Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
เรื่องเกี่ยวกับอนุสสติ (ต่อ)

(ต่อ)

๘. สมยสูตรที่ ๒

[๒๙๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุชั้นเถระหลายรูป อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เมื่อภิกษุชั้นเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนหนอแล ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

เมื่อกล่าวกันอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ก็ยังไม่สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหารด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหารด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น สมาธินิมิตใดที่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นได้ทำไว้ในใจในกลางวัน สมาธินิมิตนั้นก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังตั้งอยู่ในโอชา (มีโอชารสแห่งอาหารแผ่ซ่านไปทั่วตัว) ความสบายย่อมมีแก่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น เพื่อทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้น สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล ฯ
[ภิกษุชั้นเถระหลายรูปสนทนากันว่าเวลาใดคือเวลาที่ควรแก่การเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า เมื่อภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาต ฉันอาหารแล้ว ล้างเท้า นั่งสมาธิ จึงเป็นเวลาควรเข้าไปหา

ภิกษุรุปหนึ่งกล่าวว่าในเวลาที่ภิกษุรูปแรกตอบมานั้น ภิกษุยังเหน็ดเหนื่อยอยู่ เมื่อภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งสมาธิในบริเวณพระวิหาร จึงเป็นเวลาควรเข้าไปหา

ภิกษุรุปหนึ่งกล่าวว่าในเวลาที่ภิกษรูปที่สองตอบมานั้น ภิกษุยังมีสมาธิฟุ้งซ่านจากนิมิตที่ทำอยู่ในเวลากลางวัน เมื่อภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นตอนเช้ามืด นั่งสมาธิ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า จึงเป็นเวลาควรเข้าไปหา

ภิกษุรุปหนึ่งกล่าวว่าในเวลาที่ภิกษุรูปที่สามตอบมานั้น ภิกษุยังมีสมาธิฟุ้งซ่านจากนิมิตที่ทำอยู่ในเวลากลางวัน เมื่อภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นตอนเช้ามืด นั่งสมาธิ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า จึงเป็นเวลาควรเข้าไปหา

ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่าเมื่อภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจฉันแล้ว กายของภิกษุนั้นยังมีรสของอาหารแผ่ซ่านไปทั่วตัว ย่อมมีความสบายกาย เหมาะแก่การปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระผุ้มีพระภาคทั้งหลาย จึงเป็นเวลาควรเข้าไปหา

ท่านพระมหากัจจานะกล่าวแก่ภิกษุชั้นเถระทั้งหลายนั้นว่า ท่านได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า เวลาที่ควรแก่การเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ คือ
1.ภิกษุถูกกามราคะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละกามราคะนั้น
2.ภิกษุถูกความพยาบาทครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาทนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละความพยาบาทนั้น
3.ภิกษุถูกถีนมิทธะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะนั้น
4.ภิกษุถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะนั้น
5.ภิกษุถูกวิจิกิจฉาครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉานั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉานั้น
6.ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นซึ่งหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนกระทำไว้ในใจโดยชอบแล้ว และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ]


จบสูตรที่ ๘

๙. อุทายีสูตร

[๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันอยู่ เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้าตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวพราว มีหนองไหลออก เธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอกหรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก มีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยรายไปตามทิศต่างๆ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราด เป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุรณ เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติ ๕ ประการนี้แล ฯ

พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ
[พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุทายีว่า อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระอุทายีมิอาจตอบได้เป็นที่น่าพอพระทัย พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ว่า พระองค์ได้ทราบแล้วว่าอุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิต ซึ่งวิธีการปฏิบัติของท่านพระอุทายีนั้นอาศัยการสดับฟังพระสัทธรรม แล้วประมวลเอาความเข้าใจที่มีมากำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นที่เหมาะสมกับตัวท่านเอง เนื่องจากในเวลานั้นท่านยังมิได้บรรลุธรรมขั้นที่เป็นอธิจิต ก็ยังขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าเฉลยวิธีการปฏิบัติของท่านต่อหน้าพระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น พระผุ้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระอานนท์กราบทุลว่า อนุสสติมี5ประการตามที่ท่านได้ปฏิบัติอยู่ คือ
1.ภิกษุสงัดจากกาม บรรลุตติยฌานซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
2.ภิกษุเจริญอาโลกสัญญาไว้ในใจ แม้ในเวลากลางคืนก็เป็นเช่นเวลากลางวัน เจริญด้วยจิตอันมีความสว่าง นิวรณ์ไม่พัวพัน
3.ภิกษุเจริญกายคตาสติ พิจารณาถึงความไม่งามของกาย เป็นไปเพื่อละราคะ
4.ภิกษุเจริญอสุภกรรมฐาน เห็นสรีระเป็นเช่นซากศพในป่าช้า ว่าแม้ตนก็ต้องเป็นเช่นนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นเช่นนี้ไปได้ เป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ
5.ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ละสุขและทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่ เป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ

พระผุ้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระญาณว่าวิธีปฏิบัติที่ท่านพระอุทายีกำหนดขึ้นนั้นคือ ภิกษุมีสติในอิริยาบท ก้าวไป ถอยกลับ ยืนอยู่ นอน ตลอดจนประกอบการงาน พระองค์ทรงทราบว่าวิธีปฏิบัตินี้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นได้เลยทีเดียว จึงตรัสรับรองให้ท่านพระอานนท์จดจำไว้เป็นอนุสสติข้อ6]


จบสูตรที่ ๙

๑๐. อนุตตริยสูตร

[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนา นุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ
ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภา
นุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง
เจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึง
อมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษา
ตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็น
ที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ
[พระผู้มีพระภาคตรัสอธิบายการถึงซึ่งความยอดเยี่ยม6ประการคือ
1.ทัสสนานุตตริยะ - โดยการมอง คือผู้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเพื่อเห็นพระตถาคตหรือพระสาวก การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
2.สวนานุตตริยะ - โดยการฟัง คือผุ้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือพระสาวก การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
3.ลาภานุตตริยะ - ความยอดเยี่ยมของการได้ลาภ คือผุ้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือพระสาวก การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
4.สิกขานุตตริยะ - ความยอดเยี่ยมของการศึกษา คือผุ้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
5.ปาริจริยานุตตริยะ - ความยอดเยี่ยมของการบำรุง คือผุ้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือพระสาวก การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
6.อนุสสตานุตตริยะ - ความยอดเยี่ยมของการระลึกถึง คือผุ้มีศรัทธาตั้งมั่น เลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือพระสาวก การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน]


จบอนุตตริยวรรคที่ ๓

***********************************
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ


Create Date : 02 มีนาคม 2549
Last Update : 2 มีนาคม 2549 14:27:56 น. 0 comments
Counter : 528 Pageviews.

พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.