แชร์ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบ้าน เลือกแบบ เลือกสถาปนิกออกแบบ เลือกช่าง เลือกวัสดุ จนถึงการดูแลรักษา ซ่อมแซมปรับปรุง พ่วงด้วยประสบการณ์การเดินทาง ออกท่องเที่ยว
Group Blog
 
 
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
มีเงินล้านถึงจะสร้างบ้านได้หรือ???

เดี๋ยวนี้เห็นโฆษณาขายบ้าน แต่ละโครงการ ขึ้นหลักล้านกันไปแล้วทั้งนั้น ที่ต่ำกว่าล้าน ก็ต้องทำใจกับเรื่องหน้าตาความสวยงามของวัสดุที่ถูกจำกัด   แล้วคนที่มีเงินเก็บไม่ถึงล้านจะทำอย่างไร เมื่อไหร่จะได้มีบ้านเป็นของตัวเองเสียที  หรือถ้าอยากได้ก็ต้องไปยอมเป็นหนี้แบงค์กู้มาสร้างบ้านตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว ส่งหนี้ไปจนลูกเข้าเรียนมัธยมหรือเปล่า?


ส่วนตัวนี้เองคิดว่าโอกาสจะสร้างบ้านของตัวเองคงยังอีกนาน แต่พอมาคิดแล้ว ตอนนี้ จะสร้างบ้านยังต้องมีเงินล้าน แล้วอนาคตล่ะ เมื่อวันที่เราพร้อมจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ราคาบ้านจะสูงไปอีกสักแค่ไหน?

ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่ให้มุมมองอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการก่อสร้างว่า กว่าที่เราจะได้บ้านออกมาสักหลัง เราเสียค่าอะไรต่อมิอะไรไปอีกมากมาย นอกเหนือจากค่าก่อสร้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายนอกเหนือการก่อสร้างพวกนี้เองที่เราจ่ายแล้วไม่ได้อะไรคืนกลับมาและต้องจ่ายตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มตอกเสาเข็มเลยสักต้น

อ่านแล้วอิน ^^  เลยบางส่วนมาฝาก แต่ถ้าอยากอ่านทั้งหมด หาอ่านเพิ่มเติมบทความทั้งหมดได้ที่ นวัตกรรมเพื่อบ้านเพื่อสังคม ตอนที่ 1 กว่าจะได้บ้านสักหลัง

" ทราบจาก fanpage ของอาจารย์ชาติชายมาว่า ถ้าจะสร้างบ้าน มีเงินไม่กี่แสนก็สร้างบ้านแข็งแรง ประหยัดพลังงานได้แล้ว (*ไม่รวมตกแต่งภายใน)  พูดจริงหรือหลอกเล่น ?

AKANEK กลับไปพบอาจารย์ชาติชายอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาคำตอบว่าบ้านราคาหกหลักที่อาจารย์พูดถึง แข็งแรง สวยงามเหมือนบ้านที่เรารู้จักกันทั่วไปอย่างไร  ทำไมถึงสร้างได้ในงบประมาณเท่านั้น แล้วถ้ากำลังเงินเราพร้อม เราจะสร้างบ้านแบบที่ชอบในงบประมาณประหยัดได้หรือเปล่า


ครั้งที่แล้ว (*บ้านไทยนาโน เฮ้าส์ บ้านทางเลือกสำหรับอนาคต ) อาจารย์ชาติชาย สุภัควนิช บอก AKANEK ว่าคนไทยรายได้ต่ำแต่รสนิยมสูง ทุกนวัตกรรมของอาจารย์ชาติชายจึงมีต้นทุนเป็นโจทย์สำคัญเพื่อให้นวัตกรรมของอาจารย์มีคุณภาพดีในราคาที่คนไทยทั่วไปหาซื้อได้  

ก่อนที่จะไปดูว่าอาจารย์ชาติชายจะสร้างบ้านราคาสามแสนได้อย่างไร เราลองมาดูภาพรวมการก่อสร้างที่เราเห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้กันก่อนว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเราก็จะไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมเพื่อบ้านของอาจารย์อีกครั้งหนึ่งในตอนต่อไป

