เผชิญหน้ากับความตายอย่างไรดี
เผชิญหน้ากับความตายอย่างไรดี

ถ้าพูดถึงความตายแล้ว คนไทยเห็นว่าเป็นเรื่องอัปมงคล จะไม่ค่อยพูดกัน เว้นว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ความตายเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกหนีไม่พ้น พระพุทธเจ้าจึงให้ระลึกถึงความตายเสมอๆ ในบทสวดมนต์หลายบทมีคำสวดที่ให้ระลึกถึงความตาย เช่น
บทพิจารณาสังขาร
ตอนหนึ่ง ที่ว่า
ฯลฯ
อะธุวัง ชีวิตัง, ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน,
ธุวัง มะระณัง, ความตายเป็นของยั่งยืน,
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, อันเราจะพึงตายเป็นแท้,
มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ,
ชีวิตัง เม อะนิยะตัง, ชีวิตของเรา เป็นของไม่เที่ยง,
มะระณัง เม นิยะตัง, ความตายของเรา เป็นของเที่ยง,
ฯลฯ
บทสวด อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ
ตอนที่ว่า
ฯลฯ
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต (ตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
ฯลฯ
บทสวด มรณสติกัมมัฎฐาน
ที่ว่า
อะธุวัง โข เม ชีวิตัง, ชีวิตนี้เป็นของไม่ยั่งยืน,
ธุวัง มะระณัง เอกังสิกัง, ความตายนั้นยั่งยืนโดยส่วนเดียว,
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, เราพึงตายเป็นแน่แท้,
ะระณะ ปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ,
มะระณะ ปะฏิพัทธัง เม ชีวิตัง, ชีวิตของเราเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วยความตาย,
มะระณะธัมโมมหิ, เรามีความตายเป็นธรรมดา,
มะระณัง อะนะตีโต, จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้,
มะระณัง ภะวิสสะติ, ความตายจักต้องมีโดยแท้,
ชีวิตินทฺริยัง อุปัจฉิชชิสสะติ, อินทรีย์คือชีวิตจะเข้าไปตัด,
มะระณัง มะระณัง, ความตาย ความตาย,
เอกังสิกัง. เป็นไปโดยส่วนเดียวแน่แท้แล.


เราเผชิญกับความตายในสองสถานะ คือ

  • หนึ่งเป็นคนที่กำลังจะตายเอง กรณีความตายจากการเจ็บป่วย จากความชรา ไม่ใช่การตายแบบผิดปกติ เช่นอุบัติเหตุ ฯลฯ
    และ

  • สองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับคนที่กำลังจะตาย เช่น เป็นพ่อแม่ สามีภรรยา บุตรธิดา ญาติพี่น้อง หรือมิตรสหาย
คนส่วนใหญ่มักกลัวความตาย หรือไม่อยากตายด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเป็นคนที่ปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ พิจารณาความตายว่าเป็นที่สุดของชีวิตอยู่เป็นประจำ จะกลัวน้อยลงหรือไม่กลัวเลย ถ้าไม่เคยคิดถึงความตายมาก่อน เพราะไม่อยากคิด ไม่อยากพูดถึง เห็นว่าเป็นเรื่องอัปมงคลแล้ว เมื่อถึงเวลาก็ทำใจไม่ได้ รับไม่ได้ ไม่ยอมรับความจริง เหมือนคนขับรถถ้าขับอยู่ทุกวันก็ไม่กลัวว่าจะมีอุบัติเหตุ เพราะเกิดความเคยชิน แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เคยขับมาก่อน หรือเพิ่งหัดขับ ไม่มีความคุ้นเคยมักกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น



ดังนั้นถ้าเป็นคนที่กำลังจะตาย ก็ต้องยอมรับความจริงแท้นี้ ต้องยอมรับความพลัดพราก จากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง ไม่ห่วงหน้าพวงหลัง ถ้าให้จิตสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตอยู่กับบุญกุศลคุณงามความดีแล้ว สุคติจะเป็นแดนเกิด และถ้าก่อนดับจิต มีความเห็นแจ้งว่าความตายเป็นสัจจธรรม ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างลงเสียได้ ยิ่งเป็นความตายที่ประเสริฐที่สุด โบราณาจารย์จึงให้ผู้ใกล้ตายภาวนาคำว่า“พุทโธ”บ้าง “สัมมาอรหัง” บ้าง หรือให้มีพระมาสวดมนต์ มารับสังฆทาน ปัจจุบันมีการเปิดเสียงสวดมนต์ เสียงบรรยายธรรม ให้ฟัง เป็นต้น แต่วิธีรับมือกับความตายที่ดีนั้น ก็คือการพิจารณาความตายอยู่เสมอๆ ทุกๆวัน ทุกๆเวลา( ถ้าทำได้) สร้างความเคยชิน เสียตั้งแต่ก่อนตาย บางคนอาจเรียกว่าซ้อมตายไว้ก่อน ก็ได้



