Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
28 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 

เมื่อค่าแรง 300 บาท... แรงงานใหม่ ..ทำใจ จาก ไทยรัฐ


“ผลกระทบที่ตามมาของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

แน่นอนว่าต้นทุนของธุรกิจจะสูงขึ้เฉพาะในภาคอุตสาหกรรม

ที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นและภาคบริการ

ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผู้ผลิตจะผลักภาระไปให้กับผู้บริโภค

สิ่งที่ตามมาราคาสินค้าและบริการก็ต้องขยับแพงขึ้นตาม

ผู้ผลิตจะขึ้นราคาสินค้าได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้น

มีความจำเป็นต้องการบริโภคมากแค่ไหน

ถ้าผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้ไม่มาก สิ่งที่จะตามมา

อีกประการนั้นคือ เจ้าของกิจการจะลดต้นทุนด้วยการ

ลดการจ้างงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม SMEs

ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ผลกระทบอีกอย่างที่หลีกหนีไม่พ้น รายได้จากการส่งออก

จะลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตของไทยสูงขึ้น

ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลง

ที่สำคัญความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้จะกระจุกตัว

อยู่ในเมืองใหญ่ เพราะธุรกิจที่มีขีดความสามารถ

มีสายป่านยาวพอที่จะจ่ายค่าแรงในระดับนี้ได้

ล้วนกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ทั้งสิ้น

และธุรกิจเหล่านี้ล้วนจ่ายค่าแรงสูงกว่า 300 บาท อยู่แล้ว

ผลกระทบอีกอย่าง การลงทุนจากต่างประเทศในบ้านเราจะลดลง

เพราะอาจมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

และค่าแรง 300 บาท จะจูงใจให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

จะไหลเข้ามาบ้านเรามากขึ้น”

รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.การวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน

สถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

กล่าวในการสัมมนาระดมสมอง ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ

“โครงการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้

ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี

ไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย”

จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)



ในเวทีสัมมนาเดียวกัน ดร.สมชัย จิตสุชน

ผอ.ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ มองว่า...

“นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศภายในปี 2556

นับเป็นการขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดด ทำเอาช็อกวงการไปเลย

เพราะเป็นการปรับขึ้นค่าแรงสูงถึง 60-70%

ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์

ถ้าย้อนกลับไปดูค่าแรงในบ้านเราตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา

จะเห็นว่าค่าแรงจะขยับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ช่วงปี 2524-2533

ค่าแรงจะขยับขึ้นเล็กน้อยลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป

ค่าแรงมาขยับขึ้นพรวดพราดในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ 2533-2540

เศรษฐกิจเติบโตปีละ 9-10% ความต้องการจ้างงานมีสูงมาก

ถึงขั้นแรงงานมีไม่พอ เกิดการขาดแคลนแรงงาน

จนทำให้แรงงานในชนบทที่เคยอยู่กับท้องไร่ท้องนา

ต่างอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองกันมาก เพื่อมารับค่าแรงที่สูงขึ้น

แม้ในช่วง 7 ปีนั้น ค่าแรงจะขยับขึ้นมาสูงถึง 100% ก็ตาม

แต่ก็ยังไม่ก้าวกระโดดเท่าครั้งนี้ เพราะตอนนั้นค่าแรงขยับขึ้น

ไปแค่ 40% ต่อ 3 ปี ไม่ใช่ปีเดียวขยับขึ้นทีเดียว 60-70%”

แน่นอนการขยับขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างนี้

ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประไทยอย่างหลีกหนีไม่พ้น

โดยเฉพาะในธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทัน

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง

และที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคาดหวังว่า นโยบายนี้

น่าจะมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและต่อเจ้าของกิจการเอง

เพราะการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีอำนาจซื้อ

สามารถจับจ่ายสินค้าได้มากขึ้น แต่การศึกษาของทีดีอาร์ไอ

กลับไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่ฝ่ายการเมืองประชานิยมคิดฝัน

เพราะผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้มีไม่มาก

เนื่องจากในระบบการจ้างงานในบ้านเรามีผู้มีรายได้

สูงกว่าวันละ 300 บาท หรือได้เงินเดือน

เดือนละ 10,000-50,000 บาท เป็นสัดส่วนมากถึง 56.1%

ขณะที่มีผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบาย 300 บาท

รอบแรกใน 7 จังหวัด มีอยู่ 7.1% ของแรงงานทั้งหมด

และผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบาย 300 บาท

รอบสองอีก 70 จังหวัด มีอยู่แค่เพียง 1.9%

ผู้ได้ประโยชน์สองกลุ่มนี้ มีไม่ถึง 10%

แทบไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทำให้เกิดการจับจ่ายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด

แต่ขณะเดียวกันในมุมกลับ นโยบายนี้อาจจะมีผลให้

แรงงานบางกลุ่มประสบชะตากรรม ไม่มีเงินให้จับจ่าย

เนื่องจากต้องตกงาน ถูกปลดออกจากงาน




ด้วยการศึกษาของ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์

ผู้เชี่ยวชาญ ทีดีอาร์ไอ ที่ใช้รูปแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์

ศึกษาผลกระทบของค่าจ้างที่มีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน

ระหว่างสาขาการผลิตต่างๆ พบว่า...

