<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
19 มิถุนายน 2555

เขียนจดหมายถึงเขาหรือเธอ

โจทย์ตะพาบคราวนี้เป็นของคุณพู่ หัวข้อ คือ เขียนจดหมายถึงเขาหรือเธอ

โอ๋หลานรัก ป่านนี้หลานคงโตเป็นสาวแล้ว อากงคงไม่มีโอกาสได้เห็นหลานในตอนโต และหลานเองก็คงไม่รู้ว่า ชีวิตของอากงในยามนี้เป็นเช่นไร

อากงขอฝากจดหมายฉบับนี้ไว้ให้หลาน เป็นที่ระลึกแห่งความผูกพัน และเป็นความทรงจำของอากงในยามนี้

อากงจากเมืองจีนมา ตอนอายุ 19 ปี ในสมัยนี้การเดินทางข้ามทะเล ออกจากแผ่นดินทำได้เพียงล่องเรือเท่านั้น อากงคงไม่จากเมืองจีนมาเป็นแน่ ถ้าผืนแผ่นดินเมืองจีนอุดมสมบูรณ์ หลานคงนึกไม่ออกหรอกว่า เมืองจีนแห้งแล้งเพียงใด ก็เพียงแค่ขนาดหญ้าซักต้นยังไม่งอกเงยออกมาจากผืนดินเลย แหล่งน้ำแห้งขอด ครอบครัวของอากงก็ยากจนเหลือเกิน ขนาดทำนาก็ยังไม่มีวัวไว้ไถนา อากงต้องไถนาแทนวัว เมื่อทนความยากจนไม่ไหว ก็ต้องหาทางดิ้นรนออกไปไกลถึงต่างแดน แต่ก็ใช่ว่าไปอย่างคนหลงทิศทาง เพราะมีพี่ชายที่ล่วงหน้ามาก่อนแล้ว พี่ชายอากงพำนักอยู่ที่เมืองไทย เป็นเสมียน

หลังจากซ่อนตัวอยู่ใต้ท้องเรือแรมเดือน ทันทีที่เห็นผืนแผ่นดินไทย รู้สึกชีวิตมีความหวังยิ่งนัก เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เขียวชอุ่ม และมีหญ้าขึ้นไปทั่ว แสดงว่าที่นี่ดินดี อุดมสมบูรณ์ อากงคิดว่าอยู่ที่นี่ขอแค่ขยันก็คงไม่อดตายเป็นแน่แท้

ที่ตั้งใจจะทำเกษตร แต่กลับกลายเป็นกรรมกรแบกหาม เพราะเมืองไทยกำลังขุดคลอง เพื่อทำเป็นคลองประปา ที่ได้งานนี้ก็เนื่องจากพี่ชายอากงได้เป็นหัวหน้าคนงาน คุมงานขุดคลอง ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากงลำบากมาก มีพี่ชายก็เหมือนไม่มี พี่ชายแต่งตัวสำอางค์นั่งรถลากไปคุมงาน ปล่อยให้น้องชายเดินขาลากขาพองไปทำงานไม่ยอมให้นั่งรถลากไปด้วยกันไม่พอ น้องชายขอเบิกเงินล่วงหน้า 1 สตางค์เพื่อซื้อยาทาแผลพุพองก็ไม่ยอม อากงคงจำเรื่องนี้ไปจนตาย

หลังจากทำงานไปซักพัก อากงก็ผันตัวเองเป็นคนค้าขาย โดยพายเรือไปขายของตามพื้นที่ ที่มีคนจีนมาอาศัยอยู่ ระหว่างนี้อากงได้พบรักกับอาม่า ซึ่งเป็นลูกสาวเจ้านาย การค้าขายทำให้อากงมีเงินเก็บมากขึ้น จนสามารถสร้างโรงงานเล็ก ๆ ขึ้นมาได้ แต่จากที่เคยคิดว่าที่ตรง ถ.สามเสน ก็เพียงพอแก่การทำงาน สุดท้ายก็หมดสัญญา ต้องหาที่กันใหม่ออกจะไกลซักหน่อย ที่นี่มีไฟฟ้าใช้แล้ว ส่วนน้ำ เราต้องจ้างคนหาบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาใช้ รอบ ๆ ที่ดินของเราเป็นทุ่งนากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ใคร ๆ ก็เรียกที่นี่ว่าเมืองนนท์ อากงใช้เงินไป 50,000 บาทได้ที่ดินมาสองไร่ครึ่ง

