Group Blog
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
22
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
เรื่องกรรม ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร






ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

เรื่องนี้จะรับกันกับเรื่องก่อน ในเรื่องการฝึกจิตและความเข้มแข็งในการต่อสู้อุปสรรค

พระ พุทธภาษิตที่เราได้ฟังกันอยู่เสมอก็คือ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บุคคลล่วง ทุกข์ได้เพราะความเพียร พระพุทธภาษิตนี้แสดงถึงคุณค่าของความเพียร

มีความทุกข์อะไรบ้างที่จะล่วงพ้นได้ด้วยความเพียร

ก็ตอบว่า ความทุกข์ทุกอย่างล่วงพ้นได้ด้วยความเพียร ยกตัวอย่าง

1. ความทุกข์จากความยากจน

หลาย คนยากจนเพราะความเพียรน้อย หรือเกียจคร้าน ฝักใฝ่ในอบายมุขทำให้ชีวิตตก ต่ำ แต่พอรู้สึกตัวเปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ กลับหาทรัพย์ได้มั่งมี ขึ้น สมกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ แปล ว่า ผู้มีความเพียรขยันลุกขึ้น มีธุระอยู่เสมอ ย่อมหาทรัพย์ได้ ไม่อยู่ ว่าง ไม่เกียจคร้าน ทำการงานให้เหมาะสมย่อมจะหาทรัพย์ได้

อัน นี้ก็ไม่ได้ว่าทุกคนที่จนว่าขี้เกียจ มันมีสาเหตุเยอะแยะของความยากจน และ ก็ไม่ใช่คนขยันแล้วจะไม่จน คนขยันจนก็มี คือว่าเขาทำทุกอย่างแล้ว แต่ว่า สิ่งแวดล้อมไม่อำนวย หรือว่าเขาถูกเอารัดเอาเปรียบ ระบบไม่เอื้ออำนวยให้ เขาพออยู่พอกินได้ อันนี้ต้องดูหลายๆด้านด้วย แต่ถ้าทุกด้านดีแล้วแต่เขา ยังลำบากอยู่ อาจจะเป็นเพราะเขาเกียจคร้าน ฝักใฝ่อบายมุข เล่นการพนัน เสเพล ไม่เอาเรื่องเอาราวกับการงาน อย่างนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

สาเหตุ ของความขัดสนจนทรัพย์นี่มันมีเยอะ พอพูดกันถึงเรื่องทรัพย์ เคยคุยกับใคร หลายคนว่า ดูเหมือนว่าเวลานี้และในอนาคตเรื่องทรัพย์เป็นเรื่องที่ทำให้คน วุ่นกันเหลือเกิน หาทรัพย์กันวุ่นไปหมด บางคนหาเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ไม่พอ จ่าย บางคนก็หาเท่าไหร่ก็ไม่พอใจ บางคนไม่พอจ่าย เพราะรายจ่ายมากรายได้ น้อย มีคนในความรับผิดชอบมาก

ผู้หญิงในสังคมของเราเวลา นี้ ต้องทำงานหนักมาก ทั้งทำงานนอกบ้านทั้งทำงานในบ้าน ดูแลคนรอบ ข้าง ดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หลานเหลน เยอะแยะเลย ยังต้องทำงานในบ้านนอก บ้านลำบากมาก ขยันเหลือเกินทำงานไม่มีวันหยุดแล้ว บางคนก็ยังไม่พอ จ่าย เพราะว่ามีคนที่อยู่ในความรับผิดชอบมาก ก็น่าเห็นใจ

ใน สังคมเอเชียเรา ผู้หญิงคนหนึ่งทำงานเลี้ยงคนตั้งหลายคน 3-4 คน โดยเฉพาะ ในเมืองไทย ถ้าเขาล้มลงเสียคนหนึ่ง ก็แปลว่าล้มกันไปเยอะเลย ก็อยู่ใน ความรับผิดชอบ อันนี้น่าเห็นใจ

ผู้ชายรุ่นนี้เวลานี้ ไม่ค่อยจะรับผิดชอบเท่าไหร่ เป็นวัยรุ่นก็มัวแต่เล่นมัวแต่เที่ยว พอโต ขึ้นมาหน่อย เวลามันไม่ทันกับเรื่องอะไรต่างๆที่เป็นธุระของเขา ความ สามารถมันไม่พอ เพราะไปมัวใช้เวลาเล่น เปลืองไปกับการเล่นเสียเยอะ หาความ สุขสนุกสนาน เพราะมันมีสิ่งยั่วยวนเยอะ นี่ก็ไปโทษสิ่งภายนอก ความจริงก็ คือตัวของตัวเองนั่นแหละไม่เอาเรื่อง คือไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น

เด็ก วัยรุ่นของเราเวลานี้น่าสงสาร ผู้ใหญ่นั่นแหละสร้างสิ่งยั่วตายั่วใจขึ้นมา เยอะ ทำให้เขาต้องไปแสวงหาความสุขจากสิ่งเหล่านั้น ก็หาเงินนั่น แหละ ผู้ใหญ่หาทรัพย์กับเด็ก อะไรที่ทำให้เด็กลุ่มหลงได้ก็รวย แต่ว่ามัน เป็นบาป รวยแต่เป็นบาป อยู่อย่างจนๆและได้บุญดีกว่า

แต่ คนที่มาฟังรายการอย่างนี้ก็เป็นคนที่ไม่ทำบาปส่วน มากใฝ่ในบุญ คนที่ เดินทางบาปก็ไม่ได้มาฟัง เคยพูดกับ หลายคนว่า ในสังคมเรา ถ้า ผู้หญิงทำงานน้อยกว่านี้สักหน่อย แล้วให้ผู้ชายขึ้นมารับผิดชอบมาก ขึ้น เกี่ยวกับเรื่องรายได้รายจ่ายในครอบครัว หรือถึงเขาจะทำงาน แต่ไม่ ใช่ให้เขาทำงานเพื่อเป็นภาระรับผิดชอบในครอบครัวที่มากเกินไป ให้เขาทำงาน เพื่อบริหารสมอง บริหารร่างกาย บริหารจิตใจ ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาให้ เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างนั้น ไม่ใช่ให้ทำงานแบบเป็นภาระที่หนักเหลือ เกิน ก็ขอฝากเอาไว้เผื่อมีทางที่จะถ่ายทอดกันไปได้ เพื่อว่าสังคมเราจะได้ ดีขึ้น


มีพุทธศาสนสุภาษิตอยู่ว่า กาลาคตญฺจ น หาเนติ อตฺถํ คนขยันย่อมไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงเขาแล้วให้เสื่อม

บาง ทีประโยชน์มาถึงแล้ว แต่ว่าไม่ขยันก็เลยทิ้งไป คือไม่อยากทำ เล่นสนุกดี กว่า เรียนก็ไม่เรียน มีเด็กหลายคนพ่อแม่มีเงินทองส่งเรียนได้ แต่เด็ก ไม่เรียน นี่เรียกว่าทำประโยชน์ที่มาถึงแล้วให้เสื่อม

มี เด็กเป็นอันมากที่ดิ้นรนขวนขวาย ทั้งเรียนทั้งทำงาน ทั้งรับจ้างเพื่อจะให้ ได้เรียน เด็กพวกนี้น่าสงสารน่าเห็นใจ น่าช่วยเหลือ

แต่ มีเด็กบางพวกเหลวไหล เอาแต่เที่ยวเอาแต่เล่น เรียกว่าทำประโยชน์ที่มาถึง แล้วให้เสื่อม พออายุมากขึ้น พ่อแม่ก็มีฐานะเพื่อนฝูงก็ฝากงานให้ทำ ได้ แต่เรียนก็ไม่สำเร็จ ความสามารถก็ไม่มี แล้วเขาจะช่วยได้อย่างไร

ผู้ใหญ่ ก็เหมือนกัน รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ก็รีบทำอย่าให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วให้ เสื่อม และในบรรดาสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยกัน ต้องมีปัญญาไตร่ตรองว่าอะไร มันมีประโยชน์มากกว่า ก็ขวนขวายทำสิ่งนั้นให้มาก อะไรที่เป็นประโยชน์น้อย กว่า ก็ทิ้งเสียบ้าง เพราะเราไม่สามารถจะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้ง หมด บางคนโอกาสดีแต่ไม่จับฉวยเอาไว้ได้ก็น่าเสียดาย

