Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 

สัมมาญาณะ-ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ-ความหลุดพ้นชอบ

ธรรมในวันนี้คือเรื่องของสัมมัตตะและมิจฉัตตะครับ สัมมัตตะคือการเจริญอริยมรรคมีองค์แปดโดยชอบ บุคคลปฏิบัติตามสัมมัตตะโดยเริ่มจากสัมมาทิฏฐิ เรื่อยไปจนถึงสัมมาสมาธิ เมื่อบุคคลเจริญสัมมัตตะจนบริบูรณ์ การบรรลุขั้นต่อไปคือสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุติครับ ส่วนบุคคลเมื่อมีมิจฉาทิฏฐิ มรรคนั้นก็จะเป็นมิจฉามรรคหรือมิจฉัตตะ บุคคลผู้มีมิจฉัตตะบริบูรณ์แล้วย่อมได้มิจฉาญาณะและมิจฉาวิมุติ มิจฉาญาณะคือความรู้แบบผิดๆ และมิจฉาวิมุติก็คือความหลุดพ้นแบบผิดๆครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

************************************************
สมณสัญญาวรรคที่ ๑

สมณสัญญาสูตร

[๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการเป็นไฉน คือ สมณสัญญาว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์ เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่โลภมาก ๑ เป็นผู้ไม่พยาบาท ๑ เป็นผู้ไม่ถือตัว ๑ เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ๑ เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ฯ
[ภิกษุผู้เจริญสมณสัญญา3ประการนี้ย่อมยังธรรม7ประการให้บริบูรณ์ สมณสัญญา3ประการคือ
1.เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ คือระลึกอยู่โดยตลอดว่าตนเป็นบรรพชิต หมั่นศึกษาในสิกขาบท มีความสำรวมในอินทรีย์ ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หมั่นเจริญสมณธรรม ฯลฯ
2.ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น คือตระหนักว่าพระสงฆ์ไม่ประกอบอาชีพค้าขายหาทรัพย์ ทั้งไม่เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ พระสงฆ์เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาต ทั้งยังศึกษาธรรมอันลุ่มลึกโดยคำแนะนำของเพื่อนพรหมจรรย์ จึงต้องปฏิบัติตามพระวินัย แม้ภิกษุผู้อยู่ป่ายังต้องคำนึงถึงภยันตรายจากสัตว์มีพิษ ยักษ์ สัตว์ดุร้าย อมนุษย์ ฯลฯ พึงเจริญเมตตาอยู่ตลอด
3.มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ นอกจากสองข้อต้นแล้ว ยังมีมรรยาทที่ต้องคำนึงอยู่ที่ภิกษุควรเรียนรู้ อาทิการปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ การปฏิบัติต่อภิกษุผู้เป็นเถระ การเกื้อกูลภิกษุผู้อาพาธ การปฏิบัติเมื่อตนหรือเพื่อนภิกษุต้องอาบัติ ฯลฯ

ธรรม7ประการอันเป็นอานิสงส์ของการเจริญสมณธรรมคือ
1.ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์ เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย
2.เป็นผู้ไม่โลภมาก
3.เป็นผู้ไม่พยาบาท
4.เป็นผู้ไม่ถือตัว
5.เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา
6.เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค
7.เป็นผู้ปรารภความเพียร]


จบสูตรที่ ๑

โพชฌงคสูตร

[๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา ๓ ประการให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา ๓ ประการให้บริบูรณ์ วิชชา ๓ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ทั้งที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังวิชชา ๓ ประการนี้ให้บริบูรณ์ ฯ
[โพชฌงค์7ประการนี้ ภิกษุเจริญแล้วย่อมยังวิชชา3ประการให้บริบูรณ์ โพชฌเงค์7ประการคือ
1.สติสัมโพชฌงค์
2.ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
3.วิริยสัมโพชฌงค์
4.ปีติสัมโพชฌงค์
5.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6.สมาธิสัมโพชฌงค์
7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์

วิชชา3ประการคือ
1.ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ฯลฯ
2.ย่อมเห็นหมู่สัตว์ทั้งที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ฯลฯ
3.ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ฯลฯ]


จบสูตรที่ ๒

มิจฉัตตสูตร

[๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิดย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ฯ
[เพราะอาศัยมิจฉัตตะจึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล โดยเหตุผลคือ
1.บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด
2.ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด
3.ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด
4.ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
5.ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด
6.ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด
7.ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด
8.ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด
9.ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด]


