Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
30 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
แก้กรรมทำได้ที่บ้าน

 
ไม่ต้องไปนอนในโลง ไม่ต้องตระเวนไป 9 วัด 10 วัด...ฯลฯ
 
แก้กรรมทำได้ง่ายๆ ที่บ้านของเราเอง
 
มาดูว่าพระพุทธเจ้าของเราทรงตรัสไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของกรรม
 
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
 
ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปท (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
 
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
 
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
 
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.
 
อริยมรรค มีองค์ ๘
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็น
เครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? 
คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง 
 
องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำาริชอบ 
(สัมมาสังกัปปะ) วาจาชอบ  (สัมมาวาจา) การงานชอบ 
(สัมมากัมมันตะ) อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ 
(สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ 
(สัมมาสมาธิ).
 
ภิกษุทั้งหลาย !  ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? 
ภิกษุทั้งหลาย !  ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, 
นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำาริในการออกจากกาม ความดำาริในการไม่พยาบาท ความดำาริในการไม่เบียดเบียน, 
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ
 
ภิกษุทั้งหลาย !  วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !  การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  การงานชอบ เป็นอย่างไร ? 
ภิกษุทั้งหลาย !  การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
นี้เราเรียกว่าการงานชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? 
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สาเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,
นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? 
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด; 
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; 
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; 
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,  
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, 
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? 
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำางับลง,เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,  นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ.
 
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า  อริยสัจ คือ
หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
 
มหา. ที. ๑๐/๓๔๓-๓๔๕/๒๙๙.
 
 

ท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.watnapp.com/

 
Tags : แก้กรรม, วิธีล้างกรรม, การแก้กรรมจากพระโอษฐ์
Copyright © 2012  https://www.baansuansabuy.com/
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องบ้าน กับ บ้าน สวน สบาย ส่งปัญหาของท่านฝได้ที่ https://www.baansuansabuy.com/, baansuansabuy@gmail.com

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับบ้านอื่นๆ ได้ที่ https://www.baansuansabuy.com/
 
 



Create Date : 30 เมษายน 2555
Last Update : 5 กรกฎาคม 2562 10:20:41 น. 4 comments
Counter : 2158 Pageviews.

 
ขอบคุณมากนะคะ...กรรม คือ การกระทำ...แก้ที่ตัวเองค่ะ....


โดย: auau_py วันที่: 30 เมษายน 2555 เวลา:19:30:17 น.  

 
:))


โดย: artnewsoul วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:19:57:11 น.  

 
เป็นเรื่องที่ดีและไม่ต้องคิดไปมากคับ


โดย: ชัชวาล ชนะอักษร IP: 118.174.31.82 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:9:35:37 น.  

 
ทำดี


โดย: ภัทรพงศ์ ดอนแก้ว IP: 118.174.31.82 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:9:37:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

บ้าน สวน สบาย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องบ้าน กับ บ้านสวนสบาย
ส่งปัญหาของท่านได้ที่
https://www.baansuansabuy.com/
baansuansabuy@gmail.com

"อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"
พุทธวจน
Friends' blogs
[Add บ้าน สวน สบาย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.