Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

“มะเร็ง” ตับ ชายมากกว่าหญิง

มะเร็งตับ เป็นโรคที่พบมากในประเทศแถบเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ที่มีการตรวจพบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด ผู้ป่วยส่วนมากที่ตรวจพบจะมีอายุเฉลี่ย 40-60 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ด้วยอัตราเฉลี่ย 4.6 : 1 คน



อาการของมะเร็งตับ


มะเร็งตับในระยะเริ่มต้น จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่อาการต่างๆ ที่แสดงออกมาเป็นอาการบ่งชี้ว่า น่าจะมีปัญหาที่ตับ อาการที่พบบ่อยมีดังนี้



  1. ไม่แสดงอาการผิดปกติทางร่างกาย แต่จะตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด หรือเอกซเรย์อัลตราซาวนด์ช่องท้อง

  2. มีอาการปวดแน่นท้องบริเวณชายโครงด้านขวา ท้องอืด ท้องโต

  3. มีอาการอ่อนเพลีย และมีไข้

  4. เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด

  5. มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม และขาบวม

  6. มีอาการเลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือด

  7. มีอาการซึม และสับสน


ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ



  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี

  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี

  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานานๆ จากภาวะไขมันสะสมในตับ และจากภาวะธาตุเหล็กในตับสะสมผิดปกติ

  4. ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน

  5. ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือมีโรคไวรัสตับอักเสบบี


ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับในระยะสุดท้าย จะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 6-20 เดือน หลังจากการตรวจพบ ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของมะเร็ง สภาพร่างกายของผู้ป่วย และวิธีการรักษาที่ได้รับ



วิธีการตรวจหามะเร็งตับ


ตรวจหาสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน (Alfa-fetoprotein: AFP) : เป็นสารที่เป็นตัวบ่งชี้ เพื่อการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับในระยะสุดท้าย ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับประมาณ 60% จะตรวจพบสารนี้ในระดับที่สูงมาก ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงควรตรวจเลือด ตรวจการทำงานของตับ ตรวจค่าบ่งชี้การเป็นมะเร็งตับ ทุก 3-6 เดือน และตรวจอัลตราซาวนด์ทุก 6 เดือน


การป้องกันโรคมะเร็งตับ


เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเป็นมะเร็งตับ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้



  1. ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

  2. ไม่รับเลือด นอกจากกรณีจำเป็น

  3. ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท

  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงที่ชื้นหรือเก่า

  5. งดการใช้ยาเสพติด

  6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น

  7. ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัด และติดตามผลตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะค่าการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอ


หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2553




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 9:47:54 น.
Counter : 1250 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.