บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
 
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 มกราคม 2549
 
All Blogs
 

สัมภาษณ์ ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ--จากรายการท่าพระอาทิตย์














นักวิชาการเตือน “ทุนโจรครองเมือง” พาหายนะย้ำต้องเร่งปฏิรูป

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 มกราคม 2549 19:21 น.





ณรงค์ เพชรประเสริฐ




“ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ” อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา ให้สัมภาษณ์สภาท่าพระอาทิตย์ (5 ม.ค.49) ชี้การจัดอันดับเศรษฐกิจไทยหล่นจาก 53 มาอยู่อันดับ 71 เหตุจากปัจจัยการแทรกแซงของรัฐ ไม่ไปตามกลไกตลาด เตือนระวังเกิดหายนะ จากกลุ่มทุนโจรครองเมือง พร้อมประเมินการขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ป เศรษฐกิจประเทศมีโอกาสทรุดสูง ขณะที่กลุ่มทุนมีแต่ได้กับได้ ย้ำต้องเร่งปฎิรูปการเมืองจะเป็นทางออก



รายการสภาท่าพระอาทิตย์ ประจำวันที่ 5 มกราคม 2549 ดำเนินรายการโดยสำราญ รอดเพชร คำนูณ สิทธิสมาน และปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

สำราญ – ก็จะไปคุยกับท่านอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐนะครับ ก็โปรดิวเซอร์บอกว่าเป็นประเด็นเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

ปานเทพ – มีการจัดลำดับกันนะครับ โดยยึดนิตยสาร Wall Street Journal

สำราญ – เห็นว่าไทยนี่ร่วงมา

ปานเทพ – ตกไปลำดับที่ 71

สำราญ – จาก 53 หล่นมาอยู่ที่ 71 นะครับ

ปานเทพ – แพ้เขมร แพ้กัมพูชานะครับ

สำราญ – ก็เดี๋ยวจะไปคุยกับ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ว่าเอ๊ะ เสรีภาพทางเศรษฐกิจมันหมายถึงอย่างไรกันแน่นะครับ

คำนูณ – ตอนนี้ท่านมาแล้วครับ สวัสดีครับ อาจารย์ณรงค์ครับ

ปานเทพ – สวัสดีครับ

สำราญ – สวัสดีครับ

ดร.ณรงค์ – สวัสดีครับ เดี๋ยวนิดนึงนะครับ ครึ่งนาที

ปานเทพ – ระหว่างรอครึ่งนาทีนะครับ ก็เล่าให้ฟังหน่อยเพราะว่าข่าวนี้นะครับก็เป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ในมติชน เป็นข่าวตัวสีน้ำเงินนะครับในเช้าวันนี้ บอกว่าเสรีภาพเศรษฐกิจไทยรูด อันดับ 71 ของโลกหล่นจาก 53 แพ้แม้แต่เขมร คิดดูสิครับ รัฐบาลบาลยันต่างประเทศสนเมกกะน้ำและก็การศึกษา นี่ก็เถียงกันไปเถียงกันมานะครับ นี่ก็เป็นคำแถลงจากท่านโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีนะครับ และก็เลขาสภาพัฒน์โต้นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก บอกว่าอ้างนักลงทุนต่างชาติไม่เมิน บอกว่าตอนนี้มี 4 รายสนใจลงทุนเมกกะโปรเจกต์ด้านน้ำและการศึกษาแล้ว

สำราญ – เอาล่ะครับ อาจารย์มาแล้วครับ แต่ฮ่องกงก็ยังเป็นแชมป์เหมือนเดิมนะ ครองแชมป์ต่อกันเป็นปีที่ 12 แล้ว อาจารย์ณรงค์ครับ สวัสดีครับ

ดร.ณรงค์ – สวัสดีครับ

คำนูณ – เสรีภาพทางเศรษฐกิจนี่มันคืออะไรครับ

ปานเทพ – มันแปลว่าอะไรครับ อาจารย์ครับ

ดร.ณรงค์ – คือบางที ผมพูดตามภาษาเศรษฐศาสตร์การเมืองก่อนนะ คือพูดตามภาษาเศรษฐศาสตร์การเมืองนี่นะครับ เสรีภาพทางเศรษฐกิจย่อมแปรผันไปตามสภาวะกำลังซื้อ นั่นหมายความว่าใครมีกำลังซื้อมากก็จะมีเสรีภาพมาก ใครมีกำลังซื้อน้อยก็จะมีเสรีภาพน้อย เพราะฉะนั้นเสรีภาพของระบบทุนนิยมขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า นี่อธิบายในหลักของเศรษฐศาสตร์การเมืองนะ ภาษาของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เขาก็จะบอกว่าการจัดเสรีภาพของเศรษฐกิจนั้น ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดประมาณ 10 ตัวนะครับ ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีจะมีเรื่องของนโยบายการค้า เช่น เปิดเสรีหรือเปล่านะครับ ภาระทางการคลังของรัฐนะครับว่า มันเป็นภาระทางการคลังมากไหม แบกรับภาษีมากหรือเปล่า ใช้เงินคงคลังมากไปหรือเปล่าอะไรทำนองนี้นะครับ
แล้วก็การแทรกแซงของภาครัฐในระบบเศรษฐกิจนะครับ อย่างเช่นว่าเราปล่อยมันเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีหรือเปล่า รวมทั้งคอยบิดนั่นคอยบิดนี่ หรือว่าในการบิดไปบิดมาในการแข่งขันนั้นนี่ มันเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ฝ่ายหนึ่งนี่มีอภิสิทธิ์ ฝ่ายหนึ่งไม่มีอภิสิทธิ์ อย่างนี้ก็ไม่มีเสรีภาพเหมือนกัน เช่น ยกตัวอย่างว่าในการประมูลนี่นะครับ ถ้ามีการล็อกสเปก มีการฮั้วขนาดใช้อิเล็กทรอนิกส์อะไรพวกนี้ ฮั้วกันนี่นะ คนที่ฮั้วกันส่วนมากก็เป็นพวกที่มีอำนาจวาสนา ผู้ที่มีอภิสิทธิ์นะ คนที่ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่มีอภิสิทธิ์ก็หมดสิทธิ์ไปเลย อย่างนี้เสรีภาพก็ถูกจำกัด อันนี้ความหมายของธนาคารโลกที่พูดนะครับ

