Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
3 พฤศจิกายน 2559
 
All Blogs
 
คำนวณแสงข้อมูลแสงสว่างเองจากข้อมูลการกระจายแสงอย่างง่ายๆ



คำนวณแสงข้อมูลแสงสว่างเองจากข้อมูลการกระจายแสงอย่างง่ายๆ

                หากหน่วยงานของท่านต้องการจะออกแบบติดตั้งโคมไฟ ซึ่งหากจะใช้ตัวอย่างจริงมาทดสอบเพื่อหาขนาดกำลังวัตต์ที่เหมาะสม ดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลามาก วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีคร่าวๆ ง่ายๆ ในการประมาณการความสว่างของการติดตั้งโคมๆนั้น

                ดังรูปด้านบน ด้านซ้ายมือจะเป็นกราฟข้อมูลการกระจายแสงที่มุมต่างๆว่ามีความเข้มของแสง(แคนเดลา, cd)อยู่เท่าไร ซึ่งขอได้จากผู้ผลิตโคมเหล่านั้น ในการดูกราฟนั้น เราสามารถคิดภาพตามง่ายๆคือ ให้นึกเสมือนเรามองโคมจากด้านข้าง ดังนั้นครึ่งวงกลมซีกล่างของกราฟก็จะเป็นแสงที่ออกมาจากปากโคมพุ่งไปยังพื้น และ  ครึ่งวงกลมซีกบนจะเป็นแสงที่ออกจากโคมพุ่งไปยังเพดาน ทีนี้ เราพิจารณาส่วนของครึ่งวงกลมซีกล่าง ตรงกลางนั้น คือส่วนที่ออกมาจากโคมตรงๆ หรือ ส่วนของกึ่งกลางโคม ซึ่งในกราฟจะแสดงอยู่นั้นจะเป็นของไฮเบย์ LED ขนาด 100 วัตต์ โดยที่ 0 องศา ถ้าเราสังเกตุค่าปริมาณแสงที่แสดงอยู่นั้น จะมีค่าความเข้มของแสงอยู่ประมาณ 6700 cd

                เมื่อเราได้ค่าความเข้มแสง และ ระยะห่างโคมกับหน้างานแล้ว เราจะสามารถคำนวณค่าความสว่าง (Lux) ได้จากสูตร ค่าความสว่าง(Lux) = ค่าความเข้มแสง / (ระยะห่าง)^2 ดังนั้น หากเราแขวนโคมดังกล่าวไว้สูง 9 เมตร เราจะได้ความเข้มแสงที่พื้นเท่ากับ 6700/9^2 เท่ากับ 82.96 lux (ถ้าหาความสว่าง ณ ระดับพื้นที่ทำงานก็จะลบระยะห่างด้วย 0.75 เมตร เท่ากับ 8.25 เมตร) ดังนั้น เราจะได้ว่าความสว่างที่พื้น ณ กึ่งกลางโคม จะประมาณ 82.96luxจากการคำนวณทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะเผื่อค่าความคลาดเคลื่อนไว้ประมาณ 10-15% เนื่องจาก ข้อมูลทดสอบนั้น ทดสอบที่อุณหภูมิห้อง แต่การใช้งานจริงนั้น เราแขวนไว้ที่สูง มักจะมีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งจะทำให้ปริมาณแสงลดลง

                ทีนี้หาก ต้องการจะทราบค่าความสว่างด้านข้างโคม สามารถทำได้ในทำนองเดียวกัน แต่จะต่างกันนิดหน่อยคือ จะต้องพิจารณามุมของแสงที่ตกกระทบด้วย ตัวอย่าง หากจุด B ในภาพนั้น ห่างจากกึ่งกลางโคมเป็นระยะทางเท่ากับ 5 เมตร จากการคำนวณมุมจะได้ว่า จุด B นั้นทำมุมกับโคมประมาณ 30 องศา (arctan5/9) ดังนั้น จากกราฟเดิม เราอ่านกราฟซีกล่างที่เส้นตัด 30 องศา จะได้ค่าความเข้มแสงประมาณ 6500 cd เมื่อเราคำนวณระยะทางจากจุด B ถึงโคมนั้น จะได้ระยะทางเท่ากับ 10.4 เมตร (9/cos30˚)ที่นี้เราจะคำนวณแสงสว่างที่จุดBได้จากสูตร  ค่าความสว่าง(Lux) = {ค่าความเข้มแสง / (ระยะห่าง)^2}*cosѲ จะได้เท่ากับ {6500/10.4^2}*cos30˚ = 52.04 lux

                ต่อมา การติดตั้งโคมนั้น เราไม่ได้ติดแค่โคมๆเดียว สมมุติหาก โคม2โคมนั้น แขวนห่างกันเป็นระยะเท่ากับ 10 เมตร จะได้ว่า ระยะกึ่งกลางโคมนั้นเท่ากับ 5 เมตร ซึ่งถ้าเราอยากคำนวณ ณ จุดนี้โดยการคำนวณหาระยะ 5 เมตรของแต่ละโคมและนำมารวมกันได้เลย กล่าวคือ ที่ระยะห่าง 5 เมตรของโคมๆนึง มีค่าเท่ากับ 52.04lux (การคำนวณจุด B จากตัวอย่างข้างต้น) ดังนั้นการรวมกันของความสว่าง ณ จุดกึ่งกลางนี้ของทั้ง 2 โคม จะมีค่าเท่ากับ 52.04+52.04 = 104.08 lux

                ดังนั้นท่านสามารถจะประยุกต์ใช้หลักการนี้กับโคมแบบอื่นๆและระยะห่างโคมค่าอื่นๆได้ เพื่อ ประมาณหาค่าความสว่างคร่าวๆ ว่า กำลังวัตต์และรูปแบบของโคมที่ท่านเลือกนั้น สามารถให้ความสว่างเพียงพอหรือไม่

จาก //www.we-intech.com/article/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/





Create Date : 03 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2559 10:07:01 น. 0 comments
Counter : 4723 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตังชัย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add ตังชัย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.