เมื่อ ทำกิจโดยเบื่อหน่าย ประโยชน์ย่อมจะไม่สำเร็จโดยชอบ ท่านต้องการให้ทำกิจ โดยไม่เบื่อหน่ายโดยมีฉันทะ วิริยะ มีความพอใจ มีความชอบที่จะทำ เรียก ว่า กัตตุกัมมยตา ฉันทะนั้นคือ กัตตุกัมมยตา ใคร่ที่จะทำ ปรารถนาที่จะ ทำ อยากที่จะทำ อย่างที่ท่านพยอมพูดว่า เห็นงานแล้วมือไม้มันสั่นอยากจะ ทำ

พึงได้ประโยชน์ในที่ใดโดยประการใด บุคคลพึงบากบั่น ในที่นั้นโดยประการนั้น นี่ก็ต้องใช้ปัญญาสอดส่องว่าประโยชน์มันเกิดขึ้นใน ที่ใด โดยประการใด ก็บากบั่นโดยประการนั้นให้สำเร็จประโยชน์

มี คนยากจนไม่น้อย ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียง มีคนนับถือ มีทรัพย์สิน สมบัติ บางคนมั่งมี เพราะขยัน ประกอบการงานเหมาะสม ผมยังเชื่อว่าถ้า เป็นคนฉลาด หมั่นสะสมปัญญา หมั่นแสวงหาปัญญา ทำกิจให้เหมาะสม ทำการงาน ด้วยความขยันหมั่นเพียร ก็สามารถสร้างตัวได้ และให้มีความมั่นใจอย่าง นั้น อย่าลังเลและอย่าโลเล ความมั่นใจนั่นแหละจะทำให้ท่านประสบความสำเร็จ

นี่พูดถึงความยากจน ก็สามารถที่จะเอาชนะได้ เรียกว่าล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร



2. ความทุกข์จากความเจ็บป่วย

อันนี้ก็ค่อนข้างล่วงได้ยาก แต่ถ้ามีความเพียรดี ก็สามารถจะเอาชนะได้เหมือนกัน

บาง คนเกียจคร้าน เอาแต่นั่งๆนอนๆจนป่วย เรียกว่าป่วยทั้งทางกายและทาง จิต คิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ ทำให้มีความเครียด ร่างกายเจ็บป่วย อันสืบ เนื่องมาจากป่วยทางจิตก่อน ท่านเรียกในภาษาจิตวิทยา ว่า Psychopatic illness ซึ่งหมายถึงความทุกข์ที่มาจากโรคทางใจ และมี อาการออกมา ก็ทำให้ตื่นเต้นง่าย ตกใจง่าย กระวนกระวายไม่มีความสุข ไม่ สงบ ถ้าคนประเภทนี้ใช้ความเพียรไปทางใดทางหนึ่งให้สม่ำเสมอเป็นระบบ ก็จะ หายจากความเจ็บป่วยเหล่านี้ได้ หรือทำให้บรรเทาลงได้

ส่วน คนที่ป่วยทางกายจริงๆ โดยไม่เกี่ยวกับทางจิตเลยนั้น ถ้ามีความเพียร ก็มี ความบากบั่นมั่นคงในการรักษาตัว ให้แพทย์ช่วยดูแลบ้าง ช่วยตัวเองให้ มาก ช่วยตัวเองให้ดี ประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารและยา เว้น ของแสลงแก่โรค บริโภคแต่ของที่เป็นสัปปายะ คือสิ่งที่เหมาะสมแก่โรค แล้ว ต่อไปอาจไม่ต้องไปหาหมอหรือหาแต่น้อย แต่ต้องยอมรับความจริงว่าเรา เป็นโรคอะไรอยู่ แม้จะไม่บอกกับคนอื่น แต่ต้องยอมรับกับตัวเองว่าเราเป็น โรคอะไร

และต้องยอมรับความจริงว่าโรคบางอย่าง มัน รักษาไม่หาย เพียงแต่คุมไว้ได้เท่านั้น ต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิต ทำใจ ให้สบาย เป็นเพื่อนกันไป ตายไปด้วยกัน แล้วก็ไม่เป็นไรเพราะว่าเรายอมรับ มันแล้ว

คนป่วยต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งสักหน่อย และ ควบคุมตัวเองให้ได้ ดูแลตัวเองให้ได้ ยอมรับความจริง ไม่ใช่ไปกินยา บางอย่าง โรคมันทุเลาลงไป ก็คิดว่าหายแล้ว อยู่อย่างคนไม่มีโรคอย่างนี้ ก็ไม่ได้ ต้องยอมรับว่ามันเพียงทุเลา มันรักษาไม่หาย เราต้องระวังดูแล ต่อไป ต้องยอมรับความจริง

ความทุกข์จากความเจ็บป่วย เช่นนี้ ล่วงพ้นได้ด้วยความเพียรเหมือนกัน มีความเพียรที่จะรักษาโรคสม่ำ เสมอ ไม่ประมาทโรค แต่ก็ไม่กลัวมันเกินไป

มาถึงเรื่อง ความทุกข์ในสังสารวัฏ ความทุกข์ในอบายภูมิ นี่ก็เป็นความทุกข์ใหญ่เหมือน กัน ความทุกข์ในอบายภูมิต้องเกิดในนรก ในภพของเปรต อสุรกายหรือสัตว์ เดรัจฉาน ซึ่งมีบาปเป็นแดนเกิด มีบาปเป็นต้นเหตุ

ผู้ใดที่มีความเพียรพยายามเว้นบาป เพียรในการบำเพ็ญบุญกุศล มันก็มีช่องทาง ผู้นั้นก็จะพ้นจากความทุกข์ในอบายภูมิ

แม้แต่ความทุกข์ในโลกมนุษย์นี้ก็จะเบาบาง
คือจะเป็นคนอีกแบบหนึ่งในโลก มนุษย์ เหมือนกับเป็น มนุสสเทโว เป็นมนุษย์เทวดา เป็นมนุษย์พรหม ไม่ ใช่มนุษย์ธรรมดา, หรือมนุษย์ที่ต่ำกว่ามนุษย์ที่เรียกว่า มนุสสเนรยิ โก มนุษย์นรก, มนุสสตีรจฺฉาโน มนุษย์เดรัจฉาน, มนุสสเปโต มนุษย์ เปรต ไม่ใช่อย่างนั้น และก็พ้นจากมนุสสมนุสฺโส ขึ้นไปอีก พ้นจากมนุษย์ ที่เป็นมนุษย์ เป็นอภิมนุษย์ เป็น superman ในทางที่เพียบพร้อมด้วย คุณธรรม ด้วยคุณงามความดี มนุษย์เหนือมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา

ถ้า ถึงขั้นที่ก้าวเข้าสู่อริยภูมิ ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปแล้ว ก็จะยิ่ง สบายใหญ่ เรียกว่าปิดอบายภูมิ 4 ได้หมดปิดสนิท พากเพียรต่อไปจนถึง อรหัตผล ทุกข์ในสังสารวัฏอันยืดเยื้อยาวนานก็เป็นอันสิ้นสุดลง

ความทุกข์ในสังสารวัฏ ความทุกข์ในอบายภูมิก็ล่วงได้ด้วยความเพียรเหมือนกัน

ขอ สรุปในเรื่องนี้ว่า ขอให้เราใช้ความเพียรให้เต็มที่ ความสามารถของ มนุษย์เรานี่มีมาก สมองก็มีความสามารถมาก พลังของมนุษย์ก็มีมาก แต่ส่วน มากเราใช้สิ่งที่เรามีอยู่ ไม่มากเท่าที่มันมีอยู่ สมมุติว่าเรามีพลังความ เพียร 90 แต่เราใช้มันจริงๆถึง 30 หรือเปล่า ส่วนมากไม่ถึง แล้วก็มาคิด ว่าเราไม่สามารถ โดยที่ยังไม่ได้ลองทำ