ปานเทพ – แล้วการที่ประเทศไทยหล่นจากอันดับ 53 มา 71 นี่มันสะท้อนอะไรครับ มันมีปัญหาที่ไหน

ดร.ณรงค์ – พูดง่ายๆถ้าผมดูตามนี้นะ ผมคิดว่าจะมีอยู่ 3 ตัว 1. ภาระทางการคลังของรัฐ เงินสดขาดมือ 2. การแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจนะ ถ้าพูดกันตามภาษาของธนาคารโลก คือไม่ยอมให้กลไกตลาดมันทำงานตามปกติของมัน เช่น เราว่ามี SML บ้าง เรามีกองทุนหมู่บ้านบ้าง กองทุนหมู่บ้านนี่ดอกเบี้ยมันก็หายบ้าง เก็บได้มั่ง เงินปล่อยออกไปแล้วได้มั่งไม่ได้มั่ง คืนมั่งไม่คืนมั่ง แสดงว่าไม่เป็นไปตามกลไกตลาด เราอัดฉีดเข้าไป และการอัดฉีดเข้าไปนั้น ก็ไม่ได้เกิดผลทางเศรษฐกิจที่ควรจะเป็นอะไรทำนองนี้นะ นโยบายการเงินนี่ก็เหมือนกันนะครับว่า การเงินนี่มันควรจะไหลเวียนไปตามปกติของมันนี่นะ เราก็ไปบิดนั่นบิดนี่ให้เป็นไปตามที่เราปรารถนา คำว่าปรารถนาก็ปรารถนาของใครก็ไม่รู้อีก มันไม่ใช่ความปรารถนาของกลไกตลาด
บางครั้งมันก็บิดไปบิดมาไปตามความปรารถนาของคนที่มีเงินมากๆ เช่น การบิดตลาดหุ้นอย่างนี้ ตลาดทุน ตลาดเงินนี่นะ บิดไปบิดมาคือถ้าพูดตามภาษาชาวบ้าน บางทีก็มีมือดีมาแอบปั่นหุ้นอย่างนี้นะ มันก็ถูกบิดหมดแหละครับ ถ้ากลไกการตลาดถูกบิดนี่นะ ภาษาของนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกเขาบอกว่า มันไม่มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ แปลว่าเรื่องการเงิน เรื่องการคลัง เรื่องราคานี่ มันไม่ไหลไปเวียนไปตามกลไกตลาด มันมีคนคอยแทรกคอยแซง คอยบิด คอยเวียนให้มันเป็นไปตามผลประโยชน์ของคนที่บิด เสรีภาพถูกจำกัด อย่างนั้นความหมายของเขานะครับ

คำนูณ – ผลที่ตามมาจะเป็นยังไงครับ

ดร.ณรงค์ – ผลที่ตามมา ถ้าเราพูดตามภาษาเศรษฐกิจเสรีนะ อะไรก็ตามนะครับตามความเชื่อของระบบเศรษฐกิจเสรี อะไรที่ตามที่เราเข้าไปบิดกลไกตลาดมากเกินไป และก็ทำให้การแข่งขันนี่มันไม่เป็นไปตามปกติ มันไม่เป็นไปตามกลไกแห่งความยุติธรรม ไม่มีระบบยุติธรรมแห่งการแข่งขัน ถ้าเป็นอย่างนี้นะครับ เศรษฐกิจนี่มันถ้าตามภาษาของนักเศรษฐกิจเสรี มันจะคืบคลานไปสู่ความหายนะ และก็ในทางสังคมนี่นะคือจะเกิดปัญหา เช่นเกิดช่องว่างระหว่างผู้มีอภิสิทธิ์กับผู้ไม่มีอภิสิทธิ์ ซึ่งผู้มีอภิสิทธิ์ก็จะรวยขึ้นๆนะ ถ้าแทรกภาษาเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือว่า มันจะเกิด Robber Baron เป็นภาษาประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมือง ก็คือพวกทุนโจรน่ะครับ จะเกิดพวกทุนโจรครอบครองเมือง สถาบันการเงินและสถาบันการคลังเสียหายหมด และก็จะทำให้ระบบทุนนิยมมันดูเลวร้ายเป็นทุนสามานย์ ซึ่งพวกทุนนิยมนี่นะครับเขาก็ไม่ชอบทุนสามานย์เหมือนกัน เพราะเขาก็ถือว่าความสามานย์เป็นความเลวร้ายนะ
พวกทุนนิยมเองนี่เขาเชื่อว่าการทำให้เกิดความยุติธรรมในการแข่งขัน การทำให้กลไกตลาดมันเดินไปอย่างเสรีนี่ เขาเรียกว่าทำให้ทุนก้าวหน้า ทีนี้การทำให้กลไกตลาดเดินไปอย่างเสรี มันมีความหมายลึกกว่านั้นนะครับ กลไกตลาดมันไม่ได้เพียงการเคลื่อนไหวในเรื่องเงินเรื่องทองหรือราคาเฉยๆนะ แต่มันยังเป็นเรื่องของการที่กลุ่มคนและชนชั้นในสังคมนี่นะ มีอำนาจต่อรองมีดุลซึ่งกันและกัน กลไกตลาดไม่ได้ทำงานเพียงผ่านกลไกราคานะ แต่มันยังผ่านการทวงสิทธิ การดูแล การเช็คบาลานซ์ การคอยดู การตรวจสอบทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าคนนี้มีเงินมากแล้วจะทำให้อะไรตามใจได้ มันต้องมีกลุ่มคอยดึงคอยถ่วง เช่นว่าถ้ามีทุนผูกขาดก็ต้องมีกลุ่มผู้บริโภคคอยถ่วง ถ้ามีทุนอภิสิทธิ์ก็มีกลุ่มอิสระคอยดุล ถ้าสมมุติว่ากลุ่มผู้บริโภคก็ไม่มีอำนาจ กลุ่มอิสระก็ไม่ได้ดุลนะครับ อันนี้ทุนสามานย์แล้วครับ ถ้าพูดตามภาษาของนักเศรษฐกิจเสรี เอาเป็นว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจถูกจำกัดแล้วครับ