ถ้าเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับคนที่กำลังจะตาย ก็ต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับความตายเช่นกัน เมื่อมีการตายเกิดขึ้น จะได้ไม่เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน เสียใจจนเกินไป ขาดสติ ยิ่งไปเศร้าโศก ร่ำไห้ ให้คนที่กำลังจะจากไปเห็นด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้จิตของผู้ใกล้ตายไม่สงบ แทนที่จะตายไปเกิดในสุคติ จะไปทุคติภพแทน ดังนั้นต้องใช้วิธีเผชิญความตายอย่างเดียวกัน คือพิจารณาให้มากๆ



ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระภิกษุซึ่งประชุมกันอยู่ ๗ รูป ให้ระลึกถึงความตายทุกขณะจิต ไม่ประมาทกับมัน ผมคิดว่าเราน่าจะได้นำมาพิจารณาโดยทั่วถึงกัน ดังนี้ (จากเว็บ//guru.google.co.th/guru/thread?tid=4b46593c3b73e838 เรื่อง กระตุ้นปัญญาด้วยการคิดถึงความตาย โดย สติง)



คราว หนึ่ง...พระผู้มีพระภาคได้สนทนากับภิกษุหลายรูป ในเรื่องเกี่ยวกับความตาย ได้ตรัสถามพระเหล่านั้นว่า...เธอทั้งหลาย ได้เจริญมรณสติอยู่หรือเปล่า
ภิกษุ ก็กราบทูลว่า...ได้เจริญอยู่ พระเจ้าข้า
ตรัสถามต่อไปว่า...เจริญอย่าง ไร?
รูปหนึ่งกราบทูลว่า...ชีวิตไม่นานหนอ จะแตกดับภายในวันหนึ่งคืนหนึ่งโดยแท้
รูปหนึ่งทูลว่า...ได้คิดว่าชีวิต จักแตกดับภายในวันหรือคืน
อีกรูปหนึ่งทูลว่า...คิดว่าจะอยู่ได้ไม่เกิน เที่ยงวัน
อีกรูปหนึ่งทูลว่า...ชีวิตนี้จักดำรงอยู่ไม่เกินสามชั่วโมง
อีก รูปหนึ่งทูลว่า...อยู่ไม่เกินชั่วโมง
อีกรูปหนึ่งทูลว่า...ชีวิตนี้น้อยคงอยู่ได้ไม่เกินขณะลมหายใจเข้าออก เท่านั้น
ทรงติทุกรูปว่า ยังประมาทในความตาย ยังคิดว่าตนจักอยู่ได้นานถึงขนาดนั้น ทรงชมเชยรูปที่กล่าวว่าชีวิตนี้มีอยู่ชั่วลมหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หาอยู่นานไปกว่านั้นไม่ นั่นแหละถือว่าเป็นการเจริญในความคิดเกี่ยวกับความตายโดยแท้ นี้เป็นบทเรียนอย่างยิ่งสำหรับชีวิตเกี่ยวกับความตาย
การคิดถึงความ ตายมิใช่เรื่องของความผิด แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง เป็นเรื่องกระตุ้นเตือนให้เกิดปัญญา เกิดความก้าวหน้าในการประกอบกิจการงาน เพราะเมื่อรู้ว่าอายุเราเป็นของน้อย อาจจะแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้ ก็ควรที่จะได้รีบเร่งประกอบคุณงามความดีต่อไปตามโอกาส

ขอให้เจริญในธรรมกันทุกทั่วหน้านะครับ



Create Date : 06 กันยายน 2553
Last Update : 8 กันยายน 2553 11:29:52 น.
Counter : 8361 Pageviews.

3 comments
  
แวะมาทักทายค่ะ มีความสุขมากๆ นะคะ

Elbereth

โดย: Elbereth วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:15:13:09 น.
  
สาธุ...
โดย: LoveTurJang วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:11:42:19 น.
  
ขอบคุณครับ สำหรับสิ่งดีๆ
โดย: หัวใจสะพายเป้ IP: 124.120.101.237 วันที่: 19 ธันวาคม 2554 เวลา:20:02:57 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุษา
Location :
แพร่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



กันยายน 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
10
11
13
15
16
17
18
20
21
22
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog