จิบชาชมดอกไม้ไปพลาง คุยกันเบาๆ ที่สวน..เจ้าแก้ว กังไส





Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ทุกข์ได้แต่อย่าท้อ By ปริญญา ต้นสกุล


ทุกข์ได้แต่อย่าท้อ
By ปริญญา ต้นสกุล




วันนี้เจ้าแก้วมาแนวปรัชญาธรรมะค่ะ (นับเป็นเรื่องแปลกแห่งปี)
ความจริงก็อ่านหนังสือแนวปรัชญาธรรมะอยู่หลายเล่มเหมือนกันค่ะ
บางทีอ่านด้วยความอยากรู้อยากเห็น เลยอ่านมันทั้งพุทธ คริสต์
อิสลาม เพื่อที่จะเข้าใจ เพราะอย่างที่หนึ่งที่ไม่เชื่อคือ พระเจ้า
ของศาสนาไหนก็คงไม่สนับสนุนให้มนุษย์ฆ่ากันเองเพื่อพระเจ้า
หรอกค่ะ


สำหรับ “ทุกข์ได้แต่อย่าท้อ” หนังสือเล่มนี้เขาโปรยไว้ว่า
เหมาะกับการเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างมีความสุข เพราะรู้
และเข้าใจค่ะ ไม่เชิงเป็นหนังสือเกี่ยวกับศาสนาเสียทีเดียว
แต่มีเนื้อหาในทางปรัชญาและการดำรงชีวิต เกี่ยวกับทาง
ด้านพัฒนาจิตใจ และพฤติกรรม เป็นหลักค่ะขอยกตัวอย่าง
เช่น บทชื่อ อย่าสร้างทุกข์ให้ผู้อื่น ว่าด้วยพฤติกรรมมนุษย์
ซึ่งมักจะสร้างข้อแม้ในการดำรงชีวิตให้ตนเองทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
จึงควรเรียนรู้ที่จะไม่ สร้างเงื่อนไขที่เป็นด้านลบต่อผู้ใด การมองโลก
ในแง่ร้ายก็เป็นหนึ่งการสร้างเงื่อนไขในความทุกข์ให้แก่ตนเอง
และคนรอบตัว ทั้งที่บางครั้งมันเป็นความคิดที่เหลวไหลของเรา
คนเดียว แต่นำไปสร้างภาพให้บุคคลนั้นๆ ใจเรา ผลก็คือเรา
มีความหวาดระแวงในการคบหา ซึ่งได้มีเหตุผลที่แท้จริงแต่เป็น
การสร้างรูปความคิดทางอารมณ์ล้วนๆ ก็ทำให้เกิดความทุกข์
ทั้งสองฝ่าย


เมื่อเรามองใครไม่ดีเราก็จะปฏิบัติกับเขาไม่ดี คนที่รับสารนั้น
ก็รู้สึกไม่ดีจึงปฏิบัติไม่ดีกลับ ทำให้ผู้ส่งสารเข้าใจประหนึ่งว่า...
นั่นไงฉันว่าแล้วมันไม่น่าคบ มันไม่ดี ทั้งที่ตนเองเป็นคนเริ่ม
สร้างกำแพง และกระจายพฤติกรรมทางลบส่งไปก่อน
โดยไม่รู้ตัว เมื่อเราคิดแง่ลบความคิดมันส่งสารออกไปผ่านร่างกาย
ทั้งแววตา ท่าทาง และคำพูด ซึ่งทำให้ผู้รับสารพลอยรู้สึกไม่ดี
หรือถูกเขม่นไปโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อมากเข้าทางผู้รับสารก็จะ
สะท้อนพฤติกรรมดังกล่าวกลับมา ในทำนองว่าก็ในเมื่อ
เธอไม่ชอบฉันนี่ ฉันก็ไม่จำเป็นต้องชอบเธอเช่นกัน เหล่านี้
หากมองแล้วต้องย้อนดูที่ตนเองก่อน เพราะมนุษย์เรามักจะ
มองข้ามด้านลบของตัวเองเสมอ


หนังสือเล่มจึงแนะนำให้เรางดการสร้างเงื่อนไข และเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่จะสร้างความทุกข์ให้แก่ตนเองและคนรอบข้างค่ะ
อันนี้ในแง่จิตวิทยานะคะ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของจิตแม้จะ
ไม่ได้ระบุลงไปว่าเป็นความเชื่อของศาสนาใด แต่อ่านแล้ว
สรุปว่าในเชิงศาสนาพุทธก็แล้วกันค่ะ เพราะการเวียนว่ายตายเกิด
ผู้เขียนเชื่อว่าในจักรวาลนี้มีจิตจำนวนมากมายวนเวียนกันมา
เกิดในสังขารใหม่ และมีความมุ่งหมายจะเป็นคนดี มีพฤติกรรมที่ดี
แต่เมื่อเกิดเป็นคนใหม่ เพื่อขับเคลื่อนชีวิตใหม่ในรูปแบบที่ผ่าน
สังขารมาเป็น “เครื่องยนต์แห่งกรรม” อาจจะลืมความ
ตั้งใจเดิม ความสัมพันธ์กับจิตวิญญาณเดิมและความต้องการ
ของปัจจุบันจึงเกิดความไม่สมดุลกัน เป็นการกระตุ้นให้เกิดกรรมดี
และกรรมเลว ซึ่งบางครั้งความต้องการทั้งสองนี้ก็สวนทางกันเองค่ะ
ทำให้เกิดทุกข์อย่างหนึ่งเพราะเราไม่เข้าตัวเอง สันติสุขจะไม่บังเกิด
กับตัว ความไม่รู้ไม่ใช่เรื่องผิดเมื่อไม่รู้จึงต้องเลือกทางสายกลาง
ไว้ก่อน


เส้นมัชฌิม ก็คือเส้นตรงกลาง ระหว่างการสร้างสุขให้กับการสังขาร
และการสร้างสุขให้กับจิตวิญญาณของตัวเราเอง นั่นคือสิ่งสำคัญ
ที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขกับตนเองและคนรอบข้าง


ยังมีอีกหลายหัวข้อในเล่มนี้ที่น่าสนใจนะคะ เล่มนี้มีคนแนะนำ
ให้อ่านค่ะ พออ่านแล้วก็พบว่าน่าสนใจค่ะ ไม่ใช่เรื่องแนวธรรมะ
หรือศาสนาจ๋าจนเกินไป ศาสนาตอบได้โดยวิทยาศาสตร์ไม่ใช่
เรื่องงมงาย เพราะจิตวิญญาณสะท้อนความต้องการออกด้วย
พฤติกรรม จึงเป็นตรรกะทางพฤติกรรมศาสตร์ได้เช่นกันค่ะ






Create Date : 20 กรกฎาคม 2552
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 11:35:01 น. 0 comments
Counter : 916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แก้วกังไส
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 54 คน [?]







ผลงานเขียนที่ผ่านมาค่ะ

รักนี้(แค้น)ต้องชำระ


Amethyst Sonata
เพลงรัก..ลิขิตหัวใจ



บาปปาริชาต

Friends' blogs
[Add แก้วกังไส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.