บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
5 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

ชีวิตช่วงเปลี่ยนผ่าน...วิถีชีวิตและความคิดที่เปลี่ยนไป





การเล่าเรื่องตัวเองย้อนหลังไปนาน ๆ เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ
และในสภาวการณ์ตอนนี้ที่สภาพจิตยังไม่นิ่งและมีความกดดันสูง
การเขียนบันทึกนี้ก็ดูจะทอดเวลายาวนานเกินไป
แต่ก็จะพยายามบันทึกเอาไว้ให้ดีที่สุด

บล็อกที่แล้วดูจะหนักไปในเรื่องราวของเหตุการณ์สิบสี่ตุลา
จนลืมเล่าเรื่องของตัวเองไปเลยนะครับ

ช่วงสำคัญที่ทำให้ชีวิตและความคิดของตัวเองเปลี่ยนไป
คือการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนในช่วงมัธยมปลาย
หลังจากสอบเข้าได้และเป็นช่วงเวลาของการเปิดเวทีกิจกรรมในรั้วโรงเรียน
และมหาวิทยาลัย

ระบบแพ้คัดออกหรือระบบการแข่งขันของการศึกษาไทย
ได้ทำให้ความคิดของเราเปลี่ยนไป
หลังจากที่เคยวางแผนชีวิตตามที่พ่อเคยบอกไว้
คือการเลือกเรียนคณะแพทย์หรือเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์
การปรับตัวในการเรียนช่วงมัธยมปลายเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง
ที่รู้สึกตัวเองเลยว่าเริ่มที่จะเบื่อการเรียน
ยิ่งวิชาที่ต้องท่อง เช่นชีววิทยา เป็นสิ่งที่สร้างความหนักใจค่อนข้างมาก
และผลการเรียนในเทอมแรกของมัธยมปลายปรากฏว่าต้องไปซ่อมวิชาชีววิทยา
ในส่วนที่เป็นแลป ก็เป็นไปตามคาด
และเกรดเฉลี่ยก็ผ่านเกรดสองมาอย่างฉิวเฉียด

และการเข้าไปสัมผัสกับกิจกรรมของชมรมอาสาสมัคร
ก็ได้สร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ในชีวิตอย่างไม่เคยประสบมาก่อน
เช่นการเข้าไปสอนเด็กในสลัมในกรุงเทพช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์

และหลังจากนั้นเพื่อนในห้องที่เริ่มสนิทกันก็ได้พาเราให้ไปสัมผัสกับกิจกรรมนอกรั้วโรงเรียนและนี่คงเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของการที่จะต้องฝึกพูดต่อหน้ากลุ่มคน และกิจกรรมเหล่านี้มันก็นำไปสู่การห่างจากการเรียนในห้องเรียนออกไปทุกที....












บล็อกที่แล้ว คลิกที่นี่







autostart="true"loop="0"hidden="true">




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2550
28 comments
Last Update : 10 ธันวาคม 2550 18:06:02 น.
Counter : 1418 Pageviews.

 

รูปขึ้นแล้วค่า ต้องเปลี่ยนที่ฝากรูปใหม่ เฮ่อ (Postcards)

 

โดย: โสมรัศมี 5 พฤศจิกายน 2550 23:18:35 น.  

 

คัดจากมติชนรายวัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันพระปกเกล้าจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ วัฒนธรรมการเมือง จริยธรรม และการปกครอง ระหว่างวันที่ 8 - 10 พ.ย. 2550 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดงาน ในการประชุมวันแรก แบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกเป็นปาฐกถานำ โดย Dr.Rick Stapenhurst จากธนาคารโลก เรื่อง จริยธรรมและการปกครอง

ทั้งนี้ Dr.Rick กล่าวว่า วัฒนธรรมการเมือง จริยธรรม และการปกครอง เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน 3 สิ่งนี้เป็นรากฐานในการทำงานที่สำคัญของรัฐบาล สภาพการเมืองเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละประเทศ โดยวัฒนธรรมการเมือง เกิดจากการเรียนรู้จากพ่อแม่ เพื่อน หรือชุมชน สำหรับจริยธรรม คือ สิ่งที่บ่งชี้ความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งมีข้อบังคับมากำกับ ขณะที่มาตรฐานทางจริยธรรมในการทำงาน ต้องไม่ไปเดือดร้อนใคร แต่มีสิทธิในตนเอง ส่วนการปกครองที่ดี คือ การจัดสรรทรัพยากรให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการที่รัฐบาลจะต้องกระทำอย่างโปร่งใสและให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่ประชาธิปไตยจะไปรอดหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ 3 สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของจริยธรรม ที่ผู้นำจะต้องสร้างความไว้วางใจ กล่าวคือ ต้องทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อประชาชนเกิดความไว้ใจ ก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ประชาธิปไตยก็จะเจริญงอกงาม

ด้าน นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวปาฐกพิเศษ เรื่องวัฒนธรรมการเมืองไทย ว่า คนไทยมักจะมองเรื่องการเมือง เป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจ แต่แท้ที่จริงแล้วการเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากร เป็นกลไกที่เกิดขึ้นในทุกๆ องค์กร แต่มีเรื่องของอำนาจมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นเรื่องของการแบ่งปันทรัพยากร เป็นการจัดสรรให้ผู้อื่นยอมรับได้ ซึ่งการจัดสรรทรัพยากรต้องมีความยุติธรรมด้วย โดยวัฒนธรรมการเมืองของประเทศไทยในอดีต เป็นเรื่องของชนชั้นเจ้านาย ส่วนประชาชนถูกกีดกันทางการเมือง แต่ในปัจจุบันนี้ จุดที่น่ามองก็คือ วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นของชนชั้นกลาง ซึ่งกุมอำนาจทุกอย่าง กุมสื่อ กุมธุรกิจ เพราะฉะนั้นถ้าจะสร้างความเข้าใจทางการเมืองให้กับประเทศ จะต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองให้กับกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นพลังอำนาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ในการประชุมช่วงที่ 3 เป็นการอภิปรายในหัวข้อ วัฒนธรรมทางการเมือง จริยธรรม และการปกครอง ในมุมมองเชิงเปรียบเทียบ โดย 1.Professor Dr.Takashi Inoguchi จาก Chuo University ประเทศญี่ปุ่น 2.Professor Dr.Marc R.Askew จาก Victoria University ประเทศออสเตรเลีย 3.Mr.Robert Miller ตำแหน่ง Parliamentary Centre จากประเทศแคนาดา 4.Professor Dr.James Morone จาก Brown University ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินรายการโดย ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ทั้งนี้ มีสาระสำคัญว่า การเมืองไทยถึงเวลาที่ต้องผ่าตัดทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยมีหลายรูปแบบ ทั้งวัฒนธรรมการซื้อเสียง วัฒนธรรมคอรัปชั่น วัฒนธรรมน้ำเน่าของนักการเมือง วัฒนธรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อทุกมุมมองของชีวิต ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในการเมือง และไม่ไว้วางใจในผู้นำ จนเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางความคิด และพฤติกรรม ในเรื่องของประชาธิปไตย ดังนั้น ควรปลูกฝังวัฒนธรรมความเป็นคนดี จริยธรรมและคุณธรรม ให้เกิดขึ้นกับผู้นำของประเทศ ประชาธิปไตยจะได้เดินหน้าต่อไป

 

โดย: คนเดินดินฯ 8 พฤศจิกายน 2550 21:47:34 น.  

 

คัดจากประชาชาติธุรกิจ

หวั่นรัฐบาลใหม่ทุ่มประชานิยม ดันเงินเฟ้อ-ขาดดุลงบฯกระฉูด

นักเศรษฐศาสตร์-นักวิชาการประสานเสียง เศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งยังเผชิญวิบากกรรมต่อ หวั่นทุกพรรคมุ่งนโยบายประชานิยม-ลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ ต้องใช้เงินมหาศาลอีก 5-6 แสนล้าน กดดันปัญหาเงินเฟ้อ-ขาดดุลงบประมาณพุ่ง ในขณะที่รายได้จากภาษียังไม่โตตามสภาพการลงทุนที่ซบเซา เสนอทางออก 9 ข้อ เน้นสร้างความเชื่อมั่น-กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน

เวทีสัมมนาในหัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจไทย 2551 ความหวังจากการเลือกตั้ง" ที่จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2550 ที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ตัวแทนจากภาคธุรกิจและตัวแทนจากพรรค การเมืองต่างๆ มาระดมสมอง วิเคราะห์แนวโน้มที่จะเป็นไปภายหลังการเลือกตั้ง โดยประเด็นหลักที่วิทยากรหลายๆ คนมองในมุมเดียวกันก็คือ แม้จะมีปัจจัยบวกจากการเลือกตั้งแต่ก็ยังมีความเสี่ยงและปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ ขณะที่ปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และอีกหลายๆ ปัญหาจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ในการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา

นายภาณุพงศ์ นิธิประภา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้โตช้ากว่าเพื่อนบ้านและต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น สาเหตุหลักเนื่องจากการลงทุนและการบริโภคลดลงค่อนข้างมาก ทำให้อัตราการเติบโตของไทยลดลงจากที่เคยอยู่ระดับ 6-7% เหลือเพียง 4-5%

ในปี 2551 ทั่วโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง แต่หน่วยราชการไทยต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตสูงกว่าปี 2550 ซึ่งหากจะเป็นอย่างนั้นได้ คงต้องมีนโยบายหรือดำเนินการอย่างจริงจัง และยังต้องระวังประเด็นที่กอง ทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจลดลงอย่างกะทันหัน และจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและไทย เช่น ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกทำให้ชะลอตัวลงด้วย

นางสาวภูรี สิรสินทร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองที่ตรวจสอบดูส่วนใหญ่เป็นนโยบายประชานิยม โดยทุกๆ พรรคเน้นในเรื่องของการจัดตั้งกองทุนประเภทต่างๆ เน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงต่อมาคือ ภาคธุรกิจจะอ่อนแอ เพราะไม่สามารถวางแผนระยะยาว เนื่อง จากรัฐบาลเน้นใช้นโยบายเฉพาะหน้า จำเป็นที่ภาคเอกชนต้องเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอง

นายศุภวุฒิกล่าวถึงความเสี่ยงและภาระที่รัฐบาลที่กำลังจะเข้ามาบริหารจัดการมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ประการแรกคือความเสี่ยงของระบบการเงินที่จะสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนในตลาดสหรัฐ ส่วนที่ 2 คือความเสี่ยงจากการที่พรรคการเมืองมีการใช้นโยบายประชานิยม มีความต้องการใช้เงินจำนวนมาก แต่ฐานภาษีซึ่งเป็นรายได้หลักของ งบประมาณกลับมีฐานที่แคบ

เห็นได้จากภาษีเงินได้ที่มีการเสียอยู่เพียง 4% ของบริษัททั้งหมด 5 แสนบริษัท หรือกล่าวได้ว่าเงินภาษีกว่า 90% มาจากบริษัทเพียง 100 กว่าบริษัทเท่านั้น ขณะภาษีบุคคลธรรมดาก็พบว่าจากแรงงานประมาณ 35 ล้านคน แต่ก็มีแรงงานเพียง 5.7 ล้านคน หรือ 10% ที่เสียภาษีคิดเป็น 90% ของภาษีทั้งหมด

"ต่อจากนี้มีความเสี่ยงว่าจะมีการใช้ประชานิยมและความต้องการใช้เงินเยอะ ในขณะที่ฐานภาษีให้เก็บแคบมาก ทางที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาตรงนี้ก็คือการขึ้นภาษีซึ่งก็เป็นสิ่งที่คงไม่อยากจะทำ ยืมเงินและทำงบประมาณขาดดุลไปเรื่อย หรือจะเลือกกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว ซึ่งตอนนี้ยังมองไม่เห็นพรรคการเมืองไหนมีนโยบายตรงนี้ที่ชัดเจน ซึ่งโยงไปถึงประเด็นที่ 3 ที่ต้องสนใจในระยะยาว มองไปไกลๆ ว่าประเทศจะโตได้ต้องมีการลงทุน เมื่อรัฐบาลใหม่มา แม้ภาครัฐจะลงทุนได้จำกัด แต่สามารถเร่งให้เอกชนลงทุนด้วยการสร้างบรรยากาศให้น่าลงทุน"

นายนิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาสู่ความรุ่งเรือง ขยายตัวได้ในอัตรา 5-7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ จะต้องมียุทธศาสตร์การฟื้นฟูการเจริญเติบโตในระยะยาว บทบาทของรัฐบาลใหม่ที่ต้องเร่งดำเนินการมี 9 แนวทาง ที่สำคัญคือ 1.การทบทวนกฎหมายที่ทำลายความมั่นใจของนักลงทุน เช่น การประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว กฎหมายการค้าปลีก และการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน 30%

2.การยึดถือพันธสัญญาที่ให้กับภาคเอกชน โดยรัฐบาลต้องสร้างกรอบกติกาที่ชัดเจน 3.การลดการแทรกแซงตลาดมาสู่นโยบายการค้าเสรีที่มีกติกาการแข่งขันเท่าเทียมกัน 4.การบริหารความขัดแย้งในโครงการขนาดใหญ่ โดยรัฐต้องตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ่ในทันที

5.การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานใน 30-40 ปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง 6.การลดต้นทุนธุรกรรมในการทำธุรกิจอันเกิดจากกฎระเบียบของรัฐ 7.การตั้งกระบวนการภาคประชาสังคมเพื่อบรรเทาความเสียหายจากนโยบายประชานิยม 8.การออกวินัยการเงินการคลังและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 163 และ 9.ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมือง

ด้านนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ให้มุมมองในฐานะประธาน ตลท.ว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่มีนโยบายให้ตลาดทุนมีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นปรอทวัดอุณหภูมิทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ก็ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากมาตรการ 30% เห็นได้จากสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติที่ปรับตัวลดลงจากเดิมที่มีสัดส่วนถือตราสารหนี้อยู่กว่า 5 หมื่นล้านบาท หรือ 20% เหลือเพียง 5 พันล้านบาท หรือ 1% แสดงให้เห็นว่าต่างชาติยังคงนำเงินลงทุนออกจากประเทศจากมาตรการ 30%

ซึ่งสิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องมีการเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท เพราะตามกฎหมายทุนที่ใช้สำหรับการสำรองธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในระบบมีเพียง 30% ดังนั้นจึงน่าจะมีรูมให้สามารถนำเงินสำรองที่เหลือไปบริหารให้เกิดดอกผลที่สูงขึ้นในความเสี่ยงที่ไม่สูงจนเกินไปได้

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ผู้ดูแลนโยบายคงต้องพิจารณาหลายปัจจัย เพราะความพอใจของตลาดไม่ตรงกัน เช่น ด้านผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์ฯก็อยากให้ยกเลิก แต่ด้านผู้ส่งออกก็อยากให้คงไว้ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าเงินที่เข้ามาส่วนหนึ่งต้องการเข้ามาเก็งกำไรจนส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง

นายประสารกล่าวว่า ดูแลนโยบายควรมีเป้าหมายว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร และเลือกผสมผสานเครื่องมือที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเครื่องมือที่มีอยู่คือนโยบาย ดอกเบี้ย การเข้าแทรกแซงด้วยการซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้ในทุนสำรอง เก็บภาษีคนนำเงินเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นหลักการของมาตรการ 30% หรือทำเหมือนที่รัฐบาลจีนทำคือ หากจะนำเงินเข้ามาลงทุนต้องมีการขออนุญาต

ส่วนของนโยบายดอกเบี้ยต่ำขณะนี้เห็นว่าอาจใช้ไม่ได้ผล เพราะปัจจุบันนักลงทุนได้มีการคาดการณ์ไปแล้วว่าจะมีการระดมทุนจำนวนมากในระยะอันใกล้ โดยเฉพาะจากภาครัฐที่รวมทุกรายการแล้วเกือบ 6 แสนล้านบาท ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจากผลตอบแทนในตลาดเงินได้ปรับตัวขึ้น

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายผู้ที่เข้ามาดูแลนโยบายเศรษฐกิจ ว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไร ภายใต้ระดับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งอาจลดดอกเบี้ยลงอีกไม่ได้ เพราะจากที่คาดการณ์ว่า หากราคาน้ำมันปี 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 87 ดอลลาร์/บาร์เรล จะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% ซึ่งระดับนี้จะทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบได้

พรรคการเมืองย้ำกระตุ้น ศก.

นายเกษมสันต์ วีรกุล รองหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า พรรครวมใจไทยจะสร้างเศรษฐกิจที่แข่งขันได้อย่างยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของประชาชน อาทิ กระตุ้นเศรษฐกิจร้อยละ 5 สร้างความสามารถในการลงทุน อัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างถูกต้องตามหลักการเงิน การคลัง ทั้งนี้นโยบายเศรษฐกิจจะไม่สามารถทำได้ถ้าหากคนในชาติยังทะเลาะและแตกแยกกัน ต่อให้นโยบายเศรษฐกิจดีประเทศชาติก็ไปไม่รอด ดังนั้นทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน เลิกทะเลาะกัน ร่วมกันผลักดันนโยบายให้เป็นจริง

นายกร ทัพพะรังสี ตัวแทนพรรคชาติไทย กล่าวว่า พรรคชาติไทยจะขับเคลื่อนนโยบายไปทั่วทุกภาคส่วนของประเทศไทยให้ไปในทิศทางเดียว กัน ไม่มุ่งเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเดียว เช่น การขับเคลื่อนการลงทุนเข้าสู่ภาคชนบทโดยมีสหกรณ์มาเป็นส่วนร่วม ส่วนสังคมเมืองจะต้องมีการระดมทุนมากกว่าที่เป็นอยู่

นายประชัย เลียวไพรัตน์ หัวหน้าพรรคมัชณิมาธิปไตย กล่าวว่า พรรคจะดำเนินตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อะไรที่เปิดเสรีได้ก็จะเปิด ส่วนสาธารณูปโภคต่างๆ จะให้รัฐบาลเป็นคนทำและดูแลอย่างทั่วถึง แต่ทั้งนี้รัฐบาลที่จะเข้ามาหลังเลือกตั้งจะต้องเป็นรัฐบาลที่มีศีลธรรม จริยธรรม เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้การขับเคลื่อนประเทศก็จะไปไม่ได้

นายกนก วงศ์ตระหง่าน ตัวแทนจากประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยการสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยจะวางรากฐานเศรษฐกิจระยะยาว อาทิ เพิ่มขีดความสามารถในการแเขˆงขันให้มากขึ้นกว่าเดิม ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท ลดค่าครองชีพที่เป็นภาระกับประชาชน รวมถึงสร้างเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจออกสูสังคมโลก พรรคเชื่อมั่นว่า ด้วยจำนวนเงิน 7.5 แสนล้านบาท จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนตามนโยบายวาระประชาชน

นายจิรายุ วสุรัตน์ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า พรรคจะสร้างเศรษฐกิจโดยไม่เอาเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า และสร้างเศรษฐกิจโดยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามกรอบระเบียบวินัยการเงินการคลัง ด้านการแข่งขันพรรคจะเน้นการสร้างคนให้ตรงกับความต้องการของวตลาด และถ้าเป็นรัฐบาลจะร่วมมือกันสร้างคนออกสู่สังคม ตามที่ตลาดแรงงานต้องการ นอกจากนี้พรรคจะสานต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้าน รวมถึงปรับโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม ส่วนด้านตลาดเงินตลาดทุน จะสร้างตลาดทุนให้เป็นแหล่งเงินออกทางเลือกของประชาชน

 

โดย: คนเดินดินฯ 8 พฤศจิกายน 2550 21:56:09 น.  