อยากได้บ้านหนึ่งหลัง จำเป็นมั๊ยต้องเป็นหนี้ค่อนชีวิต
ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องการก่อสร้าง อาจารย์ชาติชายพูดให้คิดว่า คนจะสมัยนี้จะซื้อหรือสร้างบ้านสักหนึ่งหลังต้องเป็นหนี้ธนาคารกี่ปี  มาดูราคาบ้านในปัจจุบันกันก่อน ทุกวันนี้ ให้ไปหาที่ดินในกรุงเทพฯ ตารางวาละ 50,000 ยังหายากเต็มที ถ้าจะมีก็ห่างไกลจนแทบจะเรียกว่าเป็นต่างจังหวัดอยู่แล้ว ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้นอีกนิด บ้านเดี่ยวรวมที่ดิน 45 ตารางวา สามห้องนอน สองห้องน้ำ ย่านชานเมืองกรุงเทพ ราคาสตาร์ทกันไม่ต่ำกว่าสี่ล้าน คุณภาพ? พอรับได้ วัสดุ? พอรับไหว

ลองเปลี่ยนมาอยากได้ของดีบ้าง หลังใหญ่ขึ้นมาอีกนิดสัก ประมาณ 90 ตารางวา ราคาเริ่มกันที่ 10ล้านขึ้นไป หน้าตาสะสวยขึ้น วัสดุคุณภาพดีขึ้นหน่อย   สำหรับตามต่างจังหวัด AKANEK ไม่เชี่ยวชาญนัก แต่ก็เข้าใจว่าอยากได้บ้านสักหลัง ก็อยู่ที่หลักล้านเหมือนกัน
ถ้าพ่อแม่ซื้อบ้านให้ ก็ถือว่าโชคดีได้เป็นเจ้าของบ้านแบบปลอดภาระหนี้ แต่สำหรับคนที่ไม่มีพ่อแม่ซื้อบ้านให้ กินเงินเดือนทั่วไป จะต้องเก็บหอมรอบริบกี่นาน ต้องเป็นหนี้ธนาคารอีกกี่ปีเพื่อจะได้เป็นเจ้าของบ้านสักหลัง?   อาจารย์ชาติชายบอกว่า บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย4 ที่มนุษย์ควรมี  จำเป็นจริงหรือที่จะต้องเป็นหนี้ค่อนชีวิต

กว่าจะลงเสาเข็ม จ่ายอะไรไปบ้าง 
ในระบบการก่อสร้างปัจจุบัน  อาจารย์ชาติชายบอกให้ฟังว่า กว่าเราจะได้ลงเข็มต้นแรก ค่าใช้จ่ายหลายหมื่นก็เกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่การสร้างที่พักชั่วคราวให้กับคนงาน สังกะสี ไม้ ห้องน้ำห้องท่า อุปกรณ์ห้องสุขา ขุดดินฝังถัง ใช้ช่างคุมงาน 1 คน คนงานอีก 2-3คน  ใช้เวลา 3-5วัน   ไหนจะทำผังวางแนวบ้านและอื่นๆ อีกจิปาถะ  นี่ยังไม่เริ่มตอกเสาเข็มสักต้น ก็มีค่าใช้จ่ายที่เจ้าของบ้านต้องจ่ายออกแล้ว  คำถามคือ จะทำอย่างไรที่จะสร้างบ้านได้เร็ว และประหยัด

จะให้ราคาบ้านถูกลง ต้องเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างทั้งระบบ 
อาจารย์ชาติชายบอกว่า อยากให้บ้านราคาถูกลง จะเปลี่ยนแค่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้  ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง เครื่องไม้เครื่องมือช่าง ไปจนถึงวิธีการก่อสร้าง การจัดการพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อที่จะทำให้การก่อสร้างบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ก่อสร้างได้ในเวลาที่รวดเร็วขึ้น ประหยัดการใช้แรงงานขึ้น

วัสดุก่อสร้างต้องสำเร็จรูปมากขึ้น ราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้น งานก่อสร้างเดิมจะเป็นวัสดุก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูป ต้องมาผลิตกันหน้างาน ใช้ทั้งเวลา ใช้ทั้งแรงงาน ยังเกิดเศษวัสดุเหลือทิ้งอีก  หากคิดจะลดราคาบ้านลงให้ได้ก็คงต้องหันมาเลือกวัสดุที่สำเร็จรูปมากขึ้น  ขนลงจากรถแล้วก็เอาไปก่อสร้างได้เลย ไม่ก็ต้องเป็นวัสดุที่ผลิตได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาสั้น และเป็นได้หลายหน้าที่ เช่น เป็นผนังกั้นห้อง รับน้ำหนักแทนเสาคาน เป็นฉนวนกันร้อน กันเสียงหรือสามารถใช้เศษวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนผสมได้