พอคิดว่าเราไม่ สามารถ ความเพียรพยายาม ความคิดที่จะทำ ความคิดที่จะต่อสู้ มันก็จะไม่ มี ก็ดูเสมือนเป็นผู้ที่ไร้ความสามารถ เพราะขาดความเพียร

ปโย คสมบัตินี่สำคัญมากเลยในเรื่องสมบัติ 4 คือคติสมบัติ ได้กำเนิดดี ได้ ร่างกายดี ได้กาลเวลาดี ถึงจะได้ 3 อย่างดี แต่ถ้าขาดความเพียรที่เพียง พอ แล้วสิ่งเหล่านั้นก็อำนวยประโยชน์ให้น้อยกว่าที่มันมี

แต่ คนที่ขาดสิ่งเหล่านั้น ขาดทั้งคติสมบัติ ขาดทั้งกาลสมบัติ ขาดทั้งร่าง กาย ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ แต่ว่ามีความเพียรมาก เขาก็จะได้ และเขาจะ ก้าวหน้ากว่าคนที่มีสมบัติ 3 อย่าง แต่ขาดสมบัติที่ 4 คือปโยคสมบัติ

เพราะฉะนั้น ความเพียรนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องใจเย็น และรอคอยได้


กรรม

กรรม ในอดีตสร้างเรามาก็จริง แต่ผู้ที่มีความรู้เรื่องชีวิตดี ก็จะสามารถ เปลี่ยนแปลงชีวิตของตนให้ดีขึ้นได้ ด้วยการสร้างกรรมใหม่ให้ดี เปรียบไปก็ เหมือนเราเข้าอยู่อาศัยในบ้าน ซึ่งเขาสร้างไว้แล้ว แต่ถ้าเรามีความรู้ เรื่องการก่อสร้าง เราก็จะสามารถดัดแปลงแก้ไขส่วนบกพร่องให้ดีขึ้นตามความ ต้องการของเราให้เหมาะสมกับกิจการของเรา แต่ถ้าเราไม่มีความรู้ในการก่อ สร้างหรือสามารถให้ช่างมาดัดแปลงได้ ก็ต้องทนอยู่ไปอย่างนั้น

เรื่อง ของชีวิตก็เหมือนกัน แม้ว่ากรรมในอดีตจะสร้างเรามาบ้างแล้ว ก็ยังสามารถ แก้ไขได้ด้วยความรู้ความเข้าใจในเรื่องชีวิต ไม่ควรท้อถอย บางคนก็โยนไป ให้กรรมในอดีตเสียหมด หรือว่าเชื่อดวงเชื่อโชคชะตา แล้วแต่ชะตาชีวิตจะให้ เป็นไป

ที่จริงชะตาชีวิตเป็นสิ่งที่เราสร้างเอง ไม่ใช่ ชะตาชีวิตสร้างคน แต่คนเป็นผู้สร้างชะตาชีวิต ชะตาชีวิตจะดีหรือไม่ดี อย่างไรก็แล้วแต่เราจะสร้าง กรอบในอดีตนั้นมีส่วนอยู่บ้างก็จริง แต่ว่า เหตุในปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก การตั้งตนไว้ชอบ ความขยันหมั่น เพียรในการศึกษาเล่าเรียน ในการประกอบคุณงามความดี รู้จักเข้าหาคนดี คบ หาสมาคมกับคนดี สิ่งเหล่านี้ก็มีความสำคัญยิ่งกว่ากรรมในอดีตเป็นอันมากเลย ทีเดียว

ท่านลองดูเรื่องนี้อีกสักเรื่องหนึ่งก็ได้ ผม บันทึกเอาไว้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2534 เป็นข่าวทางวิทยุบันทึกเอาไว้ ว่า

คนชาวหรรษา แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย มี อายุยืนโดยเฉลี่ยถึง 140 ปี มันเกินอายุกัปป์ของคนในสมัยพุทธกาลเสีย อีก ในสมัยพุทธกาล ท่านให้อายุคนอายุกัปป์ 120 ปี พระอานนท์ พระมหากัส สป ผู้มีอายุยืนก็อายุ 120 ปี พระพุทธเจ้าไม่ถึง แค่ 80 ปี

ฉะนั้น อายุของคนชาวหรรษานี่ ใน 100 คนมีอายุยืน 140 ปีถึง 60 คน เท่ากับ 60% ทั้งนี้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1. ตั้งบ้านเรือนอยู่บนภูเขา ต้องลงมาทำเกษตรที่เชิงเขา ต้องขึ้น-ลงภูเขาทุกวัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง

2. อากาศดี ไม่มีมลพิษ

กรรมในอดีตสร้างเรามาก็จริง แต่ผู้ที่ มีความรู้เรื่องชีวิตดี ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนให้ดีขึ้น ได้ ด้วยการสร้างกรรมใหม่ให้ดี เปรียบไปก็เหมือนเราเข้าอยู่อาศัยใน บ้าน ซึ่งเขาสร้างไว้แล้ว แต่ถ้าเรามีความรู้เรื่องการก่อสร้าง เราก็จะ สามารถดัดแปลงแก้ไขส่วนบกพร่องให้ดีขึ้นตามความต้องการของเราให้เหมาะสมกับ กิจการของเรา แต่ถ้าเราไม่มีความรู้ในการก่อสร้างหรือสามารถให้ช่างมาดัด แปลงได้ ก็ต้องทนอยู่ไปอย่างนั้น

เรื่องของชีวิตก็ เหมือนกัน แม้ว่ากรรมในอดีตจะสร้างเรามาบ้างแล้ว ก็ยังสามารถแก้ไขได้ด้วย ความรู้ความเข้าใจในเรื่องชีวิต ไม่ควรท้อถอย บางคนก็โยนไปให้กรรมในอดีต เสียหมด หรือว่าเชื่อดวงเชื่อโชคชะตา แล้วแต่ชะตาชีวิตจะให้เป็นไป

ที่ จริงชะตาชีวิตเป็นสิ่งที่เราสร้างเอง ไม่ใช่ชะตาชีวิตสร้างคน แต่คนเป็น ผู้สร้างชะตาชีวิต ชะตาชีวิตจะดีหรือไม่ดีอย่างไรก็แล้วแต่เราจะ สร้าง กรอบในอดีตนั้นมีส่วนอยู่บ้างก็จริง แต่ว่าเหตุในปัจจุบันเป็นสิ่ง ที่มีความสำคัญมาก การตั้งตนไว้ชอบ ความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่า เรียน ในการประกอบคุณงามความดี รู้จักเข้าหาคนดี คบหาสมาคมกับคนดี สิ่ง เหล่านี้ก็มีความสำคัญยิ่งกว่ากรรมในอดีตเป็นอันมากเลยทีเดียว

ท่าน ลองดูเรื่องนี้อีกสักเรื่องหนึ่งก็ได้ ผมบันทึกเอาไว้ตั้งแต่วัน ที่ 20 ธันวาคม 2534 เป็นข่าวทางวิทยุบันทึกเอาไว้ว่า

คน ชาวหรรษา แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย มีอายุยืนโดยเฉลี่ย ถึง 140 ปี มันเกินอายุกัปป์ของคนในสมัยพุทธกาลเสียอีก ในสมัย พุทธกาล ท่านให้อายุคนอายุกัปป์ 120 ปี พระอานนท์ พระมหากัสสป ผู้มี อายุยืนก็อายุ 120 ปี พระพุทธเจ้าไม่ถึง แค่ 80 ปี

ฉะนั้น อายุของคนชาวหรรษานี่ ใน 100 คนมีอายุยืน 140 ปีถึง 60 คน เท่ากับ 60% ทั้งนี้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1. ตั้งบ้านเรือนอยู่บนภูเขา ต้องลงมาทำเกษตรที่เชิงเขา ต้องขึ้น-ลงภูเขาทุกวัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง

2. อากาศดี ไม่มีมลพิษ

3. กินอาหารธรรมชาติที่ปลูกเอง ไม่มีสารพิษในพืชผัก กินปลาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีเนื้อสัตว์อย่างอื่น ปลาก็เป็นอาหารดี