 

คัดจากไทยโพสต์

เศรษฐกิจ
ค่าติดตั้งเอ็นจีวีแพงหูฉี่ สุพร แซ่ตั้ง


8 พฤศจิกายน 2550 กองบรรณาธิการ

เริ่มโหมโรงศึกเลือกตั้งเต็มรูปแบบกันแล้ว แต่ไม่ว่าจะชูจุดขายสมัครสมานสามัคคี หรือวาระประชาชนต้องมาก่อน แต่รัฐบาลใหม่ได้เจอของจริงเรื่องการบริหารประเทศแบบเหงื่อหยดติ๋งๆ


ประเภทคุยฟุ้งเฟ้อมีสิทธิ์ฆ่าตัวตาย เพราะซากมรดกตั้งแต่ยุคทักษิณ ชินวัตร มาจนถึงปัญหาเศรษฐกิจอันร้อนแรง ปากท้องชาวบ้าน ข้าวของแพง น้ำมันพุ่งไม่หยุด

งานนี้ไม่เกิดก็ดับทันที

ล่าสุด แม้กระทรวงพลังงานตัดสินใจลดอัตราเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนเบนซินและดีเซลลง 40 สตางค์ต่อลิตร ยอมเฉือนรายได้เดือนละ 800 ล้านบาท แต่อย่างที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุไว้ตั้งแต่แรกแล้ว การลดเงินกองทุนฯ เป็นเพียงมาตรการอุ้มชาวบ้านชั่วคราวเท่านั้น แค่ยืดระยะเวลาการขึ้นราคาเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น

ผลก็คือ บริษัทน้ำมันประกาศขึ้นราคาน้ำมันอีก 40 สตางค์ต่อลิตร ทั้งเบนซินและดีเซล โดยเฉพาะเชลล์เลิกรอรายใหญ่อย่าง ปตท.นำร่องปรับราคาเบนซิน 95 ไปเรียบร้อย ตอนนี้ทะยานลิ่วลิตรละ 31.59 บาท ขึ้นอีกรอบก็ทะลุ 32 บาท ส่วนดีเซล 28.54 บาท ทุบทำลายสถิติเมื่อปี 2549 ลิตรละ 28.34 บาทแล้วเสร็จ

แต่การขึ้นราคาอีก 40 สตางค์ไม่จบแค่นั้น หากราคาตลาดโลกยังทำนิวไฮไปเรื่อยๆ ท่ามกลางปัญหาและปัจจัยลบที่ยังไม่คลี่คลาย ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและความไม่สมดุลระหว่างดีมานด์ซัพพลาย ซึ่งต้องยอมรับว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกกว่า 40% เป็นผลจากการปั่นของบรรดากองทุนเก็งกำไรและทำให้แนวโน้มราคาขายปลีกในประเทศไทยมีสิทธิ์กระฉูดอีกไม่ต่ำกว่า 1-1.50 บาทต่อลิตร

คิดตัวเลขบวกบวกบวก เบนซินไม่ต่ำกว่า 32-33 บาท ส่วนดีเซลทะลุ 30 บาทอย่างที่โหรประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เตือนไว้ก่อนหน้าจริงๆ

คนใช้รถวันนี้ปวดหัวแน่และหน้ามืดมองหาวิธีผ่าทางตันวิกฤติน้ำมันแพงดูดเงินในกระเป๋าฟีบแฟบ จะรอกระทรวงพลังงานประกาศลดเงินกองทุนน้ำมันอย่างดีก็แค่ยืดเวลาจ่ายแพงสัปดาห์สองสัปดาห์ จะเลิกใช้รถ ขี่จักรยานคงมีหวังน่องโป่งเพราะอยากมีบ้านเป็นของตัวเองเลยเตลิดไกลจากออฟฟิศในเมืองกว่า 50 โล จะขึ้นรถไฟฟ้าก็ยังให้บริการไม่ถึงบ้าน ขณะที่รถเมล์ รถตู้ เรือด่วน เรือโดยสาร เรือข้ามฟาก พร้อมใจปรับพรึ่บ!!!

หรือจะลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายโหด เพราะตรวจสอบราคาค่าติดตั้งกับ ปตท.เฉลี่ยแล้วประมาณ 50,000-60,000 บาท ถ้าใช้โปรโมชั่นพิเศษโครงการ NGV เพื่อประชาชน ลดทันที 10,000 บาท แต่ต้องควักเงินสดๆ จ่ายทันทีเหมือนกัน ในช่วงกระเป๋าทั้งแห้ง กรอบ และฉีก หรืออีกทางยอมเป็นหนี้ระยะยาวผ่อนจ่ายเดือนละประมาณ 1,500-2,000 บาท 3 ปี

จึงไม่น่าแปลกใจว่า เหตุใดคนใช้รถแห่มาเปลี่ยนใช้แอลพีจี เพราะเปรียบเทียบค่าติดตั้งอุปกรณ์ห่างกันถึง 6 เท่า หมื่นเศษๆ ราคาแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มยังได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล แม้ปล่อยลอยตัวก็เป็นการทยอยปรับทีละ 1 บาท คิดแล้วคิดอีกก็ถูกกว่าซดน้ำมันหลายเท่า ขณะที่คนไทยส่วนใหญ่นึกถึงเงินในกระเป๋ามากกว่าแก๊สระเบิด

พูดไปพูดมา รัฐเป็นตัวการสกัดกั้นทางเลือกด้านพลังงาน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ยึกยัก ไม่อยากให้ชาวบ้านแห่ใช้แอลพีจี หันมาใช้เอ็นจีวีแต่กลับไม่สร้างเงื่อนไขจูงใจ เปรียบเทียบกับรัฐบาลในหลายๆ ประเทศ เขาส่งเสริมและสนับสนุนรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติหลายทาง มีตั้งแต่มาตรการลดภาษีนำเข้า ทั้งอุปกรณ์ดัดแปลงเครื่องยนต์ คอมเพรสเซอร์ ยกเว้นภาษีการค้าให้อุสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ

ดูง่ายๆ เมื่อปี 2549 จำนวนรถยนต์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั่วโลกกว่า 5.7 ล้านคัน ประเทศที่มีการใช้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาร์เจนตินาประมาณ 1.5 ล้านคัน บราซิล 1.3 ล้านคัน ปากีสถาน 1 ล้านคัน อิตาลี 410,000 คัน และอินเดีย 334,658 คัน

แต่พี่ไทย สถิติเดือนมกราคม 2550 มีรถเอ็นจีวี 26,086 คัน ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาอยู่ประมาณ 40,000 กว่าคัน แถมประชาชนต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่ก่อนเติมเชื้อเพลิงราคาถูก ต้องต่อคิวยาวเหยียดเพราะทั่วประเทศมีปั๊มเอ็นจีวีไม่ถึง 200 จุด บางวันยังไม่ทันขับเข้าปั๊มก็เจอป้ายประกาศ "แก๊สหมด"

เซ็งสุดๆ.

 

โดย: คนเดินดินฯ 8 พฤศจิกายน 2550 22:11:58 น.  

 



Cool Slideshows!

แรม 14 ค่ำเดือน 11..ตรงวันพระ
วันนี้พระจันทร์มืดในคืนข้างแรม
แต่จิตใจเราคิดดี ทำดี ย่อมมีแต่ความสว่างในหัวใจเสมอค่ะ
************
อาทิตย์นี้ 11 พย. 2550 มีการเดินทางงานกฐินของชาวบล็อกแก๊งค์
ขอให้ผลบุญดลบันดาลให้มวลมิตรได้รับบุญสุขล้นทั่วกันนะค่ะ
ขอฝากงานบุญนี้อีกสักพระนะค่ะ


ข้าพเจ้าขอเชิญชวนมวลมิตรและเพื่อนๆๆไปอิ่มเอิบในกิจกรรมที่น้องๆๆได้ร่วมทำ

ตามลิงค์นี้ด้วยนะค่ะ
น้องผู้งามด้วยรูปกายและจิตใจค่ะ..น้องดีดี ** มัชชาร**

" กฐิน ชาวบล็อกแกงค์"
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ วัดหนองขาม สวนผึ้ง ราชบุรี


และลิงค์กฐินเจ้าภาพน้องมดทิพย์ผู้มีจิตใจงามยามได้สัมผัส...พร้อมสวนผึ้งแสนงาม จังหวัดราชบุรี

กฐิน ชาวบล็อคแกงค์

แวะทักทายคุณอุ้มสีในงานกฐินนี้ด้วยนะค่ะที่ลิงค์นี้เลยค่ะ
น่ารักมากในงานบุญนี้ค่ะ..เธอเต็มที่ด้วยหัวใจจริงๆๆ

" ชวนมาทอดกฐินที่วัดหนองขาม จ.ราชบุรี วันที่ 11 พ.ย. 2550
"


ขออนุโมทนาให้ทุกคนได้สมหวังในกิจกรรมที่ดีและส่งให้มีสุขทุกคนนะค่ะ
และเดินทางนำกฐินกองนี้สู่ราชบุรีโดยสวัสดิภาพนะค่ะมิตรรักทุกคน
และซาบซึ้งในผลบุญที่ได้รับทุกคนนะค่ะ



แล้วเราจะเอาบุญมาฝากทุกๆๆคนเลยนะค่ะ
ระลึกถึง..กัลยณามิตรที่แสนประเสริฐ..นะค่ะ
อนุโมทนาค่ะ


ปล..มีความสุขมากๆๆนะค่ะ

 

โดย: catt.&.cattleya.. 9 พฤศจิกายน 2550 12:02:41 น.  

 




นำบุญเยือนหา..ในงานกฐินที่ได้ไปมา..สู่มิตรยาใจที่ใจใฝ่ถึง
เราระลึกถึงกัลยาณมิตรทุกคนในงานกฐินนี้..ค่ะ
อนุโมทนา...ค่ะ



เอาบุญมาฝากนะค่ะ...
มีความสุขเสมอๆๆนะค่ะ

 

โดย: cattleya.. IP: 58.9.72.88 13 พฤศจิกายน 2550 13:16:47 น.  

 

คัดจากกรุงเทพธุรกิจ

บ้านเขาเมืองเรา : โฉมใหม่ของละตินอเมริกาในสายตาของกรีนสแปน

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 07:00:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวอาร์เจนตินาเลือกภรรยาของประธานาธิบดีคนปัจจุบันให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอาร์เจนตินา แต่ไม่ใช่คนเดียวในละตินอเมริกา เพราะตอนนี้ประธานาธิบดีของชิลีก็เป็นหญิง

การเลือกตั้งในอาร์เจนตินาและในชิลีที่ยังผลให้สตรีเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ ต่างกับของเมืองไทยในปัจจุบันในแง่ที่ภรรยาของนักการเมืองไทยหลายคนออกมารับหน้าแทนสามี เพราะสามีตกอยู่ในข่ายกระทำความผิด จนถูกตัดสิทธิทางการเมือง

นอกจากนั้น กระบวนการเลือกตั้งของเขายังต่างกับของไทย ซึ่งกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นอยู่ในขณะนี้อีกด้วย

นั่นคือ ของเขาปราศจากความสับสนวุ่นวายอันเกิดจากการวิ่งย้ายพรรคเช่นของนักการเมืองไทยซึ่งทำให้นักวิจารณ์พูดกันว่า เป็นเสมือนฤดูติดสัดของสุนัขจรจัดตามข้างถนน

คาดกันว่าปีหน้าปารากวัยก็จะได้ประธานาธิบดีหญิงเป็นคนแรก และหลังจากนั้น บราซิลก็อาจจะเจริญรอยตาม

การมีผู้นำเป็นสตรีจะมีผลในด้านการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือไม่คงต้องดูกันไปอีกหลายปี ในช่วงนี้ละตินอเมริกายังมีปัญหาดังที่เป็นมาหลายทศวรรษ

แน่ละ เมื่อกล่าวถึงละตินอเมริกาคงหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงปัญหาอันเกิดจากความเลวร้ายของนโยบายประชานิยมได้ยาก แต่เนื่องจากผมพูดถึงประเด็นนี้หลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งจะเข้าขั้นแผ่นเสียตกร่องอยู่แล้ว จึงขอนำเนื้อความในหนังสือของ อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ เรื่อง The Age of Turbulence มาเล่า

เขากล่าวถึงเรื่องละตินอเมริกาและลัทธิประชานิยมโดยเฉพาะไว้ในบทที่ 17 (หนังสือเรื่องนี้ตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา หนา 500 กว่าหน้าและแบ่งเป็น 25 บท)

กรีนสแปนเขียนว่า ละตินอเมริกาเกือบทั้งทวีปตกอยู่ในวังวนของวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน เพราะผลพวงของการใช้นโยบายประชานิยม

เขาอ้างว่าการใช้นโยบายประชานิยมมีเหตุพื้นฐานมาจากการมีช่องว่างทางรายได้ของประชาชนกลุ่มต่างๆ กว้างที่สุดในโลก ละตินอเมริกามีช่องว่างกว้างเช่นนั้นสืบเนื่องมาจากการเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาว ซึ่งจ้องเอาเปรียบชาวพื้นเมืองและทาสอยู่หลายศตวรรษ

ต่อมารัฐบาลต้องการเอาใจประชาชนซึ่งยากจนเป็นส่วนใหญ่ด้วยนโยบายประชานิยม ซึ่งมักประกอบด้วยคำมั่นสัญญาที่จะจัดหาสารพัดสิ่งมาให้แบบแทบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรม ที่ดิน ที่อยู่อาศัย หนทางหารายได้ หรืออะไรก็ตามที่ประชาชนเรียกร้อง

ในระดับของแนวคิด กรีนสแปน กล่าวว่า ประชานิยมเป็นลัทธิที่ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนสำหรับสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อยกมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชน

ต่างกับลัทธิสังคมนิยมและทุนนิยมแบบตลาดเสรีซึ่งมีกฎเกณฑ์แน่นอน ลัทธิประชานิยมเป็นเสมือนกระบวนการตอบสนองของผู้ที่อยู่ในสภาพเจ็บปวดโดยการร้องด้วยเสียงอันดังและคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลนำมาเสนอเป็นวิธีการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราว โดยไม่บอกว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย

เมื่อไม่สามารถหยิบยืมใครได้รัฐบาลก็มักปิดงบประมาณด้วยการพิมพ์ธนบัตรจำนวนมหาศาลซึ่งนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อร้ายแรง

เขาอ้างถึงตัวอย่างในบางประเทศ เช่น บราซิล ซึ่งเงินเฟ้อถึง 5,000% ในช่วงเวลา 12 เดือนระหว่างปี 2536-2537 แต่นั่นยังไม่ร้ายเท่ากับในอาร์เจนตินา ซึ่ง 3 ปีก่อนนั้นสินค้าขึ้นราคาในอัตราสูงถึง 20,000% ต่อปี

อัตราเงินเฟ้อในระดับนี้ยากที่คนไทยจะจินตนาการ แต่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ในละตินอเมริกา ผลที่ตามมามักได้แก่ รัฐบาลถูกโค่นและความแตกแยกทางสังคมเพิ่มขึ้น

ทั้งที่นโยบายประชานิยมมีผลกระทบร้ายแรงจนเป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดทั่วละตินอเมริกา แต่ประชาชนก็ยังไม่เข็ดหลาบและรัฐบาลต่างๆ ก็ยังนำมันกลับมาเสนอใช้อย่างต่อเนื่อง แต่กรีนสแปนไม่ได้กล่าวว่าประชานิยมเป็นยาเสพติดชนิดที่เริ่มแล้วเลิกไม่ได้

เขายกบราซิลมาเป็นตัวอย่างคล้ายจะชี้ว่า ปัญหายังไม่สายเกินแก้ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายที่เหมาะสม

เขาไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีเยียวยาผลร้ายของนโยบายประชานิยมของประเทศนั้น ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น การจำกัดการใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเคร่งครัด การออกเงินสกุลใหม่แล้วกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวกับเงินสกุลดอลลาร์และการตั้งอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง เพื่อดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ในขณะที่ให้ความหวังในกรณีของบราซิล กรีนสแปนแทบไม่ให้ความหวังแก่เวเนซุเอลาและอาร์เจนตินาเลย

เวเนซุเอลา มีปัญหาร้ายแรงมายาวนาน ทั้งที่มีน้ำมันปิโตรเลียมมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ในช่วงนี้ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ เข้าไปก้าวก่ายในกิจการน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะการแต่งตั้งนักการเมืองเข้าไปแทนผู้ที่มีความรอบรู้ทางเทคนิค เพื่อหวังจะนำเงินไปใช้สนับสนุนนโยบายประชานิยมของเขา

การกระทำเช่นนั้นยังผลให้การผลิตน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะนี้ ผลเสียยังไม่เป็นที่ประจักษ์ เพราะราคาน้ำมันยังขึ้นไปเรื่อยๆ กรีนสแปนทำนายว่า เมื่อไรราคาน้ำมันหยุดขึ้น เมื่อนั้นเวเนซุเอลาจะประสบปัญหาร้ายแรงทันที

สำหรับอาร์เจนตินากรีนสแปนมองว่า ปัญหาหนักหนาสาหัสกว่าประเทศอื่น เพราะนโยบายประชานิยมมีผลกระทบในนัยสำคัญ นั่นคือ มันได้เปลี่ยนฐานความคิดของชาวอาร์เจนตินาไปจนยากแก่การเยียวยาแล้ว

จริงอยู่เขาไม่ได้กล่าวว่าชาวอาร์เจนตินาเปลี่ยนฐานความคิดไปเป็นอะไร แต่ในบริบทเขาหมายถึงการขาดวินัย และการหวังได้ของเปล่าจากรัฐอย่างพร่ำเพรื่อ

เมืองไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งสำคัญ เพราะมันจะชี้ว่าประเทศจะเดินไปทางไหน เท่าที่พอจะประเมินได้ในขณะนี้ ทุกพรรคการเมืองต่างเสนอนโยบายประชานิยม เพื่อต่อยอดนโยบายอันเลวร้ายของรัฐบาลก่อนทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีพรรคไหนเสนอการหารายได้เพื่อนำนโยบายของตนเข้าสู่ภาคปฏิบัติ ทุกพรรคพูดเสมือนว่าในโลกนี้มีของเปล่า หรือสามารถเสกเป่าเอาทุกอย่างได้ตามใจชอบ หากคนไทยยังไม่ยอมอ่านประวัติศาสตร์ โอกาสที่เมืองไทยจะเดินไปตามทางของบางประเทศในละตินอเมริกามีอยู่สูง

ไสว บุญมา


 

โดย: คนเดินดินฯ 16 พฤศจิกายน 2550 21:13:04 น.  

