Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 

ประชานิยมแบบไหน ประเทศไทย...ไม่เจ๊ง จาก ไทยรัฐ



“ประชานิยมไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ไม่ ว่ารัฐบาลประเทศไหนๆ

ล้วนแต่มีนโยบายประชานิยมเพื่อหวังคะแนนนิยม

จากประชาชนด้วยกันทั้งนั้น

แต่ถ้าทำไม่ดี ไม่ถูกจังหวะเศรษฐกิจประเทศไทย

อาจจะลงเอยแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้น

กับประเทศในแถบละตินอเมริกาได้กรีซ สหรัฐอเมริกา

ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่ในขณะนี้

สาเหตุก็มาจากประชานิยมเหมือนกัน”

ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผช.กรรมการผู้จัดการใหญ่

สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด

(มหาชน) กล่าวในวงเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ

“ประชานิยมอย่างไรเศรษฐกิจไทยจึงจะแข็งแกร่ง”

จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

สาขาเศรษฐศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ...

เพื่อต้อนรับการได้รัฐบาลชุดใหม่มาบริหารประเทศ

ซึ่งได้ชื่อ เป็นเจ้าตำรับประชานิยมของเมืองไทย

“ประเทศไหนมีความเหลื่อมล้ำในสังคมมาก

การกระจายรายได้จากคนรวยไปให้คนยากจนไม่มี

ประชานิยมมักจะเกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้น”

ดร.บันลือศักดิ์ ชี้ให้เห็นต้นตอของนโยบายประชานิยม

ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประชานิยมกับความเหลื่อมล้ำเป็นของคู่กัน...

ความเหลื่อมล้ำไม่มีประชานิยมก็จะไม่เกิด

นโยบายประชานิยมถ้าทำแบบพอดี

เพื่อแก้ปัญหาการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ

เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ปัญหาก็จะไม่มี

แต่ถ้าเมื่อใดใช้นโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง

มาใช้ทาถูบรรเทาความขัดแย้งทางสังคม

หวังผลประโยชน์ทางการเมืองแค่ให้ชนะการเลือกตั้ง...

ความวิบัติจะเกิดกับประเทศชาติบ้านเมือง

เหมือนที่เคยเกิดมาแล้วในละตินอเมริกาไม่ว่าจะเป็นชิลี

อาร์เจนตินา บราซิล เปรูใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่ง

ลดแหลกแจกแถมแบบไม่มีเหตุผล

หวังแค่คะแนนนิยมตามสัญญาที่ให้ไว้ตอนหาเสียง...

ในระยะแรกเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวได้ดี

ค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อต่ำและค่าเงินมีเสถียรภาพ

แต่ผ่านไปแค่ 2 ปี เศรษฐกิจจะเริ่มถดถอย

ค่าจ้างที่แท้จริงจะลดลง เพราะเงินเฟ้อ ข้าวของแพง...

เงินเดือนมากขึ้นแต่ซื้อของได้น้อยลง

จากนั้นจะเกิดการล่มสลายของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

เพราะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาก

เงินสำรองระหว่างประเทศหมด...คราวนี้

จะหาเงินไปกู้เงินจากธนาคารระหว่างประเทศมาแก้ปัญหา

ให้กับประเทศ เขาก็จะไม่ให้กู้ เหมือนกับหลายประเทศในยุโรป

ตอนนี้นี่แหละ “30-40 ปีที่ผ่านมา เราฝันว่ามีบีโอไอ

ชักชวนให้ชาวต่างชาติมาลงทุนสร้างงาน

คนไทยจะได้มีงานทำมีรายได้มากขึ้น

นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาจะแบ่งรายได้ให้กับคนไทยมาก

ที่ไหนได้ เจ้าของทุนได้เยอะ

แบ่งให้คนไทยผู้ใช้แรงงานน้อยนิด

ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลไหนเลย

ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำตรงนี้ได้

เลยทำให้วันนี้เรามีปัญหาเรื่องการกระจายรายได้มาก

คนรวย 20% แรกมีรายได้สูงมากถึง 54%

ในขณะที่คนส่วนใหญ่ 80% มีรายได้รวมกันทั้งหมด 46%”

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผอ.สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

บอกว่า การจะทำนโยบายประชานิยมให้ผล

ในเรื่องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

1. กลไกตลาดต้องไม่มีการผูกขาดตัดตอน

มีความโปร่งใส ไม่โกง,

2. ต้องมีระบบแก้ปัญหากลไกตลาดที่ไม่สมบูรณ์,

3. ต้องมีระบบโอนส่วนเกินของคนรวย ผ่านระบบภาษี

ไปสร้างความสามารถให้กับคนด้อยโอกาส,

4. ต้องมีระบบสวัสดิการรองรับปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

เช่น กรณีว่างงาน ภัยธรรมชาติฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล

พร้อมมีระบบช่วยเหลือคนชรา ผู้ด้อยโอกาสด้วย

และสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงในการทำนโยบายประชานิยม...

การแจกการให้ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลสมควรจะทำ

การให้ชาวบ้านได้อะไรฟรีๆโดยไม่หามาได้เอง

เป็นการได้แบบไม่มีคุณค่า ไม่มีศักดิ์ศรี...

