คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสถานที่ดี คำสอนของท่านปัญญานันทะภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 7 National Chiayi University

เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน ตอนที่ 7 National Chiayi University

เป็นการเยี่ยมชมการวิจัยในส่วนของภาครัฐ โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีหลายคณะ ลองเข้าไปดูกันครับ //www.ncyu.edu.tw และมีนักเรียนแลกเปลี่ยนจากเมืองไทยมากที่สุดที่นี้(ประมาณ 60 % ของนักเรียนไทยทั้งหมด) แต่ที่คณะเข้าไปเยี่ยมชม จะไปที่นี้ครับ College of Agriculture, Horticultural Technology Center ....น่าสนใจทีเดียว

ที่คณะนี้จะมี current mission ไปที่ R & D for orchid industry เริ่มตั้งแต่ปี 2000 และเน้นระบุไปที่ R & D of Phalaenopsis เสียด้วย ดูหัวข้อที่ทีมของเค้าตั้งเป้าสำหรับงานวิจัย R & D ดังนี้

1. Breeding 2. Cultivation 3. Micropapagation 4. Virus detection 5. Gene transformation 6. Administration

ให้ภาพที่นักวิจัยที่นี้เริ่มจาก germplasm collection ที่อยู่ใน conservation greenhouse และ forcing greenhouse เพื่อใช้ในโปรแกรม tranditional breeding of Phalaenopsis



ชมโรงเรือนภายนอกนะครับ



ในภาพเป็นส่วนของการรวบรวมสายพันธุ์แท้ของ Phalaenopsis แต่ที่คณะฯ ไปชมทุกที่ไม่ว่าจากเอกชนหรือภาครัฐพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เคยให้ไปดูส่วนของ Doritis germplasm (ไม่เข้าใจเหมือนกัน)



ภาพซ้ายเป็น Phalaenopsis amabilis var. formosana ภาพขวาเป็น Phalaenopsis equestris var. rosea (แต่ต้นนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นลูกผสมน่ะครับ...ไม่แน่ใจ )



ลูกผสมใหม่ๆ ของที่นี้เกิดจากการใช้ germplasm ของพันธุ์แท้ (ภาพซ้าย) ส่วนภาพขวามีหลากชนิดของลูกผสม ขึ้นอยู่ที่เป้าหมายของลูกผสมใหม่ที่นักวิจัยต้องการจะเป็นทางใด แต่ที่แน่ๆ ลูกผสมใหม่ 1 สายพันธุ์ ใช้เวลาผลิตและตรวจสอบเป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี ต่อหนึ่งสายพันธุ์



ในส่วนของ virus detection laboratory จะมีด้วยกัน 3 วิธี เพื่อใช้ยืนยันผลซึ่งกันและกันด้งนี้

1. Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) 2. RT-PCR 3. Real-Time PCR



ในส่วนของ molecular breeding ที่นี้จะเน้นไปที่

1. Flower color modification (ยีนสี) 2. Fragrance manipulation (ยีนหอม) 3. Flower control 4. Disease and pest resistance

แอบถามว่าเค้าทำสำเร็จหรือยังในเรื่องลูกผสมที่ดัดแปรยีนสี....ยังไม่สำเร็จครับท่าน (แอบเก็บเป็นความลับอีก)



มาดูลูกผสมใหม่ๆ ของที่นี้อีกสักรอบครับ



ภาพซ้ายลูกผสมต้นนี้หอมมากๆๆ ภาพขวาก็หอมสีม่วง



ภาพซ้าย Dtps. Tzu Chiang Lilac # 1 (ไม้บูล) ภาพขวาสามปาก (ผมจะพูดถึงอีกครั้งในตอน 8 นะครับ)



น่าไปเรียนมากครับ เนื่องจากรัฐบาลไต้หวันสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติเข้าไปเรียนที่ไต้หวัน อันหมายถึงมหาวิทยาลัยได้เงินสนับสนุนงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นด้วย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยที่นี้ ทันสมัยมากครับ เครื่องมือพร้อม สภาพแวดล้อมดีมาก เป็นเมืองมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่นี้ขยันมากๆๆ ผมเชื่อว่านักศึกษาไทยสู้เค้าได้อยู่แล้ว.....สู้สู้



เป็นอันจบตอน 7 แล้วครับ




Create Date : 07 เมษายน 2551
Last Update : 7 เมษายน 2551 21:49:56 น. 9 comments
Counter : 2087 Pageviews.