อุปกรณ์เครื่องมือก่อสร้างต้องมีประสิทธิภาพ ใช้ซ้ำและทำได้หลายอย่าง เพราะปัญหาขาดแรงงานคุณภาพและอัตราค่าแรงงานที่นับวันจะมีแต่ปรับตัวสูงขึ้น  ผู้รับเหมาอาจจะต้องลงทุนกับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ มากขึ้น อาจารย์ชาติชายบอกว่าประเทศไทยใช้เครื่องมือกันจริงๆ แค่ 1%  พึ่งแรงงานเสียเป็นส่วนใหญ่   อุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้บางอย่างใช้งานได้เพียงครั้งสองครั้งก็ต้องทิ้ง ที่เห็นบ่อยๆ คือ ไม้แบบที่ต้องวิ่งหาซื้อกันใหม่ทุกครั้ง ถ้าอยากได้ไม้แบบสภาพดี ได้เหลี่ยมมุม เครื่องทุนแรง เครื่องจักร ถ้าสามารถทำงานได้หลายๆ อย่าง เพียงแค่เปลี่ยนอุปกรณ์บางอย่างเท่านั้นก็ช่วยลดเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้างได้

วิธีก่อสร้างต้องเร็ว ง่าย ได้มาตรฐาน ระบบการก่อสร้างที่เราคุ้นชินกันในประเทศไทยคือการก่อสร้างบ้านด้วยวิธีลงเสาเข็มและ ‘สร้าง’ บนพื้นที่  หรือที่เรียกกันแบบเป็นทางการว่าแบบเสาคานหล่อ (conventional system)  ซึ่งระบบนี้ก็มีการพัฒนามาระดับหนึ่งจนมีเทคนิคการหล่อในที่และหล่อสำเร็จจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (เดี๋ยวนี้ก็มีบ้านโครงสร้างเหล็กเป็นอีกหนึ่งทางเลือก)   วิธีนี้จะต้องใช้การตอกเข็ม หล่อคานขึ้นมารับน้ำหนักโครงสร้างบ้านทั้งหมด  มีผนังก่ออิฐฉาบปูน สามารถ รื้อผนัง ทุบผนัง หรือเจาะผนัง ต่อเติมได้หากโครงสร้างเดิมรับน้ำหนักได้

ข้อเสียของระบบนี้  ใช้แรงงานจำนวนมาก ใช้ของ(วัสดุก่อสร้าง)มาก ใช้เวลาก่อสร้างนาน ทำให้ต้องใช้เงินมากกว่า  เกิดขยะ มลพิษ ฝุ่นละออง มลพิษทางเสียงจากการก่อสร้างค่อนข้างง่าย  คุมคุณภาพงานยาก  ผนังแตกร้าว ดิ่งฉากมีปัญหา ฯลฯ  ต้องอาศัยนายช่างหรือโฟร์แมน    คุมงานที่มีประสบการณ์ เพราะงานที่ทำด้วยมือจะได้มาตรฐานเท่ากันทั้งหมดเป็นเรื่องยาก

วิธีสร้างบ้านอีกวิธีหนึ่งที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในบ้านเรา คือการสร้างบ้านแบบประกอบชิ้นส่วน (Assembly) ที่เปลี่ยนจากการทำงานทุกอย่างที่ไซท์งานมาเป็นการผลิตชิ้นส่วนตามแบบขึ้นที่โรงงานแล้ว ขนขึ้นรถลำเลียงมาประกอบหน้างาน   (จริงๆ แล้วบ้านเรือนไทยก็นับว่าเป็นงานก่อสร้างระบบAssembly เหมือนกัน ชิ้นส่วนแต่ละชิ้น เสา ฝาบ้าน พื้น จั่วจะถูกยกมาประกอบเป็นส่วนๆ ) เทคนิคนี้ ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง ลดเวลาทำงานของแรงงาน ลดจำนวนแรงงานในไซต์  ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเป็นต้นทุนการก่อสร้างก็จะลดลง จากที่ต้องใช้เวลาก่อสร้างบ้านแรมปีก็อาจจะเหลือเพียงไม่กี่เดือน "

บทความนี้ยังไม่จบค่ะ รบกวนตามไปอ่านกันต่อที่นีค่ะ ^^  //community.akanek.com/th/interview/building-construction-type



Create Date : 11 มีนาคม 2556
Last Update : 13 มีนาคม 2556 21:11:41 น. 0 comments
Counter : 3360 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แบม แลบดำ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




แชร์กัน แบ่งปันความรู้ที่ตัวเองได้รับมาฟรีๆ ต้องรู้จักแบ่งปัน ส่งต่อ

Friends' blogs
[Add แบม แลบดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.