สำราญ – ทีนี้อาจารย์ครับ นิดเดียวครับ ก็คือถ้าเอาหลักคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองเข้าไปจับเสรีภาพทางเศรษฐกิจนี่ นัยวำคัญของมันจริงๆนี่สำคัญไหม

ดร.ณรงค์ – สำคัญมากครับ เศรษฐศาสตรฺการเมืองจะแปลว่า ในสังคมที่ขาดเสรีภาพเศรษฐกิจ แปลว่ามันเกิด Monopoly Capital Full มาก

สำราญ – การผูกขาด

ดร.ณรงค์ – เมื่อการผูกขาดมันรวบอำนาจนี่นะครับ มันรวบอำนาจทางการเมือง รวบอำนาจทางเศรษฐกิจนี่ มันไปจำกัดโอกาสของคนอื่นไง การจำกัดโอกาสของคนอื่นนี่ ทำให้คนอื่นถูกจำกัดเสรีภาพ ซึ่งการผูกขาดที่รวบทางการเมืองและเศรษฐกิจนี่นะครับ มันนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าทุนสามานย์น่ะ ภาษาเศรษฐศาสตร์การเมืองนะ ทุนสามานย์ Robber Baron ซึ่งทุนผูกขาดมันจำกัดโอกาสของคนไง เราจะเลือกซื้อสินค้าก็ไม่ได้ เลือกแข่งขันการประมูลก็ไม่ยุติธรรมอะไรอย่างนี้นะ และก็ในทางการเมืองก็เหมือนกันนะ เลือกคนนั้นเลือกคนนี้ก็ถูกเงินซื้อไปหมดอย่างนี้นะ มันทำให้คนนี่นะหมดทางเลือกน่ะ การหมดทางเลือกก็แปลว่าเสรีภาพถูกจำกัด เศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นอย่างนี้แหละครับ

ปานเทพ – อาจารย์ครับ ที่อาจารย์พยายามอธิบายว่าเสรีภาพเศรษฐกิจไทยนี่ ถ้าสมมุติไม่มีหรือว่าแย่ลงนี่ อาจจะนำไปสู่คำที่ใช้คำว่าเหมือน “กลุ่มโจรครองเมือง” นี่นะครับ

ดร.ณรงค์ – ครับ เขาเรียกจะเกิดภาวะ Robber Baron ครับ

ปานเทพ – ทีนี้ถ้าลำดับร่วงลงมาจาก 53 เป็น 71 นี่ บรรยากาศของโจรครองเมืองที่อาจารย์ให้คำนิยาม มันรุนแรงแค่ไหนครับ

ดร.ณรงค์ – เท่ากับมันรุนแรงขึ้นครับ ตอนนี้นี่เราบอกได้เลยนะครับ ถ้าเราพูดถึงการจำกัดการแข่งขัน การจำกัดโอกาสคนนี่นะ ทุนที่มีความใกล้ชิดกับภาครัฐนี่นะ มันฮั้วกันได้ง่ายครับ ทุนที่เขาแข่งขันอย่างเสรีนี่ ทุนที่เขาพยายามใช้ความสามารถของตัวเองเข้าแข่งขัน ไม่ใช้อภิสิทธิ์ต่างๆนี่ ใช้ความสามารถในการจัดการไปสู้ก็สู้ไม่ได้ครับ เมื่อสู้ไม่ได้แปลว่าโอกาสในทางการแข่งขันก็ไม่มี เมื่อโอกาสในการแข่งขันไม่มีแปลว่าเสรีภาพในการแข่งขันถูกจำกัดไง เพราะว่าโอกาสนี่มันถูกรวบไปโดยพวก Robber Baron หมดแล้วนั่นแหละ

คำนูณ – ถ้าเผื่ออาจารย์ใช้หลักนี้ อาจารย์มองการข่าว การที่จะขายหุ้นยกล็อตของชินคอร์ปยังไงบ้างครับ

