กุมภาพันธ์ 2559

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
22
23
25
26
29
 
 
All Blog
เท่าดวงอาทิตย์ - ประภาส ชลศรานนท์



เท่าดวงอาทิตย์


ผู้เขียน ประภาส ชลศรานนท์
จำนวน 242 หน้า
สำนักพิมพ์ เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 มกราคม 2549 (พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2548)
ราคา 195 บาท


เท่าดวงอาทิตย์เป็นหนังสือรวมบทความจากคอลัมน์ "คุยกับประภาส" จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันอาทิตย์ ถือเป็นรวมเล่มคุยกับประภาสลำดับที่ 7 ซึ่งรวบรวมบทความในช่วงปลายปี 2547 ถึงกลางปี 2548


บทความ "คุยกับประภาส" นั้นจะเป็นการพูดคุย ถามตอบ เล่าเรื่อง เหมือนกับผู้อ่านกำลังคุยกับคุณประภาสอยู่ตามชื่อคอลัมน์นั่นเอง บางครั้งคุณประภาสก็เป็นฝ่ายชวนคุย ตั้งคำถาม ชวนเราคิด บางครั้งผู้อ่านก็ส่งคำถามเข้าไปถามความเห็น มีทั้งที่เป็นจดหมาย อีเมล์ หรือตั้งคำถามเมื่อเจอตัว บางทีคุณประภาสก็เล่านิทานสนุกๆ ให้ฟัง บางครั้งก็มีเพียงรูปการ์ตูนที่ไม่มีตัวหนังสือสักตัว บางหนก็เป็นบทกวีรำพัน ความน่าสนใจของบทความของคุณประภาสอยู่ที่วิธีคิด วิธีมองโลก ที่หลายคนนิยามว่าเป็นการมองโลกในเชิงบวก และสร้างสรรค์ คุณประภาสมีวิธีคิดและมุมมองที่น่าสนใจ ใช้วิธีการพูดคุยที่เป็นกันเอง เข้าใจง่ายด้วยตัวอย่างที่เห็นภาพ มีทั้งที่เป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ เรื่องราวในตำนาน นิทานที่แต่งเอง หลักปรัชญา ดาราศาตร์ หลายครั้งที่ตอบคำถามด้วยคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มีทั้งที่ทำให้ทึ่ง ทำให้อึ้ง ทำให้อมยิ้ม หรือหัวเราะออกมาดังๆ


เรื่องที่คุยกันมีทั้งปัญหาชีวิต ปัญหาเรื่องงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาหัวใจ วิจารณ์หนัง คำถามเรื่องศาสนา ปัญหาของชาติ ฯลฯ ลองมาดูตัวอย่างคำถามบางส่วนที่พูดคุยกันในเล่มนี้ดูนะคะ


"ไม่ทราบว่าคุณประภาสจะเป็นเหมือนแม่ของดิฉันหรือไม่ คือไม่ว่าดิฉันจะเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่กลับบ้านดึก ไม่เคยทำให้แม่ต้องกังวลใจเกี่ยวกับความประพฤติ แม่บอกว่าไม่ให้มีแฟน ดิฉันก็ไม่มี (จนตอนนี้อายุก็ 20 กว่าแล้ว) คือดิฉันทำตามใจท่านทุกอย่าง แต่แม่ไม่เคยกล่าวชมดิฉันเลย เวลาผลสอบออกมาดีกว่าเทอมก่อนๆ ก็ไม่เคยชม แต่พอได้น้อยขึ้นมาก็บ่นอยู่หลายวันทีเดียว ดิฉันจึงอยากเรียนถามคุณประภาส ในฐานะที่คุณประภาสเองก็มีลูกเหมือนกัน คุณประภาสเคยชมลูกบ้างไหม หลายครั้งที่ดิฉันนึกน้อยใจว่า ทำไมหนอทำไม เราทำดีมาขนาดนี้แล้ว แม่ไม่เห็นแสดงอาการภูมิใจในตัวเราสักครั้งหนึ่งเลยค่ะ"


"ถามสั้นๆ ครับ ถ้าข้อสอบที่คุณอากำลังทำอยู่โจทย์ผิด คุณอาจะทำต่อมั้ย ส่วนผม เว้นข้อนั้นว่างไว้ ข้ออื่นๆ ผมทำได้หมด แต่คะแนนผมหายไปไม่เต็ม คุณอาว่ามันไม่ยุติธรรมมั้ยครับ ที่จริงข้อนี้น่าจะยกประโยชน์ให้นักเรียนโดยให้คะแนนนักเรียนไปทุกคน"



"...เลือกตั้งในกรุงเทพฯ ทุกครั้งก็มีอะไรเซอร์ไพรส์อยู่เสมอ คนชนะมักได้คะแนนถล่มทลาย หรือว่ามันเป็นเทรนด์ คนกรุงเทพฯ รับสื่อง่าย กระจายสื่อเร็วจะตาย ถ้าจะมีอะไรพลิกผันในอาทิตย์สุดท้ายได้ ก็มักเกิดที่กรุงเทพฯ ... คุยเรื่องเลือกตั้งบ้างสิครับพี่"



"ตอนเด็กๆ สมัยเรียนหนังสือแล้วครูเล่าประวัติพระพุทธเจ้าให้ฟัง ผมเคยสงสัยว่า คนที่ทิ้งลูกเมียตัวเองเพื่อไปหาทางหลุดพ้นทุกข์ส่วนตัวนั้น เราจะนับเป็นคนดีได้ด้วยหรือ ..."