หัน มาดูคนไทย โดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ย 65 ปี ทั้งๆที่การแพทย์ การ สาธารณสุขเจริญกว่าชาวหรรษา และน่าแปลกที่ว่าอายุยืนถึง 100 ปีเศษ มี เพียง 16 คนในจำนวน 57 ล้านคน (เมื่อ พ.ศ. 2534) จำนวนนี้เป็นคนภาค อีสาน 50% ภาคที่เราพูดกันว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง อดอยากหรือค่อน ข้างฝืดเคือง แต่คนกลับมีอายุยืนถึง 50% ภาคใต้และภาคเหนือ ภาค ละ 25% ภาคกลางไม่มีเลย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่เรียกว่าเจริญรุด หน้า ทุกอย่าง


ท่านจะเห็นว่า เหตุที่ทำให้อายุยืน เป็นเหตุของปัจจุบัน เป็นส่วนมาก พวกเราแทบทุกคนก็คงเคยได้ยินที่เทศน์ กัน สอนกันเสมอในเรื่องว่าที่อายุสั้นเพราะกรรมในอดีตไม่ดี อายุยืน เพราะกรรมในอดีตดีก็เอาเถอะ ไม่เถียงละครับ แต่ว่าอย่าละเลยการกระทำใน ปัจจุบัน เพราะการกระทำในปัจจุบันนี้มีความสำคัญมากกว่าเรื่องในอดีตเป็น อันมาก อย่าโยนไปให้กรรมในอดีตเสียหมด จะทำให้ขาดกำลังใจ หรือขาดการ กระทำที่เหมาะที่ควรในปัจจุบัน

ลองดูที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงเอาไว้ เรื่องเหตุที่ทำให้อายุสั้น อายุยืน เป็นเหตุในปัจจุบันทั้ง นั้นเลย 5 อย่างนี่เป็นข้อความจากพระไตรปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก นิบาต เล่ม 22 หน้า 163 ข้อ 166

พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุที่ทำให้อายุสั้น 5 อย่าง คือ

1. ชอบ ทำในสิ่งที่แสลงแก่ตน เรียกว่า อสัปปายะการี ทำในสิ่งที่ไม่เหมาะ กิน ของแสลง ได้อากาศที่แสลง ทำอะไรที่มันไม่ถูกกับสุขภาพ เป็นสิ่งแวดล้อม ไม่ดี ทำให้อายุสั้น

2. ไม่ประมาณในสิ่งที่ไม่ แสลง เช่น อาหาร แม้จะ ไม่แสลงกินได้ แต่ไม่รู้จักประมาณในการ กิน ไปไหนก็ไปได้ เที่ยวได้แต่ก็ไม่รู้จักประมาณในการเที่ยว อย่าง นี้ก็ทำให้อายุสั้นเหมือนกัน

3. ชอบบริโภคอาหารที่ย่อยยาก ทำให้ร่างกายต้องใช้กำลังมากเป็นพิเศษ

4. เที่ยวไปรู้จักกาล อกาลจารี ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่ได้หลับได้นอน เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุสั้นเหมือนกัน

5. ไม่ ประพฤติพรหมจรรย์ สังเกตดูผู้ที่ประพฤติ พรหมจรรย์ จะอายุยืน มากกว่าผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ อย่างพระโดยเฉลี่ยแล้วอายุจะยืน เพราะว่า ประพฤติพรหมจรรย์ และถ้าไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็รู้จักประมาณ ในการประพฤติในการใช้ชีวิตเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เป็นพรหมจรรย์

ทั้ง 5 ข้อ เป็น เหตุปัจจุบันทั้งนั้นเลย เหตุที่ทำให้อายุยืนก็ทำตรงกันข้าม คือชอบทำสิ่ง ที่เหมาะสม คือไม่แสลงแก่ตน รู้จักประมาณในสิ่งที่ไม่แสลง บริโภคอาหารที่ ย่อยง่าย รู้จักกาลเวลาในการเที่ยวไป และประพฤติพรหมจรรย์ตามสมควร

นี่ ก็เป็นข้อคิดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องกรรม คือการกระทำของคนเราแต่ละ คน ซึ่งเรามีสิทธิ์ในชีวิต จะทำอย่างไรกับชีวิตของเราได้ เราจะหมุนชีวิต ไปทางใด หรือว่าต้องการให้ชีวิตเป็นอย่างไร เราก็หันเหเข็มของชีวิตไปทาง นั้น แล้วก็จะได้

พูดถึงเรื่องนี้ แล้วก็ขอพูดต่อมา ถึงเรื่องช่วงของชีวิตช่วงละ 10 ปี ก็มีช่วงเด็กอ่อน ช่วงวัยคึก คะนอง วัยสวยงาม วัยมีกำลังสมบูรณ์ วัยมีปัญญา วัยเสื่อม วัยที่ร่าง กายเงื้อมไปข้างหน้า วัยคดงอ วัยหลง วัยนอน เป็นต้น

ท่านใช้คำบาลีว่า มันททสกะ แปลว่า 10 ปีของเด็กอ่อน
กีฬทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยคะนอง
วรรณทสกะ แปลว่า 10 ปีของที่สวยงาม
พลทสกะ แปลว่า 10 ปีของที่มีกำลัง
ปัญญาทสกะ แปลว่า 10 ปีของที่ปัญญาสมบูรณ์
หานิทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยเสื่อม
ปภารทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยที่มีร่างกายเงื้อม ไปข้างหน้า
วังกทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยคดงอ
โมหทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยหลง
ไสยนทสกะ แปลว่า 10 ปีของวัยนอน
ถ้าพูดเป็นปีก็ตั้งแต่ 1-10 ปี เป็นวัยเด็กอ่อน
11-20 ปี เป็นวัยคึกคะนอง
21-30 ปี เป็นวัยสวยงาม
31-40 ปี เป็นวัยที่มีกำลังสมบูรณ์
41-50 ปี เป็นวัยที่มีปัญญาสมบูรณ์
51-60 ปี เป็นวัยเสื่อม
61-70 ปี เป็นวัยที่ร่างกายโน้มไปข้างหน้า เดินไม่ตรง
71-80 ปี เป็นวัยที่ร่างกายงอคดโค้ง
81-90 ปี เป็นวัยหลง กินแล้วว่ายังไม่ได้กิน
91-100 ปี เป็นวัยนอน

แต่ ถ้ามีเหตุปัจจัยที่ดี อย่างชาวหรรษาที่กล่าวแล้ว 100 ปียังขึ้นภูเขา ได้ นี่ก็เหตุปัจจัยทำให้เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นคนทำงานหนัก ชนิดที่ออก แรงมากอย่างชาวนา เคยเห็นชาวนาหลายหมู่บ้านอายุแค่ 40 ปี ก็แย่แล้ว ครับ ดำเกรียม ฟันหักหมดแล้ว

ข้อความในช่วงวัย ละ 10 ที่พูดมานี้ ได้นำมาจากอรรถกถาจิตสัมภูตะชาดก อสีตินิบาต อรรถกถา เล่ม 3 ภาค 7 หน้า 48 ฉบับของมหามกุฎราชวิทยาลัย ฉบับภาษาไทย

ปริศนาธรรมแต่โบราณ ท่านว่าไว้อย่างนี้

“ทาง ใหญ่อย่าเที่ยวจร ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร ไม้โกง อย่าทำกังวาล ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง ถ้าจะเป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น ถ้าจะ ให้ล่มบรรทุกแต่เบา (หมายถึงเรือ ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา) ถ้าจะเรียน โหราให้ฆ่าอาจารย์ ทั้ง 4 เสีย”


คำแก้ปริศนา

ทาง ใหญ่ คือกามสุขขัลลิกานุโยค กับอัตตกิลมถานุโยค ทางใหญ่อย่าพึงจร กาม สุขขัลลิกานุโยค คือการทำตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามสุข เพลิดเพลิน หลงใหลอยู่ในกามสุข เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นเป็น ความสุขที่ยิ่งกว่าความสุขใดๆ หมกมุ่นพัวพันอยู่จนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น