เงินเก็บที่มีเริ่มไม่พอที่จะหมุนเวียนซะแล้ว ยังดีที่ยังมีเพื่อนที่เป็นมิตรแท้ ตั้งวงเล่นแชร์กัน อีกทั้งมีเพื่อนคู่ค้ายอมให้ใช้เงินเชื่อได้ร่วมปีถึงจะคิดบัญชีล้างหนี้กัน เราผ่านช่วงชีวิตกันมาแบบลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่ก็อยู่ได้มีเงินให้จับจ่ายใช้สอย

ตอนนี้อากงอายุ 60 ปีแล้ว ธุรกิจไปได้ด้วยดี เริ่มเข้าที่เข้าทาง บ้านเราก็อยู่ดีมีสุข มีไฟฟ้าใช้ ส่วนน้ำเราไม่ต้องจ้างคนไปหาบมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เพราะเราจ้างคนมาขุดบ่อบาดาล รอบ ๆ บ้านเริ่มไม่มีทุ่งนาให้เห็นซะแล้ว มีแต่โรงงาน และชุมชน ถนนจากที่เคยเป็นกรวดตอนนี้ก็เป็นซีเมนต์ ต้นก้ามปูใหญ่ตลอดสองข้างทาง ก็ถูกโค่นทิ้งหมดแล้ว เราเดินทางไปไหนมาไหนด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถแท็กซี่ แต่รถรางเลิกใช้หมด

และตอนนี้อากงก็ได้รู้ตัวแล้วว่า ตัวเองป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย ไม่รู้ว่าจะมีเวลาอยู่บนโลกนี้อีกนานเท่าไหร่ ขอให้หลานเป็นเด็กดี

คิดถึงหลาน

อากง

พ.ค.2524

-------------------------------------------------------------------------------------

ทีแรกชั้นว่า จะเขียนจดหมายถึงหลานสาวตัวเอง เพื่อเล่าเรื่อง iPhone ,iPad ,รถไฟฟ้าบางใหญ่ - บางซื่อ เครื่องบินคองคอร์ด เศรษฐกิจ Modern Trade พิษเศรษฐกิจแบบแฮมเบอร์เกอร์ ต้มยำกุ้ง และกรีซเน่าแน่ อ้อ เรื่องการเมืองเล่นกีฬา สีด้วยซิเนอะ ตบท้ายด้วยราคาทองทะลุจอ จริง ๆ ยังมีอีกหลายเรื่องเลยนะเนี่ย

ปล1.พ่อเล่าว่า สมัยนั้น พ่อไปส่งอากงที่สนามบินดอนเมือง ส่งถึงบันไดเครื่องบินกันเลยทีเดียว ไม่มีการกั้นเป็นสัดส่วนอะไรทั้งนั้น เป็นพื้นที่โล่ง ๆ ตัวเครื่องบินเป็นแบบใบพัด ยังไม่เป็นไอพ่น เสียดายแท้ที่สมัยนั้นยังไม่นิยมการถ่ายรูป

ปล.2 เรื่องข้างบนเป็นเรื่องเล่าจากพ่อของชั้น ข้ามไปหลายช็อต เพราะเกรงว่าจะยาว แล้วเพื่อน ๆ จะขี้เกียจอ่าน ^^




Create Date : 19 มิถุนายน 2555
Last Update : 19 มิถุนายน 2555 19:28:56 น. 14 comments
Counter : 1668 Pageviews.  