ดร.ณรงค์ – การขายหุ้นของใครล่ะ

สำราญ – ชินคอร์ปครับ อาจารย์

ดร.ณรงค์ – อันนั้นมองได้ 2 อย่างนะ มองแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองนี่ 1. ถ้าถือว่ามองแบบดีหน่อยนะ ก็ต้องการล้างภาพตัวเอง ถ้ามองในแง่ร้ายหน่อยนะ ไม่ค่อยไว้ใจสถานการณ์ข้างหน้า

คำนูณ – คือเตรียมหนี

ดร.ณรงค์ – เมื่อไม่ค่อยไว้ใจสถานการณ์ข้างหน้านี่ การถือสภาพคล่องนี่ดีกว่าไม่ถือสภาพคล่อง อะไรก็ตามที่มันอยู่ในลักษณะของทรัพย์สินนะ ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่เปลี่ยนโอนได้ยากนี่ ถือว่าสภาพคล่องต่ำ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนทรัพย์สินให้เป็นสภาพคล่องสูง เช่นเป็นเงินสดนี่นะครับ มันสามารถที่จะหมุนไปไหนมาไหมได้เร็ว รองรับสถานการณ์ได้ง่าย ถ้าตีความแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองแปลว่า เกิดความไม่น่าไว้วางใจในเรื่องของกลุ่มคนและชนชั้นในสังคมไทย ที่มีความอึดอัดขัดข้องและก็ต่อสู้กันรุนแรง การเมืองที่รุนแรงนั้นนี่ไม่รู้ผลจะออกหัวออกก้อย เพราะฉะนั้นปลอดภัยไว้ก่อน เอาสภาพคล่องไว้ในมือก่อน อันนี้พูดแบบ Negative หน่อยนะ

ปานเทพ – ระหว่าง Positive กับ Negative ที่อาจารย์ยกตัวอย่างมานี่ น้ำหนักไปทางไหนครับ

ดร.ณรงค์ – ผมมีความรู้สึกว่าก้ำกึ่งกันครับ เพราะว่ากระแสสังคมตอนนี้มันมีความรู้สึกว่า ถ้าเราไม่ปล่อยละปล่อยวางกันบ้าง ถ้าเราไม่คิดที่จะหันหน้าเข้าหากัน ถ้าเราไม่คิดที่จะเปิดโอกาสให้คนอื่นบ้างนี่นะครับ การปะทุของสังคมนี่มันอาจจะนำไปสู่ปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงได้นะครับ ผมอยากจะฝากอย่างหนึ่งก็คือว่า ตอนนี้นะครับเศรษฐกิจไทยห่วงโซ่ทั้งหมดอยู่ที่ค่าจ้าง ค่าจ้างเป็นตัวค้ำจุนชนบท หนี้สินของหนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้ SML อะไรต่างๆ เวลาเขาใช้เงินคืนนะ เงินที่จะใช้คืนมันไปจากค่าจ้างครับ แล้วก็เศรษฐกิจภายในเรานี่ พวกห้างสรรพสินค้าขายของอะไรนะครับ ขายของได้ไม่ได้นะครับก็เพราะค่าจ้าง แต่ตัวค่าจ้างปีหน้ามีปัญหาแน่นอนครับ เศรษฐกิจสูงขึ้นค่าจ้างไม่เพิ่ม เพราะฉะนั้นห่วงโซ่นี่จะเป็นตัวเดือดเสริมกับปัญหาต่างๆ ซึ่งทำให้เหตุการณ์ในปี 2549 นะครับมีความไม่แน่นอนสูงมากครับ

สำราญ – ก็คือจะเป็นจุดระเบิดอย่างหนึ่งปัญหาค่าจ้างนี่

ดร.ณรงค์ – ครับ เป็นจุดหนึ่งครับ ที่จะกระทบเข้าไปในปัญหาต่างๆ

คำนูณ – เมื่อวานได้มีโอกาสได้คุยกับท่านอาจารย์สมภพ มานะรังสรรค์ นี่นะครับ ท่านก็มองว่าสถานการณ์ตอนนี้นี่โดยภาพรวมคล้ายๆกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติ 2540 ในหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งสถานการณ์ต่างประเทศ

ดร.ณรงค์ – แต่เช้านี้มันลงลึกครับ มันลงรากหญ้าครับ ที่ผมบอกค่าจ้างนี่มันคือปัญหารากหญ้า สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมนะครับ คุณคำนูญครับ เรามีจำนวนลูกจ้างเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจภายในนะครับ มันถูกค้ำจุนด้วยค่าจ้างเท่านั้น แม้แต่ภาคเกษตรเองนะครับ ประมาณร้อยละ 60-70 ของรายได้ครัวเรือนเขานี่ก็มาจากค่าจ้าง ค่าจ้างเมื่อลูกส่งกลับไป ค่าจ้างที่คนในชนบทเองออกเร่ร่อนจรจัดรับจ้าง ห้างสรรพสินค้าขายของภายในประเทศ คนเดินในห้างนี่คือลูกจ้าง 70% คือลูกจ้าง ลูกจ้างทุกประเภทนะครับ ตั้งแต่ลูกจ้างชั้นล่างจนไปถึงชั้นบน ดังนั้นนี่ปัญหาค่าจ้างจึงเป็นเรื่องใหญ่ นโยบายค่าจ้างแห่งชาติไม่มี นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพพวกทุนไม่มี ถ้า 2 อย่างนี้ไม่มีทุนนิยมเจ๊งครับ

คำนูณ – จะพูดได้ไหมครับ ว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2544 ขึ้นมานี่ เราอยู่ในสถานการณ์ที่เหมือนประเทศไทยถูกปั่นขึ้นมาในทุกด้าน ปั่นการบริโภค ปั่นกิเลส ปั่นหุ้น