 

(ต่อ)

บ้านเขาเมืองเรา:จากมุมมองของกระบวนทัศน์

16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 07:00:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 45 ปี ของการพิมพ์หนังสือแนวประวัติของวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง The Structure of Scientific Revolutions ของ โทมัส คูห์น (Thomas Kuhn) หนังสือเล่มนี้ได้รับความสนใจจากทั้งภายในและภายนอกวงการวิทยาศาสตร์ และทำให้คำว่า Paradigm ซึ่งต่อมาได้รับการถอดเป็นภาษาไทยว่า "กระบวนทัศน์" เริ่มถูกนำมาใช้ในวงสนทนาของผู้มีการศึกษาสูงๆ

จริงอยู่ผู้แต่งใช้คำนั้นเฉพาะในบริบทของวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่มันถูกนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการควบกับอีกคำหนึ่งคือ Shift เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ Paradigm Shift สื่อความหมายในแนว "การเปลี่ยนฐานความคิด" ของผู้ที่อยู่ในวงการ หรือสังคมเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นสังคมขนาดเล็ก เช่น สมาคมแม่บ้านในย่านวัดป่าเรไร หรือสังคมขนาดใหญ่ ที่ครอบคลุมเมืองไทยทั้งหมด หรือทั้งโลก

ฐานความคิดเป็นตัวกำหนดกรอบคุณธรรมสำหรับวัดพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกันว่าสังคมนั้นจะรับได้หรือไม่ เช่น ในสมัยหนึ่งศาสนาบางนิกายตีความหมายคัมภีร์ว่า สตรีเป็นพระไม่ได้ยังผลให้นักบวชสตรีไม่เป็นที่ยอมรับในนิกาย หลังจากเวลาผ่านไปการตีความหมายคัมภีร์เปลี่ยนเป็นว่า สตรีเป็นพระได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนฐานความคิด หรือกระบวนทัศน์ ทำให้นักบวชสตรีเป็นที่ยอมรับในนิกายนั้น

อีกตัวอย่างหนึ่งสังคมมนุษย์โดยทั่วไปเห็นว่า การลักขโมยและชิงทรัพย์เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ แต่มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นโจร สังคมของคนกลุ่มนี้ยอมรับการลักขโมยและชิงทรัพย์ เพราะมันอยู่ในกรอบคุณธรรมที่วัดพฤติกรรมของพวกเขา

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคอลัมน์นี้อ้างถึงความเห็นของอลัน กรีนสแปน ที่มีใจความว่า ปัญหาของเวเนซุเอลาและอาร์เจนตินายากแก่การเยียวยา เพราะนโยบายประชานิยมได้เปลี่ยนฐานความคิดของชาวเวเนซุเอลาและชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่ จากผู้ที่มีวินัยและมุ่งดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเองเป็นหลักไปเป็นผู้ขาดวินัยและหวังได้ของเปล่าจากรัฐอย่างพร่ำเพรื่อ ในขณะเดียวกัน เขากล่าวว่า ปัญหาของบราซิลยังพอแก้ได้ เพราะชาวบราซิลยังไม่ได้เปลี่ยนฐานความคิดไปในแนวเดียวกันกับเพื่อนบ้านทั้งสอง

จากมุมมองของกระบวนทัศน์ เราอาจอ่านการตกอยู่ในวังวนน้ำเน่าของการเมืองไทยในขณะนี้ ว่า มีต้นเหตุมาจากกระบวนทัศน์ของสังคมไทยเอื้อให้เกิดวังวนน้ำเน่า การสรุปเช่นนี้มีข้อมูลสนับสนุนในรูปของการสำรวจความเห็นครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ของสถาบันเอแบคซึ่งบ่งว่า คนไทยกว่า 52% รับความฉ้อฉลของนักการเมืองได้ตราบใดที่ตนเองได้ประโยชน์ และเกือบ 83% เห็นว่าถ้ามีโอกาสได้ประโยชน์ก็จะฉวยโอกาสนั้น โดยไม่ต้องไตร่ตรองว่าการกระทำของตนจะผิดจรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ของสังคมหรือไม่

นอกจากนั้น ผลการสำรวจความเห็นของสถาบันเดียวกัน ระหว่างวันที่ 15-20 ตุลาคมที่ผ่านมาชี้ว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงเกือบ 65% ยินดีที่จะขายเสียงของตนในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 23 ธันวาคม และ 83% จะไม่รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีที่ตนมีหลักฐานเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง

ข้อมูลเหล่านี้คงนำไปสู่ข้อสรุปอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากคนไทยส่วนใหญ่จะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จากแนวที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปเป็นแนวที่มีความซื่อสัตย์ทุกด้าน และการไม่ยอมรับความฉ้อฉล มิฉะนั้น การเมืองไทยก็จะตกอยู่ในวังวนน้ำเน่าดังที่เห็นอยู่ต่อไปชนิดไม่มีวันผุดวันเกิด

สำหรับในด้านนโยบายประชานิยม ซึ่งถูกนำเข้ามาใช้ในเมืองไทยเมื่อสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา มันจะได้เปลี่ยนฐานความคิดของคนไทยไปในแนวเดียวกันกับของชาวเวเนซุเอลาและชาวอาร์เจนตินาหรือไม่ยังยืนยันไม่ได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ดี หากมันถูกนำมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เพราะนโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรคมีลักษณะของประชานิยมทั้งสิ้น เป็นไปได้สูงที่ฐานความคิดของคนไทยจะเปลี่ยนไปในแนวนั้นด้วย เมื่อเปลี่ยนไปผลจะเป็นอย่างไรคงไม่ต้องพูดซ้ำ

สังคมโลกขณะนี้มีปัญหาหนักหนาสาหัสหลายอย่าง ดังที่กล่าวถึงในคอลัมน์นี้ประจำวันที่ 12 และ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ต้นตอของปัญหามาจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย ซึ่งได้แก่ จำนวนคนบนผิวโลกและการบริโภคของแต่ละคนซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งก่อให้เกิดความไม่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติ

จากมุมมองของกระบวนทัศน์ การเพิ่มของจำนวนคนยังเกิดขึ้น เพราะฐานความคิดอันสืบเนื่องมาจากวิถีชีวิตในยุคก่อนยังไม่เปลี่ยน ในยุคนั้นโลกยังมีคนน้อยและปราศจากเครื่องทุ่นแรง การมีลูกมาก ทำให้มีแรงงานสำหรับช่วยกันทำมาหากิน อีกทั้งยังเป็นการประกันสังคมแบบหนึ่ง ซึ่งให้การเลี้ยงดูพ่อแม่ในยามแก่เฒ่า แนวคิดเช่นนั้นได้รับการเสริมด้วยคำสอนของบางศาสนาในแนวที่ว่าการเกิดเป็นความประสงค์ของพระเจ้า แม้ฐานความคิดจากยุคนั้นจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การจำกัดการเกิดด้วยการคุมกำเนิดบ้างแล้ว แต่ความเปลี่ยนแปลงยังไม่เกิดขึ้นทั่วไป จนยังผลให้จำนวนคนบนผิวโลกลดลง

สำหรับในด้านการบริโภคของแต่ละคนซึ่งกำลังเพิ่มขึ้น สาเหตุไม่ได้อยู่ที่คนยากจนซึ่งไม่มีปัจจัยเบื้องต้นอย่างเพียงพอ หากอยู่ที่ผู้ที่มีความมั่งคั่งซึ่งยังคงบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในด้านการสนองความต้องการของร่างกายและในด้านการดำเนินชีวิตเบื้องต้นแล้ว ในหลายๆ กรณีคนกลุ่มนี้บริโภคแบบสุดโต่ง อันเป็นการทำลายทรัพยากรโดยไม่จำเป็น จริงอยู่ในบรรดาผู้มั่งคั่งมีส่วนหนึ่งซึ่งมีฐานความคิดในแนวที่จะไม่บริโภคเกินระดับของความจำเป็น แต่คนกลุ่มนี้ยังมีจำนวนจำกัดเกินไปที่จะยังผลให้กระบวนทัศน์ของสังคมโลกเปลี่ยนไปในทางลดการบริโภคลง

คอลัมน์นี้พูดถึงแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหลายต่อหลายครั้งดังกับเป็นแผ่นเสียงตกร่อง แต่ก็ต้องพูดอีก เพราะมันเป็นกระบวนทัศน์ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ กระบวนทัศน์นี้มีกำเนิดในเมืองไทย คนไทยจึงน่าจะนำมาใช้เป็นฐานความคิดสำหรับดำเนินชีวิตก่อนชาติอื่น

ดร.ไสว บุญมา


 

โดย: คนเดินดินฯ 16 พฤศจิกายน 2550 21:14:24 น.  

 

คัดจากประชาชาตธุรกิจ


























ศุภวุฒิ สายเชื้อ แนะประชาชนเลือกพรรคที่ใช้นโยบายประชานิยมที่มีเหตุ มีผล อธิบายได้
จำนวนคนอ่าน 24 คน | วันที่ 16 พฤจิกายน 2550 - เวลา 17:01:49 น.




นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการและประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร กล่าวว่า ขณะนี้มองเห็นแล้วว่า ไม่ว่ารัฐบาลใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องทำนโยบายประชานิยม ซึ่งแนวทางที่รัฐบาลจะหาเงินมาใช้สำหรับการทำประชานิยม มีอยู่ 4 แนวทางหลักๆ ดังนี้ 1.การทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้เพราะหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ คือ 37-38% ของจีดีพี ซึ่งหากขยับไปถึง 45% ก็ยังทำได้ แต่วิธีนี้จะมีข้อเสีย คือ ถ้ารัฐบาลทำงบประมาณขาดดุลจำนวนมากก็ต้องออกพันธบัตรจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลให้ดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้น ยังผลให้เศรษฐกิจไม่มีการเติบโต

2.การดึงงบประมาณจากส่วนอื่นๆ มาใช้ ซึ่งงบฯ ที่ดึงง่ายที่สุด คือ งบฯลงทุน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าเหมือนกัน 3.ใช้วิธีการไปสร้างหนี้ไว้ในส่วนต่างๆ เหมือนกับรัฐบาลก่อนที่ทำ แต่วิธีการนี้จะทำยากขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และวิธีที่ 4.คือ การร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น เพื่อให้สามารถเก็บภาษีกับประชาชนได้มากขึ้น

"ทั้ง 4 วิธีก็ไม่มีวิธีไหนดีเลย เพราะนโยบายประชานิยมก็เหมือนเป็นการเอาเงินจากคนกลุ่มหนึ่งไปให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง แต่สิ่งที่ต้องคิด คือ สิ่งที่รัฐบาลทำนั้นได้สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้สร้าง อย่างไรก็ตาม นโยบายประชานิยมบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ดี และรัฐบาลก็ควรจะทำ คือเรื่องของสาธารณสุข เรื่องการศึกษา"

นายศุภวุฒิกล่าวว่า ดังนั้น ประชาชนผู้เลือกตั้งก็ต้องเลือกพรรคที่มีการใช้นโยบายประชานิยมที่มีเหตุมีผลอธิบายได้ และรู้ว่าพรรคนั้นให้ความสำคัญกับนโยบายการเงินและการคลังหรือไม่แค่ไหนและน่าเชื่อถือหรือไม่ และพรรคนั้นสามารถอธิบายขอบเขตของประชานิยมได้เพียงใด

โดยขณะนี้ก็มีพรรคการเมืองบางพรรคอธิบายถึงขอบเขตนโยบายเศรษฐกิจแล้วว่าจะทำงบประมาณขาดดุลให้เพิ่มขึ้น แต่ไม่เกิน 40% ของจีดีพี ซึ่งในอนาคตก็ต้องมีการตรวจสอบว่าถ้าเขาได้เป็นรัฐบาลแล้วจะปฏิบัติตามขอบเขตที่พูดไว้เดิมหรือไม่

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ชูนโยบายประชานิยมว่า ตนไม่ขอนิยามคำว่าประชานิยม แต่เชื่อว่าทุกพรรคมีหน้าที่ทำนโยบายที่จะให้ประชาชนมีความสุข ดังนั้น ทุกพรรคจะต้องรู้ความต้องการของประชาชน ส่วนนโยบายประชานิยมทำแล้วจะมีความสุขหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า นโยบายประชานิยมจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่รัฐบาลที่จะใช้นโยบายต้องสามารถให้คำตอบได้ว่าเงินที่จะนำไปใช้มาจากส่วนไหน คือ ต้องสามารถอธิบายได้ทั้งการจ่ายไปและการได้มาของเงิน ซึ่งการได้มาของเงินนั้นเห็นว่า จำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างภาษีด้วยการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้นกว่าปัจจุบัน และปรับมูลค่าภาษีขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลต้องอธิบายให้ได้ว่าแนวทางการปฏิรูปของภาครัฐจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด




 

โดย: คนเดินดินฯ 16 พฤศจิกายน 2550 21:59:10 น.  

 

คัดจากประชาชาติธุรกิจ


วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3949 (3149)

"อมร" ฟันธงหลังเลือกตั้ง กลับเข้าสู่วงจรแห่งความเสื่อม "โชคร้ายที่เรามี Elite 4 จำพวก"



ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้ง ครั้งต่อไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้า แต่สำหรับ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เจ้าของบทความระดับมหากาพย์ทางวิชาการเรื่อง "สภาพวิชาการทางกฎหมายของประเทศไทย : สาเหตุแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูป การเมือง ครั้งที่ 2" กลับรู้สึกหมดหวังกับอนาคตประเทศไทย

เพราะนักกฎหมายผู้นี้เชื่อว่า หลังการเลือกตั้ง (วันที่ 23 ธันวาคม) การเมืองไทยจะกลับเข้าสู่วงจรแห่งความเสื่อมอีกครั้ง

ดร.อมรชี้ว่า สังคมไทยจะต้องเผชิญหน้า กับปัญหาที่เกิดจาก "กลุ่มนักการเมืองนายทุน" ที่รวมทุน (เงิน) กันตั้ง "พรรคการเมือง" และรวบรวมผู้สมัครรับเลือกตั้ง (ให้เข้ามาเลือกตั้ง ในสังกัดพรรคของตน) เพื่อเข้ามาผูกขาดใช้อำนาจรัฐ (ในระบบรัฐสภา) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ฉบับใหม่ของเราซึ่งยกร่างโดย "สภาร่างรัฐธรรมนูญ-นานาอาชีพ" ที่จัดตั้ง โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2549 เพื่อความเป็นประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรา พ.ศ.2550 ยังคงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็น "ระบบเผด็จการในระบบรัฐสภา" โดยพรรคการเมืองนายทุนธุรกิจฉบับเดียวในโลก

คือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคและ ส.ส.ไม่มีความเป็น อิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ได้ตามมโนธรรม-conscious ของตน และเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่บุคคลในรัฐบาลของเราบอกกับต่างประเทศและบอกต่อโลกในที่ประชุมสหประชาชาติ UN ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมาว่า รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งของเราในเดือนธันวาคมข้างหน้านี้จะเป็นประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์

หลังการเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ.2550 เราก็จะกลับสู่วงจรแห่งความเสื่อม-vicious circle เหมือนกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 คือ การแก่งแย่งกันเข้ามาเป็นรัฐบาล (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ในระหว่างบรรดานักธุรกิจนายทุน (เจ้าของ) พรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจนายทุนระดับท้องถิ่นหรือในระดับชาติ

ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองพรรคใหญ่ที่ ชนะเลือกตั้ง โดยได้เสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด นักธุรกิจนายทุน (เจ้าของ) พรรคการเมือง (2-3 พรรค) ก็จะต่อรองแบ่งปันผลประโยชน์ และแบ่งตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งข้าราชการการเมืองเพื่อจะได้รวบรวมสมาชิกให้เป็นเสียง ข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และได้เป็น "รัฐบาล"



เพื่อจะได้เข้าผูกขาดอำนาจรัฐใน "ระบบรัฐสภา" ที่มีการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค (ซึ่งหมายความว่าพรรคการเมืองที่รวมตัว เข้าด้วยกันนั้นจะผูกขาดอำนาจรัฐโดยเบ็ดเสร็จ คือ ควมคุมทั้งสภา (โดยเสียงข้างมาก) เป็น ผู้บริหารประเทศด้วยในขณะเดียวกัน และภายใต้การผูกขาดอำนาจเช่นนี้อะไรๆ ก็สามารถทำได้ ทั้งสิ้น เพราะไม่มีการถ่วงดุลระหว่างอำนาจ ดังข้อเท็จจริงที่ได้เกิดขึ้นและปรากฏมาแล้วก่อนการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549

แต่ข้อที่แตกต่างออกไปก็คือ รัฐบาลภายใต้ "รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550" นี้อาจมีเรื่องสนุกๆ (แต่คงหัวเราะไม่ออก) สำหรับคนไทยมากกว่ารัฐบาลภายใต้ "รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540"

กล่าวคือ ถ้าหากปรากฏว่านักการเมืองที่ สูญเสียอำนาจและสูญเสียทรัพย์สินอันเนื่อง มาจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 สามารถกลับคืนเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากการเลือกตั้ง (ในสภาพสังคมไทยที่อ่อนแอและขาดประสบการณ์) ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2550 ซึ่งไม่อาจคาดเดาได้ว่า...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

เสียดายเวลา 1 ปีที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ 1 ปีการรัฐประหารของ "คณะปฏิรูปการปกครองฯ" กับการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ.2550) ที่สร้างระบบผูกขาดอำนาจรัฐ โดยพรรคการเมืองนายทุนธุรกิจเหมือนรัฐธรรมนูญเดิม

พร้อมทั้งการกำหนดวิธีการเลือกตั้งที่ให้ เปิดโอกาสและให้ประโยชน์แก่นักการเมือง (ที่มีเงิน) ในการซื้อเสียงได้มากกว่าเดิม (คือการรวมเขตเลือกตั้งเป็น 3 คนต่อ 1 เขต และการ นับคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้ง)

1 ปีที่กำลังจะจบลงด้วยการเลือกตั้งใน เดือนธันวาคม พร้อมกับ "ข่าว" (ในปลายเดือนตุลาคม) ของการ (ถูก) เปิดเผยเอกสารลับของ "คณะปฏิรูปการปกครองฯ" หรือคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในปัจจุบัน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นแผนสกัดกั้นพรรคการเมืองบางพรรค ในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ.2550)



สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ "คณะปฏิรูปการปกครองฯ" เมื่อทำการรัฐประหารมาแล้วเป็น ผู้ที่กำหนดวิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยตนเอง/กำหนดวิธีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วยตนเอง/แต่งตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง/กำหนดวิธีการตรวจสอบการคอร์รัปชั่นด้วยตนเอง ฯลฯ

แต่เมื่อ 1 ปีผ่านไปข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า "คณะปฏิรูปการปกครองฯ" ไม่สามารถแก้ปัญหา (หรือแม้แต่วางแนวทางในการแก้ปัญหา) ความเสื่อมของการบริหารประเทศได้ จนตนเองต้องมีการดำเนินการทางลับในการเลือกตั้ง ส.ส.กับพรรคการเมืองบางพรรค และต้องถูกตรวจสอบโดย กกต.ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ตนเองคิดว่าจะเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ของประเทศ (?)