 
แอบมาอ่าน


โดย: panwat วันที่: 19 มิถุนายน 2555 เวลา:21:58:12 น.  

 
ได้ฟังเรื่องเล่าเก่าๆจากคนแก่ๆก็ดัเหมือนกันครับ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์จากคนที่ไ่ด้เห็นมันมาจริงๆและไม่โกหกเรา
คนเฒ่าคนแก่ยากลำบากจนเรามีทุกวันนี้ได้ ต้องขอขอบคุณบรรพบุรุษครับ สมัยนั้นคนจีนเข้ามาในเมืองไทยเยอะ อากงคุณโอ๋น่าจะรุ่นเดียวกันคุณปู่คุณย่าผม จากจีนเข้ามาไทยช่วงใกล้ๆกัน สมัยนั้นเมืองไทยอุดมสมบูรณ์เป็นสวรรค์ในสายตาชาวจีนเลย
1 สตางค์สมัยนั้นคงมีค่ามากมาย ผมมีเหรียญสตางค์เก่าๆเก็บไว้เหมือนกัน ก่อนนั้นมีอัฐ เฟื้อง ฯลฯ ด้วย

เขียนเรื่องของอากงเนี่ยดีแล้วครับ เขียนถึงหลานยังมีเวลาอีกเยอะน่ะป้าเอ้ย


โดย: ชีริว วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:4:55:19 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่โอ๋

ผมชอบคำนึงในสุภาษิตจีนที่เขาบอกว่า

"ทุกบ้านมีคัมภีร์เล่มนึง ที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ"

ผมคงเป็นคัมภีร์เล่มนั้นด้วยครับ 555

คำนี้เปรียบได้ว่าทุกบ้านมีประวัติศาสตร์และความลับในครอบครัว
ที่เป็นเรื่องเล่าหรือตำนานที่คนนอกยากจะเข้าใจ

คนสมัยก่อนกว่าจะสร้างตัวได้
ลำบากจริงๆนะครับ











โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:6:02:57 น.  

 
ไม่อยากบอกเลยครับ
ว่าผมนี่ล่ะครับต้นแบบนิสัยการกินที่เรื่องมากที่สุดในบ้านครับ 555

ดีที่หมิงหมิงเหมือนมาดามอยุ่ย้าง
เลยกินปลา กินอะไรได้หลากหลายครับ 555


เรื่องตามใจในการซื้อของเล่ม
ก็เป้นผมนี่ล่ะครับ
ซื้อจนมาดามค้อนเลย 5555



ผมเรียนจบถาปัด
แต่มาขายเครื่องหนัง
จะว่าตรงมันก็ไม่ตรงแน่ๆครับ 555

แต่ถ้าจะคิดให้มันตรง
ถาปัดก็สอนให้คิด
คิดอย่างมีระบบ คิดอย่างสร้างสรรค์

ถ้ามองแบบนี้
ไปทำบันเทิง หรือมาเขียนหนังสือก็ไม่แปลกเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:12:46:28 น.  

 
ผมชอบเรื่องราวคนจีนโพ้นทะเลครับ ดูแล้วได้แรงบันดาลใจดีมั่กๆ


โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:14:15:46 น.  

 

อ่านแล้วเห็นภาพตามเลยค่ะคุณโอ๋


ไม่ขี้เกียจอ่านค่ะ เรียบเรียงดีๆ อ่านแล้วเพลินค่ะ




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:16:37:35 น.  

 
คนสมัยก่อนผ่านความลำบากมามาก ลูกหลานถึงได้สบาย อ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่าโลกเรามันพัฒนาไปไวมาก ค่าของเงินก็เปลี่ยนไปมาก ไม่แน่อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้าวอาจจะชามละ 100.- บาท ก็ได้ ใครจะไปรู้

คนจีนสมัยนั้นหนีมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เยอะครับ ไปอินโดนีเซีย มาเลก็มี


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:1:21:35 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่โอ๋










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:6:18:32 น.  

