แชร์ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบ้าน เลือกแบบ เลือกสถาปนิกออกแบบ เลือกช่าง เลือกวัสดุ จนถึงการดูแลรักษา ซ่อมแซมปรับปรุง พ่วงด้วยประสบการณ์การเดินทาง ออกท่องเที่ยว
Group Blog
 
 
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
มีเงินหลักแสนก็มีบ้านได้ (แต่ได้บ้านเปล่าๆ ไม่รวมตกแต่ง)

blog ที่แล้ว ได้รู้ไปแล้วว่าอะไรที่ทำให้ค่าบ้านที่เราจ่ายๆ ออกไปถึงได้มากมายมหาศาลขนาดนั้น และทำไมเราถึงต้องซื้อบ้านราคาเป็นล้านๆ แต่ได้คุณภาพไม่เต็มล้าน   วันนี้จะมาดูกันว่า ที่จั่วหัวไว้ว่า มีเงินหลักแสน ก็มีบ้านได้ เป็นยังไง  บอกก่อนว่าไม่ได้โม้นะ มีเงินแสนก็สร้างบ้านได้จริงๆ  แต่อาจจะหลังไม่ใหญ่โต แล้วก็ไม่รวมงานตกแต่ง

ไอเดียที่ว่าเป็นของอาจารย์นักคิดท่านหนึ่ง อาจารย์ชาติชาย ที่คิดค้น หาวิธีช่วยเหลือคนที่อาจจะไม่ได้มีเงินมากมายแต่อยากมีบ้านของตัวเองหลังเล็กๆ สักหลังในยุคค่าจ้าง 300 ทั่วไทย ด้วยเทคนิคการก่อสร้างใหม่ๆ  วัสดุก่อสร้างที่ลดทั้งค่าใช้จ่าย ลดจำนวนช่างหรือกรรมกรลง ลดเวลาการก่อสร้างลง  ดังนั้นบ้านของอาจารย์ก็น่าจะตอบโจทย์คนที่มีงบสร้างบ้านไม่สูงมากนัก  (อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่จ้า ^^//community.akanek.com/th/interview/nano-block-building-thainano


หัวใจสำคัญของบ้านที่สร้างจากอิฐบล็อคนาโนของอาจารย์ชาติชายก็คือ จ้างให้น้อย ทำเองให้มาก ต้นทุนก็จะถูกลงเอง  แต่สำหรับคนที่ต้องทำมาหากิน หรือไม่มีหัว ไม่มีใจทางด้านช่าง จะให้มาสร้างเอง ก่ออิฐ เทปูนเองก็คงจะไม่ใช่แล้ว  สุดท้ายก็ต้องยอมจ้างคนงานมาทำให้อยู่ดี แต่ก็ยังดีตรงที่วัสดุก่อสร้างของอาจารย์ เน้นการก่อสร้างง่ายๆ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ทำให้ลดเวลาการทำงานลง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มาพร้อมกับเวลาก็จะลดลงตามไปด้วย  ร่ายยาวมาเกือบครึ่งหน้าแล้ว ไปดูกันดีกว่าว่า เงินหลักแสนจะช่วยให้คนมีบ้านได้จริงมั้ย?

"  ตอนนี้เป็นตอนต่อจากคราวที่แล้วที่เราได้เห็นภาพรวมของการสร้างบ้านว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านหนึ่งหลังมีอะไรบ้าง  (ถ้าใครยังไม่ได้อ่านตอนแรก เข้าไปอ่านกันได้ที่  นวัตกรรมเพื่อบ้าน เพื่อสังคม ตอนที่ 1 กว่าจะได้บ้านสักหลัง)   ซึ่งอาจารย์ชาติชายบอกแล้วว่าการที่จะให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกลง จะต้องเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างทั้งระบบ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า ที่อาจารย์ชาติชายบอกว่าจะสร้างบ้านราคาไม่กี่แสนบาท แล้วยังได้บ้านที่แข็งแรงและสวยงาม ทำได้อย่างไร ค่าแรงเป็นต้นทุนสำคัญที่ทำให้ราคาบ้านสูง  จะให้บ้านถูกลงในยุคค่าแรงแพง จะลดจำนวนคนงานก็ไม่ได้ จะลดคุณภาพคนงานก็ไม่ดี  แล้วจะทำอย่างไร ให้เราใช้แรงงานน้อยที่สุด?  นอกจากแรงงานแล้ว วัสดุล่ะ จะทำอย่างไร?

     อิฐบล๊อกนาโนครอบคลุมมากกว่าวัสดุ     
อยากได้บ้านราคาหลักแสน ที่แข็งแรง ประหยัดพลังงาน อาจารย์ชาติชายบอกว่าอิฐบล๊อกนาโนตอบโจทย์นี้ได้  ถึงอาจารย์ชาติชายจะนำตัวอิฐบล๊อกนาโนเป็นตัวชูโรงในการทำการตลาดและโปรโมท  จริงๆ แล้วตัวอิฐบล๊อกนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่อาจารย์ชาติชายคิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ให้บ้านเป็นสิ่งที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้
เรามาดูที่ตัวอิฐบล๊อกเองก่อนว่าเป็นอย่างไร ต่างจากวัสดุอื่นๆ อย่างอิฐมวลเบาที่เรารู้จักกันอย่างไร 
- ตัวบล๊อคนาโน ใช้คอนกรีตผสมแบบเปียก (wet process) เนื้อคอนกรีตจึงดูดซึมน้ำน้อย วันที่ฝนตกอากาศเย็นชื้นช่างก็ยังก่อสร้างทำงานได้ แข็งแรง ทนทาน ก้อนหนึ่งรับน้ำหนักได้ถึง 15ตัน  น้ำหนักเบาเพราะมีช่องว่างกลางก้อนให้มีอากาศไหลเวียนหรือใส่วัสดุที่เป็นฉนวนลงไป  หรือเสริมเหล็กเส้น เทคอนกรีตลงไปเพื่อให้ตัวบล็อครับแรงได้มากขึ้น สามารถฉาบได้เหมือนผนังฉาบทั่วไป หรือจะไม่ฉาบปล่อยเป็นผนังเปลือยแล้วทาสีทับเลยก็ทำได้ เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง  

