มาสะสมทรัพย์(ที่ไม่ต้องกลัวใครแย่ง)แบบสบายๆ สไตล์อุษา
มาสะสมทรัพย์(ที่ไม่ต้องกลัวใครแย่ง)แบบสบายๆ สไตล์อุษา

ทรัพย์สมบัติทางโลกนั้น ถ้าเรามีมากก็มักจะกลัวว่าจะถูกลัก ถูกขโมย ถูกปล้น ถูกโกง ถูกฉ้อฉลเอาไป ถ้าเป็นเงิน ทองเพชรนิลจินดาก็ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเช่นตู้เซฟ หรือเอาไปฝากธนาคาร ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องจัดการให้ดี แต่มีทรัพย์อีกประเภทหนึ่งซึ่งคุณไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาแย่งจากคุณไปได้ ทรัพย์เช่นว่านี้มีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่างครับ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และเราจะสะสมได้อย่างไร




๑. ทรัพย์อย่างแรกนี้คือ ศรัทธา หรือความเชื่อ เป็นศรัทธา ความเชื่อที่เรามีต่อพระผู้มีพระพุทธเจ้าว่าพระองค์มีจริง ตรัสรู้แจ้งพระนิพพานจริง ศรัทธา ความเชื่อที่เรามีต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ว่านำเราไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริง ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ ไม่สักแต่ว่าศรัทธา หรือเชื่อเฉยๆ ความเชื่อที่เรามีต่อพระสงฆ์ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ และเป็นพยานว่าพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ดีจริง และประเสริฐจริง เชื่อว่ากรรมมีจริง ใครทำกรรมดีหรือกรรมชั่วไว้ก็จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น




๒. ทรัพย์อย่างที่สองคือศีล การควบคุมความประพฤติทั้งทางกาย และวาจาของเราให้อยู่แต่ในทางที่ดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนตนเองด้วย




๓. ทรัพย์อย่างที่สามคือหิริ ความละอายต่อบาปทั้งปวง ละอายต่อการประพฤติผิด ละอายต่อการทำกรรมชั่วทั้งทางกาย (กายทุจริต) ทางคำพูด(วาจาทุจริต) และทางใจหรือความคิด(มโนทุจริต)เช่นคิดเบียดเบียนเขา คิดทำร้ายเขา เป็นต้น




๔. ทรัพย์อย่างที่สี่คือโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป กลัวว่าทำชั่วแล้วจะได้รับผลของการกระทำนั้นๆไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม ไม่ช้าก็เร็ว ไม่โลกนี้ก็โลกหน้า ไม่มีใครรู้ก็ตัวเองนั่นแหละรู้และทุกข์ เสียยิ่งกว่าคนอื่นรู้เสียอีก กลัวว่ากรรมนั้นจะติดตามไปจนกว่าจะได้ชดใช้กรรมนั้นหมด




๕. ทรัพย์อย่างที่ห้าคือ พาหุสัจจะ ความรู้จากการศึกษา การได้ยินได้ฟัง เราเรียนรู้และได้ยินได้ฟังมามากจนจำได้ขึ้นใจ ว่าได้คล่องปาก เจนใจ(แม่นยำในใจ) พรรณนาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ได้




๖. ทรัพย์อย่างที่หกคือจาคะ การเสียสละ การให้ ที่ไม่ระบุผู้รับ เป็นการสลัดความตระหนี่ถี่เหนียว ความโลภ ความเห็นแก่ตัวออกไป เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันสิ่งที่เรามีให้กับผู้ที่ไม่มีหรือขัดสน




๗. ทรัพย์อย่างที่เจ็ดปัญญา คือความรู้ ความฉลาด ความเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ความรู้ในเรื่องบาป-บุญ คุณ-โทษ ดี-ชั่ว ทรัพย์ชนิดนี้เราสามารถทำให้เกิดมีได้ด้วย
การเรียน การศึกษา การฟัง (สุตมยปัญญา)
การคิด พิจารณาไตร่ตรองจากเหตุไปหาผล และหรือจากผลไปหาเหตุ
( จินตามยปัญญา)
และการภาวนา หรือการฝึกอบรมจิตใจ (ภาวนามยปัญญา)


ทรัพย์ทั้งเจ็ดอย่างนี้เป็นทรัพย์ที่เราสามารถสะสม พอกพูนในตัวเราได้แน่นอน และไม่มีใครสามารถมายื้อแย่งไปจากเราได้ พระท่านเรียกว่าเป็น “ทรัพย์ภายใน” เป็นทรัพย์ที่ติดตัวเราไปจนตาย แม้เราตายไปแล้วก็ยังเป็นคุณกับเราได้(ตายดี คนสรรเสริญ ไปอุบัติในภพภูมิที่ดี) พระท่านจึงสอนว่าให้ใช้ “ทรัพย์ภายนอก”หรือทรัพย์ทางโลกสร้าง “ทรัพย์ภายใน” เอาไว้เป็นทุนในชาติหน้าส่วนคนที่มีทรัพย์นี้อยู่แล้ว ก็สามารถทำให้ “ทรัพย์ภายนอก” งอกงามได้ด้วย

อย่างนี้ เราต้องรีบสะสมทรัพย์นี้กันแล้วละครับ





Create Date : 06 ตุลาคม 2553
Last Update : 6 ตุลาคม 2553 12:29:11 น.
Counter : 3188 Pageviews.

2 comments
  
"ความทุกข์คือความจริงอันประเสริฐ"

*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~



*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*


*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*
โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 8 ตุลาคม 2553 เวลา:10:10:10 น.
  
โดย: ก้องกิ่งแก้ว (18K ) วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:22:42:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุษา
Location :
แพร่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



ตุลาคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
26
28
29
30
31
 
 
All Blog