้นควรติดตั้งเพื่อป้องกันวงจรย่อยที่มีความเสี่ยง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

กรณี 1 เป็นที่อยู่อาศัย ที่กำลังติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่ สามารถซื้อตู้จ่ายไฟ (แผงเมนสวิตช์) หรือตู้คอนซูเมอร์ยูนิต (consumer unit) เพื่อความสะดวกให้เลือกซื้อเครื่องตัดไฟรั่ว แบบที่เหมาะสมมาพร้อมกัน ส่วนกรณีเลือกซื้อเพื่อป้องกันกระแสไฟเกิน/ลัดวงจรและป้องกันไฟรั่วในวงจรได้ด้วย ควรเลือกซื้อเป็นแบบ RCBO แต่ถ้าซื้อแบบ RCCB จะต้องใช้ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ด้วย เพื่อให้วงจรย่อยนั้นมีการป้องกันกระแสไฟเกิน/ลัดวงจร ดูรูปที่ 3 (ก)

wiki20-3.jpg


รูปที่ 3 (ก) การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในวงจรย่อยสำหรับที่อยู่อาศัยที่กำลังติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่

กรณี 2 เป็นที่อยู่อาศัยที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว ต้องการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่มเติม ซึ่งหากไม่สามารถติดในแผงเมนสวิตช์ได้ แนะนำให้ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในบริเวณใกล้แผงเมนสวิตช์ (ต้นทางของวงจร) ดูรูปที่ 3 (ข)

wiki20-4.jpg

รูปที่ 3 (ข) สำหรับที่อยู่อาศัยที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้วต้องการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่มเติม ซึ่งไม่สามารถติดในแผงเมนสวิตช์ได้ แนะนำให้ติดตั้งใกล้แผงเมนสวิตช์ (ต้นทางของวงจร)


8. กฟภ. มีข้อแนะนำการทดสอบหลังจากติดเครื่องตัดไฟรั่วแล้ว ว่าใช้งานได้หรือไม่ อย่างไร

เครื่องตัดไฟรั่วจะมีปุ่มทดสอบ (Test) ในตัวเครื่อง เพื่อทดสอบการทำงานว่าเครื่องยังทำงานปกติหรือไม่ ซึ่งปุ่มจะเป็นลักษณะปุ่มเล็กๆ บนตัวเครื่อง ดังนั้นเมื่อทำการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วแล้วควรทำการทดสอบโดยกดปุ่มทดสอบ ก้านสวิตซ์ที่เครื่องตัดไฟรั่วจะตกลงมาทันที แสดงว่าเครื่องตัดไฟรั่วนั้นทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งควรมีการกดปุ่มทดสอบเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่ากลไกการตัดวงจรยังคงทำงาน

wiki20-6.jpg



ควรทำการกดปุ่มทดสอบเป็นประจำ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของผู้ผลิต

เครดิต

https://web.pea.co.th/peawiki/Pages/wiki21.aspx





Create Date : 06 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2559 9:51:50 น. 0 comments
Counter : 2900 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตังชัย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add ตังชัย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.