จบสูตรที่ ๓

สัมมัตตสูตร

[๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยสัมมัตตะอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิอันชั่วช้า ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม อันบุคคลเพาะแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสขม เป็นรสเผ็ดร้อน เป็นรสไม่น่ายินดี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของไม่ดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่ชั่วช้า ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ความเกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่เจริญ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชอ้อย พืชข้าวสาลี หรือพืชองุ่น อันบุคคลเพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวาน เป็นรสอันน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเป็นของเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
[ผู้มีสัมมัตตะจึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ด้วยเหตุดังนี้
1.บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ
2.ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ
3.ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ
4.ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ
5.ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ
6.ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ
7.ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ
8.ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ
9.ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ

ผู้ประกอบมิจฉัตตะ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นตน ด้วยธรรมอันประกอบด้วยเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขารใดๆ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมมีผลอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ เพราะว่าเป็นทิฏฐิอันชั่วช้า เปรียบดังพืชสะเดา พืชบวบขม พืชน้ำเต้าขมอันบุคคลเพาะในดินย่อมเข้าไปจับรสดินและน้ำให้เป็นรสขม รสเผ็ดร้อน เป็นรสไม่น่ายินดี เพราะพืชเป็นของไม่ดี

ผู้ประกอบสัมมัตตะ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นตน ด้วยธรรมอันประกอบด้วยเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขารใดๆ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมมีผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข เพราะว่าเป็นทิฏฐิอันเจริญ เปรียบดังพืชอ้อย พืชข้าวสาลี พืชองุ่นอันบุคคลเพาะในดินย่อมเข้าไปจับรสดินและน้ำให้เป็นรสน่ายินดี รสหวาน เป็นรสน่าชื่นใจ เพราะพืชเป็นของดี]


จบสูตรที่ ๔

อวิชชาวิชชาสูตร

[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป เป็นของมีมาตามอวิชชานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นผิด ผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย หิริและโอตตัปปะเป็นของมีมาตามวิชชานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ ฯ
[อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลกรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป นำไปสู่ความเห็นผิด แล้วย่อมเป็นไปตามมิจฉัตตะ มีความตั้งใจผิด ความรู้ผิด และความหลุดพ้นผิดเป็นที่สุด

วิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลกรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวต่อบาป นำไปสู่ความเห็นชอบ แล้วย่อมเป็นไปตามสัมมัตตะ มีความตั้งใจชอบ ความรู้ชอบ และความหลุดพ้นชอบเป็นที่สุด]


จบสูตรที่ ๕

นิชชรวัตถุสูตร

[๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความเห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีวาจาผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะวาจาชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการงานผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความพยายามผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความระลึกผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความตั้งใจผิดเสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความรู้ผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
[เหตุแห่งความเสื่อม10ประการคือ
1.ความเห็นผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความเห็นชอบย่อมทำให้ความเห็นผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
2.ความดำริผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความดำริชอบย่อมทำให้ความดำริผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
3.วาจาผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก วาจาชอบย่อมทำให้ความมีวาจาผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
4.การงานผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก การงานชอบย่อมทำให้ความมีการงานผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
5.การเลี้ยงชีพผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก การเลี้ยงชีพชอบย่อมทำให้ความมีการเลี้ยงชีพผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
6.ความพยายามผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความพยายามชอบย่อมทำให้ความพยายามผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
7.ความระลึกผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความระลึกชอบย่อมทำให้ความระลึกผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
8.ความตั้งใจผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความตั้งใจชอบย่อมทำให้ความตั้งใจผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
9.ความรู้ผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความรู้ชอบย่อมทำให้ความรู้ผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก
10.ความหลุดพ้นผิด เป็นเหตุแห่งอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ความหลุดพ้นชอบย่อมทำให้ความหลุดพ้นผิดเสื่อมไป และเป็นเหตุแห่งกุศลธรรมเป็นอันมาก]