 
ชอบฟาแลนภาพสุดท้าย ด้านซ้ายครับ


โดย: giant_muangsiri IP: 118.173.117.201 วันที่: 8 เมษายน 2551 เวลา:15:24:33 น.  

 
โปรเจกฟาแลนสีบูลที่นี้ก็กำลังทำอยู่เช่นเดียวกันในหลายๆ ทีครับผม เมืองไทยก็น่ามีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งให้ความสนใจเช่นเดียวกันครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 8 เมษายน 2551 เวลา:16:51:29 น.  

 
ไปชมทุกที่ไม่ว่าจากเอกชนหรือภาครัฐพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เคยให้ไปดูส่วนของ Doritis germplasm


เรียนถามหน่อยครับ ส่วนที่ว่านี้ ทำหน้าที่อะไรรึครับ และสำคัญยังไง


ขอบคุณครับ



โดย: เด็กอยากรู้ IP: 222.123.177.72 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:10:27:09 น.  

 
ลูกผสมใหม่ๆ มีการนำเอา Doritis ผสมเข้ากับ Phalaenopsis ได้ Doritaenopsis ที่ได้ลูกผสมแบบช่อตั้งและมีแขนง

แหล่งพันธุกรรมของ Doritis ที่พบในแถบเอเซีย โดยเฉพาะเมืองไทยพบถึง 4 ชนิด แน่นอนไต้หวันนำของไทยไปสร้างลูกผสมใหม่ของฟาแลนนอพซิสแน่นอน

ผมจึงพยายามขอเยี่ยมชมส่วนที่ได้รวบรวม Doritis spp. ไว้ครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:13:10:25 น.  

 
สุด ๆ ๆ ไปเลยครับ


โดย: บ้านค่าย IP: 202.57.155.137 วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:12:35:21 น.  

 
พอดีผมจะได้ไปเรียนใน ปี 51 ที่เจี่ยอี้ พอดีครับ สาขาสัตวศาสตร์ อย่างสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนไว้เป็นประโยชน์หน่อยอ่ะครับ


โดย: mju person IP: 202.69.139.194 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:53:35 น.  

 
แนะนะให้ดูลิงค์ข้างบนหรือไม่ก็ติดต่อที่แม่โจ้ได้เลยครับ คงมีรายละเอียดได้มากกว่าผม แต่ที่คณะเข้าไปเยี่ยมชมเป็นทางพืชครับ แต่คิดว่าทางสัตว์เค้าก็เยี่ยมมากครับ บรรยากาศของมหาวิทยาลัยน่าสนใจทีเดียว....สู้ๆๆ ครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:37:03 น.  

 
กล้วยไม้กลียบดอกสีม่วงได้เห็นปี 07เป็นดอกที่เหลือจากปี 06ซึ่งในเกาหลี จะนำเข้าใหม่ตลอด ที่ผมเห็นนะมีเหลือประมาณ100กว่าต้นกล้วยไม้จำพวกนี้ดอกหนาครับอายุการเบ่งบานอยู่ที่อากาศด้วยครับ การให้น้ำ ปุ๋ย มีผลต่อายุของดอก ที่ผมเห็นดอกสีม่วงครานั้น 3 ชนิดครับ ใบใหญ่หนารูปใบก็ไม่เหมือนกันครับดูง่าย ของจริงสวยแปลกเหมาะแก่การสะสม


โดย: the_bbb555 IP: 222.98.62.212 วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:11:21:13 น.  

 
ขอบคุณนะคับคุณ the_bbb555 IP: 222.98.62.212 ที่แวะเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลครับ

ตกลงอยู่ที่เกาหลีใช่หรือไม่ครับ จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 21 ธันวาคม 2551 เวลา:22:29:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

appendiculata191
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ไม่เคยชอบกล้วยไม้มาก่อนเลย แต่หน้าที่การงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับกล้วยไม้....เลยสนใจบ้าง แล้วมาจับกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis เลยชอบ และได้ทำการสะสมพันธุ์แท้เพื่อทำ DNA fingerprint โดยขณะนี้ เริ่มสะสมกล้วยไม้ดินบางชนิดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ การปลูกเลี้ยงที่ง่ายขึ้น มีสีสรรแปลกใหม่ไปกว่าเดิมและอื่นๆ

ชอบการท่องเที่ยวเดินทางและการถ่ายภาพ
Friends' blogs
[Add appendiculata191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.