Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 

อย่าโทษแต่น้ำมัน? ผูกขาดทำของแพง โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จาก ไทยรัฐ


แพงเพราะน้ำมันหรือบริหารจัดการไม่เป็นกันแน่?

ตอนนี้น้ำมันดีเซลลิตรละ 31.73 บาท...

แต่เท่าที่คนไทยเคยเจอมา ราคานี้ไม่ได้แพงที่สุด

ยังพอจำกันได้ไหม 11 เม.ย.51-16 ก.ย.51

ราคาดีเซลบ้านเราเคยแพงกว่านี้

ยิ่งช่วง 11 มิ.ย.51-24 ก.ค.51 ราคาดีเซลพุ่งทะลุเกิน 40 บาท...

ราคาสูงสุดเคยขึ้นไปอยู่ที่ลิตรละ 44.24 บาท

ราคาข้าวของตอนนั้น แพงเท่าตอนนี้หรือเปล่า...

ทั้งที่ตอนนี้น้ำมันถูกกว่า แต่ทำไมข้าวของถึงได้แพงกว่าตอนนั้น

กระนั้นหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบ ก็ยังคงใช้วุฒิภาวะปัญญา

แก้ปัญหาแบบเดิมๆ ตั้งดัชนีราคาข้าวแกงธงฟ้า

จะไปช่วยอะไรได้.ประชากรไทย 63.8 ล้านคน

จะได้ใช้บริการถึง 2% ไหมธงฟ้าทำกันมาไม่รู้กี่ปี

แก้ปัญหาอะไรให้ชาวบ้านได้...ไม่อยากอธิบายลึก

เหตุคิดอะไรไม่ออกบอกธงฟ้า เพราะเงินจัดธงฟ้า

ช่วยให้คนบางคนได้ดิบได้ดีในหน้าที่ราชการ

ในเมื่อน้ำมันไม่ใช่ตัวปัญหาเหมือนที่ผู้บริหารบ้านเมืองยกมาอ้าง

ทำไมไม่หันไปใช้วิธีการอื่นแก้ปัญหาข้าวของแพง

แก้แบบใช้สมอง ตามหลักวิชาการ...แก้ปัญหาที่ต้นตอ

อีกตัวการสำคัญที่ทำให้ของแพง ข้าวของแพงเพราะผูกขาด

ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การแข่งขันในตลาด

จะนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ประกอบการที่ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน...

ผู้บริโภคได้ใช้ของถูกสมราคาในทางตรงกันข้าม

การผูกขาดผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องขวนขวายในการแข่งขัน

ใช้ทรัพยากรได้อย่างไม่ประหยัด เพราะสามารถ

ผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ผู้บริโภคซึ่งไม่มีทางเลือกได้...

ขึ้นราคาไปยังไงชาวบ้านก็ต้องซื้อ

นอกจากนั้น การผูกขาดยังเป็นแหล่งบ่มเพาะ

การทุจริตคอรัปชัน เนื่องจากผลกำไรที่ได้การผูกขาด

เป็นที่หมายปองของนักธุรกิจ ข้าราชการประจำ

และนักการเมืองกับผู้ที่มีอำนาจ ปกป้องรักษา

อำนาจผูกขาดในตลาดข้าวของแพงเพราะการผูกขาด...

ถามว่าบ้านเรามีเครื่องไม้ เครื่องมือที่จะจัดการปัญหานี้หรือไม่...

คำตอบก็คือ มีนอกจากทุกรัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุน

การแข่งขันที่เป็นธรรมแล้ว บ้านเรายังมีกฎหมายที่เรียกว่า

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542

ให้อำนาจรัฐจัดการปัญหาได้เต็มที่อีกต่างหาก

นโยบายมีกฎหมายพร้อม...แต่การทำให้นโยบาย

และกฎหมายไปด้วยกันได้...กลับไม่มี

เพราะผู้มีอำนาจมีหน้าที่ไม่อยากใช้อำนาจจัดการ

เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค

โครงการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

ในหัวข้อเรื่อง “การปฏิรูปเพื่อลดการผูกขาดและ

ส่งเสริมการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย”

โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

พบว่า...ตลอด 12 ปีที่ประเทศไทยมีกฎหมายฉบับนี้

มีเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า

ทั้งหมด 77 เรื่อง เฉพาะในช่วงปี 2552-2554

มีเรื่องร้องเรียนแค่ปีละ 1 เรื่องเท่านั้น

เทียบไม่ได้กับผลงานของสำนักแข่งขันทางการค้าของอินโดนีเซีย

ที่มีชื่อว่า KPPU ซึ่งถือกำเนิดในเวลาใกล้เคียง

กับสำนักแข่งขันทางการค้าของไทย

ที่ KPPU ได้รับเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี

เฉพาะในปี 2552 มีเรื่องร้องเรียนมากถึง 733 ราย

และมีการดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องเรียนแล้วเสร็จ 35 เรื่อง

ในขณะที่ 12 ปีของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าไทย

ภายใต้การดูแลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

มีเรื่องร้องเรียน 77 เรื่อง

ดำเนินการพิจารณาแล้วเสร็จ 52 เรื่อง

แต่ไม่เคยมีการลงโทษ หรือดำเนินคดีผู้ประกอบการ

แม้แต่รายเดียว ทั้งที่มีหลายกรณีเป็นที่จับจ้องของสาธารณชน...

ไม่ว่ากรณีการผูกขาดธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก

คิดค่าบริการสูงเกินควร หลังจากมีการควบรวมกิจการ

กรณีการบังคับการขายเหล้าขาวพ่วงเบียร์

กรณีการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจการค้าปลีก

ที่บังคับให้ผู้ประกอบการจะเอาสินค้ามาวางขาย

จะต้องลงทะเบียนในแผนงานส่งเสริมด้านราคา

กรณีการบังคับผู้ค้าปลีกรถจักรยานยนต์ยี่ห้อหนึ่ง

ไม่ให้ขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อของคู่แข่ง ทั้งที่จักรยานยนต์

ยี่ห้อนั้นมีอำนาจเหนือตลาด ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 80%

กรณีเหล่านี้เห็นชัด ค้าขายแข่งขันไม่เป็นธรรม

ใช้อำนาจเหนือตลาดเอาเปรียบคู่แข่ง แต่ปรากฏว่า

ไม่มีการลงโทษแม้แต่กรณีเดียว

สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน

การผูกขาดในบ้านเราล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ผู้ประกอบธุรกิจ

และประชาชนหมดความเชื่อถือในองค์กรและกฎหมายฉบับนี้

จึงไม่อยากร้องเรียนให้เสียเวลา เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานนี้

ไม่เคยมีการดำเนินการใดๆได้ทำไมบ้านเราถึงจัดการ

ปัญหาการผูกขาดทำข้าวของแพงไม่ได้ งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่า

ปัญหาหลักมาจากโครงสร้างของกรรมการแข่งขันทาง

การค้า ถูกกลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจ

เข้าไปแทรกแซงและผูกขาดตัดตอนการใช้อำนาจ

เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้ง่าย

เนื่องจากโครงสร้างกรรมการแข่งขันทางการค้า

อันประกอบด้วย รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน,

ปลัดกระทรวงพาณิชย์, ปลัดกระทรวงการคลัง,

อธิบดีกรมการค้าภายใน

และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 8-12 คน

ในจำนวนนี้ ไม่น้อยกว่าครึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจเอกชน

สรุปแล้ว กรรมการนอกจากจะไม่เป็นอิสระแล้ว

ยังถูกกลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ

เข้าครอบงำได้ง่าย...ฉะนั้นไม่ต้องหวังว่า คนเหล่านี้

จะเข้ามาฟาดฟันกลุ่มธุรกิจผูกขาด

ทำข้าวของแพงเพื่อช่วยเหลือประชาชน

กรรมการเหล่านี้ มีแต่จะเข้ามาช่วยกันปกป้อง

ให้ธุรกิจผูกขาดเอาเปรียบประชาชนอยู่ยั้งยืนยงเท่านั้นเอง

ฉะนั้น ไม่ต้องแปลกใจ เรื่องร้องเรียนหลายเรื่อง

มีอันต้องตกไปและไม่มีการลงโทษ เพราะกรรมการ

ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมาล้วนแต่คนกันเอง มีโคตรเหง้า

รากเหง้ามาจากกลุ่มทุนธุรกิจผูกขาดที่เอาเปรียบคนไทยแทบทั้งสิ้น

เกิดเป็นคนไทย มีนักการเมืองเยี่ยงนี้ ข้าราชการเยี่ยงนี้...

ถ้าไม่สู้หักหาญเอามา ย่อมต้องก้มหน้ารับกรรม

ปฏิรูปประเทศไทยหายไปไหน...ทำไมถึงได้เงียบงัน.


อ้างอิงจาก //www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/240539




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2555
0 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 14:58:13 น.
Counter : 836 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.