ดร.ณรงค์ – การปั่นนี่นะครับ ที่ภาษาเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการธนาคารโลกเขาบอกว่า มันเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดไง การบิดเบือนกลไกตลาดนี่นะ มันไปจำกัดเสรีภาพกลไกตลาดไง คำว่าจำกัดเสรีภาพของกลไกตลาดนี่ คือกลไกตลาดในภาษาของเขานะ มันต้องหมุนเวียนไปได้เหมือนน้ำที่ไหลเพราะไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะฉะนั้นถ้าน้ำไหลไปมีก้อนหินมากีดขวาง มีป่ามาคั่น มีเขื่อนมาขวางอะไรต่างๆนี่ ถือว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจถูกจำกัด เพราะฉะนั้นการปั่นนี่นะครับ มันคือการทำลายเสรีภาพกลไกตลาดในภาษาของเขาน่ะครับ

สำราญ – อาจารย์ณรงค์ครับ กลับมาที่เรื่องชินคอร์ปนิดนึง สมมุติถ้ามีการขายเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้นะครับ ถึงแม้จะเป็นมองได้คือ 2 มิติอย่างที่อาจารย์ว่านะ แต่ว่าพูดถึงว่าในเชิงจิตวิทยาก็ดี ในเชิงความเป็นจริงของธุรกิจไทยก็ดีนี่นะ มันจะได้รับผลบวกหรือผลลบต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ดร.ณรงค์ – ผลลบจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติไม่ใช่เกิดขึ้นกับทุน ผมไปเม็กซิโกมาเมื่อปี 2541 นะ ปีนั้นนี่เม็กซิโกได้คนรวยเม็กซิโกไปเงินไปฝากต่างประเทศนะ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ พูดเป็นเงินไทยประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท เศรษฐกิจของเม็กซิโกทรุดเลยครับ ไม่มีเม็ดเงินไหลภายในประเทศ คำถามของผมคือว่าถ้ากลุ่มชินคอร์ปขาย หรือเครือข่ายของเขาทั้งหมด หรือรัฐบาลขาย ถามว่าเงินจะไหลออกไปต่างประเทศเท่าไหร่ ถ้ามันไหลออกซัก 5 แสนล้านตรงนี้นะรวมเบ็ดเสร็จหรือ 1 ล้านล้านนี่นะ อะไรมันจะเกิดขึ้นกับเม็ดเงินภายในประเทศ เห็นไหมครับ มันทรุดนะครับ แล้วต่อมาเม็ดเงินที่มันอยู่ต่างประเทศนี่ มันไหลกลับเข้ามาในเมืองไทย มันจะไม่เข้าไม่หมุนในลักษณะลงทุนระยะยาวในบ้านเรา ตรงนั้นอันตรายไง

ปานเทพ – อาจารย์มองว่าเป็นอันตราย เป็นอย่างนี้ได้ไหมครับว่าเงินนี่คือตัวประกัน เม็ดเงินที่มหาศาลเหล่านี้เหมือนเป็นตัวประกันว่า ไม่ว่าไหลเข้าไหลออกนี่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ

ดร.ณรงค์ – ใช่ มองในแง่ของเจ้าของทุนมันมีแต่ด้านบวก มันมีแต่ได้กับได้ มองในแง่ของประเทศชาตินี่ ถ้าเม็ดเงินเหล่านี้มันไหลออกนอกต่างประเทศมากเกินไป เวลามันไหลกลับเข้ามาในระยะเวลาสั้นๆนี่นะ ก็ทำให้กระแสการเงินที่มันไหลอยู่ในประเทศนี่นะมันหายไปไง ตัวชี้วัดตัวหนึ่งนี่นะครับของธนาคารโลกที่พูดเรื่องเสรีภาพเศรษฐกิจนี่ คือกระแสการไหลเวียนของเงินด้วย ถ้าการไหลเวียนของเงินนี่มันไหลช้าลง หรือว่าปริมาณการไหลมันลดลง คือมันไปอยู่ต่างประเทศหมดนี่นะ อันนี้ก็ถือว่าเสรีภาพกับเศรษฐกิจประเทศนั้นแย่เหมือนกัน นี่แหละ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนที่มองตัวนี้ เขามองการไหลเวียนของเงินด้วยนะ และข่าวคราวที่ออกมานี่มันเป็นการบอกว่า สมมุติว่าเงินบาทนี่นะมันจะขาดตลาดใช่ไหม เงินมันจะไหลอยู่ต่างประเทศใช่ไหม อย่าลืมนะครับเราขายนี่ สมมุติเราขายนะ ถ้าขายในเมืองไทยเราขายเป็นเงินบาท เวลาจะเอาไปออกต่างประเทศต้องเอาบาทไปแลกดอลลาร์ก็ไหลออก คือถ้าเราขายทรัพย์สินเป็นดอลลาร์นี่นะ ดอลลาร์นั้นเขาอาจจะไม่กลับเข้ามาหมุนเวียนในประเทศ ออกต่างประเทศหมดเลย ทรัพย์สินเมืองไทยก็ลดลงครับ

คำนูณ – ทีนี้การที่ใครก็ตามแต่ที่ขายแล้วมีเงินจำนวนมากอยู่นอกประเทศนี่ มันก็จะส่งกระทบต่อค่าเงินบาทได้