อัต ตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์ คือว่าเคร่งเกินไป จัดการ กับตัวเองรุนแรงเกินไป ไม่ถนอมตนในสมัยโบราณ สมัยพระพุทธเจ้าท่านยก ตัวอย่างพวกฤาษีชีไพรที่ทรมานตน นอนบนหนาม แก้ผ้าคลุกขี้เถ้า ลง คลาน 4 ขากินอาหารอย่างสุนัขบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค แต่ มา สมัยนี้บ้านเราก็ไม่มีแล้ว เราก็คิดดูเอาเองว่า การทำตนให้ลำบากโดยไร้ ประโยชน์ เคร่งครัดกับตัวเองมากเกินไป ไม่ผ่อนปรนให้ตนเองบ้างตาม สมควร อย่างนี้ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็เป็นทางใหญ่สองทางที่ไม่พึงจร

ใน ปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าท่านก็เริ่มต้นด้วยเรื่อง นี้ ว่าภิกษุทั้งหลายที่สุดทั้งสองนี้ บรรพชิตไม่พึงเกี่ยวข้อง คือกาม สุขขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

ลูกอ่อนอย่าอุ้ม รัดเอาไว้ คำแก้ปริศนา คำว่าลูกอ่อนคือปัญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเป็น 2 คือรูปกับนาม รูป เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม วิญญาณก็คือจิต

ลูก อ่อนไม่พึงอุ้มรัด คือ ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ไม่พึงเข้าไป กอดรัดขันธ์ 5 โดยความเป็นตนและของตน คือพึงปล่อยวาง ไม่ยึดถือใน ขันธ์ 5 ว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา

แต่ว่าโดยวิสัย ปุถุชน มันก็อดไม่ได้ที่จะยึดถือในขันธ์ 5 ถ้าเผื่อเรารู้เท่าทันธรรมดา บ้าง ก็มีเวลาที่จะปล่อยวางได้บ้าง ในเวลาที่จำเป็นหรือว่าถึงคราวที่จะ ต้องปลดปล่อย ปล่อยวางได้บ้าง หรือว่าไม่แบกไว้มากเกินไป เหมือนเราแบก หินอยู่ ก็รู้สึกว่าหนักๆ และมีคนบอกว่าให้วางก้อนหินลงเสีย ก็ไม่ได้ วาง ถ้าวางมันก็เบา ถ้าไม่ได้วางมันก็หนัก แบกไปก็บ่นไปว่าหนัก วิ่งไป ก็บ่นไปว่าหนัก มีคนบอกให้ปล่อยเสีย ให้วางเสียก็ไม่วาง มันก็หนักเรื่อย ไป เหมือนกับคนกลิ้งหินขึ้นภูเขา พอถึงยอดเขาแล้วก็ปล่อยลงมา แล้วก็ ตามลงมาจากยอดเขา แล้วก็กลิ้งขึ้นไปใหม่
เป็นเรื่องของปรัชญา

หลวง เจ้าวัด อย่าให้อาหาร หลวงเจ้าวัด คือวิญญาณขันธ์ อย่าปรนเปรอด้วย อาหาร 4 มีกวฬิงการาหาร เป็นต้น จิตหรือวิญญาณอย่าไปปรนเปรอมากเกิน ไป จะต้องให้อดอาหารเสียบ้าง ให้จิตมันอดอาหารเสียบ้าง ถ้าเผื่อไม่ให้อด อาหารเสียบ้าง คือเราฝึกมันไม่ได้ มันอยากได้อะไรให้มันได้ ปรนเปรอ ทุกอย่าง เหมือนเราให้เชื้อกับไฟ ไฟมันไม่รู้จักอิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทร ไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ แปลว่าจิตไม่อิ่มด้วยตัณหา ถ้า ปรนเปรอมันมากมันก็ยิ่งเดือดร้อนใหญ่โต

ไม้โก่ง อย่าทำ กังวาล กังวาลคือเรือสำหรับต้านทานลมพายุ ต้องใช้ไม้ตรง ไม้โก่งไม้คดใช้ ไม่ได้ คำไขปริศนาก็คือ อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร คดกายบ้าง คดวาจา บ้าง คดใจบ้าง ถ้าไม่คด เรียกว่าอุชุ เป็นผู้ซื่อตรง ไม่คดกาย ไม่คด วาจา ถ้าไม่คดทางใจเรียกว่าสุอุชุ ตามคำอธิบายของอรรถกถากรณียเมตตสูตร

อย่า เอาคนคดมาเป็นมิตร เพราะเขาจะต้องคดโกงสักวันหนึ่งเหมือนกับเราเลี้ยง อสรพิษเอาไว้ ให้อาหารมันก็ตาม วันไหนไม่ได้อาหารมันต้องกัดคนให้นั่น แหละ หรือโบราณที่เขาว่า คนเลี้ยงผีเอาไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งาน แล้วก็ ต้องเซ่นอาหารมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่มีอาหารให้มัน มันก็จะมาเล่นงานคน เลี้ยงมัน เลี้ยงผีนี่เสี่ยงมาก

เลี้ยงโจรก็เสี่ยงเหมือนกัน ถ้าเผื่อมันปล้นที่ไหนไม่ได้ มันก็จะมาปล้นบ้านเรา ฉะนั้น ก็อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร

พระ พุทธเจ้าตรัสสอนว่า ถ้าหาคนที่มีปัญญามาเป็นมิตรไม่ได้ ไม่มีคนดีมีปัญญา เป็นสหายแล้ว ก็อยู่คนเดียวดีกว่า อยู่คนเดียว ไปคนเดียวดีกว่า

สำหรับ คนชั่วคนพาลหรือคนคด บางแห่งพระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับงู ที่ ตกลงไปในหลุมคูถ หรือหลุมอุจจาระ ทั้งเนื้อทั้งตัวมันเปื้อนไปด้วย อุจจาระ ถ้าเราไปจับมัน ถ้ามันไม่กัดถึงตายหรือปางตาย มือเราก็เปื้อนคูถ หรือว่าเผลอๆอาจจะได้ทั้งสองอย่าง คือถูกกัดถึงตายหรือปางตาย และมือยัง เปื้อนคูถด้วย ท่านก็ให้หลีกคนคดคนพาล นี่ก็เป็นปริศนาธรรมข้อที่ 4

ช้าง สารอย่าผูกกลางเมือง ธรรมดาช้างสารย่อมจะพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง แม้จะ ให้อยู่ในเมือง ปรนเปรออย่างดี โดยธรรมชาติของช้างไม่พอใจ มันชอบอยู่ใน ป่าหรืออยู่ที่สระ

ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมได้ นิพพิทาญาณ คือญาณที่เกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในสังขาร ในนามรูปแล้ว ย่อม จะไม่พอใจในสังขาร หน่ายในสังขาร พอใจในพระนิพพาน เหมือนช้างสารพอใจใน ป่า ไม่พอใจในเมือง

ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น คำ ว่าลูกในที่นี้ท่านหมายถึงมรรค 4 ผล 4 ต้นในที่นี้ก็คือกิเลส เอาไฟสุม กิเลส มีอวิชชา ตัณหา อุปทาน เป็นต้น ไฟก็คือสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนา กรรมฐาน สำหรับเผาลำต้นคือกิเลสให้เร่าร้อน

ถ้าได้ มรรค 4 ผล 4 แล้ว นิพพานก็ต้องได้อยู่ดี เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง กัน ไม่มีการถอยกลับ ได้มรรคแล้วต้องได้ผล ไม่ต้องถึงมรรคหรอกได้โคตรภู ญาณแล้วก็ต้องได้มรรคแน่นอน ไม่มีทางที่จะถอยกลับไปอย่างเดิม ต้องก้าวไป ข้างหน้าเรื่อยไป ได้มรรคแล้วก็ได้ผลและก็ได้นิพพาน

ถ้า จะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา นี่ก็หมายถึงเรือ ถ้าให้เรือล่มก็ให้บรรทุกแต่ เบา ก็เป็น paradox อยู่ ธรรมดาเรือมันจะล่มมันต้องบรรทุกหนัก เพียบเกิน อัตราเกินกำลัง อันนี้กลับตรงกันข้าม