-  การก่ออิฐบล๊อกนาโน ไม่ได้ใช้วิธีฉาบปูนในการก่ออิฐ เพื่อให้งานก่ออิฐบล็อคนาโนเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องเป็นช่างก็สามารถก่อได้  อาจารย์บอกว่าเจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านเองได้เพื่อช่วยประหยัดในเรื่องค่าแรง  จึงออกแบบการก่ออิฐโดยการใช้เทคนิคเดียวกับการเล่นต่อตัวต่อเลโก้ให้มีเดือยล็อคด้านบนและด้านล่าง (ดูวิธีการก่ออิฐบล็อคนาโนได้ที่นี่ ขั้นตอนการก่ออิฐบล็อคนาโน)     ด้วยการจุ่มอิฐลงกับปูนกาวแทนการใช้ปูนก่อแล้ววางประกบกับตัวเดือยอิฐอีกก้อนก็วางเรียงซ้อนกันได้แล้ว  (AKANEK ลืมถามไปว่าอิฐก้อนแรกยึดกับฐานอย่างไร) จึงตัดขั้นตอนการผสมปูนฉาบ ตัดปัญหาเรื่องการฉาบปูนไม่เรียบร้อยหรือฉาบปูนไม่เท่ากันซึ่งทำให้เกิดปัญหาดิ่งฉากได้ง่ายที่วงกบประตูและหน้าต่าง  และทำให้คนที่ไม่ใช่ช่างสามารถก่ออิฐเองได้  ตัวอิฐบลอคนาโนแต่ละก้อนหนา 20ซม. เมื่อก่อผนังแล้ว ผนังบ้านจะหนากว่าผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบาซึ่งมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 7.5ซม.  (ไม่แน่ใจว่าวงกบหน้าต่าง ประตูจะต้องทำให้หนาขึ้นด้วยหรือไม่)
-  อิฐบลอกนาโนมีให้เลือกใช้งานตามความต้องการ 19สูตร  ตั้งแต่อิฐบล็อคสูตรคอนกรีตผสมแกลบ ผสมโฟม สำหรับห้องเย็น ห้องเก็บเสียง หรืออาคารทั่วไป โรงจอดรถ ห้องเก็บของ จนไปถึงสูตรเสริมเหล็กสำหรับอาคารที่ต้องการความแข็งแรง ปลอดภัยสูงหรือป้องกันภัยพิบัติ  เหตุผลที่มีหลายสูตรนี้นอกจากเพื่อการใช้งานแล้ว ยังเพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตเพราะอาจารย์ชาติชายต้องการให้ผู้แทนผลิตและจำหน่ายสามารถใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นในการผลิตตัวอิฐบล๊อกนาโนได้


-  อิฐบล๊อกนาโนยังช่วยเรื่อง logistics และ mobilization ที่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งจากจุดผลิตไปยังจุดก่อสร้าง เรื่องนี้จะเชื่อมโยงกับการตลาดที่อาจารย์ชาติชายวางไว้  อิฐบล็อคนาโนสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วประเทศด้วยการเปิดรับตัวแทนจำหน่ายแต่ละจังหวัด เนื่องจากการผลิตอิฐบล๊อกนาโนไม่จำเป็นต้องผลิตในโรงงาน ตัวแทนจำหน่ายจะต้องเข้ามาอบรมการผลิตอิฐบล็อคนาโน และการก่อสร้างบ้านด้วยตัวอิฐนาโน  เพื่อให้มั่นใจว่าการก่อสร้างบ้านจะเป็นไปตามมาตรฐานของบริษัท  การผลิตและการทำการตลาดลักษณะแบบ localization นี้ นอกจากจะช่วยให้ค่าขนส่งหายไปได้เยอะและยังเป็นการสร้างงานในชุมชนไปในตัวอีกด้วย     "


ไปพิสูจน์กันต่อว่า สร้างบ้านหลักแสน ทำได้จริงหรือไม่กันต่อที่นี่เลย  //community.akanek.com/th/interview/nano-block-building-thainano



Create Date : 11 มีนาคม 2556
Last Update : 13 มีนาคม 2556 21:13:35 น. 1 comments
Counter : 11671 Pageviews.

 
ชอบเรื่องราวมากๆเลย
ตามไปดูเฟสบุคของอาจารย์ชาติชายด้วยค่ะ


โดย: Banana Muffin วันที่: 19 สิงหาคม 2556 เวลา:15:06:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แบม แลบดำ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




แชร์กัน แบ่งปันความรู้ที่ตัวเองได้รับมาฟรีๆ ต้องรู้จักแบ่งปัน ส่งต่อ

Friends' blogs
[Add แบม แลบดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.