มาถึงขณะนี้ (พฤศจิกายน พ.ศ.2550) และนึกย้อนถึง "เหตุการณ์" เกี่ยวกับผู้นำประเทศ (ไม่ว่าจะชื่ออะไร) และชนชั้นนำของประเทศ ที่พัฒนาแล้วในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน รู้สึก (ด้วยความแน่ใจ) ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ "ไร้" อนาคต

"ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มีอนาคต" เพราะชนชั้นนำ-elite ของคนไทยมี "คุณภาพ" และมี "ความรู้" ไม่สูงพอที่จะช่วยคนไทยปฏิรูปการเมือง (และปฏิรูประบบบริหาร)

ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2549-2550) เหตุการณ์ได้ทำให้ชนชั้นนำของเราเปิดเผย (expose) "สภาพของตนเอง" ในทางสังคมวิทยาให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยแยกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ (1) "ผู้นำ (ในการบริหาร)" และนักการเมืองจำเป็นของเราที่บังเอิญได้อำนาจรัฐมาด้วยการรัฐประหาร ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อปฏิวัติมาแล้วตนเองยัง "ไม่รู้" ว่าปัญหาของประเทศอยู่ที่ไหน และจะแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร แม้ว่าจะมีความตั้งใจดี

ประเภทที่ (2) "วงการวิชาการทางกฎหมาย" ของเราได้แสดงให้ปรากฏว่ามีขีดความสามารถ ในการ (เขียน) ออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ในต้นศตวรรษที่ 21 ได้เพียงระดับเดียวกับการเขียนรัฐธรรมนูญของวงการวิชาการของยุโรปในสมัยปลายศตวรรษที่ 18 คือ ห่างกัน 200 ปีเศษ

ประเภทที่ (3) "นักวิชาการ" ของเรา จำนวนมากยังคงทำตัวเหมือนกับนักวิชาการประเภท "the philosophes" ของยุโรปในสมัยปลายศตวรรษที่ 18 คือ เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ (ส่วนบุคคล) เพื่อทำให้ "ชื่อ" ของตนได้ปรากฏเป็นข่าวให้เป็นที่รู้จัก ทั้งนี้โดยไม่รู้และไม่สนใจที่จะรู้ว่าการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตยมี "จุดมุ่งหมาย" อย่างไร และในประเทศที่พัฒนาแล้ว (เขา) มีกลไกในระบอบการปกครองที่จะประสานประโยชน์เหล่านี้ได้อย่างไร

ประเภทที่ (4) นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้แสดงความเห็นแก่ตัวให้ปรากฏ คือ ขอให้มีรัฐธรรมนูญที่ตนเองได้มีโอกาสรวมทุน (เงิน) กันตั้งเป็นพรรคการเมืองเพื่อเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐ (ในสภาพสังคมไทยที่อ่อนแอ) และให้รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามมิให้คนอื่น (นอกจากพวกของตน) มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้าง "ความเป็นประชาธิปไตย" อย่างผิดๆ และทำให้คนไทย หลงทาง

เรา (คนไทย) จะทำอย่างไรกับประเทศหนึ่ง ที่มีพลเมืองกว่า 63 ล้านคน แต่เป็นประเทศที่มี "ผู้นำ (ในการบริหารประเทศ)" ที่บริหารประเทศเพียงว่าให้มีการเลือกตั้ง เพราะมีความรู้เพียงว่าถ้ามีการเลือกตั้งแล้วก็เป็นประชาธิปไตยกับ การจัดงานอีเวนต์ (events) โฆษณาความเป็นประชาธิปไตยกับการเลือกตั้ง

เราเป็นประเทศที่มี "นักวิชาการ" ที่เห็นว่าการเขียนรัฐธรรมนูญต้องทำด้วยสภาร่างรัฐธรรมนูญนานาอาชีพด้วยเสียงข้างมากเพื่อความเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่มีความสามารถพอที่จะเขียน "เอกสารประกอบร่างรัฐธรรมนูญ" เพื่ออธิบายสิ่งที่ตนเองเขียน

ทั้งนี้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดถึงการเขียนกฎหมาย "ระบบบริหารพื้นฐานของประเทศ" ซึ่งเกินกว่าความสามารถทางสามัญสำนึก -common sense ของนักวิชาการไทย

ประเทศที่มี "นักการเมือง (ที่มาจากการ เลือกตั้ง)" ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เมื่อจ่ายเงินลงทุนตั้งพรรคการเมืองแล้วก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ ที่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค และกำหนดให้ ผู้ลงทุนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ มิฉะนั้นไม่ใช่ "ประชาธิปไตย"

คนไทยอาจเป็นคนโชคร้ายที่เกิดมาในประเทศที่มีชนชั้นนำ-elite ที่มี "คุณภาพ" และ "ความรู้" เพียงเท่านี้


 

โดย: คนเดินดินฯ 16 พฤศจิกายน 2550 22:08:19 น.  

 

คัดจากกรุงเทพธุรกิจ

ทัศนะวิจารณ์

ร้อยแปดวิถีทัศน์:การหวนกลับของระบอบทักษิณ?

17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 07:00:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สังคมการเมืองไทยเวลานี้กำลังหวนกลับสู่ชะเงื้อมของระบอบพาณิชย์นิยมหรือธุรกิจการเมือง ซึ่งมักนิยมเรียกกันว่า "ระบอบทักษิณ" สรณะของระบอบดังกล่าวมุ่งเน้นการควบคุมมวลชนเอาไว้ภายใต้สัญญะแห่งประชานิยม และการใช้เงินเป็นพื้นฐานของการขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง ดังปรากฏเป็นรูปธรรมแห่งการสร้างภาพลักษณ์เชิงนโยบายมากมายหลายประการ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน แปลงสินทรัพย์เป็นทุน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี เป็นต้น

พรรคการเมืองต่างๆ ในเวลานี้ ต่างระดมกันนำเสนอนโยบายประชานิยมขึ้นมาแข่งกันหาเสียงอย่างครึกครื้น ทั้งพรรคที่เป็นนอมินีของคุณทักษิณ และพรรคที่ประกาศชัดเจนว่า ไม่ขอร่วมสังฆกรรมกับคุณทักษิณและบริวาร

แม้ว่าคุณทักษิณจะถึงแก่อสัญกรรมทางการเมืองไปแล้ว แต่ระบอบทักษิณยังคงอยู่ดีมีสุขในบ้านนี้เมืองนี้ต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะมอดม้วยไป ในอนาคตข้างหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยอาจจะจารึกว่า ตลอดหลายสิบปีมานี้ ไม่เคยมีผู้นำพลเรือนหรือพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดสามารถสถาปนาอำนาจเปล่งประกายเหนือผู้นำคนอื่นๆ ได้อย่างโดดเด่นเฉกเช่นคุณทักษิณ

ระบอบทักษิณมิได้เกิดขึ้นโดยผีมือของคุณทักษิณ และพรรคไทยรักไทยแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดขึ้นภายใต้บริบทและเงื่อนไขหลายประการ ที่ช่วยหนุนเสริมให้คุณทักษิณสามารถใช้จังหวะเวลาที่เหมาะสมสถาปนาอำนาจขึ้นได้อย่างเป็นปึกแผ่น เงื่อนไขสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่นำไปสู่การสถาปนาระบอบทักษิณ คือ ความสำเร็จของคุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ในการพัฒนาระบอบเลือกตั้งขึ้นอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ และทำให้ประชาธิปไตยมีความหมายเพียงการเลือกตั้ง หรือการได้มาซึ่งคะแนนเสียงจากประชาชนเท่านั้น

พรรคประชาธิปัตย์ของคุณชวนนั้น แต่เดิมมาสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นจากภาพลักษณ์แบบเสรีนิยม บนจุดยืนของการต่อต้านระบบเผด็จการทหารและการสนับสนุนระบอบเลือกตั้ง ซึ่งในยุคสมัยเผด็จการนั้น ภาพลักษณ์ดังกล่าวสามารถเรียกเสียงสนับสนุนและศรัทธาจากชนชั้นกลางและปัญญาชนได้อย่างท่วมท้น จนกลายเป็นที่มาของ "บารมี" และ "ศรัทธา" ที่ชนชั้นกลางมอบให้กับผู้นำรุ่นก่อนๆของพรรคประชาธิปัตย์

ในยุคของท่านนายกฯ เปรม พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ในยุคนั้น พรรคประชาธิปัตย์สร้างความโดดเด่นขึ้น จากภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองที่ไม่มีความด่างพร้อย ไม่คอร์รัปชัน ไม่ซื้อเสียง มุกที่นิยมใช้เป็นมุกของพรรคที่เลวน้อยกว่าพรรคอื่นๆ หลังเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 และการถอยร่นของกองทัพกลับเข้ากรมกอง

ผู้นำพรรคเช่นนายกฯ ชวน ก็ใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้เอง ในการสถาปนาตนขึ้นมาจนกระทั่งประสบความสำเร็จได้เป็นผู้นำรัฐบาลถึงสองสมัย นับเป็นการทำหน้าที่ผู้บริหารประเทศยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรรคประชาธิปัตย์เอง

ตลอดเวลาการเป็นรัฐบาลถึงสองสมัย คุณชวนและพรรคประชาธิปัตย์ มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการปฏิรูประบบการเมืองไทย ด้วยการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน และสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ คุณชวนทำสิ่งเหล่านี้บ้างหรือไม่ ข้อนี้คงเถียงกันได้พอสมควร รัฐธรรมนูญ 2540 ผ่านสภา เพราะรัฐบาลคุณชวนหรือแรงกดดันจากธงเขียวที่ปลิวไสวไปทั่วเมืองไทย อันนี้ยกให้ผู้อ่านตัดสินเอาเอง

แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ตลอดระยะเวลาของการเป็นรัฐบาลสองสมัย คุณชวนและพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธการเมืองภาคประชาชนมาโดยตลอด ดูเหมือนว่าคุณชวนเชื่ออย่างมั่นคงว่า สมาชิกสภาผู้แทนหรือ ส.ส.เท่านั้นที่ควรหรือมีสิทธิ "เล่น" การเมือง และรัฐสภาคือเวทีการเมืองเพียงหนึ่งเดียวสำหรับการตัดสินใจในกิจการสาธารณะต่างๆ ของประเทศ เราได้ยินคำว่า "ผมมาจากการเลือกตั้ง" บ่อยครั้งพอๆ กับข้อกล่าวหาที่ว่า องค์กรพัฒนาเอกชนและแกนนำประชาชนรับเงินต่างชาติมาประท้วงรัฐบาล

ความที่พรรคประชาธิปัตย์ในขณะเป็นแกนนำรัฐบาล ไม่เคยสนใจคนรากหญ้า คนด้อยสิทธิด้อยเสียง และเดือดร้อนจากโครงการของรัฐ การที่ผู้นำลูกชาวบ้านไม่เคยคุยกับคนอ่อนแอ ไม่เคยแก้ปัญหาเดือดร้อนให้กับประชาชนตัวเล็กๆ หากแต่ตะบันอ้างกฎหมายและหลักการเป็นสรณะ จึงทำให้ท่านสร้างภาพลักษณ์ของลูกชาวบ้านที่เข้าข้างนายทุนมาโดยตลอด เมื่อสูญเสียแรงศรัทธาจากชนชั้นกลาง เพราะไม่สามารถแก้วิกฤติฟองสบู่ บริหารจัดการเศรษฐกิจของชาติไม่เข้าตากรรมการ ท่านจะหันไปหาชาวบ้านระดับล่างก็ไปไม่ได้เสียแล้ว

ระบอบเลือกตั้งที่คุณชวนพัฒนาขึ้นอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ กลับกลายเป็นพื้นฐานให้คุณทักษิณช่วงชิงอำนาจไปได้โดยง่าย ด้วยการสร้างจุดขายแนวประชานิยมและนำเสนอออกมาเป็นนโยบายที่โดนใจประชาชน คุณชวนและพรรคประชาธิปัตย์ก็รู้ๆ อยู่ว่าทั้งหมดนี้ไทยรักไทยทำไปเพื่อหาเสียงกับชาวบ้านระดับล่าง แต่ก็ไม่รู้จะต่อสู้และช่วงชิงจุดขายนี้คืนจากไทยรักไทยได้อย่างไร

ในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งที่ผ่านมาก่อนทหารจะยึดอำนาจ ภาพลักษณ์ของการเป็นพรรคที่ไม่คอร์รัปชัน ไม่ซื้อเสียง เริ่มเป็นมุกที่ใช้ไม่ค่อยได้ผล เพราะดูเหมือนว่าคนไทยจะเริ่มมองว่าคุณชวนท่านไม่คอร์รัปชันอยู่คนเดียว หากแต่คนอื่นๆ ในพรรคกลับมีภาพที่คลุมเครือซับซ้อนกว่านั้น จนกระทั่งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ต้องลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถอดถอนตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ มุกไม่คอร์รัปชัน ไม่ซื้อเสียง เริ่มใช้ไม่ได้ เมื่อขาดนโยบายที่ชัดเจน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพราะประชาชนเริ่มคาดหวังจากผู้นำมากกว่าความซื่อสัตย์สุจริตและไม่ซื้อเสียงไม่คอร์รัปชันเท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงพยายามหันมาเล่นมุกของการเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เช่น "ไม่เลือกเราเขามาแน่" ซึ่งคงใช้ได้แต่เฉพาะกับบิ๊กจิ๋วเท่านั้น แต่ทำอะไรคุณทักษิณไม่ได้

หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังคงใช้มุกเก่าๆ ที่เน้นการไม่ซื้อเสียง ไม่คอร์รัปชัน และการนำเสนอตนในฐานะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแบบเดิมๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลง สโลแกนจากมุกเก่าๆ แบบนี้พรั่งพรูจากพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด โดยทั้งหมดพูดถึงปัญหาคอร์รัปชัน โกงปุ๋ย ลำไย และ "รวยแล้วไม่โกงจริงหรือ" ซึ่งน่าเบื่อและไร้ประสิทธิภาพ

ในขณะที่คุณทักษิณกลับเป็นฝ่ายรุก นั่นคือ คุณทักษิณไม่ได้สร้างภาพแต่เฉพาะก่อนการเลือกตั้งเท่านั้น แต่กลับเน้นการสร้างภาพลักษณ์อย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาระบอบเลือกตั้งของคุณชวนให้กลายเป็นการเมืองเรื่องภาพลักษณ์ขึ้นในสังคมไทย

คุณอภิสิทธิ์นั้นเริ่มใช้การเมืองเรื่องภาพลักษณ์ตั้งแต่ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเมื่อหลายปีก่อน และพยายามจะกอบกู้ประชานิยม ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของประชาธิปัตย์มาก่อน แต่กลับถูกคุณทักษิณชุบมือเปิบแย่งชิงไปอย่างง่ายดาย

เมื่อพรรคไทยรักไทยโดนใบแดงทางการเมือง การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 หรือเหลือเวลาอีกหนึ่งเดือนข้างหน้านี้ ประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคที่ได้เปรียบทางการเมืองมากที่สุด และมีโอกาสเป็นแกนนำรัฐบาลผสมชุดใหม่ได้มากที่สุด แต่คำถามสำคัญกลับมีอยู่ว่า นโยบาย "ประชาชนต้องมาก่อน" ของคุณอภิสิทธิ์นั้นแตกต่างจากประชานิยมของคุณทักษิณอย่างไร? หรือจะเป็นการสืบทอดระบอบทักษิณ ภายใต้บรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สวยใสกว่าเดิม หากประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งจริง ประชาชนต้องมาก่อนจะผันแปรไปเป็น "ระบบราชการต้องมาก่อน" ตามจารีตและวิถีเดิมของประชาธิปัตย์หรือไม่

ยศ สันตสมบัติ





 

โดย: คนเดินดินฯ 17 พฤศจิกายน 2550 9:44:16 น.  

 

คัดจากกรุงเทพธุรกิจ Bizweek


ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ในมุมมองหอการค้าไทย

ช่วงนี้หลายคนเริ่มมีการประชุมสภากันในทุกเช้าก่อนไปทำงาน หรือก่อนที่จะไปไหนต่อไหน หลายคนคงสงสัยว่าสภาอะไรที่มีการประชุมกันทุกเช้า ใช่แล้วครับ สภาที่ผมว่านั้นก็คือ สภากาแฟ ที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในช่วงเช้าๆ ระหว่างพี่พ้องน้องเพื่อน เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่การเมืองเริ่มจะมีสีสันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ห่างหายกันไปนานนับปีก็ว่าได้



หัวข้อที่สนทนากัน คงหนีไม่พ้นในเรื่อง ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคไหนจะได้เสียงข้างมาก และก็พูดถึงตัวบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์อย่างนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้งในทุกยุคทุกสมัย และในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาลก็ตาม

ล่าสุด ภาคเอกชนโดยหอการค้าไทย ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในมุมมองของภาคเอกชน เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้รู้ถึงความต้องการ รวมทั้งแนวทางที่ภาคเอกชนเห็นว่าน่าจะมีการผลักดันและพัฒนา โดยเป็นการรวบรวมแนวความคิดเห็นต่างๆ จากสมาชิกหอการค้าไทยและผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ

หอการค้าไทยเสนอว่า ประเทศไทยควรที่จะมีวิสัยทัศน์ของประเทศ เพื่อให้มีทิศทางและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น โดยมองว่าวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ควรจะเป็นคือ “ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ที่มีความแข็งแกร่ง มีภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจ มีระบบการเมืองและการปกครองที่มั่นคง มุ่งขจัดคอร์รัปชัน” โดยได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ครอบคลุม 3 มิติหลักของประเทศไทย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการเมือง

ในแต่ละมิตินั้น ทางหอการค้าไทยได้นำเสนอประเด็น เป้าประสงค์ หรือสิ่งที่ต้องการอยากจะให้เป็นในแต่ละด้าน ดังนี้

1.ด้านเศรษฐกิจ สร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการนำจุดแข็งของประเทศมาเป็นหลักในการสร้างความเป็นผู้นำทางด้านการผลิต การค้า และการลงทุน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ และระบบการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีของโลกไร้พรมแดน

2.ด้านสังคม รัฐบาลและภาคเอกชน รวมทั้งชาวไทยทุกคน ต้องร่วมสร้างความสามัคคีในหมู่คนในชาติ สร้างเสริมระบบครอบครัวที่เข้มแข็ง มุ่งเน้นการปฏิรูประบบการศึกษาทั้งจากสถาบันการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตัวเอง มีการสร้างและจัดการองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพในการผลิต ตลอดจนส่งเสริมให้มีสื่อสารมวลชนที่มีความรับผิดชอบและชี้นำสังคมในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม

3.ด้านการเมืองและการปกครอง พัฒนาระบบการเมืองและการปกครองให้เข้มแข็ง โดยมีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ชุมชน และพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชนและภาคประชาชนให้มีมากขึ้น ตลอดจนสร้างค่านิยมให้ประชาชนเข้าใจ รักษาปกป้อง และใช้สิทธิและหน้าที่ของตัวเอง และรู้จักให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตัวเองหรือพวกพ้อง โดยให้ความสำคัญและยกย่องคุณธรรมและการทำความดี

เป้าประสงค์หลักดังกล่าวนั้น หอการค้ามองว่ามิติทั้ง 3 ด้านนั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ควรตระหนักอย่างมาก ทั้งนี้หากพิจารณาเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่หอการค้าไทยเสนอมานั้น อาจมองถึงความตั้งใจและความคาดหวังได้ดังนี้

มิติที่หนึ่ง ทางด้านเศรษฐกิจ ที่หอการค้าไทยต้องการนำเสนอให้เห็นว่าในปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นโลกที่ไร้พรมแดน การแข่งขันมีสูง การพัฒนาและการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงนั้น จึงมีความจำเป็น ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงจุดแข็งของประเทศ และพยายามสร้างความแตกต่างให้เกิดในเวทีโลกให้ได้