คำไขปริศนา คือ ถ้าจะให้เรือคือตัวเรานี้ถึงอมตะมหานิพพาน ไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ใน สังสารสาครแล้ว ก็ให้บรรทุกอกุศลแต่น้อย แล้วก็ไม่ขนเอาลาภสักการะและ อกุศลมากมายนั้นไป ให้พยายามลดละ โยนทิ้งอกุศลและลาภสักการะเสีย พวกนี้ มันเป็นภาระหนัก เมื่อโยนทิ้งสิ่งเหล่านี้เรือมันก็เบา

มี พระพุทธภาษิตบางแห่งที่ตรัสว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ดูกรภิกษุ ท่านจง วิดเรือนี้ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ เรือที่ท่านวิดแล้วจักถึงเร็ว ท่านละ ราคะโทสะโมหะได้แล้ว จะถึงพระนิพพานโดยเร็ว เรือคืออัตภาพ เมื่อวิดเรือ แล้วเรือจะถึงเร็ว เมื่อละราคะ โทสะ โมหะ แล้วก็จะแล่นไปสู่นิพพานได้ เร็ว

ปริศนาธรรมที่ว่า ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา คือว่าไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ

ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย อาจารย์โหราในที่นี้หมายถึงวิชชา 3 คือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้
จุตูปปาตญาณ คือทิพจักษุ คือรู้อุบัติและจุติของสัตว์ทั้งหลาย
อา สวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส นี่ก็ระบุไปถึงการรู้อริยสัจ ก็ถามว่า การรู้อาสวักขยญาณ คือรู้อะไร เพราะว่าตามตัวแปลว่าญาณที่เป็นเหตุให้สิ้น อาสวะ ถ้าถามว่าญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือญาณอะไร รู้อะไร

ใน นิทเทศของอาสวักขยญาณทุกแห่งในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าจะตรัสถึง อาสวัก ขยญาณ ก็จะตรัสถึง ทุกฺเข ญาณํ รู้ทุกข์ ทุกฺขสมุทเย ญาณํ รู้ สมุทัย ญาณในสมุทัย ทุกฺขนิโรธ าณํ ญาณในนิโรธ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา ย าณํ ญาณในทาง ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทั้งนั้นเลยทุกแห่ง

ฉะนั้น ถ้า เขาถามว่า อาสวักขยญาณหมายถึงอะไร ที่แปลกันก็คือแปลตามตัวว่า อาสวัก ขยญาณคือญาณที่ทำให้กิเลสสิ้นไป แต่ถ้าถามความหมายว่าหมายถึงอะไร ก็ต้อง ตอบว่าหมายถึงญาณในอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 ไตร ปริวัตร ทวาทสาการ เรียกว่ารู้อริยสัจจริง มีอาสวักขยญาณ

ถ้าจะเรียนโหรา หมายถึงวิชชา 3 ก็ให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย อาจารย์ทั้ง 4 ก็คืออาสวะทั้ง 4 คือ
กามาสวะ อาสวะคือกาม
ภวสวะ อาสวะคือภพ ความติดในภพ ความยินดีในภพ ความอยากเกิดอีก
ทิฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ความเห็นผิดต่างๆ

อวิชชา สวะ อาสวะคืออวิชชา ความไม่รู้คือรู้ไม่จริง รู้ไม่จริงกับไม่รู้ อัน ไหนจะดีกว่า รู้ผิดกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า อวิชชามันเป็นทั้ง สองอย่าง คือทั้งรู้ผิดและทั้งไม่รู้

อาจารย์ ทั้ง 4 หรืออีกนัยหนึ่งท่านกล่าวว่า อาจารย์ทั้ง 4 คือ โล ภะ โทสะ โมหะ และมานะ อาจารย์อย่างนี้ต้องฆ่าเสียเอาไว้ไม่ได้ สอนให้ เสียคน ต้องฆ่าเสีย แล้วถึงจะเรียนโหราคือวิชชา 3 ได้

ลองสังเกตดูว่าเด็กที่เกิดใหม่ ก็ต้อง ยึดพ่อแม่เอาไว้เป็นที่พึ่ง เมื่อเขายังอ่อนสอนเด็กหัดเดิน ต้องคลาน ก่อน เมื่อยืนต้องเกาะเปลหรือราง เมื่อหัดเดินก็ต้องเกาะรางหรือมือของแม่ เดินไป แม่หรือพี่เลี้ยงก็ไม่ปฏิเสธเด็กในระยะนั้น เห็นเป็นเรื่องน่ารัก น่าเอ็นดู

ถ้าเด็กคนใดเกาะแม่หรือพี่เลี้ยงอยู่ตลอด เวลา แม้ว่าอายุจะหลายขวบแล้ว จะเดินและวิ่งเองได้แล้ว เด็กคนนั้นก็ไม่ เจริญเติบโตเหมือนเด็กอื่นๆ พ่อแม่พี่เลี้ยงญาติพี่น้องก็ไม่มีใครต้องการ ให้เป็นเช่นนั้น เพราะว่าเป็นภาระเหลือเกิน พ่อแม่คนใดพอใจให้ลูกเป็นเช่น นั้น เพื่อจะได้อยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา พ่อแม่นั้นก็ปัญญาอ่อนด้วย

ข้อ นี้ฉันใด ลองคิดดูให้ดีๆว่า ในสังคมของเรามีพฤติกรรมทั้งทางบ้านเมืองและ ทางศาสนา ที่เป็นเหมือนพ่อแม่และเด็กอ่อนนั้นอยู่มากหรือน้อยเพียงใด เรา ชวนกันยึดติดทั้งในตัวบุคคลและในวัตถุที่คิดว่าขลังและศักดิ์สิทธิ์กันมาก มายเพียงใด ลองคิดดู เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเจริญเติบโตทางสติปัญญาและจิตใจ ได้อย่างไร

การพัฒนาปัญญาเป็นหนทางสำหรับผู้ถือพุทธ ศาสนาและของมนุษย์ทั่วไป การพัฒนาปัญญาถือว่าเป็นหลักสำคัญ เป็นมรรคา สำคัญ ของผู้ที่นับถือพุทธศาสนา และของมนุษย์ทั่วไป การยึดติดในสิ่งใด สิ่งหนึ่งก็ควรเป็นการชั่วคราว เหมือนเด็กสอนเดินเตาะแตะก็ชั่วระยะเวลาอัน สั้น เพื่อให้เข้มแข็งพอหรือเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยตัวเองเท่านั้น ถ้าพอ สมควรแล้ว แต่ก็ยังยึดติดอยู่ต่อไป ก็จะเป็นอุปสรรคของการพัฒนาปัญญาอย่าง แน่นอน ไม่มีปัญหา

ของเหลวที่ใครจะทำให้แข็งและได้รูป ได้ร่างดีตามที่เขาต้องการ เขาทำอย่างไร เขาก็ต้องเอาเข้าเบ้าก่อน ทำ เบ้าให้ดและเอาของเหลวนั้นเทลงไปในเบ้า พออยู่ในเบ้ารูปทรงมันก็จะเป็น เหมือนเบ้าที่ต้องการ เราต้องการให้เป็นอย่างไร เราก็ทำเบ้าอย่าง นั้น ของเหลวที่อยู่ในเบ้ามันก็จะเป็นอย่างนั้น

พอแข็ง แล้ว เขาจะเอาเบ้าไว้หรือเปล่า เขาไม่เอาไว้ ของเหลวนั้นเป็นของแข็งดี แล้ว เขาก็ต้องทุบเบ้าทิ้ง เพราะถ้าเอาเบ้าไว้มันไม่สำเร็จประโยชน์ ฉัน ใดก็ฉันนั้น

คนเราในระยะแรก ก็ยึดถือนั่นถือนี่อะไร ไป เป็นขนบประเพณี เป็นวินัย เป็นอะไรหลายๆอย่าง ยังไม่สามารถที่จะเป็น ตัวของตัวเองได้ ก็ต้องทำเบ้า ให้อยู่ในเบ้าไปก่อน แต่พอได้ที่แล้วก็ ต้องทิ้งเบ้า จึงจะสำเร็จประโยชน์ ความสำเร็จประโยชน์มันอยู่ตรงนั้น