ดร.ณรงค์ – ทำลายเศรษฐกิจครับ ทำลายเศรษฐกิจภายในครับ

คำนูณ – แล้วเขาก็อาจจะทำกำไรจากค่าเงินบาทได้อีก

ปานเทพ – กลับเข้ามาได้อีก

ดร.ณรงค์ – ถูกต้อง เข้ามาโจมตีเงินบาทได้อีกครับ

คำนูณ – ก็คือในส่วนของเขานี่มีแต่ได้กับได้

ดร.ณรงค์ – มีแต่ได้ โจมตีตลาดหุ้น โจมตีเงินบาททำได้ทั้งนั้นแหละ แต่ประเทศชาติแย่ครับ อย่าลืมนะครับคราวที่แล้วที่เราเกิดวิกฤตินะ เพราะเงินมันไหลออกนี่นะ เงินบาทนี่ไปกองอยู่สิงคโปร์ 20% ตอนนั้นนี่นะครับ และเงินบาท 20% นั้นมันมาเล่นค่าเงินบาทอีกทีนึง เล่นไปเล่นมาเลยเจ๊งไงครับ

สำราญ – ทีนี้อาจารย์ณรงค์ครับ พอท่านนายกฯหรือกลุ่มชินวัตรไม่ขาย ก็โดนโจมตีอีกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ดร.ณรงค์ – ก็นี่แหละครับ มันเกิดภาวะของ Dead Lock ไง ก็ไปสร้างขึ้นมาเองทำขึ้นมาเองไง นั่นแหละ คือทุกอย่างนี่นะครับ ตอนต้นดูมันดีนะครับ แต่ว่าการทำอะไรที่ไม่อยู่บนเส้นทางของความชอบธรรมนี่นะครับ มันจะทำได้ถึงช่วงหลังถอยไปถอยมาก็ถอยไม่ออกแล้ว

สำราญ – อาจารย์พอจะชี้ทางสวรรค์หน่อยได้ไหมครับ เป็นยังไงครับ

ดร.ณรงค์ – ผมคิดว่านะครับ ปัญหาทั้งหมดตัวชี้ขาดคือทางการเมือง ถ้าไม่ปลดล็อกทางการเมืองทุกอย่างแก้ไม่ได้ ณ ตอนนี้ครับ

สำราญ – ถ้าไม่ปลดล็อการเมืองหรือครับ

ดร.ณรงค์ – ถ้าไม่ปลดล็อกการเมือง ทุกอย่างไปหมดแหละครับ

คำนูณ – ปลดยังไงครับ อาจารย์

ดร.ณรงค์ – ก็ต้องปฏิรูปทางการเมือง ให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่าลืมนะครับถ้าเราเกิดเสรีทางการเมืองอย่างแท้จริง มันก็นำไปสู่ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เมื่อมันนำไปสู่ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เสรีภาพของเศรษฐกิจก็ตามมา นี่ถ้าพูดกันทางภาษาเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมนะ อย่าลืมว่าระบบปัจจุบันมันพัวพันไปหมดระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นนี่อะไรที่เป็นตัวแปรทางการเมือง มันก็เป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจด้วย ปีนี้เป็นปีแรกนะครับ ที่นักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจทั้งหลายนี่ ต้องมานั่งวิเคราะห์ผลทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
คุณดูเถอะครับถ้าอ่านข่าวตอนนี้นะ นักวิเคราะห์ทางภัทรบ้างใครบ้างอะไรนี่นะ หันมาจับวิเคราะห์การเมืองกันหมดแล้ว เห็นไหมครับว่าถ้าการเมืองเป็นอย่างนี้มีผลกระทบยังไง เพราะว่าจริงๆนี่ครับเรานี่ทิ้งวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองไปนาน เพราะเรามีความรู้สึกวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองนั้นเป็นเรื่องของพวกฝ่ายซ้าย ความจริงมันไม่ใช่ วิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองนี่ มันอยู่คู่กันมากับระบบโลกระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นน่ะครับ สังคมไทยมันมาทำเสียหายเสียเอง วันนี้ต้องกลับมาวิเคราะห์กันใหม่เรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างเศรษฐกิจการเมืองมันพัวพันการเมือง เหมือนเกลียวด้าย 2 เส้นที่ผูกกันเป็นเกลียวครับ มันไม่สามารถแยกได้แล้วตอนนี้ครับ

สำราญ – อาจารย์ครับ เขามีหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเมืองไหมครับ

ดร.ณรงค์ – เรามีหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีนี้จะมีพวกซีอีโอใหญ่ๆไปเรียนกันเยอะ กำลังเปิดรับสมัครครับ จะปิดรับสมัครตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าคุณสำราญสนใจ คุณคำนูณสนใจ ผมจะให้สิทธิพิเศษครับ นักวิเคราะห์ตอนนี้นะครับ ถ้าไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์การเมืองจะมองตรงนี้ไม่ออกเลยครับ

สำราญ – ค่าเล่าเรียนแพงไหม อาจารย์

ดร.ณรงค์ – ค่าเล่าเรียนก็เท่าคนอื่นครับ เราเรียนแบบจ่ายเหมานะ เทอมละประมาณเกือบ 50,000 บาท เราไม่คิดเป็นค่าหน่วยกิตนะ คิดเป็นเหมาไปเลย คุณลง 50,000 นี่คุณจะเรียนกี่วิชาก็ได้ เรียนเหมาไปเลยครับ

สำราญ – สอบเข้ายากไหมครับ อาจารย์ มีอะไรบ้างครับ

ดร.ณรงค์ – ไม่ยากครับ อย่างคุณคำนูณ อย่างคุณสำราญนี่ สัมภาษณ์ทีเดียวก็ผ่านแล้ว เราสัมภาษณ์คนอยากเรียนครับ เราไม่ได้สอบข้อเขียน