นอกจากนี้ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าการลดปัญหาอุปสรรคทางด้านการค้าระหว่างกัน หรือการสร้างต้นทุนการผลิต การขนส่ง ที่ต่ำ ย่อมทำให้ธุรกิจของประเทศนั้นมีความได้เปรียบคู่แข่งโดยเปรียบเทียบ เป็นต้น

มิติที่สอง ทางด้านสังคม สิ่งที่หอการค้าไทยต้องการเน้นนั้น คือเรื่องของสถาบันครอบครัวที่ต้องมีความเข้มแข็ง เพราะสถาบันครอบครัวนั้นเป็นก้าวแรกของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งเป็นฐานแรกของสังคม ถ้าหากครอบครัวมีความสุขและเข้มแข็ง ก็เปรียบเสมือนมีภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ในด้านของการศึกษา ภาคเอกชนเห็นว่า ในปัจจุบันนี้ การผลิตบัณฑิตในบางสาขานั้น ยังมีน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการ โดยเฉพาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจอย่างมาก

เมื่อถามว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคลเหล่านี้มากเพียงพอหรือยัง หลายคนคงทราบคำตอบดีว่ายังไม่เพียงพอ ดังนั้นการพัฒนาด้านองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ที่จะแข่งขันกับนานาประเทศนั้น ค่อนข้างที่จะมีข้อจำกัดอยู่มากพอสมควร ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้และการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาในระยะยาว ที่ผมเชื่อว่าหลายฝ่ายคงมีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

มิติที่สาม ทางด้านการเมืองการปกครอง ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมากเมื่อเทียบกับสองมิติแรก เพราะทางด้านการเมืองการปกครอง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและเป็นผู้ชี้นำภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้นสิ่งที่หอการค้าไทยได้นำเสนอและเน้นนั้นคือ เรื่องของความมีเสถียรภาพทางการเมือง เพราะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นเชิงประจักษ์กันทุกคนแล้วว่า เมื่อการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งของไทยและต่างชาติต่างชะลอตัว ผลสุดท้ายคือการชะลอตัวลงของภาคเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ หอการค้าไทยยังต้องการเห็นภาคประชาชนไทยตื่นตัวทางการเมือง และรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อทำให้การเมืองไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

หอการค้าไทยยังได้เสนอประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ อีก 6 ด้าน ได้แก่ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ การส่งเสริมจริยธรรมและธรรมาภิบาล การรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต และการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหา

ส่วนสิ่งที่หอการค้าไทยต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการทันทีคือ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในปัจจุบัน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เสนอใน 6 ประเด็นหลักด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

1.เพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ผ่านนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่ดี เป็นรูปธรรม เนื่องจากในปัจจุบัน สถานการณ์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการต่างลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย นักลงทุนชะลอการลงทุน ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่จึงต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นเพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้

2.ส่งเสริมบุคคลที่มีความสามารถ และมีคุณธรรมในการเป็นผู้บริหารประเทศ ประเด็นนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการได้ผู้นำที่มีความสามารถ มีความคิดที่ก้าวไกล และมีคุณธรรม ย่อมจะนำพาประเทศไปได้อย่างมั่นคง แต่การที่มีผู้นำที่เก่งมีความสามารถแต่ขาดคุณธรรม อาจจะนำพาประเทศไปในทางที่แย่ลงได้

3.เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามแผนที่กำหนด เพื่อให้เกิดการลงทุนและการบริโภคขึ้นภายในประเทศ

4.เร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะโครงการที่ใช้วัตถุดิบในประเทศสูง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

5.ส่งเสริมและขยายการค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดน เนื่องจากในปัจจุบัน ภาคการส่งออกของประเทศมีสัดส่วนในการสร้างมูลค่าให้กับประเทศมากที่สุด แต่ในขณะนี้ตลาดต่างๆ มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงในตลาดหลักๆ ของโลก เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ทำให้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเร่งหาตลาดใหม่ รวมทั้งรักษาตลาดเดิมให้มีสัดส่วนเท่าเดิม

6.เอื้ออำนวยให้ภาคเอกชนและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยสะดวก

ทั้งหมดนี้คือข้อเสนอของหอการค้าไทยที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในมุมมองของภาคเอกชน ดังนั้นก้าวต่อไปก็คงต้องติดตามครับว่ารัฐบาลชุดใหม่ จะหยิบยกเรื่องใดเข้ามาดำเนินการ โดยมีความเชื่อว่าภาคเอกชนและประชาชนชาวไทย จะร่วมมือกับรัฐบาลใหม่ช่วยสานต่อนโยบายเหล่านี้ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป เพื่อให้เกิดการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยโดยเร็วครับ

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

โดย: คนเดินดินฯ 18 พฤศจิกายน 2550 0:29:48 น.  

 

สวัสดีครับ

ไม่ได้มาสานต่อบล็อกนี้เลย เอาเป็นว่าพรุ่งนี้จะมาโพสต่อนะครับ

เรื่องของอารมณ์ความรู้สึก สติ สมาธิ ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องที่ต้องควบคุมไว้ให้ดีนะครับ ในยามที่บ้านเมืองนี้ยังวังเวง ละประชาชนในบ้านเมืองนี้ยังมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร?

สู้ ๆ ต่อไป
ตราบที่เรายังมีลมหายใจอยู่

อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ !!

 

โดย: คนเดินดินฯ 20 พฤศจิกายน 2550 23:43:58 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะที่ยังระลึกถึง

วันนี้ก็วันศุกร์แล้วนะค่ะ
คงมีวันที่เราได้พักผ่อนบ้างนะค่ะนิ

ขอให้มีความสุขมากๆๆนะค่ะ
มิตรคนดี

 

โดย: catt.&.cattleya.. 23 พฤศจิกายน 2550 15:04:34 น.  

 

คัดจากกรุงเทพธุรกิจ

นักวิชาการสับนโนบายศก.พรรคการเมือง ขายฝัน-ไม่รู้แหล่งที่มาเงิน

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 17:26:00

นักวิชาการสับโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมือง แค่ขายฝันหากินในระยะสั้น โหมโรง"นโยบายประชานิยม"แต่ไม่รู้แหล่งที่มาของรายได้ แนะเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำรายได้ของประชาชน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายนิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนา หัวข้อ “เวทีติดดาวนโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมือง” ว่า นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในด้านเศรษฐกิจต้องสามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ได้คือ เศรษฐกิจไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเติบโตช้ากว่าศักยภาพ โดยศักยภาพควรจะเติบโตได้ 6% แต่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่าศักยภาพ 2% นับเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท เป็นการสูญเสียรายได้ที่จะมาพัฒนาประเทศและแก้ปัญหาความยากจน การลงทุนการบริโภคต่ำกว่าในอดีตค่อนข้างมาก นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มที่แย่ที่สุดในเอเชีย

สำหรับนโยบายของ 6 พรรคการเมืองใหญ่ที่ใช้หาเสียง ประกอบด้วย พรรคชาติไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน เพื่อแผ่นดิน มัชฌิมาธิปไตย และรวมใจไทยชาติพัฒนา จากการพิจารณาแล้วพบว่านโยบายจะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ เพียงขายความน่าเชื่อถือและปิดบังจุดอ่อน

ส่วนนโยบายด้านความยากจน พรรคการเมืองส่วนใหญ่เน้นแก้ปัญหาปวดหัว ตัวร้อน โดยไม่สนใจสาเหตุพื้นฐานความยากจน และไม่มีพรรคใดที่จะมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวย จึงไม่เห็นพรรคใดมีนโยบายจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดก หรือขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีพรรคใดมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าจะให้ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร นโยบายเขียนเอาใจบางกลุ่ม

หากพิจารณาด้านวินัยการเงินการคลัง พบว่ามีเพียง 2 พรรคที่ระมัดระวังคือ พรรคประชาธิปัตย์กับรวมใจไทยชาติพัฒนา อย่างไรก็ตาม ทุกพรรคไม่กล้าพูดเรื่องการขึ้นภาษี ซึ่งหมายความว่าแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จะมาจากการกู้หรือหารายได้จากอบายมุข

ส่วนด้านการศึกษานั้น พรรคการเมืองเน้นให้ทุนการศึกษา แต่ไม่พูดถึงคุณภาพการศึกษา ขณะที่งบประมาณของภาคการศึกษาไทยค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแนะว่า แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยคือ ทบทวนกฎหมายที่ทำลายความมั่นใจการลงทุนบริหารความขัดแย้งจากการดำเนินนโยบายด้วยระบบธรรมาภิบาลว่าจะทำอย่างไร สร้างความมั่นคงด้านพลังงานลดการแทรกแซงตลาด แต่ขณะนี้หลายพรรคมีแนวโน้มแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ต้องยึดมั่นพันธสัญญาของรัฐ ลดต้นทุนทำธุรกิจของเอกชน มีนโยบายการพัฒนาที่ลดการเหลื่อมล้ำคนจนกับคนรวย เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย


 

โดย: คนเดินดินฯ 23 พฤศจิกายน 2550 18:37:39 น.  

 

คัดจากฐานเศรษฐกิจ






คลังรีดแวต-ภาษีเงินได้ + ขยายฐานรายได้เข้ารัฐ/รับมือประชานิยมรัฐบาลหน้า
เปิดโมเดล สรรพากรหาวิธีนำรายได้เข้ารัฐ รองรับนโยบายรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง พร้อมเรียกประชุมแผนจัดเก็บภาษีปีงบฯ51 เน้นความถูกต้องและลดความซ้ำซ้อน พรรคใหญ่ไม่แตะภาษีมูลค่าเพิ่ม ชูธงขยายฐานภาษีนิติบุคคล เร่งหารายได้จากท่องเที่ยว ขณะที่"สมหมาย"ขุนคลังขิงแก่ ชี้ขยายฐานภาษีอาจยากและเหนื่อยฟรี อดีตรมว.คลัง-นักวิชาการแนะปฏิรูปโครงสร้างภาษี และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือยุบทิ้งไปเลย หลังขยายฐานจัดเก็บภาษีและรีดภาษีรสก.มากแล้ว





ในการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆก่อนการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวนโยบายซึ่งเกือบทุกพรรคจะเน้นจุดขายไปที่นโยบายประชานิยม จนเกิดการตั้งข้อสังเกตใน 2 ประเด็นใหญ่ ว่า 1.จะ กระทบรายจ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 2. ไม่มีนโยบายหารายได้ที่เป็นรูปธรรม


"ฐานเศรษฐกิจ"ได้สอบถามหัวหน้าทีมเศรษฐกิจถึงแนวทางหารายได้เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งพบว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ เช่น ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน และพรรคชาติไทย มีนโยบายเพิ่มรายได้จากการขยายฐานการเก็บภาษีจากธุรกิจ ซึ่งเป็นภาษีทางตรง เพิ่มสัดส่วนเงินนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว


****พรรคใหญ่ไม่แตะภาษีVAT


นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า การเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่ม ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อภาคประชาชนและเอกชน ซึ่งในทางปฏิบัติไม่เห็นด้วยกับการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่ใช่จังหวะที่จะเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องแบกภาระค่าครองชีพสูงอยู่แล้ว แต่จะต้องพิจารณาหารายได้จากการขยายฐานจัดเก็บภาษีให้กว้างขึ้น จากคนหรือกิจการที่ควรจ่ายภาษีแต่ไม่จ่าย ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว


"นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือหนึ่งในการหารายได้เข้ากระเป๋ารัฐ แต่ประสิทธิภาพในการใช้ภาคเอกชนจะเหนือกว่า ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีได้ต้องให้เงินอยู่ในกระเป๋ารัฐน้อยที่สุด ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี การปรับเพิ่มภาษีเป็นความคิดที่ผิด"


ทางด้าน ร.อ.สุชาติ เชาววิศิษฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะทีมเศรษฐกิจของพรรคชาติไทย กล่าวว่า ปัจจุบันฐานะการคลังไม่แข็งแรงพอในขณะที่เศรษฐกิจยังง่อนแง่น ดังนั้น


นโยบายทางการคลังและการเงินที่พรรคจะนำมาใช้ จะเน้นนโยบายที่สามารถปฎิบัติได้จริง คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์และต้องไม่พาประเทศไปสู่ความยุ่งยาก เช่น การดำเนินนโยบายการคลังจึงต้องเป็นในลักษณะอนุรักษ์นิยมแต่ไม่ถึงกับสุดกู่


"แนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงที่เศรษฐกิจง่อนแง่น มันก็เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องมีนโยบายการคลังที่เอื้ออำนวยให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจและลงทุนได้ เพื่อทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้และเอื้อต่อการจ่ายภาษีเข้ารัฐ หรือเป็นการหารายได้ของรัฐในรูปของเงินภาษีอากร รวมทั้งดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว"


ขณะที่นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นในการหารายได้เพิ่มของรัฐบาล โดยเพิ่มสัดส่วนเงินนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจว่า หากมีความจำเป็นจริงในรัฐบาลหน้าก็สามารถดำเนินการได้ แต่คงไม่สามารถเรียกเม็ดเงินเพิ่มได้มากนัก เนื่องจากปัจจุบันรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีการนำส่งรายได้สูงอยู่แล้ว ส่วนแนวทางการหารายได้เพิ่มจากภาษีอากรในกรณีที่ไม่เพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มีความเป็นไปได้ยาก เพราะระดับการจัดเก็บภาษีอื่นๆของกรมสรรพากรขณะนี้ขยายฐานมากพอสมควรแล้ว ดังนั้นการจะขยายฐานให้เพิ่มขึ้นกว่านี้คงเป็นไปได้ยากมาก และเหนื่อยฟรี


****คลังชงขึ้นVAT-เก็บภาษีทางตรง


นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า แนวโน้มโครงสร้างการจัดเก็บภาษีในอนาคตนั้น ต้องจัดเก็บภาษีทางตรง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ปัจจุบันมีการเก็บภาษีเฉลี่ยอยู่เพียง 5% จากอัตราภาษีที่เก็บได้สูงสุดถึง 37% เนื่องจากมีการลดหย่อนภาษีให้จำนวนมาก เช่นเดียวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งในระยะต่อไปจะต้องพิจารณาว่าควรจะกำหนดให้มีอัตราเท่าใดจากปัจจุบันเก็บที่ 30% เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสามารถรองรับกับภาวการณ์ในอนาคตได้ด้วย


"การจะปรับเพิ่มอัตราภาษีรายการใดหรือไม่นั้น เป็นนโยบายที่รัฐบาลใหม่ต้องเป็นผู้ตัดสินใจ กรมสรรพากรมีหน้าที่ช่วยคิดว่าจะมีช่องทางจัดเก็บภาษีจากส่วนใด เช่น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% ก็เป็นแนวทางส่วนหนึ่งที่อยู่ในแผนพัฒนาภาษีระยะ10ปีของกรมสรรพากรที่ได้เคยเสนอให้กระทรวงการคลังมาก่อนหน้านี้ " (ปัจจุบันสัดส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็น 40% ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมด )


****กรอบเก็บภาษีปี51ลดซ้ำซ้อน


ทางด้าน นายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย ในเรื่องเดียวกันว่าหลังจากที่รัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วคงต้องพิจารณาว่าจะนำเม็ดเงินจากส่วนใดบ้างเพื่อใช้จ่ายตามนโยบายนั้นๆ ซึ่งหากสามารถจัดหาและวางแนวทางจัดเก็บรายได้ในส่วนอื่นๆเพียงพอ ทางหน่วยงานจัดเก็บรายได้ก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติม แต่หากไม่สามารถจัดหารายได้จากส่วนอื่นๆได้ ก็จะต้องมาพิจารณาถึงการกู้เงินก่อน ซึ่งส่วนนี้ต้องเป็นการกู้เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว เพื่อก่อให้เกิดผลผลิตที่เพิ่มขึ้น หรือส่งเสริมการใช้จ่ายของภาคเอกชนด้วย


ขณะเดียวกัน รองอธิบดีกรมสรรพากร ยังกล่าวถึงการประชุมสัมมนาสรรพากรจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเพื่อมอบนโยบายและทิศทางในการบริหารการจัดเก็บภาษีประจำปีงบประมาณ 2551 โดยเน้นเรื่องหลักความถูกต้องและเป็นธรรม รวมทั้งพยายามชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับผู้เสียภาษี ตลอดจนการปรับลดค่าปรับให้ด้วย


"คาดว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2551 จะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย 1,208,800 ล้านบาท คิดเป็น 80.9% ของประมาณการรายได้รวมทั้งสิ้น 1,495,000 ล้านบาท จากสมมติฐานที่คาดว่าหากจีดีพีปี 2551 อยู่ที่ 5% และอัตราเงินเฟ้อ 3% จะทำให้คาดการณ์การเติบโตของการจัดเก็บรายได้ที่ 8% ต่อปีจะเท่ากับอัตราการจัดเก็บรายได้ต่อจีดีพี 1:1 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก"


นอกจากนี้ แนวทางการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2551 จะเน้นลดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บภาษี ด้วยการจัดหมวดหมู่ในการเสียภาษีใหม่ให้เกิดความคล่องตัวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีและการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เช่น ภาษีเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน ปัจจุบันมีการจัดเก็บหลายรายการ ประกอบด้วย ภาษีบำรุงท้องที่ , ภาษีเทศบาล , ค่าธรรมเนียมการโอน , ค่าจดจำนอง , อากรแสตมป์ , ภาษีหัก ณ ที่จ่าย , ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล หากสามารถรวมเอาการชำระภาษีทั้งหมดนี้มารวมไว้ในจุดเดียวกันในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง ก็จะทำให้ผู้เสียภาษีมีความสะดวกมากขึ้นและเป็นการง่ายต่อการชำระภาษี รวมทั้งไม่เกิดความผิดพลาดในการคำนวณภาษี


อนึ่ง ปัจจุบันกรมสรรพากรอยู่ระหว่างปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพากรให้มีความชัดเจน สามารถเข้าใจง่ายและตรงกัน โดยรวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกันเข้าไปอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงมาตรการภาษีหลายเรื่อง เช่น การอนุญาตให้สามีและภรรยาสามารถแยกยื่นภาษีได้ทุกกรณี จากปัจจุบันที่ภรรยาต้องนำรายได้มายื่นเสียภาษีรวมกับสามีเท่านั้น , การหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมจาก 40% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นไม่เกิน 60% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท , การเพิ่มประเภทการบริจาคเพื่อการศึกษา ที่สามารถนำไปหักลดหย่อนทางภาษีได้ 2 เท่า เช่น การให้ทุนการศึกษา การให้ทุนวิจัย จากเดิมที่สามารถลดหย่อนได้เฉพาะการบริจาคอุปกรณ์ทางการศึกษาเท่านั้น , การเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับบุคคลที่เลี้ยงดูคนพิการ และจะมีการพิจารณาแก้ไขการยกเว้นภาษีสำหรับเงินลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) และการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)ด้วย เนื่องจากบุคคลที่มีรายไดสูงๆเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์