เรา ต้องนึกดูว่า ในสังคมของเรา มันมีอะไรที่เป็นเบ้าหลอมบ้าง และเรายังอยู่ ในเบ้าตลอดเวลา มันก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เหมือนสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกำลัง มันไม่พอที่จะเอาตัวรอดได้ เขาก็ขังคอกไว้ก่อน มีผู้ดูแล แต่ว่าถ้ามัน เติบโตแล้ว ก็ต้องปล่อยมันไป เป็นนกมันก็ต้องบินไปด้วยตัวของมัน เอง ทำนองนี้ แต่ถ้ามันยังนอนอยู่ในรังแบบนกอ่อน มันก็ใช้ไม่ได้

มัน ต้องพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ไปติดอยู่กับพิธีรีตอง พิธีกรรมอะไรต่อ อะไร ที่มันเป็นของเหมือนกับราวที่ให้เด็กไต่ไปในระยะต้นๆ เมื่อไม่รู้จัก โต หรือบางคนใช้คำว่า ยังเป็นชาวพุทธอนุบาลอยู่เรื่อย ไม่ยอมเลื่อนชั้น ขึ้นเป็น ป 1. ป 2. ไปจนมัธยม คือเป็นอนุบาลอยู่เรื่อย คือเป็นสัจจาภินิ เวส ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน มันเป็น Dogmaticism ไม่เป็นไปเพื่อการ พัฒนาปัญญา และมันเป็นการขัดขวางต่อการพัฒนาปัญญา ไม่ก้าวหน้าไป มีแต่ ศรัทธาอย่างเดียว และย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า

พระ พุทธเจ้าตรัสว่า เพียงแต่การหยุดอยู่ เราก็ยังตำหนิ ไม่ต้องพูดถึงว่าการ ไม่ก้าวไปข้างหน้า เพราะฉะนั้น อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาปัญญา เรา ต้องเขี่ยออกไปเสียบ้าง มันรุงรัง เหมือนที่พระกุมารกัสสปพูดกับพระเจ้าปา ยาสิว่า ถือรุงรังไปหมดเลย เหมือนกับแบกขี้หมู ฝนตกขี้หมูไหล ก็ไม่ยอม ทิ้งขี้หมู เพราะว่าแบกมานานแล้วก็เสียเวลา เสียประโยชน์มาก

เพื่อ เป็นการพัฒนาปัญญา เราจะต้องละทิ้งอะไรที่มันควรจะทิ้งเสียบ้าง พิธีรีตอง อะไรต่างๆที่มันมากมายก่ายกอง เยอะแยะไปหมดเลย ทิ้งเสียบ้าง

เปลือก ของผลไม้ มันมีไว้เพื่อจะรักษาเนื้อ แต่ถ้ามันมีแต่เปลือก มันก็ไม่ได้ ประโยชน์ ทุเรียนเปลือกมันมีหนามด้วย แต่มันมีไว้สำหรับรักษาเนื้อ ถ้ามี แต่เปลือกแล้วไม่มีเนื้อ ก็ไม่รู้จะซื้อไปทำไม เขาก็ไม่ซื้อ ทุเรียนมัน แพงเพราะเนื้อข้างใน

ฉะนั้น เราก็ต้องรู้ว่าอะไรมัน เป็นเปลือก อะไรมันเป็นเนื้อ หรือว่ามันรักษาเนื้อเอาไว้ ก็เอาเถอะ แต่ ต้องรู้ว่าที่ประสงค์ จริงๆก็คือเนื้อของมัน ไม่ใช่ติดอยู่กับเปลือก ไม่ รู้ว่าเนื้อมันคืออะไร หรือเนื้อมันหายไปหมดแล้ว มีแต่เปลือกแล้วก็มาบูชา เปลือก หรือว่าหมกมุ่นกันอยู่แต่เปลือกของมัน เปลือกของศาสนา อะไรทำนอง นั้น มันก็ต้องไปให้ถึงเนื้อหรือแก่นของมันเพื่อพัฒนาปัญญาอย่างมีหลัก เกณฑ์ เราก็ต้องใช้หลักธรรมเป็นเครื่องพัฒนา ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอา ไว้ ในหมวดธรรมที่เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม ธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้ปัญญา เจริญ หรือเจริญด้วยปัญญา

1. คบคนดี เข้าหาคนดี ท่าน เรียกว่า สัปปุริสูปสังเสวะ รู้จักคบคนดี คนที่มีปัญญา จะต้องเริ่มต้น ด้วยศรัทธา มีความศรัทธา นิยมชมชอบคนดี เข้าหาคนดี แล้วก็เงี่ยโสตลงฟัง ท่าน

2. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านด้วยความ เคารพ



เราต้องหมั่นฟังคำสั่งสอนของคนดี อันนี้หายากนะครับ สิ่งที่หายากมี 4 อย่าง ในปริยายหนึ่ง

1. ทุ ลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความเป็นมนุษย์ การได้อัตตภาพเป็นมนุษย์เป็นของ ยาก บางคนอาจจะเถียงว่าไม่จริงหรอก เวลานี้คนจะล้นโลกอยู่แล้ว ลองเทียบ กับสัตว์เดรัจฉาน เอาพวกปลวกกับแมลงเอา 2 อย่างนี้ก็พอแล้ว มันจะมากกว่า มนุษย์ทั่วโลก ไม่ต้องพูดถึงปลาในทะเล ไม่ต้องพูดถึงสัตว์ชนิด อื่น ฉะนั้น การได้อัตตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก

ถ้า เป็นคนใจสูง ตามศัพท์ของมนุษย์ มนอุษยะ แปลว่าคนใจสูง จึงเรียกว่าเป็น มนุษย์ ถ้าใจไม่สูงก็เรียกว่าเป็นคน เกิดมาก็เป็นคน ภาษาบาลีเรียกว่า ชน มวลชน ถ้าเป็นชนที่ใจสูงก็เรียกมนุษย์ นี่ตามพยัญชนะแต่โดยความหมาย ทั่วไป มนุษย์ก็หมายถึงคน

2. พุทฺธุปฺปาโท จ ทุ ลฺลโภ การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก อันนี้ก็ไม่ต้องอธิบาย เพราะ ว่ารู้ๆกันอยู่ว่ากว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่ง ลำบากแค่ไหน และ เป็นบุคคลที่หายากในโลก ในโลกธาตุหนึ่งมีองค์เดียว ไม่เกิดพร้อม กัน 2 องค์ ลองนึกดูว่ามีมนุษย์อยู่เท่าไหร่ และช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นตั้ง 2,000 กว่าปีมาแล้ว ยังไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเป็นองค์ ที่ 2 หายากแค่ไหน

3. ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ การถึงพร้อม ด้วยขณะเป็นสิ่งที่หายาก ขณสมฺปตฺติ ในที่นี้หมายถึงโอกาส พร้อมด้วย โอกาสมีโอกาส เช่น มีโอกาสได้ฟังธรรม มีโอกาสได้ทำบุญ มีโอกาสได้ศึกษา เล่าเรียน คนที่ไม่มีโอกาสมีเยอะ บางคนมีศรัทธาแต่ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟัง ธรรม บางคนมีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมแต่ไม่มีศรัทธา คนที่จะถึงพร้อมด้วย ศรัทธา วิริยะ และปัญญาหาได้ยาก โอกาสเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน บางคนมี ความรู้มีความสามารถ แต่ว่าไม่มีโอกาส ไม่ได้โอกาส หรือเขาไม่ให้ โอกาส ก็ทำอะไรไม่ได้

เพราะฉะนั้น การถึงพร้อมด้วยโอกาสเป็นของยาก บางคนแม้แต่จะศึกษาธรรมก็ไม่มีโอกาส ไม่มีช่องว่าง ไม่มีเวลา หายาก

4. สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นของยากอย่างยิ่ง

เพราะ ฉะนั้นข้อที่ 2 ที่ว่าเป็นปัญญาวุฒิธรรม เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา ทำ ให้ปัญญาเจริญที่เรียกว่าสัทธัมมัสสวณะ การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นของ ยาก พระสัทธรรมนี่หมายถึงธรรมแท้ ธรรมดี ธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษมีพระ พุทธเจ้า เป็นต้น ไม่ใช่ธรรมปลอม ไม่ใช่ธรรมขี้โคลน แต่เป็นธรรมที่ บริสุทธิ์ สะอาด เหมือนน้ำที่สะอาดอาบแล้วชื่นใจ ดื่มแล้วชื่นใจ ไม่ใช่ น้ำโคลน น้ำโคลนมันก็อาบได้เหมือนกัน เย็นๆแต่ก็ไม่สะอาด มันทำให้สกปรก

เมื่อ คบสัตบุรุษ คบคนดีแล้วก็หมั่นฟังธรรมของคนดีก็จะได้ปัญญา เป็นเหตุเพิ่ม พูนปัญญา คุยกับเขาสักครึ่งชั่วโมงก็ได้ปัญญาเยอะแล้ว คนที่เป็นคน ดี เป็นสัตบุรุษ เป็นคนที่มีภูมิรู้ภูมิธรรม



3. โยนิโส มนสิการ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย มีความคิดที่ถูกต้อง เป็น ระบบ Systematic thought คนที่มีโยนิโสมนสิการกับคนที่ไม่มีมันผิดกัน เยอะ คือฟังสิ่งเดียวกัน คนที่ไม่มีโยนิโสมนสิการก็ไม่ได้อะไรเท่า ไหร่ แต่ถ้าคนมีโยนิโสมนสิการมันจะได้เยอะ และเขาก็คิดเป็น คิดต่อ ไปๆ แตกออกไป ได้ฟังหนึ่งเขาสามารถแทงทะลุเป็นร้อยนัยพันนัย ท่านยก ตัวอย่างในพระสาวก เช่น พระสารีบุตร ได้ฟังอะไรแล้วท่านแทงทะลุไปร้อยนัย พันนัย เพราะว่ามีโยนิโสมนสิการ มีปัญญาเฉียบคม

ตรง กันข้ามก็คืออโยนิโสมนสิการ ไม่มีโยนิโสมนสิการก็จะถูกชักจูงไปในทาง ผิด และคิดไม่เป็น ก็ตามไปในทางผิด ฟังแล้วก็ไม่เกิดปัญญา

ฉะนั้น เวลา ฟังอะไรท่านว่า โอหิตโสโต เงี่ยโสตลงสดับ และ มนสิการิตวา ทำไว้ในใจโดย แยบคาย อัตถิกัตตะวา จับสาระสำคัญได้ อัตถิกัตตะวา ตามตัวมันแปลว่า กระดูก ทำให้เป็นกระดูก นั่นเป็นการแปลตามตัว ความหมายก็คือจับสาระสำคัญ ให้ได้ว่าเขาพูดอะไร เขาพูดเยอะๆ เป็นชั่วโมง ต้องจับสาระสำคัญให้ได้ว่า เขาพูดอะไร โยนิโสมนสิการ คนพวกนี้จะได้ปัญญามาก เพราะว่าจับสาระสำคัญ ได้เก่ง

และข้อสุดท้ายคือธัมมานุธัมมะปฏิบัติ ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม คือหมายความว่าไม่ใช่เพียงแต่คบคนดี หรือฟังธรรมของคน ดี แล้วก็มีโยนิโสมนสิการอย่างเดียว แต่ว่าลงมือทำตามที่ได้รู้ได้เข้าใจ

คำนี้ถ้าเป็นคุณศัพท์ก็จะเป็น ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ยังยากอยู่ มันมี 2 ความหมาย

ความหมายที่ 1 ว่า ปฏิบัติธรรมตามฐานะของตน

คือ ว่ามองดูฐานะของตนว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร ก็ปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติให้ เหมาะสมแก่ภาวะแก่ฐานะ อย่างเป็นคฤหัสถ์ก็ปฏิบัติธรรมให้สมกับเป็น คฤหัสถ์ ไปทำอย่างพระไม่ได้ เพราะว่าบิณฑบาตไม่ได้ ไม่มีใครให้กินก็ต้อง ประกอบอาชีพบ้าง ปฏิบัติธรรมบ้าง จะไม่ประกอบอาชีพก็ไปขอใครไม่ได้ เขา รังเกียจ เขาไม่ให้ ต้องประกอบอาชีพมีรายได้ไปด้วย ปฏิบัติตามฐานะของ ตน เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามฐานะของตนแล้วอยู่ไม่ได้ อันนี้สำคัญ

นี่ ความหมายหนึ่งของการปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมของตน ว่าเราอยู่ในฐานะ อย่างไร อยู่ในภาวะอย่างไรให้เหมาะสมแก่ภาวะแก่ฐานะของตน

ความหมายที่ 2 ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยตามธรรมใหญ่

อัน นี้ต้องเทียบกับกฎหมาย กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายใหญ่ กฎหมายอื่นๆจะออก มากี่ร้อยกี่พันมาตรา จะต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จะต้องคล้อยตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ

ในพุทธศาสนามีหลักใหญ่ แล้วก็มีธรรมปลีกย่อย ที่จะต้องไม่ขัดกับหลักใหญ่ ตัวอย่างเช่น หลักกรรมที่เป็นหลักใหญ่หลัก หนึ่งของพระพุทธศาสนา ให้เชื่อกรรม การกระทำ ไม่เชื่อมงคลภายนอก บุคคล จะประสบความสำเร็จ ก็เพราะการกระทำ จะดีจะชั่วก็เพราะการกระทำ จะเป็นคน ประเสริฐ หรือคนด้อยคนเลวก็เพราะการกระทำ

นี่คือหลัก ใหญ่ เป็นหลักกรรม ถ้ามีอะไรที่ชาวพุทธเรานำมาปฏิบัติแล้วมันขัดกับหลัก ธรรม อันนี้ใช้ไม่ได้ เรียกว่าไม่คล้อยตามธรรมใหญ่ เช่น จะไปสอบเข้า อะไรสักอย่าง แล้วต้องไปรดน้ำมนต์เพื่อจะให้สอบเข้าได้ หรือว่าจะต้องแขวน พระเครื่ององค์นั้นองค์นี้เพื่อจะให้บันดาลให้สอบเข้าได้ หรือว่าต้องเอา ปากกาไปให้เขาเสกเสียก่อน อย่างนี้มันขัดกับหลักกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธที่ เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ ทำไม่ได้หรือไม่ทำ

นี่เป็นความ หมายที่ 2 ของ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน หรือธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปฏิบัติธรรม ให้สมควรคือ ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยตามธรรมใหญ่

ถ้าจะทำ ก็ทำไปเถอะ สมมุติว่าใจมันยังอยากจะทำอยู่ก็ทำไป แต่ว่าอย่าอ้างเอาศาสนา พุทธ บางคนชอบอ้างว่าเป็นพุทธทั้งที่ก็ต้องดูฤกษ์ยามเสียหน่อย จะย้ายที่ ทำงาน ย้ายห้องหรือเลื่อนย้ายโต๊ะไปอีกทิศหนึ่ง ก็ต้องไปดูฤกษ์ยามเสีย หน่อยเป็นพุทธทั้งที อันนี้ไม่ใช่ อ้างผิด ถ้าพระพุทธเจ้าท่านทราบ ท่าน จะตรัสว่านี่กล่าวตู่เราด้วยธรรมไม่จริง เราไม่เคยสอนอย่างนั้น

นี่ คือปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยตามธรรมใหญ่ คือว่าไม่ให้ขัดกับหลักใหญ่ของพุทธ ศาสนา ถ้าเป็นชาวพุทธที่อยากจะดำเนินตามทางของชาวพุทธ

นี่ พูดถึงปัญญาวุฒิธรรม ที่จะเอื้ออำนวยให้มีปัญญาเจริญขึ้น หรือว่าเจริญ ด้วยปัญญา ก็ยังมีนัยอื่นๆอีก แต่คิดว่าเพียงพอแค่นี้ นอกจากนั้นก็หมั่น สดับตรับฟัง หมั่นคิด หมั่นไตร่ตรอง หมั่นอบรมกุศล



Create Date : 21 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2554 10:19:50 น.
Counter : 1258 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]