 
หวัดดีค่าคุณโอ๋

ตะพาบบ้านนี้เป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตกว่าจะมามีวันนี้กันเลยทีเดียว
ซึ่งแต่ละคนผ่านร้อนผ่านหนาวมา

พอนำมาเล่าความหลังก็จะเป็นเรื่องราวใสความทรงจำที่ดี

เสมือนกับการเขียนจดหมายหรือไดอารี่เก่าๆนี่แหละคะ ความรู้สึกมันดีจริงๆ




โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:8:58:44 น.  

 
มาตามอ่านงานตะพาบครับคุณโอ๋ ^^

พ่อผมก็มาจากเมืองจีน ท่านลำบากมากๆนะครับ

แถมยังจนตลอดชีวิตอีกตะหาก แหะๆ แต่ใบหน้า

ท่านไม่เคยทุกข์เลย อาจเป็นเพราะว่าเคยอยู่ที่ที่ลำบาก

ที่สุดมาแล้วก็ได้

พ่อเล่าว่าอยู่เมืองจีนไม่มีข้าวกิน ต้องไปขุดหัวมันมากินแทนข้าว ลงเรือมาเมืองไทย อายุ18 แต่คนอื่นนึกว่า 14 แสดงว่าอดซะแกรนเลยครับ

เขียนได้ดีนะครับ คิดว่าทำเป็นหนังได้เลยนะครับ แหะๆ

คราวหน้า ความฝัน ของน้องริน 3 ก.ค.นี้ เขียนมาให้อ่านอีกนะครับ





โดย: วนารักษ์ วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:15:36:36 น.  

 
คุณโอ๋

ว่าไปเราชอบอ่านหรือว่าฟังคนแก่เค้าเล่าเรื่องเก่าๆ นะค่ะ
แบบว่ามันทำให้เราคิดตาม นึกภาพตามด้วยล่ะค่ะว่าเป็นยังไง
เพราะเชื่อว่าสมัยนี้ยังไงก็คงไม่ได้บรรยากาศ
หรือว่าอะไรที่กลับไปเป็นเหมือนก่อนแล้วนะค่ะ
พอได้ฟังแบบนี้แล้วมันเพลินมาก ไม่ขี้เกียจอ่านค่ะ
แม้ว่าจะเขียนยาวกว่านี้อีก 2 เท่า แต่ว่าอาจจะ
แบ่งอ่านเช้า-เย็นค่ะ

(แอบแซวไปเลย)


โดย: JewNid วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:16:25:12 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่โอ๋










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2555 เวลา:6:08:54 น.  

 
บ้านพี่ รูปเยอะ โหลดช้ารึป่าวคุณโอ๋ (เห็นบอกว่าเปิดไว้ัตั้งกะเช้า...)

ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ เคยได้ยินว่าคนที่แพ้อาหารจะปากบวมเจ่อ หน้าตาแดงก่ำไปหมด...พี่โชคดีค่ะ ชนะตลอดเรื่อง "กิน"


ศุกร์สุขสันต์ค่ะ คุณโอ๋




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 มิถุนายน 2555 เวลา:16:35:41 น.  

 
หมิงหมิงไป รร.
แล้วครูก็เชียร์กันจริงๆครับ
หมิงหิมงบอกป่ะป๊าสิ บอกหม่าม้าสิว่ามีน้องอีกคน

เชียร์กันตจริง
แต่ตอนเลี้ยงเราเลี้ยงกันเองนะครับ
เหนื่อยเลย 5555




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2555 เวลา:18:39:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rosebay
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




เป็นเด็กผู้หญิงหน้าหมวยมาตั้งแต่เกิด
แต่ถือ Passport ไทย
เวลาไปไหนมาไหน
ตม.ก็คอยแต่จะมองหน้าสลับกับ Passport
พร้อมกับตั้งคำถามว่า ใช่คนไทยแน่เหรอ
แต่ที่แน่ ๆ พูดไทยคล่องปร๋อก็แล้วกัน
ภาษาอื่น อย่าถามนะ
[Add rosebay's blog to your web]