***รสก.ส่งรายได้เดือนแรกเกินเป้า


ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังรายงานผลการจัดเก็บรายได้เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ( เดือนตุลาคม 2550) ว่าจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 116,093 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 1,521 ล้านบาท คิดเป็น 1.3 % โดยในส่วนของการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจัดเก็บได้ 73,085 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 138 ล้านบาทเป็นผลจากภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 831 ล้านบาท หรือสูงกว่าประมาณการ5.5%


ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ 14,904 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการซึ่งตั้งไว้ที่ 15,020 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 38,797 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการที่ 39,168 ล้านบาท และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ 2,878 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,106 ล้านบาท


ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยถึง รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2551 ในเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกว่า รัฐวิสาหกิจสามารถนำส่งรายได้ให้กระทรวงการคลังสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.22% จากเดิมตั้งไว้ 23,012.04 ล้านบาท นำส่งจริงได้ 23,752.50 ล้านบาท หรือสูงกว่าที่ประมาณการ 740.46 ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจหลักที่นำส่งรายได้ประจำเดือนตุลาคม 2550 ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 8,913 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,338.75 ล้านบาท และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 2,319.21 ล้านบาท


****แนะปฏิรูปโครงสร้างภาษี-รสก.


ด้านนายบดี จุณณานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นในการจัดเก็บรายได้ว่า รัฐบาลไม่ควรปรับเพิ่มอัตราภาษีในขณะนี้ เพราะเท่ากับเป็นการบล็อกภาคธุรกิจในเรื่องของการขยายการลงทุน หากปรับเพิ่มภาษี อาจทำให้รัฐเก็บรายได้ในระยะสั้น แต่เมื่อเอกชนเกิดความเสียหายขึ้น จะกระทบต่อการจัดเก็บภาษีของภาครัฐในระยะยาว ดังนั้นการปรับโครงสร้างอัตราภาษีควรเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่รัฐบาลใหม่ควรใช้มาตรการทางภาษีที่เอื้อหรือส่งเสริมให้นักลงทุนและนักธุรกิจมั่นใจในการลงทุนหรือขยายกิจการ


นอกจากนี้มาตรการที่สำคัญ คือ เร่งรัดจัดการเงินภาษีรั่วไหลซึ่งมีอยู่ในวงกว้างของประเทศไทย และทางการยังไม่สามารถจัดการได้ โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากอัตราภาษีที่สูงทำให้มีการจงใจเลี่ยงภาษี โดยเฉพาะการมีเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทำบัญชีให้เอกชนและแนะนำให้เลี่ยงภาษีทั้งในรูปแบบที่ไม่ชำระภาษีเลย และการจ่ายภาษีในอัตราต่ำ ขณะเดียวกันต้องมีการขยายฐานภาษีที่ยังจัดเก็บในอัตราที่ต่ำอยู่


สอดรับกับความเห็นของ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เห็นรัฐบาลใหม่ ควรจะใช้วิธีการปฎิรูปโครงสร้างภาษีด้วยการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดกแทนการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและเป็นการกระจายรายได้ โดยที่รัฐบาลสามารถทำงบประมาณขาดดุลที่ 2-2.5% ต่อจีดีพีได้ต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปี เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือ รัฐบาลสามารถปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจใดที่เอกชนสามารถทำได้ดีกว่าให้แปรรูป ส่วนรัฐวิสาหกิจใดที่ไม่จำเป็น รัฐบาลก็ควรพิจารณายุบทิ้ง เหลือไว้เพียงรัฐวิสาหกิจพื้นฐาน


ส่วนดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการและประธานสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด เห็นว่าภาครัฐบาลยังสามารถหารายได้เพิ่มจากการปฏิรูปองค์กรรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจใดที่ไม่มีความจำเป็นก็พิจารณาประกาศยกเลิกไป ส่วนรัฐวิสาหกิจใดที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ดีกว่าภาครัฐก็แปรรูปองค์กรให้เอกชนรับไปดำเนินงานต่อ โดยเหลือคงไว้เพียงรัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็น และมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น


ส่วนช่องทางการจัดเก็บรายได้โดยปรับเพิ่มอัตราภาษีนั้น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นช่องทางที่สามารถดำเนินการได้ง่ายที่สุด และสามารถจัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้จำนวนมาก โดยทุกๆ 1% ของการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 40,000 ล้านบาท ขณะที่แนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดกนั้น ในทางปฏิบัติภาครัฐจะดำเนินการได้ค่อนข้างลำบาก เพราะอัตราการเรียกเก็บภาษีไม่มีความชัดเจน และอาจได้รับแรงต่อต้านมากกว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม


 

โดย: คนเดินดินฯ 23 พฤศจิกายน 2550 18:43:21 น.  

 

คัดจากกรุงเทพธุรกิจ

ทัศนะวิจารณ์

พลวัตเศรษฐกิจ:ความเป็นไปได้ของนโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมือง

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 07:00:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ในช่วงเทศกาลการหาเสียงเช่นนี้ พรรคการเมืองต่างแข่งขันกันนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ ว่า ควรจะเลือกใครขึ้นมาบริหารประเทศ โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่คนจำนวนไม่น้อยเดือดร้อนกันอยู่ นับว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้ยกระดับดีขึ้นมาบ้าง ที่นำเอานโยบายมาแข่งขันกันมากขึ้น

การเมืองไทยจะยกระดับอีกขั้นหนึ่ง หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถรู้เท่าทันนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อันไหนเพ้อฝัน อันไหนมีอะไรแฝงแร้น และอันไหนแสดงจุดยืน อุดมการณ์ และผลประโยชน์อย่างไร

ในเบื้องต้น การพิจารณาว่านโยบายเศรษฐกิจพรรคการเมือง โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม หรือนโยบายเมกะโปรเจค มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เป็นเพียงการสร้างความหวังเพียงเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้

เริ่มต้นจากการพิจารณาโครงสร้างงบประมาณกันก่อน ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปี 2550 และปี 2551 สัดส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนอยู่ต่ำกว่า 30% ขณะที่รายจ่ายประจำมากกว่า 70% และยังต้องกันรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้อีกจำนวนหนึ่ง

หมายความว่า เรามีเม็ดเงินน้อยมากที่จะเอามาทำประชานิยมใหม่ๆ หรือลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

เราอาจขาดดุลเพิ่มเติมได้อีก 5 แสนถึง 8 แสนล้าน ในระยะสามสี่ปีข้างหน้าโดยไม่เสียวินัยทางการเงิน แต่เงิน 5 แสนถึง 8 แสนล้าน อาจไม่เพียงพอสำหรับตอบสนองต่อนโยบายประชานิยมทั้งหมดที่พรรคการเมืองต้องการทำ ยกเว้นรัฐบาลใหม่ต้องเก็บภาษีเพิ่ม ขาย หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่มเติม

หากวิเคราะห์โครงสร้างรายรับของรัฐบาลไทย พบว่าแยกออกเป็นสองส่วนสำคัญ ส่วนที่เป็นรายได้ และส่วนที่กู้ยืมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงสร้างรายได้พึ่งพิงรายได้จากภาษีมากกว่า 80% ขณะที่รายได้จากรัฐพาณิชย์หรือผลกำไรรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการขายสิ่งของและบริการยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก

หากรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งต้องการหาเงินมาตอบสนองต่อค่าใช้จ่ายตามนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการของประชาชนตามนโยบายประชานิยมก็ดี หรือตามนโยบายรัฐสวัสดิการก็ดี

รัฐจำเป็นต้องปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ ต้องปรับโครงสร้างภาษีทั้งฐานภาษี และอัตราภาษี

ภายใต้โครงสร้างอำนาจทางการเมืองอย่างที่เป็นอยู่เวลานี้ คนที่แบกรับภาษีหนักที่สุด คือ ชนชั้นกลาง และมนุษย์เงินเดือน ทั้งหลาย ขณะที่ชนชั้นล่างก็ไม่ได้รับการบริการพื้นฐานจากรัฐบางอย่างที่ควรจะได้ รัฐบาลที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ที่แท้จริง ย่อมไม่มีแรงจูงใจ หรือมีแรงกดดันมากพอที่จะทำเกิดการปฏิรูประบบภาษีของประเทศ

พรรคการเมืองต่างๆ ที่หาเสียงอยู่ก็หลีกเลี่ยงที่จะแสดงจุดยืนหรือกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว เพราะอาจเสียคะแนนนิยมจากประชาชนบางกลุ่ม แต่เราต้องเข้าใจว่า ไม่มีอะไรฟรีในโลกนี้ หากจะเพิ่มสวัสดิการให้ประชาชนก็ต้องเพิ่มภาษี และการเก็บภาษีเพิ่มที่ไม่กระทบคนส่วนใหญ่มาก คือ การเก็บภาษีมรดก และภาษีทรัพย์สิน

การเก็บก็ต้องเก็บในอัตราที่เหมาะสม คือ ต้องมากเพียงพอเพื่อให้เกิดการกระจายตัวของรายได้ ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและนำมาใช้จ่ายเพื่อการลงทุนให้ส่วนรวม แต่ต้องไม่มากจนกระทั่งเป็นอุปสรรคหรือลดแรงจูงใจในการสะสมทุนในประเทศ เพราะการสะสมทุนเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

แหล่งรายได้อีกแหล่งหนึ่ง คือ รัฐวิสาหกิจจะปรับปรุงหรือปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วยการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเพื่อลดภาระทางการคลัง จะได้เอาเงินงบประมาณไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ จะมีแนวทางอย่างไรก็ต้องพูดให้ชัด ไม่ใช่กลัวเสียคะแนนเสียง

หากจุดยืนปฏิเสธการแปรรูปเลย ก็ประกาศไปเลย ประชาชนที่เขาทนไม่ไหวกับการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจจากการรั่วไหลและไร้ประสิทธิภาพเขาจะได้ตัดสินใจ ประชาชนที่เขาทนกับการให้บริการที่ย่ำแย่ จะได้ตัดสินใจเลือกได้ถูกว่าพรรคนี้มาเป็นรัฐบาลแล้ว ประเทศจะสูญเสียโอกาสอย่างไร และ ยอมให้รัฐวิสาหกิจเป็นแหล่งหากินของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงต่อไปเขาจะได้เลือกกันถูก

ขณะที่หากพรรคไหนสนับสนุนการแปรรูปเต็มที่ ประชาชนที่เขาเกรงว่าพอแปรรูปไปแล้วค่าบริการจะขึ้นราคา ผู้มีรายได้น้อยจะเดือดร้อน เขาจะได้เลือกถูกว่าเขาควรเลือกพรรคนี้มาเป็นรัฐบาลหรือไม่ และพรรคการเมืองมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้การแปรรูปเกิดการปรับโครงสร้างตลาด ไม่เปลี่ยนจากการผูกขาดโดยรัฐ เป็นการผูกขาดโดยทุนเอกชนขนาดใหญ่ การแข่งขันไม่เกิด การบริการย่อมไม่ดีขึ้น ประสิทธิภาพย่อมไม่ดีขึ้น และเป็นภาระของรัฐในรูปแบบอื่นๆ แม้ไม่ใช่ภาระทางด้านงบประมาณก็ตาม

หากไม่ขึ้นภาษีด้วย ไม่แสวงหารายได้จากรัฐวิสาหกิจด้วยการแปรรูป ก็ต้องกู้เงิน

กู้เงินในประเทศจะมีผลดึงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ไปกดดันการลงทุนภาคเอกชนได้ หากกู้เงินต่างประเทศ ก็ต้องระวังสถานะทางการเงินของประเทศโดยรวม วันนี้ยังค่อนข้างแข็งแรงอยู่ ใช้เงินกู้มาเป็นทุนใช้จ่ายทำโครงการต่างๆ ก็ต้องวิเคราะห์สถานะหนี้สาธารณะให้ดี ว่า ประเทศชาติสามารถรองรับได้แค่ไหน กู้แค่ไหนที่มีศักยภาพในการชำระคืนได้ และไม่ก่อปัญหาหนี้สินระยะยาวให้ลูกหลาน

ทั้งหมดนี้ คือ คำถามและประเด็นที่ช่วยให้เราประเมินความเป็นไปได้ของนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองต่างๆ ครับ

***ตารางประกอบบทความ

หน่วย %

ลักษณะรายจ่าย 2545 2546 2547 2548 2549 2550

รายจ่ายลงทุน 21.9 21.2 25.2 25.5 27.0 24.9

รายจ่ายประจำ 75.6 75.4 71.9 70.5 70.5 72.5

รายจ่ายคืนชำระคืนต้นเงินกู้ 2.5 3.5 2.9 4.0 2.5 2.6

งบประมาณรายจ่าย 100 100 100 100 100 100

ที่มา : คำนวณจากข้อมูล สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี

อนุสรณ์ ธรรมใจ





 

โดย: คนเดินดินฯ 23 พฤศจิกายน 2550 21:53:12 น.  

 

เฮ่อ...อ่านแล้วปวดหัวค่ะพี่

การศึกษาไทย ตอนนี้ มันตั้งอยู่บนผลประโยชน์

 

โดย: กระจ้อน 2 ธันวาคม 2550 9:12:27 น.  

 



แรม 8 ค่ำเดือน 12..ตรงวันพระ
เมื่อคืนจันทร์เสี้ยว สวยงามแปลกตา
คืนนี้จันทร์เสี้ยว สวยงามยิ่งกว่า

เพราะใจเป็นสุขคิดดีทำดี ย่อมมีผลบุญส่งจิตให้สงบ
ทรัพย์แท้คือทรัพย์ภายใน พลังแท้คือความเป็นไท

ดังนั้นทรัพย์สมบัติทางใจคือพรหมวิหาร 4
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
นี้แหละคือทรัพย์สมบัติที่ใช้ไม่มีวันหมด
************


เราระลึกถึงกัลยาณมิตรทุกคนในพระนี้ค่ะ
อนุโมทนา...ค่ะ



แวะหามิตรคนดี..วันนี้วันหยุดขอให้มีแต่ความสุขมากมายนะค่ะ

 

โดย: catt.&.cattleya.. 2 ธันวาคม 2550 13:45:39 น.  

 



คัดจากกรุงเทพธุรกิจ-คอลัมน์กายใจ


Fusion life



: พงษ์ ผาวิจิตร pong@thinkfact.com

มั่งคั่งมีเพียงหนึ่งเดียวฤๅ

เขาวัดความมั่งคั่งกันเพียงแค่ทรัพย์สมบัติเท่านั้นหรือ.. เคยอ่านเรื่องราวของผู้บริหารบริษัทยาโนวาร์ทิส ที่มีสาขาทั่วโลก ซึ่งผู้บริหารคนนี้ต้องเดินทางไปประชุมทั่วโลก และเยี่ยมสาขาต่างๆ เฉลี่ยเดือนละเกือบสามสัปดาห์ แต่เมื่อไรก็ตามที่เขากลับไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ เขาจะขี่จักรยานไปทำงานที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบ เหมือนกับครูในชนบทที่ขี่จักรยานไปตามคันนา เพื่อไปทำงานสอนที่โรงเรียน

ดูเขา ก็อดคิดถึงเราไม่ได้ว่า ... เราจะเลือกความร่ำรวยในวิถีชีวิต หรือ ร่ำรวยในสินทรัพย์ที่เกินความจำเป็น ประเภทมีโรงงานพันล้าน รถอีกสิบคัน มีพนักงานต้องรับผิดชอบอีกห้าพัน ต้องเจรจากับเจ้าหนี้ธนาคารเดือนละสองครั้ง แถมยังต้องเจียดเวลาไปหาออเดอร์เข้าโรงงาน อันเป็นวิถีชีวิตทุนนิยมในยุคที่ผ่านมา และกำลังจะผ่านไป หรือจะเหมือนกับเอเย่นต์สาวคนหนึ่งที่ประจำในยุโรปของสื่อดังระดับโลกแห่งหนึ่ง เธอมีสำนักงานอยู่บนชั้นสองของตึกเก่าๆ แห่งหนึ่งในเจนีวา หันหน้าไปทางทะเลสาบมีพนักงานทั้งบริษัท 2 คนแต่มียอดบิลลิ่งไม่ได้น้อยกว่าโรงงานที่กล่าวถึงแต่อย่างไร และเวลาส่วนมากของเธอก็หมดไปกับการเดินทางหาลูกค้า มากกว่าจะหมดไปกับการบริหารหนี้สิน เราจะเลือกแบบไหน?

พูดไปแล้วก็เหมือนองุ่นเปรี้ยวกับหมาจิ้งจอกในนิทานอีสป แต่ก็ขอยืนยันว่า ขอเลือกอย่างหลังอยู่ดี คือ เลือกวิถีชีวิตที่มั่งคั่ง มากกว่าจะมั่งคั่งด้วยสินทรัพย์ หากความฉลาดของคนเรามีมากกว่าแค่ไอคิว เพราะยังมีเรื่องของอีคิว เอสคิว สารพัดคิวแล้ว ความมั่งคั่งก็น่าจะมีมากกว่าหนึ่งมิติเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้น แล้วอะไรล่ะ คือความมั่งคั่งอื่นๆ ...?? นอกจากทรัพย์สินและวิถีชีวิต ยังมีอีกหลากหลายที่เขาวัดกัน

.....ความมั่งคั่งในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม นี่แหละ คือความมั่งคั่งในวิถีชีวิตที่สงบ สวยงาม เชื่อว่า คนส่วนใหญ่มีภาพทำนองนี้ในใจ... ภาพของหมู่บ้านที่ไม่มีความแออัดยัดเยียด ผู้คนเดินทางกันอย่างไม่รีบเร่ง หยุดทักทายกันบ้าง แวะร้านค้าระหว่างทางบ้าง ในชุมชนที่อยู่มีวัดวาอารามที่ไม่ใหญ่โต มีต้นไม้ขึ้นทึบ ไม่มีลานซีเมนต์ ไม่มีเต็นท์ตลาดนัดรกตา ริมวัดมีสระน้ำใหญ่ที่เด็กๆ พากันมากระโดดน้ำเล่นในยามบ่าย ส่วนยามเย็นก็เป็นรอบของผู้ใหญ่บางคนที่มานั่งจับกลุ่มคุยกันบ้าง

บางคนนั่งตกปลา ชุมชนที่ว่า ไม่จำเป็นต้องอยู่ชนบทเสมอไป แม้แต่ในเมืองใหญ่ๆ ก็มีวิถีชีวิตอย่างนี้ได้ หากเราหยุดวิ่ง หันมาช่วยกันสร้าง ช่วยกันดูแล แม้แต่บ้านใกล้ๆ ของผู้เขียน ใจกลางเมืองใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ และไม่เพียงแต่ละแวกบ้าน หันมาใช้จักรยานบ้าง เดินบ้าง ไปในชุมชนอื่นๆ แม้แต่กลางเกาะรัตนโกสินทร์ อย่างแถวบางลำพู สามเสน เจริญนคร ยานนาวา หรือสวนหลวง สรรพาวุธ ก็ยังมีภาพเหล่านี้ให้เห็นกันอยู่เกลื่อนตา แต่ที่เราไม่เคยเห็น เพราะวิถีชีวิตของเราที่รีบเร่งจนภาพความสับสนจับจองพื้นที่จิตใจเราไปหมด เหมือนกับปลาที่มองไม่เห็นน้ำ เชื่อว่า พวกเราอยากให้มีอยู่จริงมากกว่าจะได้เห็นเพียงในทีวี หรือได้เห็นตอนไปทัวร์หมู่บ้านวัฒนธรรม

....ความมั่งคั่งทางจิตวิญญาณ ที่จำเป็นต้องใช้ในวินาทีวิกฤติ ถึงแม้ว่าจะมีเงินทองมหาศาล ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่เราต้องการความมั่นคงทางจิตใจในการตั้งรับได้ด้วยความสงบ กฎของชีวิตต้องมีวิกฤติมาเป็นของแพ็คคู่แถมในชีวิตเรา คงไม่มีพระเจ้าองค์ไหนยอมขายเฉพาะรูปแบบชีวิตที่สวยหรูเพียงส่วนเดียว อันนี้มีให้ฝึกหลากหลายในสังคมของเรา แต่ก็อย่างว่า ใกล้เกลือกินด่าง.. เราเลยไม่ค่อยเห็นกัน มีแต่ฝรั่งแห่มาเรียนฟรีกันทุกสำนัก

....ความมั่งคั่งทางปัญญา ที่เราต้องใช้เข้าใจกับประเด็นนามธรรม และวิทยาการใหม่ๆ สังคมโลกพัฒนามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีเรื่องใหม่ๆ และมิติทางนามธรรมเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต แม้แต่ตัวความมั่งคั่งเองก็มีการตีค่าใหม่ ที่เราต้องลงทุนกันเอง เพราะไม่มีใครหยิบยื่นให้ แต่อย่างว่า จะมีสักกี่คนยอมเสียเงินหาอาหารสมองมากน้อยขนาดไหน และยอมที่จะอยู่กับสภาพแวดล้อม คนรอบข้างที่จะเกื้อให้เราพัฒนาปัญญา มากกว่าที่จะเลือกความถูกใจ พอใจเป็นหลักหรือไม่

..... ความมั่งคั่งทางสุขภาพ คนไม่เคยป่วยหนัก ไม่เคยรู้ว่า สุขภาพเป็นลาภอันประเสริฐ นั้นจริงแท้แค่ไหน เรามักเผลอลืมไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหมือนกับที่เราลืมไปว่าอากาศที่เราหายใจ ที่มีความสำคัญขนาดแค่ขาด 5 นาที เราก็อยู่ไม่ได้แล้ว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึง เพราะมัวแต่ไปคิดถึงเรื่องไกลตัว คนขาดแฟน ขาดรัก ที่ฟูมฟาย ทั้งๆ เป็นเรื่องไกลตัวกว่าอากาศ ความจริง เราต้องถือว่าโชคดีที่ยังไม่ขาดอากาศหายใจ คนเป็นโรคร้ายบางโรค ต้องฉีดยาเข็มละ 300,000 บาท หรือต้องฟอกไตเดือนละ 20,000-30,000 บาท ในทางเศรษฐกิจยังมีการวัดกันถึงต้นทุนทางโอกาส เช่นกัน เราก็ต้องวัด เป็นความมั่งคั่งตัวหนึ่งเหมือนกัน

..... ความมั่งคั่งในทุนสังคม สังคมที่มีระเบียบ ไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีคนคอยเอาเปรียบเล็กๆ น้อยๆ เช่นการทิ้งขยะ การขับรถปาดหน้า การต่อเติมบ้านยื่นเข้าไปในที่สาธารณะ มีการติดป้ายโฆษณาจนบ้านเมืองหมดความสวยงาม การใช้เส้นสายตัดหน้าส่งลูกเข้าโรงเรียนมีชื่อ การเล่นพรรคพวกของผู้มีอำนาจในบ้านเมือง (ตำรวจ นักการเมือง ข้าราชการ) และคนได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีเท่ากัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะชาติตระกูล ฐานะ หรือปริญญาบัตร เวลาอยากได้ความรู้ก็มีห้องสมุดสาธารณะให้บริการ มีโรงพยาบาล มีโรงเรียน มหาวิทยาลัยดีๆ ก็ไม่ต้องแสวงหาทรัพย์สินมหาศาลเพื่อส่งลูกไปซื้อปริญญา

.....ความมั่งคั่งในสิ่งแวดล้อม เราคงอยากอยู่ในท้องถิ่นที่อยากไปทะเล มีทะเล อยากไปภูเขา มีภูเขา อยากไปป่า ก็มีป่าให้ มีสัตว์ป่าชุกชุม ภูมิสถาปัตย์มีการจัดอย่างสวยงาม ไม่มีการต่อเติม ทำลายมลภาวะ เรียกว่า ไม่ต้องเสียเงินทองเพื่อเดินทางไกลไปหาสิ่งเหล่านี้ ลองจินตนาการว่า หากเราได้นั่งทำงานในไร่ มีบ้านเป็นรีสอร์ท เหมือนการไปตากอากาศ เรียกได้ว่า ได้เที่ยวสนุกทุกวันที่ทำงาน แถมได้เงินด้วย จะดีขนาดไหน คนบางกลุ่ม อย่างประเทศผู้ที่อาศัยในทะเลทราย ต้องลงทุนมหาศาลในการเนรมิตสิ่งต่างๆ เหล่านี้ขึ้นในทะเลทราย หรือมิเช่นนั้น ก็ต้องไปซื้อบ้านในต่างแดนที่มีสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ นั่นก็ต้องอาศัยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นนายหน้าในการเนรมิต

.... ความมั่งคั่งในระบบเศรษฐกิจ อันนี้ไม่ต้องพูดกันมาก เพราะรู้กันดี จนบางครั้งเกินดี

.... ความมั่งคั่งทางการเมือง และการทหาร ประเทศที่เราเป็นพลเมืองมีศักดิ์ศรี ถือพาสปอร์ตเดินทางไปไหน ก็มีคนต้อนรับ ไม่ถูกมองด้วยสายตาดูถูก หรือเกรงกลัว บนเวทีโลก มีอำนาจต่อรองพอประมาณ

รวมๆ กันแล้ว จะเรียกว่า ทุนใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ก็ไม่ผิด และดูๆ ไป เราก็เข้าเกณฑ์หลายตัวโดยไม่ต้องเสียเวลาหาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจก่อน เพื่อมาซื้อความมั่งคั่งตัวอื่นๆ เหมือนที่เราไม่ต้องหาเงินมาซื้อกับข้าวที่อร่อยน้ำใจจากแม่ของเรา

................

เชิงอรรถ

1 สังคมไทยยังลงทุนในด้านปัญญาน้อยมาก แม้แต่การชมภาพยนตร์ยังเลือกเรื่องสนุกมากกว่าเรื่องที่มีสาระ หนังสือก็ต้องเป็นหนังสือเบาสมอง เวลาสัมมนาก็ต้องเน้นอาหารดี โรงแรมดี วิทยากรคุยสนุก มากกว่าว่าจะได้สาระอะไร

2 ต้นทุนทางโอกาส- เช่น หากเราอยู่บ้านเรา ก็เท่ากับเราเสียต้นทุนทางโอกาสที่จะให้คนอื่นเช่า ประมาณว่าเดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

3 ชาวอาหรับในขณะนี้ เวลาเดินทางไปไหน มักจะได้รับการปฏิบัติแบบไม่ไว้วางใจ หากเกิดเรื่องอย่างนี้กับเรา ลองจินตนาการว่าจะทุกข์ขนาดไหน

 

โดย: คนเดินดินฯ 2 ธันวาคม 2550 16:12:31 น.  

 

คัดจากมติชนรายวัน

การสร้างนิสัยใหม่ ทำไมต้อง "สร้างนิสัยใหม่"?

คอลัมน์ จับจิตด้วยใจ

โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ drwithan@gmail.com



ถ้าใครคิดว่า "นิสัยเดิม" หรือ "พฤติกรรมเดิมๆ" ดีเลิศอยู่แล้วก็คงจะไม่จำเป็นต้อง "เปลี่ยนใหม่" แต่สำหรับผมเองพบว่ายังมี "นิสัย" ที่ไม่ดีอีกมากมาย "พฤติกรรม" ที่ยังไม่ดีพออีกหลายเรื่อง ผมก็เลยคิดที่จะลองฝึกการ"สร้างนิสัยใหม่"

ผมพบว่า "การสร้างนิสัยใหม่" ในหลายๆ เรื่องไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียวเลย ตัวอย่างเช่น ใครๆ ก็ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน

"การสร้างนิสัยใหม่" นี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง คือมนุษย์เรามีสมองสามชั้นในเชิงกายวิภาคที่โยงกับเรื่องพฤติกรรมนะครับ คือสมองชั้นต้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกาย สมองชั้นกลางเกี่ยวข้องด้านอารมณ์ สมองชั้นนอกเป็นสมองที่ใช้คิด มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพัฒนาการของสมองทั้งสามชั้นแตกต่างกันไป บางท่านจะถนัดการใช้สมองคิด บางท่านก็จะถนัดการใช้สมองด้านอารมณ์ บางท่านก็อาจจะถนัดสมองชั้นต้นที่ลงไม้ลงมือกระทำการ

อุดมคติที่สุดและให้ดีที่สุดในทางทฤษฎีก็คือ มนุษย์ควรจะใช้สมองทั้งสามชั้นอย่างสมดุล เชื่อมโยงถึงกัน "ในสภาวะที่เป็นปกติ" ของเซลล์สมอง คือถ้าเซลล์สมองไม่ได้ทำงานอยู่ใน "สภาวะปกติ" แล้ว ผลที่ออกมาก็จะเป็น "ด้านมืด" ของสมองทั้งสามชั้นนะครับ คือความกลัวในสมองชั้นต้น ความโกรธในสมองชั้นกลาง และความวิตกกังวลของสมองชั้นนอกที่คิดมากแบบฟุ้งซ่าน กระจัดกระจาย

เมื่อได้ศึกษาถึงเรื่องนี้ ผมก็พบว่าตัวผมเองเป็นมนุษย์ประเภทที่ใช้สมองชั้นนอกซึ่งใช้คิดเป็นหลัก รองลงมาก็เป็นการใช้สมองอารมณ์และผมใช้สมองชั้นต้นซึ่งเป็นเรื่องของการลงมือกระทำน้อยที่สุด คือชอบคิดแล้วอาจจะลงไม้ลงมือทำอะไรไม่มากไม่จริงจังนัก หมายความว่าถ้าผมต้องการจะปรับเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมอะไรก็ตามในชีวิตของผม การปรับเปลี่ยนนิสัยในระดับของความคิดของผมเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยยากนัก การปรับเปลี่ยนเรื่องอารมณ์ก็ยากขึ้นมาหน่อย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านกายของผมยากที่สุด ซึ่งก็จะคล้ายคลึงกันมากกับผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันนี้

ผมไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ผมมีดีอยู่แล้วคือ "ด้านความคิด" แต่ผมเพิ่ม "การปฏิบัติการ" ให้มากขึ้น เพิ่มสมดุลให้กับสมองชั้นต้นของผมให้มากขึ้น

ผมฝึกโยคะมาตั้งแต่เจ็ดแปดปีก่อน ฝึกชี่กงมาได้สี่ปี ฝึกไท้ฉีฉวนมาได้สองปี แต่ผมพบว่าสำหรับผมแล้วไม่ง่ายเลยที่จะ "ตั้งราก" การฝึกฝนทางกายเหล่านี้ให้เป็น "กิจวัตรประจำวัน" เป็น "นิสัยใหม่" สร้างวินัยให้กับตัวเองใหม่ ผมมักจะมีข้ออ้างเสมอ เช่นเมื่อตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้าที่สดใส ก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของวันที่ผมมักจะใช้เวลาในช่วงนี้เพื่อการเขียนหนังสืออ่านหนังสือ

ผมก็มักจะคิดว่า เออ...เรื่องการฝึกฝนกายเอาไว้ก่อน เราชอบที่จะคิดที่จะอ่านและการเขียนในยามเช้าก็เป็นไปอย่างไหลลื่นดีมาก เสียดายเวลาทองตรงนี้นะ แต่ในขณะเดียวกันผมก็ไม่ได้มีความสม่ำเสมอที่แท้จริงนักในเรื่องการเขียนการอ่าน บางวันก็เขียน บางวันก็ไม่เขียน ยกเว้นในช่วงที่กำลังเขียนพ็อคเก็ตบุ๊กที่ต้องเขียนทุกวันแล้ว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้บางทีบางช่วงผมก็เอ้อระเหยลอยชายไปบ้าง เขียนบ้างไม่เขียนบ้างตามใจตัวเองแบบเหลาะแหละ

ผมก็ได้เรียนรู้ว่าสมองชั้นต้นของผมอ่อนแอมาก ผมต้องพัฒนาศักยภาพของสมองชั้นต้นของผมอย่างจริงๆ จังๆ ผมต้องฝึกฝน "ร่างกาย" อย่างจริงๆ จังๆ แม้ว่าสิ่งที่ผมฝึกฝนเกี่ยวกับโยคะและชี่กงนั้นช่วยพัฒนาสมองชั้นต้นได้อย่างแน่นอนในช่วงเจ็ดแปดปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงนั้นผมก็ยังไปไม่ถึงจุดที่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอเสียทีเดียวนัก

แน่นอนครับว่าในการฝึกฝนร่วมกันเป็นกลุ่มนั้นจะช่วยเรื่องนี้ได้มาก เช่นในช่วงเวลาที่เราไปทำเวิร์กช็อปสามสี่วันนั้นก็จะเป็นช่วงเวลาที่ได้ฝึกฝน และผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนว่า มักจะไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวคือต้องฝึกเป็นกลุ่ม ผมเองก็พบปัญหานี้เช่นกัน คือถ้าฝึกโยคะหรือรำมวยจีนเป็นกลุ่มก็จะสามารถทำได้ง่าย นัดเวลากันในตอนเช้าแล้วก็มารำมวยจีนด้วยกัน แต่ผมก็คิดว่าถ้าจะให้เกิดการ "พัฒนาสมองชั้นต้น" ขึ้นมาอย่างจริงจังแล้ว ผมคิดว่าตัวชี้วัดอย่างหนึ่งก็คือจะต้องสามารถ "ฝึกฝนด้วยตัวเอง" คนเดียวได้จนสามารถให้เป็น "นิสัยใหม่" หรือ "กิจวัตรใหม่"

ผมพบว่าไม่ง่ายเสียทีเดียวเลยที่ผมจะฝึกไท้ฉีฉวนคนเดียว ทั้งๆ ที่ผมก็สามารถเรียนมาจนเป็นและสามารถรำมวยจีนได้ครบทั้งสามชุดแล้ว บางวันก็จะมีข้ออ้างที่ดีมากเรื่องการเขียน เรื่องการส่งต้นฉบับหรืองานเขียนอื่นๆ เพราะช่วงเวลาการรำมวยจีนที่ดีก็เป็นช่วงเวลาในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของผมที่จะใช้สำหรับงานเขียน

จูเลีย คาเมรอน เป็นศิลปินชื่อดังและเป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่อ The Artist Way บอกไว้ว่า "ศิลปินก็ต้องเป็นคนที่มีวินัย" เธอแนะนำว่า ทุกๆ เช้า ให้ "เขียนมอร์นิ่งเพจ" เขียนเป็นอะไรก็ได้ออกมาทุกๆ วัน ทุกๆ เช้า อย่างน้อยสองถึงสี่หน้าเอสี่ และไม่จำเป็นต้องให้ใครอ่านหรือไม่จำเป็นจะต้องคิดว่าจะได้เป็นบทความหรืองานเขียนอะไร แค่ตื่นขึ้นมาแล้วเขียนมอร์นิ่งเพจเป็นอย่างแรก

ผมต้องใช้เวลาหลายเดือนมากในการ "ปรับ" การใช้เวลาทองในช่วงเช้าของผมที่จะทำให้ผมสามารถ "เขียนและอ่าน" ได้ด้วยและสามารถใช้เวลากับ "ร่างกาย" ของผมไปด้วย ในที่สุดผมก็เริ่มด้วยการเขียนมอร์นิ่งเพจก่อนเป็นอย่างแรกเมื่อตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้า เขียนอะไรก็ได้ไม่ต้องคิดว่าจะเป็นบทความ แต่ก็มักจะได้บทความดีๆ ในช่วงนี้ควบคู่ออกมาเสมอ จากนั้นพอสายหน่อย ก็ออกไปฝึกไท้ฉีฉวนด้วยตัวเอง

ผมรับรู้ได้ถึง "การปรับตัวปรับสภาพปรับพลังงานอะไรบางอย่าง" ที่ค่อยๆ สอดคล้องกันมากขึ้นจนกลายมาเป็น "นิสัยใหม่" ที่ทำให้ผมสามารถใช้เวลาได้กับทั้งงานเขียนและงานฝึกฝนปัญญากาย รับรู้ได้ถึงความเบาสบายและประสิทธิภาพที่มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องพยายามอะไรมากมาย ด้วยการสังเกตเฝ้าดูตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

ผมได้เรียนรู้ว่าแม้จะไม่ง่ายนักแต่ "การสร้างนิสัยใหม่" ต้องอาศัยการสร้าง "วินัยด้านใน" ที่จะสามารถทำขึ้นมาได้จากการให้ความใส่ใจกับการสร้างปัญญาของสมองชั้นต้น ซึ่งเป็นปัญญาด้านร่างกายของเรานั่นเอง



















 

โดย: คนเดินดินฯ 2 ธันวาคม 2550 17:03:03 น.  