คำนูณ – เดี๋ยวสงสัยต้องไปเรียนเสียแล้ว

สำราญ – เรียนหัวค่ำใช่ไหมครับ อาจารย์

ดร.ณรงค์ – เรียนหัวค่ำครับ ปีนี้ก็มีซีอีโอจากหลายบริษัทไปเรียนครับ

สำราญ – เอาล่ะครับ อาจารย์ครับ ก็ขอบพระคุณมากนะครับ ถ้ามีอะไรก็บอกมาได้นะครับ เรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมือง

ดร.ณรงค์ – ขอนิดเดียวครับ กำลังรับสมัครอยู่ครับ

สำราญ – ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ดร.ณรงค์ – ครับ สวัสดีครับ







บล็อกเมื่อวาน คลิกที่นี่










 

Create Date : 26 มกราคม 2549
12 comments
Last Update : 27 มกราคม 2549 13:19:58 น.
Counter : 1144 Pageviews.

 

สวัสดีตอนเย็นค่ะ
อ่านไปงงไป
อ่านไม่จบด้วยค่ะ ^^'



...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 26 มกราคม 2549 16:37:42 น.  

 

น่าอ่านมากๆ........เพราะป๋มก้ออยู่คณะ EC ท่าพระจันทร์...

 

โดย: ครีเอทีฟ หัวเห็ด 26 มกราคม 2549 16:43:51 น.  

 

แวะมาอ่านก่อนกลับบ้านค่ะ

 

โดย: Batgirl 2001 26 มกราคม 2549 17:58:59 น.  

 

อ.ณรงค์ เพ็ชรฯ ยังเข้มเหมือนเดิม

เคยเรียนวิชาเศรษฐกิจไทยกับอาจารย์
ทำให้มุมมองที่มีต่อเศรษฐศาสตร์ของเราเปลี่ยนไปเยอะเลย

 

โดย: นัท305 26 มกราคม 2549 20:19:19 น.  

 

จุไม่เชื่อสื่อ 100 % แต่การอ่านไม่ว่าอะไรก็ตาม ทำให้รู้มุมมองใหม่ๆ ค่ะ

เฮ่อ..การเมืองช่วงนี้ ยิ่งรู้ ยิ่งอึดอัด

 

โดย: ju (กระจ้อน ) 26 มกราคม 2549 21:40:09 น.  

 

Image Hosted by ImageShack.us
sawatd ka

 

โดย: erol 26 มกราคม 2549 22:09:51 น.  

 

ฝันดีนะค่ะ รูปที่กล่องสวยจังค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 26 มกราคม 2549 22:49:54 น.  

 

วันนี้อัพบล็อกเสร็จ ต้องรีบออกไปข้างนอกพอดีเลย
แล้วตอนนี้ก็ง่วง ๆ ด้วย
ขอยกยอดไปวิจารณ์พรุ่งนี้นะครับ

 

โดย: คนเดินดินฯ 26 มกราคม 2549 23:01:34 น.  

 



ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ เฮง เฮง เฮง ค่ะ



^^...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 27 มกราคม 2549 9:47:01 น.  

 

ดร.ณรงค์ – แต่เช้านี้มันลงลึกครับ มันลงรากหญ้าครับ ที่ผมบอกค่าจ้างนี่มันคือปัญหารากหญ้า สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมนะครับ คุณคำนูญครับ เรามีจำนวนลูกจ้างเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคม เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจภายในนะครับ มันถูกค้ำจุนด้วยค่าจ้างเท่านั้น แม้แต่ภาคเกษตรเองนะครับ ประมาณร้อยละ 60-70 ของรายได้ครัวเรือนเขานี่ก็มาจากค่าจ้าง ค่าจ้างเมื่อลูกส่งกลับไป ค่าจ้างที่คนในชนบทเองออกเร่ร่อนจรจัดรับจ้าง ห้างสรรพสินค้าขายของภายในประเทศ คนเดินในห้างนี่คือลูกจ้าง 70% คือลูกจ้าง ลูกจ้างทุกประเภทนะครับ ตั้งแต่ลูกจ้างชั้นล่างจนไปถึงชั้นบน ดังนั้นนี่ปัญหาค่าจ้างจึงเป็นเรื่องใหญ่ นโยบายค่าจ้างแห่งชาติไม่มี นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพพวกทุนไม่มี ถ้า 2 อย่างนี้ไม่มีทุนนิยมเจ๊งครับ

คำนูณ – จะพูดได้ไหมครับ ว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2544 ขึ้นมานี่ เราอยู่ในสถานการณ์ที่เหมือนประเทศไทยถูกปั่นขึ้นมาในทุกด้าน ปั่นการบริโภค ปั่นกิเลส ปั่นหุ้น

ดร.ณรงค์ – การปั่นนี่นะครับ ที่ภาษาเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการธนาคารโลกเขาบอกว่า มันเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดไง การบิดเบือนกลไกตลาดนี่นะ มันไปจำกัดเสรีภาพกลไกตลาดไง คำว่าจำกัดเสรีภาพของกลไกตลาดนี่ คือกลไกตลาดในภาษาของเขานะ มันต้องหมุนเวียนไปได้เหมือนน้ำที่ไหลเพราะไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะฉะนั้นถ้าน้ำไหลไปมีก้อนหินมากีดขวาง มีป่ามาคั่น มีเขื่อนมาขวางอะไรต่างๆนี่ ถือว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจถูกจำกัด เพราะฉะนั้นการปั่นนี่นะครับ มันคือการทำลายเสรีภาพกลไกตลาดในภาษาของเขาน่ะครับ