นโยบาย 300 บาท จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก

ต่อลูกจ้างรายได้ต่ำ... ในขณะที่ลูกจ้างที่มีรายได้สูงอยู่

แล้วจะได้รับผลกระทบน้อยมาก รายได้ยิ่งมากผลกระทบจะยิ่งน้อย

หรือพูดง่ายๆอีกนัย...ยิ่งจนอยู่แล้ว จะยิ่งลำบากมากขึ้น

และจะมีผลกระทบอย่างมากต่อแรงงานที่มีระดับการศึกษาต่ำ...

ตั้งแต่ระดับมัธยมปลายลงมา

“เพราะการขึ้นค่าแรงอย่างกะทันหันแบบก้าวกระโดด

ทำให้กิจการบางอย่างปรับตัวไม่ทัน จะมีผลต่อการจ้างงาน

โดยเฉพาะแรงงานในภาคการผลิตธุรกิจ SMEs

จะมีการลดจำนวนคนงานมาก และแรงงานเหล่านี้

จะถูกผลักให้กลับไปเป็นแรงงานในภาคเกษตร

ที่ภาษาทางราชการใช้คำว่า แรงงานแฝง

หรือแรงงานที่กลับไปทำงานช่วยธุรกิจครัวเรือนในแบบไม่ได้รับค่าจ้าง”

ที่พูดกันแบบชาวบ้าน...กลับบ้านไปเกาะพ่อแม่กิน


เพราะทุกวันนี้ภาพรวมของตลาดแรงงานไทย

มีแรงงานประเภทช่วยครอบครัวทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง

และประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง

มากถึง 53% ของแรงงานทั้งประเทศ

และการศึกษาแบบจำลองของ ดร.ดิลกะ ยังพบว่า

กลุ่มแรงงานที่จะต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้มากที่สุด...

จะเป็นแรงงานอยู่ในกลุ่มอายุ 14–25 ปี

เพราะเป็นแรงงานที่ไม่มีทักษะ ไม่มีประสบการณ์

จะถูกปลดออกก่อนเป็นกลุ่มแรก เพื่อให้ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันอยู่รอด

แรงงานกลุ่มนี้จะถูกปลดออกมากแค่ไหน?

ผลจากแบบจำลอง...ถ้าค่าจ้างเพิ่มขึ้น 10%

ลูกจ้างกลุ่มนี้จะถูกปลด 21.6%...ถ้าค่าจ้างเพิ่มขึ้น 40%

เหมือนอย่างที่ปรับขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง

ลูกจ้างจะถูกปลดออกประมาณ 30.3%

และถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 70% ในกรณีปรับขึ้น 300 บาท

ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จะมีคนงานรุ่นใหม่การศึกษาน้อย

ต้องกลับไปเกาะพ่อแม่กินประมาณ 49%

แต่ถ้ามองในภาพรวมของแรงงานทั้งระบบอายุ 15-65 ปี

การศึกษาของ ดร.ดิลกะ พบว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

แทบจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพราะแรงงานอายุ 14-25 ปี การศึกษาต่ำกว่ามัธยมปลาย

เป็นแรงงานกลุ่มเล็ก มีแค่เพียง 11% ของแรงงานทั้งหมด

กระนั้นก็ตาม ทีมศึกษาวิจัยย้ำว่า การปรับขึ้นค่าแรงแบบช็อกตลาด

ย่อมมีผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในเมื่อฝ่ายการเมืองได้ลงมือผลักดันทำเต็มที่ไปแล้ว

ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ นั่นคือ

จะต้องมีคณะทำงานคอยติดตามผลกระทบที่จะเกิดตามมาด้วย

เพื่อจะได้นำปัญหามาประมวลแก้ไขและวางมาตรการรองรับ

ได้แบบทันท่วงที...ไม่ใช่สร้างภาพเอาหน้า

แล้วทิ้งปัญหาไว้เรี่ยราดให้คนอื่นมาคอยเก็บกวาดเหมือนที่แล้วๆมา.



อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ วันจันทร์ ที่ 28 พฤษภาคม 2555

//www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/263667





 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2555
0 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 14:57:11 น.
Counter : 1791 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.