เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
รู้ป้องกัน รู้เท่าทันทาลัสซีเมีย

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 142



รู้ป้องกัน รู้เท่าทันทาลัสซีเมีย



ทาลัสซีเมีย มรดกจากพ่อแม่


สาเหตุของโรคนี้มาจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างเฮโมโกลบินซึ่งเป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง และยีนจะอยู่บนโครโมโซม
โดย
ปรกติคนเรามีโครโมโซม 23 คู่
ถ้าพ่อหรือแม่มีความผิดปกติก็จะมีโอกาสถ่ายทอดให้ลูกได้
ซึ่งถ้าได้รับมาจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เราเรียกว่าเป็น "พาหะ"
ของโรค ลักษณะอาการจะเหมือนคนปกติ ไม่มีอาการซีด ตับม้ามไม่โต
แต่ถ้ารับมาจากทั้งสองคน
และเป็นแบบที่เสริมความรุนแรงซึ่งกันและกันก็จะเป็นโรคทาลัสซีเมีย
ซึ่งมีอาการซีด ตับม้ามโต อาจจำเป็นต้องให้เลือดเป็นระยะๆ
บางชนิดทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์


ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหรือพาหะ



  1. มีอาการตัวซีด อาจตรวจพบตับม้ามโตร่วมด้วย

  2. ตัวซีดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการป่วยไข้อย่างรุนแรง

  3. มีประวัติคนในครอบครัวตัวซีด ตับม้ามโต

  4. เคยมีบุตรเป็นพาหะ หรือเป็นโรคทาลัสซีเมีย

  5. เคยมีบุตรเสียชีวิตในครรภ์เนื่องจากภาวะทารกบวมน้ำ

  6. ตรวจพบขนาดเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ

  7. ตรวจเลือด Osmotic fragility test (OF) และ Dichlorophenolindolphenol precipitation test (DCIP) ให้ผลบวก


สังเกตอาการทาลัสซีเมีย


มีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า
ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ นอกจากนั้นหน้าตาจะมีลักษณะเฉพาะคือ
จมูกแบน หน้าผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้าง ฟันยื่น
ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าคนปรกติ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามองโกลอยด์
หรือ หน้าทาลัสซีเมีย


โรคนี้ป้องกันได้



  1. เราสามารถสอบถามประวัติของพ่อและแม่ และญาติพี่น้อง

  2. ไปตรวจเลือด โดยเฉพาะคู่สมรสที่วางแผนจะมีลูก


การรักษา


ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการให้เลือด
และยาขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายเป็นระยะๆ
หรือผ่าตัดม้ามออกเพื่อลดการทำลายเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มีอาการซีดไม่มาก
จะรักษาตามอาการ


สำหรับการรักษาด้วยการตัดต่อยีนนั้น ขณะนี้ทำได้แล้วในสัตว์ทดลอง
จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะสามารถรักษาผู้ป่วยทาลัสซีเมียให้หายขาดได้ด้วยการ
ใช้ยีน


ชีวิตยืนยาวด้วยการปฏิบัติตัว



  1. รับประทานผักสด หรือนมถั่วเหลืองมากๆ

  2. ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก (ในความเป็นจริงแล้วช่วยได้น้อย)

  3. ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะฟันผุง่าย

  4. หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องออกแรงมากๆ

  5. ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้ และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์


ข้อแนะนำ



  1. ผู้ที่เป็นพาหะโรคทาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปรกติ
    ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาใดๆ
    ส่วนผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมียถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจมีชีวิตยืนยาว
    ได้เหมือนคนปรกติ

  2. พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมียควรคุมกำเนิด

  3. การตรวจเลือด เป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันโรคนี้ โดยเฉพาะคู่สมรสที่วางแผนจะมีลูก











Create Date : 04 กันยายน 2552
Last Update : 4 กันยายน 2552 11:21:44 น. 0 comments
Counter : 1028 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.