 

คัดจากประชาชาติธุรกิจ

ปีหน้าก๊าซจ่อทะลุ20บาท/ก.ก. วัดใจรัฐบาลใหม่ลอยตัวเต็มสูบ

ลอยตัวก๊าซพ่นพิษ หวั่นปีหน้าราคาพุ่งตามตลาดโลก หวั่นลอยตัวสมบูรณ์ราคาไต่ระดับเพิ่มอีก 5-23 บาท/ก.ก. ผู้ใช้ภาคครัวเรือนแบกภาระอ่วม ธุรกิจเอสเอ็มอี-อาหาร เดี้ยงระนาว ขณะที่อุตสาหกรรมเซรามิกลำปางถึงขั้นปิดโรงงานหากต้นทุนยังพุ่งไม่หยุด แบงก์ชาติเชื่อกระทบตัวเลขเงินเฟ้อเล็กน้อยในครึ่งหลังปี 2551 ผู้ใช้รถหมดทางเลือก หลังก๊าซขึ้นราคา-เอ็นจีวีก็ยังหาเติมยาก รอลุ้นน้ำมัน E20 บางจากฯ-เชลล์ รับประกัน ปีหน้าได้ใช้แน่ ส่วนค่ายรถยนต์แห่ปรับมาผลิตรุ่น E20 กันเป็นแถว

ท่ามกลางภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยน้ำมันดิบดูไบได้ทำสถิติสูงขึ้นถึง 89.92 เหรียญ/บาร์เรล ส่งผลให้น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 103.63 เหรียญ/บาร์เรล และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 110.87 เหรียญ/บาร์เรล จนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศต้องปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 32.89 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 31.59 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 28.89 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 28.09 บาท/ลิตร และน้ำมันดีเซลปรับขึ้นไปถึง 29.34 บาท/ลิตร

ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของผู้ใช้รถที่หันมา ใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) กับก๊าซธรรมชาติ NGV เป็นพลังงานทางเลือก ต่างก็กำลังประสบปัญหาเมื่อกระทรวงพลังงาน ตัดสินใจที่จะขึ้นราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มขึ้นมาอีก ก.ก.ละ 1.20 บาท หรือเท่ากับ 18 บาท/ก.ก. ขณะที่ NGV แม้จะถูกบริษัท ปตท.ตรึงราคาอยู่ที่ ก.ก.ละ 8.50 บาท แต่ก็ประสบปัญหาจำนวนสถานีบริการ NGV ยังมีน้อยไม่ครอบคลุมต่อความต้องการของผู้ใช้รถและเกิดการขาดแคลนรถสำหรับขนส่ง NGV ไปยังสถานีบริการที่ไม่อยู่ในแนวท่อก๊าซด้วย

ปัญหาเหล่านี้กำลังซ้ำเติมคนไทยอย่างหนักหน่วง ในขณะที่หน่วยงานของรัฐต่างก็เรียกร้องให้คนไทยหันไปใช้พลังงานทางเลือกท่ามกลางความไม่พร้อม โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เริ่มปรับเปลี่ยนการผลิตเครื่องยนต์ที่หันไปใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 (เบนซิน 80% ผสมเอทานอล 20%) แต่บริษัทผู้ค้าน้ำมันส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมที่จะผลิต E20 ออกมาใช้ในปีหน้า

ก๊าซ LPG ขึ้น 1.20 บาทแค่ขั้นต้น

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เข้ามาว่า หลังจากที่กระทรวงพลังงานได้พิจารณาปรับราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นของก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นอีก 1.20 บาท/ก.ก. ได้ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก 18 บาท/ก.ก.ต่อถัง 15 กิโลกรัมหรือเท่ากับ 270 บาท/ถัง

โดยการปรับราคาก๊าซครั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดภาระการชดเชยเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องจ่ายชดเชยราคาก๊าซหุงต้มประมาณ 279 ล้านบาทต่อเดือน และป้องกันปัญหาการขาดแคลนก๊าซหุงต้มที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า เนื่องจากปริมาณการจัดหาก๊าซหุงต้มในปัจจุบันขึ้นไปใกล้กับปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มแล้ว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานคาดว่าในช่วงเดือนมกราคม 2551 ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเวลานี้ได้มีการกำหนดสูตรไว้ว่า ราคาก๊าซหุงต้มจะมีการอ้างอิงจากราคาก๊าซหุงต้มหน้าโรงแยก 95% และราคาตลาดโลก 5% โดยปัจจุบันราคาหน้าโรงแยกอยู่ที่ 320 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาในตลาดโลกจะนำราคาย้อนหลังสามเดือนนำมาเฉลี่ย ที่ปัจจุบันอยู่ 650 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งหากราคาเฉลี่ยย้อนหลังสามเดือน (ต.ค.-ธ.ค.2550) ปรับขึ้นอีก ก็จะส่งผลให้มีการปรับราคาก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังมีการกำหนดสูตรไว้อีกว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า กระทรวงพลังงานจะกำหนดการอ้างอิงราคาก๊าซหุงต้มใหม่ โดยจะอิงราคาก๊าซหน้าโรงแยกเป็น 90% และราคาตลาดโลกเป็น 10% และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 สูตรการกำหนดราคาหน้าโรงแยกก๊าซจะเป็น 80% และอิงราคาในตลาดโลก 20% และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 4 จะอ้างอิงสูตรราคาหน้าโรงแยกก๊าซที่ 70% และ 30% และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2552 สูตรราคาหน้าโรงแยกก๊าซจะเป็น 60% และอีก 40% เป็นราคาอ้างอิงจากตลาดโลก

"เมื่อมีการกำหนดสูตรราคาก๊าซหุงต้มขึ้นมาในลักษณะนี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า ราคาก๊าซหุงต้มหลังจากนี้ไปจะมีการปรับราคาขึ้นไปอีกไม่ต่ำกว่า 5-6 บาท/ก.ก." นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าว

นั้นหมายถึง หากรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งยอมที่จะใช้แผนการปรับราคาก๊าซเพื่อนำไปสู่การลอยตัวก๊าซหุงต้มโดยสมบูรณ์ข้างต้นของกระทรวงพลังงานแล้ว ราคาก๊าซหุงต้มในประเทศมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นไปถึง 23-24 บาท/ก.ก. หรือ 345-360 บาท/ถังขนาด 15 ก.ก.ทีเดียว ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ประชาชนยิ่งจะเดือดร้อนขึ้นไปใหญ่ทั้งจากราคาสินค้าและการขนส่งที่จะต้องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

แห่ใช้ NGV แต่ขาดสถานีบริการ

หันมาทางด้านการใช้พลังงานทางเลือกอย่างก๊าซ NGV กันบ้าง แม้ว่าราคาก๊าซ NGV จะถูกตรึงราคาอยู่ที่ ก.ก.ละ 8.50 บาท โดยบริษัท ปตท.ยอมรับภาระส่วนต่างอยู่ในปัจจุบัน แต่การขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ก็ยังไม่ครอบคลุมกับความต้องการของผู้ใช้รถ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลก็รณรงค์ส่งเสริมให้รถแท็กซี่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซ NGV แทนก๊าซหุงต้มหรือ LPG ที่ถูกชดเชยส่วนต่างราคาโดยกองทุนน้ำมันอยู่

ในเรื่องนี้ ดร.จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.กำลังเร่งขยายเครือข่ายสถานีบริการ NGV ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และเร่งขยายจำนวนสถานีบริการในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อรองรับโครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถแท็กซี่จำนวน 50,000 คันของรัฐบาล

โดยภายใน 2 ปีข้างหน้า ปตท.จะก่อสร้างสถานีบริการ NGV ขนาดใหญ่ (super daughter) เพื่อแก้ปัญหาความแออัดขนาด 20 ตู้จ่ายจำนวน 7 สถานี ทั้งในเขตแนวท่อส่งก๊าซและสถานีขนาดปกติ (daughter station) 4 ตู้จ่าย จำนวน 100 สถานี ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และจะขยายสถานีแม่ (mother station) เพิ่มขึ้นอีก 8 แห่ง บวกกับรถขนส่ง NGV อีก 200 คัน รวมกับที่ใช้ในปัจจุบันเป็น 477 คัน เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าในการขนส่ง NGV ให้กับสถานีบริการ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ปตท.มีสถานีบริการ NGV ครอบคุลม 35 จังหวัด จำนวน 160 แห่ง ภายในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นเป็น 200 แห่ง และสิ้นปี 2554 เพิ่มเป็น 535 แห่ง เพื่อรองรับรถยนต์ที่ใช้ NGV ให้ได้ 257,000 คัน

รถใช้เครื่องยนต์ E20 แต่สถานีบริการตามไม่ทัน

ส่วนทางด้านการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือเบนซิน 80 ส่วนผสมกับเอทานอล 20 ส่วน ซึ่งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นำร่องผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ไปแล้วนั้น ล่าสุดมีเพียงบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับบริษัทเชลล์ในประเทศไทย เท่านั้น ที่แสดงความสนใจที่จะผลิตและจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ E20

นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดค้าปลีก บริษัทบางจาก ปิโตเลียม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเดือนมกราคม 2551 บริษัทบางจากฯจะเปิดให้บริการเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ในสถานีบริการน้ำมันบางจากที่มีความพร้อมในเรื่องของหัวจ่ายก่อนจำนวน 5 แห่งในกรุงเทพฯ และเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ใช้รถหันมาเติมแก๊สโซฮอล์ E20 รัฐบาลควรให้การสนับสนุนส่วนต่างของราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับแก๊สโซฮอล์ 95 ให้ห่างกัน 1 บาท/ลิตร และส่วนต่างราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ให้ห่างกัน 5 บาท/ลิตร

อย่างไรก็ตาม การชดเชยส่วนต่างของราคาระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับน้ำมันเบนซิน-แก๊ส โซฮอล์ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่กระทรวงพลังงานจะต้องให้ความสนใจ นอกเหนือไปจากการรณรงค์ให้ผู้ใช้รถหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่กำลังส่งเสริมกันอยู่ในปัจจุบัน

อุตฯเซรามิกเจ๊งระนาว

นางสาวสุปราณี ศิริอาภานนท์ อุปนายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีได้ส่งผลกระทบรุนแรงและกลายเป็นปัญหาหนักของอุตสาหกรรมเซรามิกในพื้นที่จังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซเป็นพลังงานเชื้อเพลิงหลักในกระบวนการผลิตเซรามิก ปัจจุบันมีการใช้ก๊าซแอลพีจีในอุตสาหกรรมเซรามิกประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อเดือน เมื่อปรับขึ้นราคาก๊าซทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20%

อุปนายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปางกล่าวอีกว่า หลังได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าซึ่งกระทบต่อผู้ส่งออกเซรามิก ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือ โดยให้ภาครัฐชะลอการลอยตัวราคาก๊าซ ซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้รับเรื่องและมอบหมายให้คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เร่งศึกษาการทำเตาเผาพลังงานทดแทน แต่วันนี้ก็ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากนักเนื่องจากเป็นงบฯรวมของอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งประเทศ

ขณะที่นโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือนั้น ปัจจุบันงบฯยังไม่ถึงมือกลุ่มผู้ประกอบการ ส่งผลให้โรงงานที่มีอยู่กว่า 300 รายใน จ.ลำปาง ทนภาวะความเดือดร้อนไม่ไหวปิดกิจการไปหลายสิบราย

ปัจจุบันมีโรงงานเซรามิกเปิดดำเนินการใน จ.ลำปาง ประมาณ 260 ราย โดยเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวน 150 ราย ที่เหลือเป็นผู้ประกอบการรายย่อย หรืออุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็กที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนซึ่งได้รับผลกระทบทั้งหมดเช่นกัน ดังนั้นหากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขดูแลจากภาครัฐ จะมีโรงงานเซรามิกปิดกิจการอีกไม่น้อยกว่า 10 แห่งภายในกลางปี 2551 นี้แน่นอน และจะเกิดปัญหาการว่างงานตามมาจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของ จ.ลำปาง เป็นอย่างมาก เพราะการจ้างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเซรามิก

นางสาวสุปราณียังเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้โรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ 2-3 แห่งได้ย้ายฐานการผลิตไปตั้งโรงงานที่เขตสิบสองปันนาของจีนแล้ว เนื่องจากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนและมีโอกาสทำธุรกิจที่ดี เชื่อว่าหากไม่มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลบวกกับปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทิศทางของอุตสาหกรรม เซรามิกคงมืดมนต่อไป

แบงก์ชาติไม่ห่วงเงินเฟ้อ

แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซในเดือน ธ.ค.นี้ และที่คาดว่าจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือน ม.ค.ปีหน้า รวมถึงราคาสินค้าที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีหน้า พบว่ามีผลกระทบต่อเงินเฟ้อไม่มาก โดยราคาก๊าซมีน้ำหนักในตะกร้าสินค้าที่คำนวณเงินเฟ้อน้อยมากไม่ถึง 1% ส่วนราคาสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหลังจากอั้นราคามานานนั้น ก็ดำเนินการช้ากว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตาม คือ ราคาก๊าซที่ปรับเพิ่มขึ้นจะกระทบต่อการปรับเพิ่มขึ้นราคา สินค้าอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการประเมินของกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะกระทบต่อข้าวราดแกงปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 30 สตางค์ แต่ในความเป็นจริงการปรับราคาข้าวแกงจะมากกว่านี้ ในส่วนนี้คงมีการประเมินผลกระทบอีกครั้งหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 4 ธ.ค.นี้

"คาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้า คงไม่ปรับประมาณการเงินเฟ้อ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่คงปรับสมมติ ฐานราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ และหากดูจากข้อมูลจะพบว่าเงินเฟ้ออาจปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกปีหน้า เนื่องจากเงินเฟ้อในปีนี้ต่ำ แต่ไตรมาสต่อไปก็คงไม่สูงขึ้นมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเป็นปัจจัยหลัก" แหล่งข่าว ธปท.กล่าว

คนใช้รถหวังพึ่ง E20

นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้ก๊าซในครัวเรือน รวมถึงผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ใช้รถยนต์ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลพวงจากการลอยตัวราคาก๊าซ โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง ขณะเดียวกันทางเลือกที่จะใช้ก๊าซเอ็นจีวีก็ยังมีความไม่สะดวกในด้านจำนวนสถานีบริการที่ไม่เพียงพอ นั่นทำให้ผู้ใช้รถจำนวนไม่น้อยฝากความหวังเอาไว้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือน้ำมันที่มีสูตรผสมเอทานอล 20% หรือ E20 ซึ่งแม้ค่ายรถยนต์จะหันมาผลิตรถที่รองรับการใช้น้ำมัน E20 มากขึ้น แต่ก็ยังต้องรอ ผู้จำหน่ายน้ำมัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขาย E20 ตามปั๊มต่างๆ ได้ในปี 2551

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การหันมาใช้พลังงานทางเลือกกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับค่ายรถยนต์ ผู้บริหารค่ายรถยนต์เกือบทุกค่ายต่างพูดและมีแนวทางในการรุกตลาดพลังงานทางเลือกชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าเป็นค่ายยุโรป ญี่ปุ่น หรืออเมริกา โดยแต่ละค่ายก็จะให้น้ำหนักแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีทั้งการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ไบโอดีเซล แล้วแต่ความถนัด เพียงแต่สิ่งที่น่ากังวลในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการตอบสนองด้านพลังงานจากภาครัฐ เพราะ เท่าที่ทราบตอนนี้เอ็นจีวีก็ขาด ส่วนน้ำมันผสม เอทานอล 20% (อี 20) ก็ยังไม่มีค่ายใดผลิตออกจำหน่าย ไบโอดีเซลก็มีกะปริดกะปรอย

ค่ายรถหนุนพลังงานทางเลือกเต็มสูบ

นายเคนจิ โอตะกะ ประธาน บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการรถยนต์ให้ความสนใจกับการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบก๊าซธรรมชาติ หรือแก๊สโซฮอล์ อย่างของฮอนด้าในปีหน้ารถยนต์ของฮอนด้าจะสามารถใช้น้ำมันผสมเอทานอล 20% (อี 20) ได้ทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นแอคคอร์ด ซีวิค ซีอาร์-วี หรือแม้กระทั่งแจ๊ซ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการผลักดันจากอัตราภาษีสรรพสามิตที่กำหนดเก็บรถที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 ถูกลงกว่าเดิม 5% เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2551 และบริษัทก็พร้อมจะปรับลดราคาขายลงตามอัตราภาษีที่ลดลงด้วย

มีปัญหาเอ็นจีวีขาดตลาด

ก่อนหน้านี้นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่าในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้หรือไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2551 ปริมาณก๊าซเอ็นจีวีในปั๊มอาจจะยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของผู้ใช้รถยนต์ที่มีเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ระบบสาธารณูป โภคยังมีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ปตท.จะพยายามเร่งแก้ไขปัญหา ด้วยการเพิ่มคอมเพรส เซอร์ตามสถานีต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณก๊าซให้สูงขึ้นและการสร้างสถานีจำหน่ายตามแนวท่อรอบกรุงเทพฯ และท่อในเมือง จะเป็นปั๊มขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีถึง 30 หัวจ่าย เติมได้ครั้งละ 60 คัน จะมีทั้งหมด 7 แห่งในปี 2551 ประกอบด้วยรังสิต, หมอชิต, สายใต้ใหม่, บางนา, แอร์พอร์ตลิงก์, ร่มเกล้า และกาญจนาภิเษก

นายณัฐชาติกล่าวว่า ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา มียอดรถยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวี 51,000 คัน เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้เอ็นจีวีในเขต กทม.และปริมณฑล เพิ่มขึ้นรวดเร็วเป็น 700-800 ตันต่อวัน ในขณะที่ ปตท.จัดส่งก๊าซได้เพียง 650 ตันต่อวันเท่านั้น โดยหากมีการแก้ปัญหาตามแผนแล้ว 6 เดือนข้างหน้าจะมีปั๊มมากกว่า 200 แห่ง และขยายคอมเพรสเซอร์ จะทำให้สามารถส่งก๊าซได้ถึง 25,000 ตันต่อวัน และปลายปี 2551 จะเพิ่มเป็น 30,000 ตันต่อวัน ขณะที่คาดว่ายอดการใช้จะมีประมาณ 15,000-18,000 ตันต่อวัน

 

โดย: คนเดินดินฯ 3 ธันวาคม 2550 18:12:08 น.  

 

วันนี้วันพ่อค่ะ
มีความสุขในวันนี้นะค่ะ
ไม่ได้ออกไปไหนเลยค่ะ
ดูไฟสวยๆๆจากทีวีอย่างเดียวเลย

เก่งจังเลยนะค่ะเนื้อหาเพียบเลย
พักผ่อนบ้างนะค่ะ
มีความสุขเสมอนะค่ะ

 

โดย: cattleya.. (catt.&.cattleya.. ) 5 ธันวาคม 2550 21:54:28 น.  

 

 

โดย: คนเดินดินฯ 7 ธันวาคม 2550 22:24:45 น.  

 



แรม 15 ค่ำเดือน 12..ตรงวันพระ
คืนนี้ท้องฟ้ามืดมิด หาใช่จิตต้องมืดมนต์เสมอ

ชีวิตคือการแก้ปัญหา คนใดแก้ปัญหาเก่ง แก้ปัญหาเป็น
คนนั้นก็จะดำเนินชีวิตได้ดี

คิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
ยังไม่พอ ต้องสื่อสารเป็นด้วย..
คือการพูดเป็น ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า
ปากเป็นเอก เลขเป็นโทร หนังสือเป็นตรี

************

ในพระนี้มีบุญเป็นให้จิตระลึกและนำเยือนมิตรเสมอ
อนุโมทนา...ค่ะ




ขอแสดงความเสียใจด้วยนะค่ะ
กับคุณ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์

 

โดย: catt.&.cattleya.. 9 ธันวาคม 2550 18:05:25 น.  

 

เพลงเพราะ ฟังเพลิน
อ่านเพลิน


มาช้า...ดีกว่าไม่มา นะ คุณคนเดินดิน...

บล๊อกน่ารักมากมากค่ะ

 

โดย: PinkStone IP: 125.26.62.63 4 มิถุนายน 2551 20:31:38 น.  

 

Get your quick and urgent loan today at a rate of only 2% for the guarantee and the trust of customers around the world. Lions Gate investors are here to offer all kinds of loans of up to 20,000 Dollars 10,000,000.00 transactions are always successful ..
Email: liongateloanfirm452@gmail.com God bless you all in the name of Jesus, Amen !!

 

โดย: Tanya Albert IP: 192.95.30.51 5 พฤศจิกายน 2559 21:10:04 น.  

 

ได้รับเงินกู้อย่างรวดเร็วและเร่งด่วนของคุณวันนี้ในอัตราเพียง 2% สำหรับการรับประกันและความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลก นักลงทุน Lions Gate อยู่ที่นี่เพื่อนำเสนอทุกชนิดของเงินให้สินเชื่อได้ถึง 20,000 ดอลลาร์ 10,000,000.00 ธุรกรรมมักจะประสบความสำเร็จ ..
อีเมล์: liongateloanfirm452@gmail.com พระเจ้าอวยพรทุกท่านในพระนามของพระเยซูอาเมน !!

 

โดย: Tanya Albert (สมาชิกหมายเลข 3474490 ) 5 พฤศจิกายน 2559 21:18:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.