"พี่ประภาสครับ ความจริงคืออะไรครับ"



"เวลามีใครถามผมว่า ทำงานไปเพื่ออะไร ผมก็ตอบทุกครั้งว่า ทำงานเพื่อเงิน พี่ว่าผิดไหม"



ท่านผู้อ่านรุ่นกระทงท่านหนึ่งตั้งคำถามสั้นๆ กับผม ก่อนที่จะรับหนังสือที่ผมเซ็นให้แล้วกลับไป "สิ่งใดคือปรีดาแห่งชีวิต" ใครจะเชื่อว่าอยู่ๆ จะมีคนมาพูดภาษากวีท่ามกลางความแออัดยัดเยียดของผู้คนนับหมื่นนับพันในศูนย์ประชุมฯ


"แปลกใจว่าศาสนาของคนตะวันตกเขาพูดถึงพระเจ้า พูดถึงการสร้างโลก สร้างมนุษย์ จนบางครั้งดิฉันก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อได้ ฟังดูแล้วเหมือนงมงาย แต่คนตะวันตกเขากลับไม่งมงายเท่าคนไทย ศาสนาพุทธของไทยเราสอนให้รู้จักเหตุและผล สอนให้รู้จักอนัตตา สอนแต่ปรัชญาชีวิต แต่ทำไมชาวพุทธในบ้านเรากลับงมงายกว่า ..."


"ทุกครั้งที่เห็นรูปผู้ชายคนที่เราทั้งรักทั้งเกลียดติดอยู่ในบ้านพี่สาว อยากเข้าไปดึงขว้างทิ้ง เป็นรูปหมู่ครอบครัวที่ถ่ายกันหลายคนใส่กรอบติดผนังอยู่ ถ้าไม่เกรงใจพี่สาวกับแม่ อยากทำลายมันทิ้งทุกครั้งที่เห็น เราควรทำยังไงดี เลิกไปบ้านพี่สาว หรือไปแต่อย่ามองรูป ยอบรับว่าไม่มีความสุข ทั้งๆ ที่พยายามลืม"


ทุกเรื่องที่คุณประภาสชวนคุยมีมุมมองที่น่าสนใจ ปัญหาที่คนอื่นๆ ถามไปก็ล้วนเป็นปัญหาที่เราอาจประสบ บางเรื่องเราก็ยังเดินวนหาทางออกไม่เจอ คำตอบของคนคนหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน แต่การได้ฟัง ได้ถาม ได้คุยก็ทำให้เราได้เปิดความคิดเปิดมุมมองในการใช้ชีวิตค่ะ อย่างหนึ่งที่รู้สึกจากการอ่าน "คุยกับประภาส" ก็คือการจะเป็นนักคิดนั้น เริ่มจากการเป็นนักอ่าน และเป็นผู้รับฟังจริงๆ



ที่มาของชื่อหนังสือ "เท่าดวงอาทิตย์" ก็คือ ความบังเอิญที่แสนอัศจรรย์ เพราะในความเป็นจริงที่ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึงหกสิบห้าล้านเท่า แต่เมื่อมองจากโลกเรากลับเป็นดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ขนาดเท่าๆ กัน การที่เราเห็นเช่นนี้ก็นำมาสู่ความเชื่อหลายๆ อย่างของคน รวมถึงความสำคัญที่เราให้กับสองสิ่งก็เท่าๆ กัน และที่เราเห็นเช่นนั้นก็เพราะโลกอยู่ในตำแหน่งที่อยู่ในตอนนี้ ถ้าโลกขยับออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เราอาจเห็นดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นความพอดีที่ทำให้ดวงจันทร์เท่าดวงอาทิตย์ โลกต้องอยู่ตำแหน่งนี้เท่านั้น "มันเรื่องบังเอิญเหมือนไม่บังเอิญอย่างไรไม่รู้"


หมายเหตุ  ความเห็นนี้บันทึกครั้งแรกเมื่อปี 2553
เพื่อร่วมเล่นเกมอ่านหนังสือในห้องสมุดพันทิป ตอบโจทย์ของ [Clear Ice – ปิยะรักษ์ - ทินา] อ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หรือมีชื่อเป็นชื่อดาวในระบบสุริยะ



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2559 17:50:16 น.
Counter : 1839 Pageviews.

2 comments
  
แวะมาอ่านรีวิว แปะใจให้ค่ะ
โดย: Prophet_Doll วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:11:51:36 น.
  
เริ่มอ่านงานของคุณประภาส จาก คุยกับประภาส และติดหนึบในสไตล์การเขียน+ไอเดียของผู้เขียน มาจนถึงเล่มนี้และเล่มต่อๆไปด้วยครับ
โดย: สามปอยหลวง วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:17:39:34 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยงวัน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]