วิจารณ์

นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมานั้น หากมองย้อนกลับไปถึงสาเหตุความล่มสลายทางเศรษฐกิจก็คงพอจะกล่าวโดยรวม ๆ ได้ว่าเกิดจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาอย่างต่อเนื่องก่อนปี 2540 มาเป็นเวลาสี่ถึงห้าปีซึ่งเป็นสาเหตุของการเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทของพวกเฮดฟันด์ , การเปิดเสรีทางการเงินที่ทำให้ทุนไทยส่วนหนึ่งหันไปกู้เงินจากต่างประเทศในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าซึ่งพอค่าเงินบาทลอยตัวหนี้เงินต้นก็เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า,การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจฟองสบู่จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งทุนไทยส่วนหนึ่งนำเงินที่กู้มานั้นมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งไม่ใช่ภาคเศรษฐกิจจริง...

สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การโจมตีค่าเงินของกลุ่มเฮดฟันด์และธนาคารชาติก็นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ไปต่อสู้จนเงินหมดและไปซื้อเงินล่วงหน้าอีกจำนวนหนึ่งจนสุดท้ายก็อยู่ในภาวะที่ประเทศขาดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจนต้องเข้าโครงการขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟในที่สุด......

ถามว่าที่ผ่านมารัฐบาลสองรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศได้สรุปบทเรียนในสิ่งเหล่านี้มากน้อยเพียงใด.....

รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่เข้ามากอบกู้วิกฤติของประเทศในช่วงต้นนั้นได้เน้นหนักการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและดำเนินนโยบายตามไอเอ็มเอฟจากเถรตรงซึ่งอาจเนื่องมาจากต้องทำตามสัญญาที่ไปเซ็นเอาไว้ ซึ่งกลับทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเพราะสถาบันการเงินถูกปิดอย่างถาวรธุรกรรมทางการเงินไม่สามารถกระทำได้ นำมาสู่การเกิดหนี้ NPL ในภาคธุรกิจทั่วไปหมด ภาคธุรกิจเหล่านี้จึงขาดเงินทุนหมุนเวียนอันนำไปสู่การชะงักงันของภาคธุรกิจเกือบจะทั้งหมด ภาวะนี้ดำรงอยู่สามปีจนนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ "ไทยรักไทย" ที่ดูจะเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าจะนำประเทศออกจากวิกฤติได้......

 

โดย: คนเดินดินฯ 27 มกราคม 2549 12:23:45 น.  

 

(ต่อ)

นโยบายที่ดูเป็นรูปธรรมและเป็นความหวังของทั้งคนเมืองและชนบทอันได้แก่นโยบายพักการชำระหนี้เกษตรกร,กองทุนหมู่บ้าน,30 บาทรักษาทุกโรค,การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งในด้านเงินทุน,การจัดอบรมและการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่,OTOP,การแก้หนี้ NPL,การปฏิรูปการศึกษา,การปฏิรูประบบราชการ,การปฏิรูปการเมืองอย่างต่อเนื่อง,การปราบการทุจริตคอรัปชั่นฯลฯ

แต่จะเห็นได้ว่านโยบายหลักสำคัญอันได้แก่การปราบการทุจริตคอรัปชั่น,การปฏิรูปการศึกษา,30 บาท รักษาทุกโรค,การปฏิรูปการเมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอาทิเช่นการปราบทุจริตและคอรัปชั่นในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิที่ถูกตีแผ่อย่างต่อเนื่อง,การทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข การปฏิรูปการศึกษาที่เน้นไปที่หนึ่งโรงเรียนหนึ่งอำเภอที่พยายามคัดเด็กเรียนเก่งเพื่อส่งไปเรียนต่างประเทศแทนการเน้นที่โอกาสทางการศึกษาที่เท่าทียมกันของเด็กในเมืองและในชนบท โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ยิ่งทำก็ยิ่งสร้างความขัดแย้งในบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นเพราะมีแพทย์เป็นจำนวนมากขอลาออกจนเกิดภาวะขาดแคลนแพทย์ การปฏิรูปทางการเมืองจะเห็นได้ชัดถึงการเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระทั้งปปช.,ศาลรัฐธรรมนูญ สื่อต่าง ๆ...

จะเห็นได้ว่าไทยรักไทยอาจจะประสบความสำเร็จในการฟื้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นด้วยการโหมการบริโภคให้คนใช้จ่ายเงินและทุ่มเงินจากภาครัฐลงไปในโครงการที่สำคัญ ๆ เช่นกองทุนหมู่บ้าน,พักหนี้เกษตรกร แต่หากมองในระยะยาวแล้วเศรษฐกิจมหภาคหรือเศรษฐกิจในระดับประเทศโดยรวมยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม นโยบาย Dual track ที่พยายามลดการพึ่งพาภาคการส่งออกโดยการผลักดันเศรษฐกิจภายในประเทศในสัดส่วนที่มากกว่าภาคส่งออกก็ดูจะไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแต่กลับไปเน้นการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศคู่ค้าหรือ FTA ก่อนอย่างรีบเร่งเกินไปโดยกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร

 

โดย: คนเดินดินฯ 27 มกราคม 2549 13:07:18 น.  

 

นามสกุลเดียวกันเลย

 

โดย: ใบบัว ณรงค์เพชร IP: 124.120.92.26 1 กันยายน 2553 18:58:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.