เงินแจกไปแทนที่แก้ปัญหาได้ เงินนั้นจะกลายเป็น

ตัวก่อปัญหาให้กับชาวบ้านเสียเอง

“แม้ในภาพรวมจะมีคนเห็นว่า ประชานิยมมีข้อเสีย

ที่จะทำให้คนรู้จักแต่แบมือขออย่างเดียว

แต่ถ้ามองในอีกมุม ประชานิยมได้ทำให้คนไทยเปลี่ยนไป

มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง

จากเมื่อก่อนชาวบ้านจะรอฟังว่า

นักการเมืองจะมีนโยบายอะไรมาให้

แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่า ชาวบ้านเป็นผู้บอกให้นักการเมืองเองว่า

ต้องการอะไร”ดร.สมชัย จิตสุชน

ผอ.วิจัยด้านพัฒนาการเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้

สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ชี้ให้เห็นข้อดีในข้อด้อยของนโยบายประชานิยม

กองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ที่ก่อนหน้านี้

ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่ในอีกมุม

การให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท แล้วให้ชาวบ้าน

ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหาร ให้ชาวบ้านคิดเองว่า

จะเอาเงินไปทำอะไร จะให้กู้กันแบบไหน...

ในที่สุดเงินนั้นได้สอนให้ชาวบ้านคิดเองเป็น

จัดลำดับความสำคัญของความต้องการเป็น

แม้จะมีข้อดีที่คาดไม่ถึง แต่ ดร.สมชัย

มีข้อคิดเพื่อป้องกันปัญหาที่จะทำให้ชาติ

ต้องเดินเข้าสู่กับดักล้มละลายเพราะประชานิยม

รัฐบาลต้องพยายามทำนโยบายประชานิยมแบบจิ๋วแต่แจ๋ว

ใช้เงินงบประมาณไม่มากและให้มีผลลัพธ์

ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

เช่น ประชานิยมด้านการศึกษา พัฒนาฝีมือแรงงาน

ต้องเป็นประชานิยมที่เลิกได้ เพื่อไม่ให้ประชาชนเสพติด

จนไม่รู้จักพึ่งพาตัวเอง และต้องเป็นประชานิยม

ที่สามารถแปลงเป็นสวัสดิการสังคมในอนาคตได้

ในวงเสวนาเดียวกัน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผช.ผู้จัดการใหญ่

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มองว่า

ประชานิยมที่ดีต้องทำให้ประชาชนดีขึ้น ชุมชนเข้มแข็ง

และต้องทำให้ประชาชนยืนบนขาตัวเองได้

พร้อมเสนอแนะโครงการประชานิยมที่รัฐบาลควรจะทำ

1. ประชานิยมด้านการเกษตร และเทคโนโลยีการเกษตร

โดยเฉพาะเรื่องทำนา ที่ผ่านมารัฐบาล

ปล่อยให้ทำกันแบบตามยถากรรม ควรที่จะยกระดับ

ยกคุณภาพให้ผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

และต้องทำประชานิยมทรัพยากรน้ำแก่เกษตรกรอย่างเท่าเทียม

พร้อมทั้งมีระบบประกันพืชผลจากราคาที่ตกต่ำ

และความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

2. ประชานิยมด้านการศึกษา ให้คนไทยทุกคน

ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน

ไม่ใช่ให้เรียนฟรีกันทุกคน แต่ผลสอบวัดผลระดับประเทศ

ที่ออกมา ทำไมนักเรียนแต่ละแห่งถึงได้คะแนนเหลื่อมล้ำกันมาก

นั่นแสดงว่า คุณภาพการศึกษาของไทยยังไม่เท่าเทียม

อย่างสหรัฐอเมริกา โรงเรียนแต่ละแห่งจะมีคุณภาพเหมือนกัน

มีโครงสร้างเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะต้องมีอาคารเรียนแบบไหน

อาคารเรียนอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์ ครูต้องมีเท่าไร

ต้องมีครูด้านไหนกี่คน ทุกโรงเรียนต้องเหมือนกัน...

แต่ของไทย ครู 3 คน ต้องหมุนเวียนสอนนักเรียน 6 ชั้นเรียน

ก็ยังมี

3. ประชานิยมด้านสวัสดิการสังคม

และที่สำคัญจะมองข้ามไม่ได้ของประชานิยม...

ต้องดูจังหวะของภาวะเศรษฐกิจด้วยว่า เหมาะที่จะทำหรือไม่

ภาวะปัจจุบันเหมาะหรือไม่ จะทำประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในขณะที่ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกำลังมีปัญหาเศรษฐกิจ

และมีการคาดการณ์ว่า เหยื่อกับดักเศรษฐกิจรายต่อไปก็คือ

ภูมิภาคเอเชียตอนนี้ฐานะของประเทศไทยกำลังไปได้ดี

แต่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อเพราะข้าวของแพง

ประชานิยมจะเร่งให้เงินเฟ้อมากขึ้นหรือไม่...

ภาวะตอนนี้ประเทศชาติเก็บเงินออม

รักษาสถานะการคลังไว้ดีกว่าไหม

อย่าลืมว่า วิกฤติต้มยำกุ้งที่ทำให้เราซวนเซ

แต่ฟื้นมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะตอนนั้นเรามีหนี้สาธารณะแค่ 20%

ของจีดีพีเท่านั้นเอง...หนี้ที่ก่อปัญหาวิกฤติเป็นหนี้ภาคเอกชน

แต่ตอนนี้เรามีหนี้สาธารณะอยู่แล้ว 40%

ถ้าก่อหนี้มาทำประชานิยมหนี้สาธารณะจะมีมากขึ้น...

วงจรวิกฤติเศรษฐกิจโลก โคจรมาถึงเอเชียเมื่อไร

เจอวิกฤติหนนี้ มันจะไม่เหมือนปี 2540...จะบอกให้



อ้างอิงจาก : //www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/192648




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554
0 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 15:10:17 น.
Counter : 993 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.