จบสูตรที่ ๖

โธวนสูตร

[๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทักษิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกแห่งญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของขบเคี้ยวบ้าง ของบริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคมบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเนียมการล้างนั้นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการล้างนั้นแลเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การล้างที่เป็นของพระอริยะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ... จากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจได้นั้น เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมล้างความเห็นผิด ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมล้างความดำริผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมล้างวาจาผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมล้างการงานผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมล้างการเลี้ยงชีพผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมล้างความพยายามผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมล้างความระลึกผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมล้างความตั้งใจผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมล้างความรู้ผิด ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมล้างความหลุดพ้นผิด ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การล้างที่เป็นของพระอริยะนี้นั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้ ฯ
[การล้างที่เป็นของพระอริยะ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ที่นำสัตว์ให้พ้นจากความเกิด ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ คือ
1.บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมล้างความเห็นผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความเห็นผิด
2.บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมล้างความดำริผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความดำริผิด
3.บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมล้างความมีวาจาผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความมีวาจาผิด
4.บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมล้างความมีการงานผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความมีการงานผิด
5.บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมล้างความเลี้ยงชีพผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความเลี้ยงชีพผิด
6.บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมล้างความพยายามผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความพยายามผิด
7.บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมล้างความระลึกผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความระลึกผิด
8.บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมล้างความตั้งใจผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความตั้งใจผิด
9.บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมล้างความรู้ผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความรู้ผิด
10.บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมล้างความหลุดพ้นผิด ล้างอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดจากความหลุดพ้นผิด]


จบสูตรที่ ๗

ติกิจฉสูตร

[๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาถ่าย เพื่อบำบัดอาพาธอันมีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธอันมีเสมหะเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธอันมีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาถ่ายนั่นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่ายาถ่ายนี้นั้นแล ย่อมสำเร็จบ้าง ย่อมเสียผลบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงยาถ่าย อันเป็นของพระอริยะ ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ เธอทั้งหลายจงฟังยาถ่ายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาถ่ายอันเป็นของพระอริยะ ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ... จากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ถ่ายความเห็นผิดออก และถ่ายอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยออก ส่วนกุศลธรรมทั้งหลายมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบ เป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ถ่ายความดำริผิดออก ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเจรจาชอบ ถ่ายการเจรจาผิดออก ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ถ่ายการงานผิดออก ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ถ่ายการเลี้ยงชีพผิดออก ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ถ่ายความพยายามผิดออก ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ถ่ายความระลึกผิดออก ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นชอบ ถ่ายความตั้งใจมั่นผิดออก ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ถ่ายความรู้ผิดออก ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ถ่ายความหลุดพ้นผิดออก และถ่ายอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยออก ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาถ่ายอันเป็นของพระอริยะนี้นั้นแล ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้ ฯ

จบสูตรที่ ๘

วมนสูตร

[๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายแพทย์ทั้งหลายย่อมให้ยาสำรอก เพื่อบำบัดอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐานบ้าง เพื่อบำบัดอาพาธมีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาสำรอกนั่นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่ายาสำรอกนี้นั้นแล ย่อมสำเร็จผลบ้าง ย่อมเสียผลบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้ เธอทั้งหลายจงฟังยาสำรอกนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะ ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ฯลฯ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมสำรอกความเห็นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมสำรอกความดำริผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเจรจาชอบ ย่อมสำรอกการเจรจาผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมสำรอกการงานผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมสำรอกการเลี้ยงชีพผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมสำรอกความพยายามผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมสำรอกความระลึกผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมสำรอกความตั้งใจผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมสำรอกความรู้ผิดได้ ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมสำรอกความหลุดพ้นผิดได้ และสำรอกอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยาสำรอกอันเป็นอริยะนี้แล ย่อมสำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจได้ ฯ

จบสูตรที่ ๙

นิทธมสูตร

[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงปัดเป่ามี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิด อันบุคคลผู้มีความเห็นชอบปัดเป่าแล้ว และธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย อันเขาปัดเป่าแล้ว ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิด อันบุคคลผู้มีความดำริชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิด อันบุคคลผู้มีการเจรจาชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิด อันบุคคลผู้มีการงานชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิด อันบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิด อันบุคคลผู้มีความพยายามชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิด อันบุคคลผู้มีความระลึกชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิด อันบุคคลผู้มีความตั้งใจชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิด อันบุคคลผู้มีความรู้ชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิด อันบุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบปัดเป่าแล้ว และอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย อันเขาปัดเป่าแล้ว ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงปัดเป่ามี ๑๐ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

อเสขสูตร

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อเสขะๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นอเสขะด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความดำริชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการงานชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการเลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการระลึกชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความรู้ชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ ดูกรภิกษุ ภิกษุย่อมเป็นอเสขะ ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๑

อเสขธรรมสูตร

[๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความดำริชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การงานชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การเลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การระลึกชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความรู้ชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะมี ๑๐ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๒

จบสมณสัญญาวรรคที่ ๑

*************************************************
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ




 

Create Date : 20 มีนาคม 2549
0 comments
Last Update : 20 มีนาคม 2549 17:57:05 น.
Counter : 919 Pageviews.


พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.