<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
14 ตุลาคม 2558

ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทย : Food Sci





(1) ยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐาน
การพัฒนาในด้านกระบวนการผลิตและการตรวจสอบมาตรฐานในการผลิตสินค้านั้น ประกอบไปด้วย
ประเด็นการพัฒนาทั้งในด้านการส่งเสริมการยกระดับวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งการควบคุมมาตรฐานสินค้าทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักดังนี้

การพัฒนากระบวนการผลิต : เป็นการเน้นการส่งเสริมการพัฒนาตามทิศทางของอุตสาหกรรม
อาหารในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่
คุณค่า สำหรับการพัฒนาร่วมกัน และนำไปสู่การสร้างระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ใน
ทุกกระบวนการ โดยมีแนวคิดหลัก คือ ส่งเสริมมาตรฐานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมพร้อม
ยกระดับการบริหารจัดการกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
ว่าจะได้รับสินค้าที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การพัฒนาระบบตลาดสำหรับการส่งออก การวางการ
ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบตลอดการผลิตของห่วงโซ่คุณค่า โดยเฉพาะต้นน้ำให้สามารถ
นำมาใช้ในการพัฒนามาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย และการพัฒนา
กลุ่มคลัสเตอร์อาหารให้มีกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในคลัสเตอร์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง
กันอย่างครบวงจร

ตรวจสอบมาตรฐานการผลิต : เป็นการยกระดับการตรวจสอบมาตรฐานการผลิต โดยเฉพาะใน
กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้ผู้บริโภคภายในประเทศได้รับโอกาสในการบริโภคสินค้าอาหาร
ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ เทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งมีแนวคิดการพัฒนา คือ
ยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าอาหารของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยให้ได้มาตรฐานด้านความ
ปลอดภัยเทียบเท่าสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริโภคภายในประเทศให้ก้าวไปสู่มาตรฐาน
อาหารในระดับสากล การพัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอาหารที่จำหน่ายในประเทศให้มี
ความคล่องตัวมากขึ้น โดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในการกำกับดูแล ตรวจสอบ
และควบคุมสินค้าอาหารที่จำ หน่ายภายในประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริโภค
ภายในประเทศให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


(2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารให้เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภค
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามกลุ่มอายุและวัยของผู้บริโภค รวมไปถึง
พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปนั้น เป็นประเด็นหลักสำคัญส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้การพัฒนา
อุตสาหกรรมอาหารประสบความสำเร็จในอนาคตได้ โดยมีแนวคิดการพัฒนาใน 2 ส่วนคือ
1) การสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ แล
2) พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับรายย่อย ดังนี้

• สร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ : เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆที่มีแนวโน้มความต้องการ
ของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งมีรายละเอียด คือ สร้างศูนย์รวมการบูรณาการวิจัย
และพัฒนาอาหารอย่างมีระบบและสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจน และเน้นการวิจัยที่
สามารถประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงมีตลาดที่แน่นอนรองรับอีกด้วย และการสนับสนุนการ
ลงทุนอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทุกประเภท โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในกลุ่มประเทศไทยและ
ประเทศใกล้เคียงเป็นหลัก และเน้นการผลิตแปรรูปทั้งสินค้าอาหารไทย และอาหารของประเทศ
ต่างๆ เพื่อการส่งออก ภายใต้กระบวนการผลิตที่มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์
การเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกให้กับประเทศไทยได้

• พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับรายย่อย : เน้นการพัฒนาให้สามารถรักษาคุณภาพสินค้าก่อนนำไปสู่
ผู้บริโภค รวมถึงสร้างความสะดวกรวดเร็วในการบริโภคให้กับผู้บริโภคได้ตามลักษณะพฤติกรรม
ของผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆด้วยเช่นกัน โดยมีแนวคิดในการพัฒนาในรูปแบบหลัก คือ เร่งพัฒนา
บรรจุภัณฑ์โดยฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาอย่อม (SME) และ OTOP โดยให้
การสนับสนุน เผยแพร่องค์ความรู้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้
ในช่วงระยะเวลาภายใน 5 ปีนี้ และ การพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่รักษาคุณภาพอาหารและ
สะดวกในการบริโภค โดยมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป

(3) ขยายช่องทางการตลาดและสร้างความเชื่อมั่นของอาหารไทย
เป็นการพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์การผลิตสินค้าอาหารของประเทศไทย รวมไปถึงการขยายโอกาสใน
การพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับสินค้าอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดในการพัฒนา ดังนี้

• สร้างความตระหนักด้านอาหาร : โดยการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งส่งเสริมการสื่อสาร
ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลในการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง โดยมีรายละเอียด
คือ สร้างความตระหนักให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคอาหารที่ได้การรับรองมาตรฐานปลอดภัยและ
อินทรีย์เพิ่มขึ้น และส่งเสริมการระบุเครื่องหมายสินค้าที่ได้รับรองอาหารมาตรฐานปลอดภัยบน
สินค้า อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีความตระหนักในการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
มากขึ้น

• พัฒนาช่องทางการตลาด : โดยเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์การเป็นแหล่งผลิตสินค้ามาตรฐาน
สำหรับประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารของประเทศไทย โดยมี
รายละเอียดแนวทาง คือ พัฒนาช่องทางการตลาดและจัดแบ่งประเภทสินค้าให้ผู้บริโภคสามารถ
เข้าถึงและเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกขึ้น โดยศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั้งใน
ภาพรวมและตลาดเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค แล้วจึงเน้นการทำตลาดเชิงรุก และแนวทางในการ
สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การเป็นแหล่งผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยส่งเสริมให้
ผู้ประกอบการของประเทศไทยมีการรับรอง Country of Origin, Product of Thailand บนตัว
สินค้าที่จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในการเลือกซื้อ เลือก
บริโภคสินค้าที่ใช้วัตถุดิบและผลิตในประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆได้

สนับสนุนเนื้อหาโดย

  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook

Contact Ultra Compressor 

20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 
 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2558
0 comments
Last Update : 14 ตุลาคม 2558 22:26:32 น.
Counter : 2317 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]